มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

คิวโดะ | ธรรมเนียมปฏิบัติ/จรรยา (rei)


มันคือส่วนของ ศีล นั่นเอง?

Junshi นักปราชญ์ชาวจีนกล่าวไว้ว่า ที่มาของคำว่า rei http://www.theartofcalligraphy.com/images/rei-politeness-morality-bushido-code-kanji.jpg ในภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า etiquette หรือ ธรรมเนียมปฏิบัติ/จรรยา นั้นมาจากภาษาจีนที่แปลว่า "self-restraint over the desire"

  • to use desire to gain the non-material (spiritual) OR
  • to seek the material by desire
  • in either case desire moves one out of balance...
  • the function of etiquette is to maintain a dynamic balance between the spiritual and the material

During the performance of shooting the archer must be true in his attitude to his self. When the archer finds the balance in truth, then the correct release will follow.

ในขณะที่ยิง ผู้ยิงต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง นอกจากนี้ rei ยังแปลว่าความนอบน้อมต่อผู้อื่นด้วย (Girei)

This truth to oneself is tested in your attitude towards others. There should not be envy to those who are better than you. On the contary, use the situation to examine your own inadequacies.

เมื่อเห็นคนที่เก่งกว่า เราไม่ควรคิดอิจฉา หากแต่ควรน้อมนำโอกาสนี้มาพิจารณาว่าเราจะพัฒนาตัวเองได้อย่างไรบ้าง

-------------------------------------------------------------------------

ขงจื้อกล่าวว่า "A true gentle,am will never quarrel with others. If he does it will be through archery. In going to the archery field he will never fail to go with the utmost courtersy. Should he lose the competition, he shows respect for others  by serving rice wine. The archery competition with others honoured in this way is the expression of the true gentleman"

-------------------------------------------------------------------------

ธรรมดาแล้วผู้เขียนเป็นคนที่ไม่ชอบคำว่า etiquette เลย ไม่ชอบที่ต้องทำอะไรขัดใจตนเพียงเพราะผู้ใหญ่บางคนบอกว่า ก็คนอื่นเค้าทำอย่างนั้น ทำเพราะเป็นหน้าเป็นตา เป็น norm ของสังคม จึงต้องทำ

พอมาเรียนเรื่อง rei มุมมองต่อคำว่า etiquette ก็กว้างขึ้น คิดว่ามันมีอะไรน่าคิดต่อ ถ้าการทำตามธรรมเนียมนั้นเป็นการ

  1. พัฒนาตนเอง ลด ego ของตน
  2. นอบน้อมต่อผู้อื่น ก็มีประโยชน์ต่อทั้งสังคมและการฝึกตน

ถ้ามีทั้ง 2 ข้อนี้ ก็น่าปฏิบัติตาม

อยากให้คนที่คิดว่าต้องทำอะไรตามๆกัน ต้องทำตาม etiquette ได้หยุดคิดให้ดีว่า ที่ทำไปนั้นทำไปเพราะอะไร จำเป็นหรือไม่ ส่วนมากแล้วคนเราทำเพราะข้อ 2 แต่ไม่ยอม be true to yourself กำจัด ego ออก ไม่ยอมรับว่าทำไปเพราะอะไรแน่

ส่วนมากทำไปเพราะ"กลัวคนอื่นว่า" ถ้าทำเพราะเหตุผลแค่นี้ไม่เห็นต้องน่ารักษาธรรมเนียมนั้นๆไว้เลย?

-------------------------------------------------------------------------

ขนบธรรมเนียมประเพณีนั้น ถ้าเราเปิดใจให้กว้าง ยอมรับว่า การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีที่สุดคือการยอมให้มันเปลี่ยนอยู่เสมอ มันอาจจะคงอยู่ได้นานและมีแต่สิ่งดีๆเพิ่มเสริมขึ้นๆไปซะอีก!

คิวโดะสอนไว้ว่า เราจะสืบทอดคิวโดะให้ลูกหลานได้ เราจะทำให้คิวโดะเป็นที่นิยมได้ก็โดยการยอมรับว่า....

Even though our practice is rooted in the values of the past, we cannot remain static.

ถึงแม้ธรรมเนียมปฏิบัติของเราจะมีที่มามาอย่างยาวนานในอดีต เราจะหยุดให้มันเหมือนเดิมตลอดไปไม่ได้

Using the experience and knowledge of the past, we can extract new insights that ill lead to further understanding and development.

การที่เรานำความรู้และประสบการณ์ในอดีตมาใช้ เราจะสามารถเข้าถึงและพัฒนาความเข้าใจในธรรมเนียมปฏิบัติของเราไปได้มากยิ่งขึ้น

This approach to the practice should be timeless, so that there is always this spirit of examination and advance.

ถ้าเรามีวิธีคิดวิธีปฏิบัติอย่างนี้ไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุดแล้ว เราจะมีวิญญาณความเป็นนักพิจารณาไตร่ตรอง เป็นนักพัฒนา

With inner growth the outer structure will also gain meaning. The outer organization cannot be realized without this inner development.

การเติบโตภายในจะทำให้รูปลักษณ์ภายนอกมีความหมายมากยิ่งขึ้นไปด้วย การจัดการภายนอกที่ดีจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าปราศจากการพัฒนามาจากภายใน

-------------------------------------------------------------------------

[อ้างอิง:  All Nippon Kyudo Federation (A.N.K.F.). Kyudo Manual Vol. I Principles of Shooting]

 

คำสำคัญ (Tags): #etiquette#kyudo#คิวโดะ
หมายเลขบันทึก: 187959เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2008 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • แวะมาด้วยคำว่า จรรยา
  • บางครั้งเราก็ต้องทำตามประเพณีและวัฒนธรรมนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

ธรรมเนียมปฏิบัติบางอย่างมีอะไรที่เป็นประสพการณ์ของผู้คนในอดีตซ่อนอยู่ ที่เราไม่ทราบก็เป็นไปได้นะคะ

สวัสดีค่ะคุณแดงและพี่ใบบุญ

ใช่เลยค่ะ ธรรมเนียมปฏิบัติบางอย่างน่าทำตาม แต่ธรรมเนียมบางอย่างก็น่าจะได้รับการตั้งคำถามบ้างว่าทำไปทำไม

บันทึกนี้มัทไม่ได้เขียนละเอียดว่าคิวโดะมีธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดมานานมากๆและยังอยู่ดี

ที่เค้าทำได้แบบนี้น่านับถือค่ะ น่าคิดว่าเค้ารักษาไว้ได้อย่างไร

พอศึกษาดู เค้าไม่ได้มีกฎแข็งที่ห้ามเปลี่ยนเลยค่ะ เค้าไม่ได้บังคับว่าต้องทำตาม

ตรงกันข้ามเค้ารักษาธรรมเนียมปฏิบัติไว้ได้เพราะเค้ายอมเปิดให้เปลี่ยนได้

อะไรไม่ดีก็โดนตัดออก ส่วนมากจะเป็นรูปแบบภายนอกค่ะ ส่วนอะไรที่ทำให้หลักความคิดความเข้าใจภายในจิตใจนั้นแข็งขึ้นเค้าก็รับเข้ามาผสมผสาน

ผ่านมาหลายร้อยปี กระพี้ที่ดีก็ยังอยู่ แก่นก็ยิ่งแข็งขึ้นไปอีก

มัทว่าถ้าเราต้องการรักษาอะไรให้คงอยู่ มัทชักชอบความคิดนี้เข้าไปทุกทีค่ะ ว่าอย่าไปฝืนอย่าไปบังคับเลย

ยอมให้มันพัฒนาไปดีกว่า แล้วเราจะแปลกใจว่า สิ่งที่เราหวงนั้นมันไม่ได้จะหายไปไหนค่ะ เพราะถ้าเราไม่บีบบังคับก็ไม่มีคนมาต้านต้องการล้ม มีแต่คนรักอยากรักษาและพัฒนาให้ดีๆขึ้นไป : )

ฟังดูขัดๆมั้ยค่ะ เพราะคนเราชอบควบคุมให้สิ่งต่างๆอยู่นิ่งๆ

แต่มัทเริ่มเห็นด้วยกับเค้าว่าถ้าของดีจริง ไม่ต้องคุม มันก็จะยังอยู่ ถ้าเราเข้าใจมันจริง ถ้าเราเข้าถึงแก่น ถ้าเราถามว่าทำไปทำไม : )

ไม่มีกฎแข็งที่ห้ามเปลี่ยน ไม่ได้บังคับว่าต้องทำตาม

คือยอมให้มีวิวัฒนาการ+ยืดหยุ่น แต่คงสาระสำคัญไว้

พี่เข้าใจถูกมั้ย

มัทก็เข้าใจแบบนั้นค่ะพี่หมอเล็ก : )

สวัสดีครับคุณหมอมัท

ตามมาอ่านจากอนุทิน ครับ เอ นอกจากธนูแล้วชอบยิงปืนด้วยหรือป่าวครับนี่.. :)

สวัสดีค่ะ คุณ มัทนา

  • ขอบคุณมากๆค่ะสำหรับแนวความคิดที่ชัดเจน  ตรงไปตรงมา  ทำให้ได้เปิดหู  เปิดตา  และเปิดใจให้กว้างขึ้นได้อีกมากมายค่ะ...
  • ขออนุญาตนำไปใช้บ้างและขอขอบพระคุณยิ่งค่ะ

สวัสดีค่ะคุณกวิน

เคยยิงปืนเหมือนกันค่ะ เพราะพ่อให้หัดเผื่อฉุกเฉินอย่างน้อยก็เคยจับมาก่อน พอพาไปที่สนามครั้งเดียว แต่ให้เป็น มัทว่ามันเสียงดังและหนัก และไม่อยากอยู่ใกล้มันนักค่ะ ปืน + สติขาด นั้นอันตรายที่สุด

ธนูแบบที่มัทยิงนั้น ช้ามากค่ะ แถมคู่ต่อสู้ห้ามอยู่ไกลเกิน 28 เมตร เหอะๆ แต่เสียงลูกดอกที่ถูกยิงออกไปนั้นเพราะมากค่ะ ใครเก่งไม่เก่งฟังกันที่เสียงยิงและเสียงที่ลูกธนูเสียบเป้านี่แหละค่ะ คนที่ยิงเก่งๆจะเสียงดังฉวบ! มัทยิงดัง...ฉึบๆ เหอะๆ

ขอบคุณติ๋วมากๆค่ะที่แวะมา : )

เป็นอีกคนที่ยิงธนู ตอนแรกก็ยิงแบบตะวันตกแต่พอหันมาเล่น KYUDO แล้วสุดยอดมากๆ

คงต้องขออนุญาติคัดลอกข้อความของพี่บางส่วนไปเขียนลงในบล๊อกน่ะค่ะ จะได้เป็นประโยชน์ต่อคนมากมายที่ต้องการเรียนรู้ KYUDO เหมือนเรา

น้องชล ฝึกคิวโดะที่ไหนคะ เพราะมีคนอยากเรียนที่เมืองไทยแต่ยังหาครูไม่ได้ เขียนบล็อกแล้วมาแบ่งกันอ่านบ้างนะคะ ขอบคุณค่ะ

พี่มัทขา หนูอยู่ญี่ปุ่นค่ะ เซนเซที่นี่เคี่ยวน่าดู แต่พี่เชื่อมั้ยค่ะ บางสิ่งบางอย่างจับต้องไม่ได้แต่เราสามารถสัมผัสและรับรู้ถึงมันได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท