อันตรายจากขวดพลาสติกบรรจุน้ำดื่ม


สารพิษชนิดหนึ่ง สามารถละลายออกมาปะปนกับน้ำดื่ม เนื่องจากขวดประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ครั้งเดียว

    นี่ก็เป็นอีกคำเตือนที่เพื่อนฝากมาทาง e-mail ครับ  อันตรายจากวัตถุปรุงแต่งมีอยู่รอบตัวจริงๆ  เรื่องนี้จะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน  ใครทราบช่วยต่อเติมให้ความกระจ่างด้วยครับ  ผมคนหนึ่งล่ะ ดื่มน้ำอุ่นที่เกิดจากการจอดรถกลางแดดบ่อยครั้ง   
    ป่านนี้จะมีสารแปลกปลอมพวกนั้นอยู่ในตัวสักกี่มากน้อยไม่ทราบได้ ระวังไว้ก็ดีนะครับ นี่คือข้อความที่ได้รับมาครับ

   เรื่องขวดน้ำพลาสติกที่บรรจุน้ำดื่มที่ขายๆกันตามห้างสรรพสินค้า เซเว่นอีเลฟเว่น รวมทั้งที่ไปเติมน้ำมันครบ 800 แถมน้ำ 1 ขวด อะไรทำนองนั้น  ปัจจุบันเพิ่งมีคนตายเพราะการนำขวดพลาสติกดังกล่าวไปบรรจุน้ำดื่มครั้งแล้วครั้งเล่า โดย สารพิษชนิดหนึ่ง สามารถละลายออกมาปะปนกับน้ำดื่ม เนื่องจากขวดประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ครั้งเดียว อายุการใช้งานสั้นๆเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่สมควรเสียดาย นำมาบรรจุน้ำดื่มอีก รวมทั้งน้ำที่มากับขวด หากแม้ว่าเปิดกินไม่หมดแล้วเก็บไว้ในรถยนต์ ซึ่งรถดังกล่าวอาจจอดที่ที่ร้อนๆ ความร้อนก็มีผลกับสารพิษที่มากับขวดได้
     
ดังนั้นเมื่อเปิดดื่มแล้ว ควรดื่มให้หมดภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ โดยเฉพาะหากเก็บขวดนั้นไว้ที่ร้อนๆ ถ้าเก็บที่อุณหภูมิห้องจะปลอดภัยกว่า

หมายเลขบันทึก: 102169เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2007 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ขอบคุณคะอาจารย์ หนูคนหนึ่งชอบเอาน้ำดื่มบรรจุขวดเก็บไว้ในรถเพื่อดื่ม เวลาขับรถ ลืมนึกถึงข้อนี้ไปคะ
  • เป็นประโยชน์มากครับ
  • บางครั้งเราไม่ได้ระวัง
  • ขอบคุณครับผม
ขออนุญาตสรุปข้อมูลต่างๆ เท่าที่ข้าพเจ้าทราบอยู่ในขณะนี้ครับ.

== forward mail เรื่องเด็กชาวดูไบตายจากการดื่มน้ำจากขวดพลาสติก ==

=== English version ===
forward mail ฉบับภาษาอังกฤษที่เวียนอยู่ใน internet
* http://www.mail-archive.com/[email protected]/msg00101.html
* http://www.dawn.com/2004/03/14/letted.htm

จดหมายข่าวในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ที่มีเนื้อหาเหมือนกับใน forward mail ชนิดคำต่อคำ
* http://www.britishschool.edu.om/newsletters/newsletterjune06.pdf (หน้า 4 หัวข้อเรื่อง Health & Safety)

จดหมายข่าวจาก CUTS safety watch (CUTS = Consumer Unity & Trust Society), เนื้อหาโดยสรุปจะเหมือนกับใน forward mail, แต่ไม่ได้เหมือนกันแบบคำต่อคำ
* http://www.cuts-international.org/pdf/beware3-04.pdf (หน้า 3 หัวข้อแรก)

=== Thai version ===
มีการแปลเป็นภาษาไทย แพร่หลายอยู่ในเว็บต่างๆ
* http://astarlink.exteen.com/20050921/pet
* http://variety.teenee.com/foodforbrain/457.html
* http://gotoknow.org/blog/handyman/102203

=== Thai version 2 ===
หนังสือพิมพ์สยามรัฐลงข่าวเรื่องเด็กชาวดูไบตายจากการดื่มน้ำจากขวดพลาสติก
* สคบ. (สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) นำข่าวจากสยามรัฐ ไปลงในวารสาร สคบ.
* โบรชัวร์โฆษณา ขายของ ของ ทัปเปอร์แวร์ ได้ตัดข่าว สคบ. นี้มาลงในโบรชัวร์, และ แนะนำให้หันมาใช้ ทัปเปอร์แวร์ แทน.

เทศบาลตำบลโกรกพระ และ สำนักงานพาณิชย์ยะลา คัดลอกข่าวจากวารสาร สคบ. ไปลงอีกต่อหนึ่ง
* http://www.krokphra.go.th/news/sorkorbor/sorcorbor.htm
* http://pcoc.moc.go.th/pcocsys/view_news.aspx?data_id=349&control_id=8&pv=95&view=1


=== ข้อมูลอีกด้านหนึ่ง ===
ข้อมูลที่พยามยามหักล้างความน่าเชื่อถือ ของ forward mail, โดยอ้างวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาผู้หนึ่ง
* http://learners.in.th/blog/living-green/45281#91425

อีกข้อมูลที่มีการหักล้างในประเด็นของสาร DEHA
* http://update.se-ed.com/218/letter.htm
* http://pantip.com/cafe/wahkor/topic/X6261246/X6261246.html#4
* http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2007/10/X5940947/X5940947.html#3
** ข้อมูลจาก url อันที่ 3 นี้จะต่างจาก 2 อันแรกตรงที่ url นี้บอกว่า Diethylhexyl adipate ใช้ในการผลิต PET ในขณะที่ 2 อันแรก บอกว่า Diethylhexyl adipate ไม่ได้ใช้ใน PET แต่ใช้ในฟิล์มพลาสติกใสที่ใช้ห่ออาหาร

ในอีกกระทู้หนึ่ง
* http://topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2007/08/L5687973/L5687973.html


== อันตรายจากสาร Bisphenol A ที่ใช้ในการผลิตขวด PET ==

ในกรณีของเด็กชาวดูไบตายที่กล่าวถึงใน forward mail ที่แพร่หลายนั้น, กล่าวถึงแต่เพียงสาร DEHA เท่านั้น.  ทั้งนี้มีบทความหนึ่งได้กล่าวถึงสารพิษที่ต่างออกไปคือ Bisphenol A
* http://learners.in.th/blog/living-green/45281
* http://learners.in.th/blog/living-green/83016

ข้อมูลเรื่องสาร Bisphenol A ในขวดพลาสติก จาก wikipedia
* http://en.wikipedia.org/wiki/Bisphenol_A#Identification_in_Plastics

ยังไม่มีข้อมูลที่ออกมาแย้งเรื่องสาร Bisphenol A ได้อย่างชัดแจ้งเท่ากรณีของสาร DEHA มากนัก.
ส่วนใหญ่จะเป็นการแย้งในประเด็นเรื่องความเข้มข้นของสารที่ปนเปื้อนออกมาอาจต่ำกว่าขีดอันตรายมาก, หรืออยู่ในระดับที่ยอมรับได้.
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท