มรรควิธีทั้งเก้าเพื่อสร้างฅนแล้วให้เข้าไปฟื้นฟูชาติ


ได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนกับเวทีเสวนาของพระมหาพงษ์นรินทร์ เมื่อคราวไปร่วมงานพัลงเยาวชนฯที่ย่านสยาม เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2552 หัวข้อและเรื่องที่เข้าร่วมเสวนา แรก ๆ ก็ งง เป็นไก่ตาแตกว่า เกี่ยวอะไรกับเราด้วย แต่ พอนั่งฟัง วิทยากรท่านอื่น ๆ บรรยาย รวมถึง พระมหาพงษ์นรินทร์ด้วย ทำให้เข้าใจและเริ่มตีความปริศนาที่ซ่อนอยู่ในวิธีการฟื้นฟูต้นมะม่วงของพระมหาชนก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงพระนิพนธ์ไว้ เก้าประการ อันได้แก่

มรรควิธีทั้งเก้าเพื่อสร้างฅนแล้วให้เข้าไปฟื้นฟูชาติ

ได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนกับเวทีเสวนาของพระมหาพงษ์นรินทร์ เมื่อคราวไปร่วมงานพัลงเยาวชนฯที่ย่านสยาม เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2552 หัวข้อและเรื่องที่เข้าร่วมเสวนา แรก ๆ ก็ งง เป็นไก่ตาแตกว่า เกี่ยวอะไรกับเราด้วย แต่ พอนั่งฟัง วิทยากรท่านอื่น ๆ บรรยาย รวมถึง พระมหาพงษ์นรินทร์ด้วย ทำให้เข้าใจและเริ่มตีความปริศนาที่ซ่อนอยู่ในวิธีการฟื้นฟูต้นมะม่วงของพระมหาชนก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงพระนิพนธ์ไว้ เก้าประการ อันได้แก่

หนึ่ง เพาะเม็ดมะม่วง.

สอง ถนอมรากที่ยังมีอยู่ให้งอกใหม่.

สาม ปักชำกิ่งที่เหมาะแก่การปักชำ.

สี่ เอากิ่งดีมาเสียบยอดกิ่งของต้นที่ไม่มี ผลให้มีผล.

ห้า เอาตามาต่อกิ่งของอีกต้น.

หก เอากิ่งมาทาบกิ่ง.

เจ็ด ตอนกิ่งให้ออกราก.

แปด รมควันต้นที่ไม่มีผลให้ออกผล.

เก้า ทำ 'ชีวาณูสงเคราะห์'.

ที่อ่านตอนแรก แล้วอาจจะงง แต่ด้วยความโชคดี ที่สมัยมัธยมต้น เลือกเรียนสาขาเกษตรมาก่อน ทำให้ เข้าใจวิธีการต่าง ๆไม่ยากมากนักและเมื่อเอาวิธีการทางรหัสศาสตร์อุปมาอุปมัยมาเทียบเคียงแล้วยิ่งรู้สึกสนุกกับการแลกเปลี่ยนและนำมาใช้ในงานที่ทำอยู่ เริ่มกันเลยแล้วกัน ต่อจากนี้ไป เป็นการตีความที่ ผมตีความให่มุมมองของผมเอง คนอื่น ๆ ก็ตีความไปตามที่ตนเองจะเห็นและพิจารณานะครับ

 

หนึ่ง เพาะเม็ดมะม่วง.  การเพาะเม็ด หรือ เพาะเมล็ด เป็นวิธีที่ต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน และอาจจะมีผลข้างเคียงคือ การกลายพันธุ์ .. มรรควิธีนี้ ผมตีความในมุมมองของผมเองว่า คือการบ่มเพาะความคิดร่วมกันของการที่จะสร้างใครซักคนเพื่อให้มีความคิดเพื่อคนอื่น เพื่อสังคม ต้องใช้ความอดทนและใจเย็นรอในระยะเวลาที่ยาวนาน เพราะ กว่าจะเจริญเติบโตยืนต้น และ ให้ผลผลิตทางปัญญาค่อนข้างจะใช้เวลานานพอสมควร เหมาะสำหรับการงานที่ไม่รีบร้อน แต่ต้องการความมั่นคงยาวนานในการทำงาน

สอง ถนอมรากที่ยังมีอยู่ให้งอกใหม่. วิธีการนี้ คือการเยียวยาดูแลคนที่มีอยู่แล้ว มีแนวคิดอยู่แล้ว แต่อาจจะขาดกำลังใจและแรงสนับสนุนในการทำงาน แต่ยังมีเรี่ยวแรงและแนวคิดที่จะทำงานเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ก็ต้องให้กำลังใจและฟื้นฟูสภาพจิตใจ ประกอบกับการเสริมศักยภาพให้ สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง วิธีการนี้ อาจจะใช้เวลาที่สั้นและกระชับเนื่องมาจาก เป็นคนที่มีความพร้อมอยู่แล้วในระดับหนึ่ง

สาม ปักชำกิ่งที่เหมาะแก่การปักชำ. สำหรับวิธีการนี้ คือการคัดเลือก คนที่เหมาะสมและสามารถนำมาพัฒนาได้ในระยะเวลาที่ไม่นานมากนัก แต่ต้องเลือกให้ถูกเพราหากเลือกผิด ก็อาจจะเสียเวลาเปล่าได้

สี่ เอากิ่งดีมาเสียบยอดกิ่งของต้นที่ไม่มี ผลให้มีผล. วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ใช้วิธีทางลัด คือ นำคนที่มีความพร้อมแต่ย้านความรับผิดชอบ หรือ สภาพแวดล้อมเพื่อให้ได้มีโอกาสใช้ศักยภาพของตนที่มีอยู่ทำงานอย่างต่อเนื่องได้เลย ประหยัดเวลาในการสร้างคน

ห้า เอาตามาต่อกิ่งของอีกต้น. วิธีการนี้ คล้ายกับวิธีการที่ผ่านมาข้างต้น แต่ต่างกันในเรื่องของการใช้เวลา ที่อาจจะต้องใช้เวลามากขึ้น แต่ก็ยังประหยัดเวลากว่า การเพาะเมล็ด

หก เอากิ่งมาทาบกิ่ง. วิธีการนี้ คือ การ ใช้ทุนเดิมของกันและกัน ให้ช่วยกัน ประคับประคองคน เพื่อให้ คุ้นชินกับ สภาพแวดล้อมที่กำลังจะเปลี่ยนไป แต่ก็ยังใช้ประสบการณืหรือทุนเดิมที่มีอยู่นำมาประกอบในการเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มงานใหม่ได้ในระยะเวลาอันใกล้

เจ็ด ตอนกิ่งให้ออกราก. สำหรับวิธีการนี้ เป็นวิธีการต้องมีการสูญเสียบางสิ่งบางอย่างเพียงเล็กน้อย เช่นทุนเดิม หรือ บางสิ่งบางอย่างที่ เป็รอุปสรรคขั้นขวาง เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการเตรียมความพร้อมที่จะออกมาทำงานเพื่อสังคมต่อไป

แปด รมควันต้นที่ไม่มีผลให้ออกผล.  เป็นวิธีการที่ค่อนข้างรุนแรง คือ การกระตุ้น ชี้ให้เห็นถึงปัญหา และผลกระทบที่จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงหากไม่เร่งนำศักยภาพที่มีอยู่ออกมาใช้ อาจะต้องเกิดการสูญเสียอย่างที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนได้

เก้า ทำ 'ชีวาณูสงเคราะห์'. ในวิธีการนี้ ผมตีความว่า คือ นวัตกรรมที่เหมาะสม ผนวกกับจิตวิญญาณที่เข้าใจสภาพที่เกิดขึ้นรอบตัว และนำวิธีการนั้น ๆ มาปรับใช้ ซึ่ง อาจจะนำ 8 วิธีข้างต้น มาประยุกต์ หรือสร้างสิ่งใหม่ ที่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ต้องเกิดจาก กลุ่มเขาเอง

                แต่ทั้งหมดทั้งปวง ผมให้น้ำหนักที่ว่า วิธีการใดใด ก็ตามในการนำมาใช้ในเรื่องต่าง ๆ จะเป็นการสร้างคน หรือเยียวยาสภาพปัญหา ต้องใช้ทุนเดิมที่ทีอยู่ในเรื่องนั้น ๆ และหากไม่ใช่ทุนเดิมที่มีอยู่ จะไม่สามารถเริ่มต้นสิ่งต่าง ๆ ได้เลยแม้แต่นิดเดียว สรุปง่าย ๆ คือ ต้องให้ความสำคัญกับรากฐานและประสบการณ์ที่มีอยู่เดิม แม้ว่าจะใช้วิธีการใดใด ก็ตาม ก็ยังต้องใช้ทุนเดิมที่มีอยู่เป็นจุดเริ่มต้น ทั้งนั้น

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 306229เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2009 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ธัมมะสวัสดีครับพี่นที

ผมอัพไฟล์รูปงานเสวนาแล้วนะครับ

http://gotoknow.org/blog/plays-learns/307280

update file เสียง งานเสวนาแล้วนะครับ

เบื้องต้นผมได้คุยกับครูวุฒิและครูเข้มว่า น่าจะมีการนำ๙ไปใช้ในหน่วยงานองค์กรของตน แล้วอีกสองเดือน ประมาณธันวาคม

เดือนของพ่อ เรามาคุยกันถึงความคืบหน้าและวิธีการที่นำไปใช้ ที่เห็นเป็นรูปธรรม กันอีกครั้ง

งานเสวนาครั้งต่อไป คาดว่าจะจัดที่เถียรธรรมสถานครับ

สาธุอนุโมทนาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท