เรื่อง Blog กับนักศึกษา ผมเคยไม่ค่อยกล้า .. แต่เทอมนี้ เอาแน่ !


เป็นที่ให้นศ.เก็บ "ขยะความรู้" มาวางให้อ่านกัน ... บางทีก็เป็นที่แสดงความชื่นชมอาจารย์ผู้สอนจน "เกิน พอดี"

     ไปอ่านบันทึกเรื่อง ใช้บล็อกในการเรียนการสอนระดับปริญญาโท ของอ.ดร.จันทวรรณ แล้วชอบใจจึงเขียนอะไรไว้ที่นั่น เพื่อเป็นร่องรอยที่ใกล้ตัว ขอบันทึกไว้ตรงนี้อีกครั้ง ดังนี้ ..

     ผมสอนเรื่อง Blog และแนะนำ gotoknow ให้นักศึกษาทุกกลุ่มที่เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการและ ICT. ทั้ง ป.ตรี และ โท
    เทอมนี้ มีหลายกลุ่มหน่อย ป.โท 2 กลุ่ม ป.ตรี 1 กลุ่ม และพิเศษ กลุ่มผู้บริหาร รร. ที่เรียนหลักสูตรพิเศษ ป.บัณฑิตบริหารการศึกษา ในชุดวิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ อีกกว่า 50 คน เพิ่งเชิญ ดร.ประพนธ์ไป หว่านเมล็ด นวัตกรรมสำคัญคือ KM ไปเมื่อ 24 มิย. ที่ผ่านมาครับ ทุกคนพอใจมาก ผมรีรอในการให้ผู้เรียนมี Blog เพราะเห็นว่าผู้สอนบางรายเข้ามาใช้แล้ว ออกอาการที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เป็นที่ให้นศ.เก็บ "ขยะความรู้" มาวางให้อ่านกันโดยไม่มีวี่แววของการใช้ความคิด หรือปัญญาแต่อย่างใด  บางทีก็เป็นที่แสดงความชื่นชมอาจารย์ผู้สอนจน "เกิน พอดี" แนวทางที่ผมทำตอนนี้ได้แก่การ ตั้ง Keyword มา 4-5 ตัวคือ สื่อสาร  สืบค้น/จัดเก็บ ประยุกต์/สร้างสรรค์ และ เผยแพร่ ประเมินผลจากงานที่ปฏิบัติเป็นสำคัญ  อาศัยการเรียนรู้แบบ Problem Based เป็นหลัก คือให้เขาทำงานตามวิธีการที่เห็นว่าดี มีประสิทธิภาพที่สุด  เอาผลงานมาดูและวิพากษ์วิจารณ์กัน เพื่อค้นหาความผิดพลาด บกพร่องและ หาทางออกหรือวิธีการที่ดีที่สุดในการทำงานนั้นๆ ทุกอย่างมีเหตุผลรองรับอย่างชัดเจนว่าทำไมต้องทำแบบนั้น ถ้าไม่ทำจะมีผลเสียหายอย่างไร ก็สนุกดีครับ ทุกคนต้องมี blog แต่ผมมีสนามย่อยให้ลงก่อน ได้แก่การใช้พื้นที่ ฟรีของ geocities บ้าง ของ pantown บ้าง สร้าง website ง่ายๆ มี board ให้ตั้งและตอบกระทู้กัน ต่อเมื่อเห็นว่ามีความพร้อมสักระยะหนึ่งจึงค่อยให้เข้ามาใช้ blog ผลจะเป็นอย่างไรคงได้นำมาแลกเปลี่ยนแบ่งปันกันครับ

หมายเลขบันทึก: 36146เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2006 01:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
เป็นระบบและขั้นตอนที่ดีมากเลยค่ะ ขอปรบมือให้และหวังว่าอาจารย์ท่านอื่นๆ ซึ่งต้องการใช้ประโยชฯจาก GotoKnow จะได้นำไปดัดแปลงให้เหมาะสมกันกับบริบทของตนได้ เยี่ยมๆค่ะ คุณ Handy
  • เยี่ยมเลยครับอาจารย์
  • ผมลองให้ผู้บริหารโรงเรียนและครูที่สนใจเข้ามาทำบ้างแล้ว บางโรงเรียนเผยแพร่ข้อมูลที่เราคาดไม่ถึง
  • ขอชื่นชมอาจารย์ครับ
นายสมชัย ทาเขี่ยง

หลังจากที่ได้นั่งเรียนในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่อาจารย์สอนเรื่อง  Blog  แล้วทำให้รู้สึก ว่าต้องมีความพยายามที่จะต้องค้นคว้าเพิ่มมากขึ้นเพื่อจะได้จัดทำเป็นครับ  และจะได้เป็นสมาชิกใหม่ใน Blog เพราะมีประโยชน์มาก

  • gotoknow คงจะเกิดประโยชน์มาก ตามเจตนาของผู้สนับสนุน และ ผู้พัฒนา ถ้ามี อาจารย์ที่ มีความคิดอย่างลึกซึ้งในการใช้อย่างท่านอาจารย์ Handy ครับ
  • ติดตามอ่านข้อคิดเห็นของอาจารย์มาพอสมควร อาจารย์เขียนได้ลึกซึ้งและละเอียดดีมากครับ
ขอบคุณทุกท่านครับ * คุณโอ๋-อโณ .. สิ่งที่คิดและกำหนดไว้ กำลังทำอยู่ครับ เมื่อวาน OK. วันนี้บ่าย กับกลุ่มผู้บริหารก็น่าจะไปได้ดีครับ พอญาติมาบอกว่าดีก็มั่นใจขึ้นอีกว่าน่าจะมาถูกทาง * คุณ น้องขจิต .. มาให้กำลังใจประจำ แถมส่งเสียง "Bravo" ไม่หยุดหย่อน ก็ขอส่งกำลังใจกลับว่า ลุยต่อนะน้อง ทำดีแล้ว Link ที่แนบมาก็ตามไปอ่านแล้วครับ * คุณสมชัย .. การเป็นสมาชิก ไม่ยากครับ มีคู่มือที่ทีมพัฒนาทำไว้ให้ และ Bloggers หลายท่าน รวมทั้งคุณโอ๋-อโณ ได้อนุเคราะห์จัดทำ-ปรุงแต่งเป็น Powerpoint บ้าง PDF บ้าง ครั้งหน้าจะพาไป Tour ครับ * ท่านอาจารย์ Panda .. ขอบคุณครับที่ให้เกียรติฝาก Comment ที่เป็นกำลังใจ ชื่อ Panda น่ารักดีครับ ยิ่งได้นามสกุล "Love Bamboo" ยิ่งน่ารักใหญ่เลย รู้สึกว่า Naturally Pure ครับ.
  • รอฟังผลว่าใช้สอนนักศึกษาจะเป็นอย่างไรบ้าง
  • ต่างจากMoodleหรือblogของต่างประเทศหรือเปล่า
  • แต่มั่นใจจากการทดลองว่าใช้พัฒนาครูได้ดีมากเลยครับ อย่างน้อยครูก็ได้เขียนReflectionและเก็บรวบรวมความรู้ได้

เรื่อง การแสดงความคิดเห็นจากข้อเขียนที่ได้อ่านบท 

        ความ  และขอแสดงความคิดเห็นจากตนเอง

เรียน  ท่านอาจารย์พินิต พันธ์ชื่น

         หากการที่ผมบรรยายต่อไปนี้เป็นเรื่องความคิดเห็นส่วนตัวมากไปก็ขออภัยนะครับ ผมอยากเรียนรู้โลกแห่งเทคโนโลยี่ใหม่ๆ จึงเข้ามาศึกษาปริญญาโทโดยหวังว่าจะไม่ทิ้ง ชีวิตให้เขลาเป็นเต่าพันปีให้คลื่นลูกใหม่กลบกลืนง่ายๆ

    ผมเป็นครูก็อยากเป็นครูพันธุ์ใหม่ที่หิ้ว NoteBook เข้าห้องเรียนเพื่อหวังให้เด็กได้รับวิวัฒนาการทันสมัยขึ้น   อาจารย์ครับถ้าไช้เทคโนโลยี่เข้ามาช่วยในการสอนแล้ว ไครจะคาดหวังได้ว่าเด็กไทยในอนาคตจะเป็นอย่างไร

  ผมอยากเสนอว่าต่อไปควรมีมือปราบสำหรับเด็กที่นำเทคโนโลยี่ไปไช้ในทางที่ผิด เช่นตัวอย่างที่เห็นในสคริบดังๆ

                           ขอแสดงความนับถือ

                             นายสัณห์ศักดิ์ ศรีทองเพชร

 

อ.สัณห์ศักดิ์ครับ ผมมีข้อแนะนำดังนี้ . การเสนอความคิดเห็นส่วนตัวนั้นถูกต้องแล้ว ประมวลจากความรู้ ความคิด และประสบการณ์ของเราเอง สื่อออกไปเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ถ้าไป Quote จากตำรามาวางก็ไม่ค่อยมีประโยชน์นัก . บันทึกต่อท้ายทำแบบสบายๆ ไม่ต้องเป็นทางการแบบจดหมายจะดีกว่า ลองเข้าไปอ่านใน Blog ต่างๆดูก็จะพอเห็นแนวทางว่า สบายๆเป็นอย่างไร . ชื่อผมสะกดผิดครับ . ความทันสมัยของเทคโนโลยี ไม่ใช่เครื่องบ่งบอกคุณภาพงานครับ ใช้อย่างฉลาด ใช้ตามความจำเป็น อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นเครื่องช่วยแก้ปัญหาและพัฒนางาน และไม่ประมาท ก็จะได้ผลที่ดีตามมา ผมว่าเทคโนโลยีนั้น ควร "ตามรู้ให้เท่าทัน แต่ อย่าขยันบริโภค" . เด็กไทยจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับกระบวนการเรียนรู้ที่ครอบครัว โรงเรียน และสังคมจัดให้แก่เขา หมายรวมถึงสื่อทั้งหลายด้วย ทั้งสื่อการเรียนการสอน และสื่อมวลชน . หามือปราบเด็กที่ใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด เท่ากับตามแก้ที่ "ผล" หรือ ปลายเหตุ น่าจะคิดทำในกระบวนการเรียนรู้ของเขา สร้างภูมิคุ้มกันด้วยการจัดกระทำที่ "ต้นเหตุ" ให้เขาได้พิสูจน์คุณค่าของตน จนพอใจในความมีแก่นสารของชีวิต ก็จะค่อยๆปิดช่องทางสู่ความเลวร้ายลงได้ รายละเอียดต้องช่วยกันแสวงหาคำตอบ ว่าทำอย่างไรได้บ้าง
จริง ๆ อยากจะให้เกิดความหลากหลายนะครับ ไม่ใช่ว่าเฉพาะ ม. ราชภัฏจันทรเกษม เท่านั้น ทั่วประเทศได้เลยครับถ้าเป็นไป
เหมือนจันทร์ จันทร์สุข
เป็นความคิดที่ดีมากเลยค่ะที่คนๆนึงกล้าที่จะทำอะไรที่คิดว่ายาก แต่อยากจะทำและจะทำให้ได้ ทำให้ดี เพื่อให้คนที่ไม่รู้หรือรู้แบบผิดๆ ได้รู้วิธีการที่ถูกต้อง และ Keyword คือ สื่อสาร  สืบค้น/จัดเก็บ ประยุกต์/สร้างสรรค์ และ เผยแพร่ ที่อาจารย์ตั้งมาก็เป็นวิธีการที่นำไปสู่การพัฒนาในด้านต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมได้อีกมาก คงได้ลงสนามทดลองกันเร็ววันนี้นะคะ  ...เทคโนฯนนท์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท