มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

หมอ คือ คนสวน


หมอทั้งหลายได้เรียนรู้มาจากโรงเรียนแพทย์ว่าแนวความคิดเรื่องการวินิจฉัยและการรักษาโรคนั้น เป็นแนวความคิดที่คล้ายกับการซ่อมแซมแก้ไขเครื่องยนต์ แต่ไอ้แนวคิดแคบๆที่เน้นการซ่อมแก้ปัญหานี่แหละเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เรา มองไม่เห็นพลังความมหัศจรรย์ของกระบวนการของชีวิต

หลายๆปีที่ผ่านมา เวลาคนไข้หายจากโรคที่ฉันพยายามรักษา  ฉันจะรู้สึกว่า นี่เป็นผลพวงจากฝีมือการวินิจฉัยและรักษาของฉัน มันทำให้ฉันมั่นใจมากขึ้นในฝึมือการตัดสินใจ ในความรู้และทักษะที่ฉันมี

ช่วงหลายๆปีนั้น ฉันไม่ได้รู้ ไม่ได้มองเห็นเลยว่า ถ้าปราศจากการทำงานของกระบวนการทางชีวภาพ ทางอารมณ์ และจิตวิญญาณของผู้ป่วยที่ทำปฎิกริยากับการรักษาที่ฉันให้แล้ว ยังไงซะมันก็ไม่มีผล

ตลอดเวลาที่ฉันคิดไปเองว่าฉันเองเท่านั้นที่เป็นคนแก้ไขปัญหาให้ผู้ป่วย ฉันไม่ได้รู้เลยว่า หน้าที่ของฉันนั้นเป็นแค่ "ผู้ประสานงาน" 

"All the time I thought I was reparing, I was collaboating" 

---------------------------------------------------------------------------------

บทความด้านบนนั้นเขียนโดยคุณหมอ เรเชล นาโอมิ เรเมน ค่ะ

คุณหมอจบบทความว่า

ุถ้าเรามองผู้ป่วยให้เห็นว่าชีวิตเค้าเป็นกระบวนการ  มีพลังชีวิตอยู่ หมอจะดูแลรักษาผู้ป่วยโดยมองตัวเองว่าเป็นคนสวนมากกว่าเป็นช่างไม้

คนไข้คือต้นไม้ที่มีกระบวนการชีวิต หมอสามารถดูแลรักษาพุ่มกุหลาบได้ด้วยการเล็ม การตัดแต่งกิ่ง ให้ปุ๋ย ให้น้ำ ร่วมมือกับมัน กับกระบวนการของมันเพื่อที่จะให้ สิ่งที่ดีที่สุดเกิดขึ้น หมอมีหน้าที่นำความรู้และประสบการ์มาช่วยทำให้พลังชีิวิตของผู้ป่วย อยู่ในขีดสูงสุงเท่าที่จะหวังให้เป็นได้ แม้ในภาวะที่มีโรคคุกคามอยู่

นอกจากนี้หมอต้องไว้ใจ ต้องเชื่อในกระบวนการที่ดำเนินอยู่  เพราะความไว้ใจนี้เป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้หมอสามารถ "บรรเทาทุกข์" ให้ผู้ป่วยได้ มันทำให้ทั้งหมอทั้งคนไข้มีกำลังใจ ไม่กลัว และ มีความหวังที่จะผ่านกระบวนการชีวิตช่วงนี้ไปได้

---------------------------------------------------------------------------------

แปลจาก Kitchen Table Wisdom: Stories That Heal

หมายเลขบันทึก: 141044เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2007 01:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีด้วยความคิดถึงเป็นอันมาก(ๆๆๆ)ค่ะ อ.มัท

ดีใจจังที่เห็นบันทึก อ.มัทแต่เช้า  (และพี่แอมป์เข้าระบบได้โดยเน็ตไม่ดาวน์) เลยรีบวิ่งถลันถลาเข้ามา  (อารามดีใจ  อิๆๆๆ)

ชอบคำเหล่านี้จัง...  "คนสวน  ต้นไม้  เล็ม ตัดแต่งกิ่ง  ให้ปุ๋ย  ให้น้ำ    Kitchen Table Wisdom และ ความไว้ใจ"  .....ดูเหมือนจะอยู่แถวๆบ้านและความเป็นครอบครัวทั้งสิ้น  

คุณหมอเรเชลพูดได้จับใจเหลือเกิน  พี่แอมป์มานึกๆดูแล้วก็เห็นอย่างหนึ่ง  การจะก้าวข้ามกำแพงความรู้วิทยาศาสตร์กลไกไปได้  ก็ต่อเมื่อเรารักคนๆหนึ่งแบบที่เรารักคนในครอบครัวของเรา 

ง่ายดีจัง....และไม่มีอะไรซับซ้อนเลย แค่"คิดกลับ"ไปที่บ้านอีกที  ก็จะเห็นความรักความเมตตาต่อกันอย่างง่ายเช่นนั้น 

"ผู้ที่เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น  ย่อมคงไว้ซึ่งความเมตตาเสมอ" 

ขอบคุณ อ.มัทมากนะคะ ที่เอาเรื่องน่าชื่นใจมาฝากแต่เช้า  ขอให้ อ.มัทมีพลังเต็มเปี่ยมที่จะเดินหน้าเขียน(และพิมพ์)วรรคทองในเดอะสิสต่อไปอย่างคล่องปรื๋อนะคะ  : )

สวัสดีค่ะคุณมัท

วิ่งตามพี่แอมป์เข้ามา ( และยืนยันว่าพี่แอมป์ไม่ได้ล้ม อิ อิ อิ แสดงว่า " ยังไหว " ฮี่ ฮี่  ) โดยไม่ล็อคอินค่ะ เพราะชอบชะมัดเลย ถ้าปราศจากการทำงานของกระบวนการทางชีวภาพ ทางอารมณ์ และจิตวิญญาณของผู้ป่วยที่ทำปฎิกริยากับการรักษาที่ฉันให้แล้ว ยังไงซะมันก็ไม่มีผล

ตลอดเวลาที่ฉันคิดไปเองว่าฉันเองเท่านั้นที่เป็นคนแก้ไขปัญหาให้ผู้ป่วย ฉันไม่ได้รู้เลยว่า หน้าที่ของฉันนั้นเป็นแค่ "ผู้ประสานงาน" 

"All the time I thought I was reparing, I was collaboating"

" หมอคือคนสวน " ..ช่างเป็นเช้าที่บรรเจิดมหัศจรรย์อะไรเช่นนี้  หอมฟอดใหญ่ๆพร้อมกอดแน่นๆอีกทีค่ะ

ขอให้เดอะสิส ( ตามคำพี่แอมป์ ) ผ่านไปได้ด้วยดีนะคะ ^ ^

ขอขอบคุณอาจารย์มัทนา...

  • เป็นข้อคิดที่น่าสนใจมากๆ ครับ
  • ถ้าปัจจัยรอบข้างไม่ช่วย... หมอก็ทำอะไรไม่ค่อยได้เหมือนกัน

สวัสดีครับอาจารย์

โอ้โห !    ไม่รู้จะบอกว่ายังไง ถูกใจที่สุดเลยครับ สำหรับบทความนี้  ขอบคุณมากครับที่เอามาฝาก ตอนนี้ save บันทึกนี้ใน HD เลย ( ปรกติเวลาเจอบันทึกที่ถูกใจ จะเก็บไว้เสมอ กลัวหาย )  นี่เป็นอีก หนึ่งบันทึกที่เก็บไว้ครับ no comment เลย

ใช่ๆค่ะ หมอและผู้ป่วย ไว้วางใจกัน ร่วมมือกัน แล้ว หลายๆสิ่งย่อมราบรื่น

สวัสดีค่ะ

คุณหมอหายไปนานนะคะ ช่วงนี้ คิดถึงค่ะ

"All the time I thought I was reparing, I was collaboating" 

สัมพันธภาพที่ดีระหว่างแพทย์และผู้ป่วยคือสิ่งสำคัญยิ่งต่อมนุษย์ทุกยุคสมัย

 แต่ปัจจุบัน  สายสัมพันธ์นี้ ค่อนข้างเปราะบาง

อยากให้สายใยเอื้ออาทร "หมอ-คนไข้" เป็นเหมือนสมัยก่อนค่ะ

  • ดีนะที่หนีไปเป็นคนชอบวิ่ง  เลยไม่ต้องทำสวน อิอิ
ขอบคุณทุกท่านมากค่ะ มัทอ่านบทความนี้จบ ก็รีบเปิดคอม log in เข้า gotoknow พิมพ์แปลเลยค่ะ เพราะชอบมากเช่นกัน : )
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท