ลาวศึกษา : สรุปบทเรียนจากหนึ่งในผู้ร่วมเดินทาง "น็อต"


นับว่าเป็นการไปศึกษาดูงานที่ประเทศลาวนี้จะเป้นการบูรณาการทางความคิด และประสบการณ์จริงนอกห้องเรียน ดังจะเห็นได้จากความคิดผ่านตัวหนังสือโดยมีอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อนำสาร ซึ่งข้าพเจ้าก็เป็นผู้ทำหน้าที่นำความคิดเห็นของผู้ที่ถอดบทเรียนมานำเสนอต่อสาธารณะชน

ความเห็นจากการไปศึกษาดูงาน

From:

Naroot JIAMSOMBOON ([email protected])

Sent:

Thu 9/11/08 3:40 AM

To:

archanwell ([email protected]); 'nawakarn sirarujanon' ([email protected]); 'Gop' ([email protected]); 'wisarut samlee_on' ([email protected]); 'chonruitai kaewrungrueng' ([email protected]); 'เธžเธตเธฃเธฐเธžเธฅ เนเธ เธขเธฐเนเธฅ' ([email protected]); 'Prince Pettriot Kinky' ([email protected]); 'DUTCH MILL' ([email protected]); 'เธงเธฃเธฃเธฉเธงเธฃเธฃเธเธเธดเธงเธฒเธเธงเธเธจเนŒ' ([email protected]); 'well well' ([email protected]); 'well well' ([email protected]); 'mai' ([email protected]); [email protected]; [email protected]; [email protected]; [email protected]; [email protected]; [email protected]; [email protected]; [email protected]

Cc:

'k-nid' ([email protected]); [email protected]; [email protected]; [email protected]; 'Ngam-net Mana' ([email protected]); [email protected]

 

 

จากการศึกษาดูงานที่ผ่านมา
 
            ผมมีความรู้สึกว่าภาคเอกชนไทยใน สปป.ลาว ยังไม่มีความมั่นคงเพียงพอ
อีกทั้งเสียงสะท้อนจากภาคเอกชนก็บอกว่าไม่ได้รับความสนับสนุนจากภาครัฐเท่าที่ควร

พี่วรพงษ์
            ทุกสิ่งทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับกำลังความสามารถของแต่ละบุคคล - พี่วรพงษ์
 
            แม้ภาครัฐของ สปป.ลาว จะมีคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อรองรับการลงทุนจากต่างชาติ - C.P.
            แต่นโยบายด้านอื่นๆก็มิได้เดินไปในทิศทางเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ปัญหาการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินท้องถิ่นกับสกุลเงินสากลและสกุลเงินของประเทศเพื่อนบ้าน - C.P.
            หรือปัญหาการคิดคำนวณภาษี ทั้งการคำนวณภาษีขายจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร - C.P.
            หรือการไม่มีมาตรการแก้ไขปัญหาภาษีซ้อนจากการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน - พี่วรพงษ์
            ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่กลุ่มผู้ลงทุนต้องประสบและต้องหาทางออกตามวิถีทางของตนเอง - พี่วรพงษ์

            การรวมกลุ่มของเอกชนไทยใน สปป.ลาว ยังไม่มีความเข็มแข็งพอที่จะเสนอข้อเรียกร้องจากภาครัฐ (สปป.ลาว) - พี่วรพงษ์
 
            นอกจากนี้ระบบการศึกษาของ สปป.ลาว ก็ผลิต นศ. มาเพื่อป้อนคนเข้าสู่ภาครัฐ - พี่วรพงศ์, พี่วอน
            และประชาชนเองก็มีแนวโน้มส่งเสริมให้ลูกหลานของตนได้เข้าทำงานในภาคราชการเพื่อรับสวัสดิการต่างๆของรัฐเช่นกัน - พี่วรพงษ์, พี่วอน
            นอกจากนี้แล้วนักวิชาการของ สปป.ลาว ก็ยังไม่มีบทบาทหรืออิทธิพลต่อภาครัฐหรือภาคประชาชนเท่าที่ควร - พี่วรพงษ์
 
            เหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ สปป.ลาว ควรนำมาคิดคำนึงว่าจะก่อให้เกิดปัญหาต่อไปในอนาคตหรือไม่
            สปป.ลาว ควรส่งเสริมให้กลุ่มทุนต่างประเทศได้มีโอกาสรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสมาคม
เช่นส่งเสริมให้มีการจัดตั้งหอการค้า หรือสภาผู้ประกอบการ ทั้งนี้ก็เพื่อเปิดโอกาสให้มีการนำเสนอปัญหาจากภาคเอกชนสู่ภาครัฐได้โดยตรง
 
            จากประสบการณ์การทำงานเป็นนิติกรที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะเจรจาข้อตกลงและการประเมินการพัฒนากฎหมายของส่วนราชการ คณะที่ ๒ (กระทรวงการคลัง ยกเว้นกรมบัญชีกลาง) เห็นว่า หากภาครัฐส่งเสริมให้ภาคเอกชนได้รวมกลุ่มกันและสามารถมีที่นั่งร่วมการประชุมเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนากฎหมาย
และยอมรับฟังความเห็นทางวิชาการจากนักวิชาการไปพร้อมๆกับการกำหนดนโยบายด้วยแล้ว
จะช่วยให้กฎหมายที่จะนำมาบังคับใช้นั้นสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและไม่สร้างภาระต่อผู้ปฏิบัติมากจนเกินไป
 
ต่อไปนี้คือข้อเสนอแนะ
-ปรับปรุงกฎหมายเพื่อเพิ่มโอกาสให้กับคนจน
-ปรับปรุงกฎหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
-กระจายอำนาจในการใช้บังคับกฎหมาย
-เอาประชาชนเป็นศูนย์กลางเลิกกฎหมายที่สร้างภาระโดยไม่จำเป็นให้ประชาชน
-ให้ประชาชนเข้าถึงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมได้อย่างทั่วถึงเท่าเทียมและทันการณ์
-ปรับกฎหมายให้ทันโลกทันเทคโนโลยีใหม่ ๆ
-ลดการควบคุมที่ไม่จำเป็น ปรับวิธีควบคุมให้หลากหลายขึ้น
-เพิ่มส่วนร่วมของประชาชนในการออกและใช้กฎหมาย
ข้อเสนอแนะนี้อยู่บนพื้นฐานการพัฒนากฎหมายของราชอาณาจักรไทยซึ่ง สปป.ลาว ก็น่าจะสามารถนำไปประยุกต์/ปรับใช้ให้สอดคล้องกับการบริหารประเทศได้เช่นกัน
 
                                                                                      ขอแสดงความนับถือ
                                                                                       นรุตม์ เจียมสมบูรณ์
                                                                                                นิติกร 4
                                                                                  กองนิติการ  สำนักกฎหมาย
                                                                        การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

หมายเลขบันทึก: 208189เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2008 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

นรุตม์ เจียมสมบูรณ์ ครับ

ไม่ใช่ นรุต

รบกวนแก้ไขคำสำคัญให้ด้วยครับ

นอต

  • น้องนอตเรา ไม่ยอมให้ผ่านเลย ถ้ามีอะไรผิดพลาด
  • แรกๆ ที่เห็นก็ขัดตา แต่ก็พอยอมได้
  • แต่ถ้าให้ถูกต้อง ตรงเปีะ มันก็ดี
  • แวะเข้ามาทักทายค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท