ลูกเม่า .. ผลไม้ประทังความหิวเมื่อวานนี้


      เมื่อวานผมขับรถออกจากบ้านตั้งแต่ 5.20 น. บึ่งมาด้วยความเร็วพอประมาณ ระยะทาง 70 กม. จากบ้านทีไชยา  ถึงประตูทางเข้ามรภ.สุราษฎร์ธานีตอนหกโมงตรงพอดีครับ จากนั้นก็นั่งรถตู้ของมหาวิทยาลัยเดินทางต่อเพื่อไปสอนที่กระบี่เป็นวันแรก

       เสร็จภารกิจก็นั่งหลับตื่นๆมาในรถ เพราะคืนก่อนตื่นตั้งแต่ตีสองกว่าๆ  มาถึงมรภ.ประมาณ 17.30 น. สหายสุดซี้ “อ.ชัยรัตน์ กันตะวงษ์” รออยู่แล้วที่ใกล้ๆตึกบัณฑิตวิทยาลัย กำลังตั้งหน้าตั้งตาเก็บลูกยางพาราที่หล่นกระจายอยู่ทั่วบริเวณแถวนั้น ผมจอดรถลงไปหา  ช่วยเก็บลูกยางให้สองสามเม็ด ขณะนั้นรู้สึกหิวค่อนข้างมาก เพื่อนก็ถามตรงใจพอดีเลยว่า “หิวมั้ย” เราก็ตอบสวนทันทีว่า “หิวมาก เพราะกลางวันที่กระบี่ทานข้าวมานิดเดียว” แต่แทนที่เขาจะพูดต่อว่าไปกินอะไรที่ไหนกันดี กลับบอกว่า “งั้นกินนี่ไปก่อนก็แล้วกัน” พลางชี้ไปที่ไม้พุ่มที่อยู่เบื้องหน้าเราสองคน

       แทบไม่เชื่อตาตัวเองครับ ต้นเม่า หรือหมากเม่าที่เราเคยเห็นในป่า และเพิ่งเสาะหามาปลูกไว้ 1 ต้นที่หน้าบ้านนั้น กลายมาเป็นไม้พุ่มที่เขาตัดแต่งเป็นทรงกลม สวยงาม ไม่คาดคิดเลยว่าจะเป็นต้นไม้ป่าดังกล่าว ที่สำคัญเมื่อเข้าไปดูใกล้ๆปรากฏว่ามีลูกสุกอยู่เต็มต้น จึงเก็บมาลองกินเล่นเพื่อรำลึกความหลังเมื่อครั้งเป็นเด็กที่เคยกินผลไม้ชนิดนี้ ตอนเข้าป่าเพราะหาได้ง่าย พบเห็นอยู่ทั่วไป

     แรกๆก็กินเล่นสนุกๆครับ แต่พอลองมากๆเข้า รสชาติชักถูกปากถูกใจ มีหวานอมเปรี้ยว แถวยังเคี้ยวเม็ดกลืนได้อีก และทางเจ้าภาพยังช่วยเก็บเพิ่มมาเติมใส่ฝ่ามือผมเป็นระยะ ทำอยู่นานสองนาน ในที่สุด ที่ว่ากินเล่นๆก็กลายเป็นจริงจังมากขึ้นและทำให้ลดความหิวไปได้มากทีเดียว ไม่น่าเชื่อครับสำหรับผลไม้มื้อเย็นเมื่อวานนี้

      นี่ครับ หลักฐาน

                      

                                        ลูกเม่า ผลไม้ประทังหิวเมื่อวานนี้

  ดูข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง ลูกเม่า มะเม่า หรือ หมากเม่า ได้ที่ ..

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ลูกเม่า#ไม้ป่า
หมายเลขบันทึก: 384839เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2010 08:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 07:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

ชนิดนี้ใช่ไหมครับ ที่กินแล้วติดฟันและลิ้นจนดำไปหมด

ทำไมลูกเม่าที่กระบี่ไม่ได้เป็นแบบนี้ค่ะ จะเป็นลูกเล็กๆเค้าจะเอามาตำคล้ายๆส้มตำกิน จะถ่ายรูปมาให้ดูแต่ไม่มีลูกเม่าให้ถ่ายเลย

สงสัยไม่มีแล้ว หาต้มมันไม่เจอ แต่มันมีลักษณะคล้ายๆพริกไทย ใบเล็กๆเมื่อสุกจะมีสีแดง หรือดำ

ลูกเม่ามีสองชนิดครับ  คือ เม่าบ้าน เเละเม่าป่าหรือเม่าขี้เเมว  ในภาพเป็นลักษณะของเม่าป่า ที่มีผลเล็ก เปรียวอมหวาน การรับประทาน ขนาดผลดิบ นำเอามารูดออกจากก้านผลเเล้วเอามาคลุกเหมอืนยำมะม่วง อร่อยมาก เเต่ถ้าเป็นผลสุก ก็รับประทานได้เลยครับ เปรี่ยมอมหวานอร่อยน่าดูครับ

ตอนเด็กๆก็เคยทานคะเป็นเม็ดเล็กกว่านี้คงคนละพันธุ์กัน แต่สมัยนี้หายากแล้วคะ

น่าอร่อยครับ ที่กระบี่หากินได้ที่ไหน ขยายพันธฺุ์ด้วยเมล็ดได้ไหมครับ จะหาเมล็ดมาเพาะปลูกที่บ้านบ้าง

แถวบ้านอ้อมน่าจะยังมีค่ะ สมัยก่อนตอนเด็ก ๆ เวลาตามพ่อไปทำนาจะเจอต้นเม่าตามคันนา ได้ทานบ่อยค่ะ

2 - 3 วันที่ผ่านมาคนข้างบ้านก็ให้หลานมาทานด้วย แต่ตอนสมัยเด็กคนแก่ ๆ เขาว่าถ้าทานเยอะจะปวดปัสสาวะ (สงสัยกลัวเด็ก ๆทานเยอะแล้วจะปวดท้อง)

ตอนเด็กๆ เคยกินค่ะ มีรสเปรี้ยว ตำแล้วใส่พริกสดและกะปิอร่อยมากเลย แต่ลูกเล็กกว่านี้อีกค่ะ

แถวบ้าน (อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ )มีเยอะมาก ชอบเก็บมาทำนำปลาหวานหรือตำเป็นส้มตำอร่อยมากค่ะมาชิมได้นะค่ะ

เดี๋ยวนี้รู้สึกว่าหากินยากแล้วนะครับ

ตอนที่ผมเรียนประถมผมเคยเก็บใส่กระเป๋าเสื้อนักเรียนปรากฏว่ามันติดเสื้อดำไปหมดเลย

เอามาทำน้ำพริกก็อร่อยมากเลยครับ แม่เคยทำให้กินน่ะครับ

สวัสดีครับอาจารย์ สนับสนุนความเห็นคุณหลวง

"ลูกเม่ามีสองชนิดครับ คือ เม่าบ้าน เเละเม่าป่าหรือเม่าขี้เเมว ในภาพเป็นลักษณะของเม่าป่า ที่มีผลเล็ก เปรียวอมหวาน การรับประทาน ขนาดผลดิบ นำเอามารูดออกจากก้านผลเเล้วเอามาคลุกเหมอืนยำมะม่วง อร่อยมาก เเต่ถ้าเป็นผลสุก ก็รับประทานได้เลยครับ เปรี่ยมอมหวานอร่อยน่าดูครับ"

บางแห่งเรียกเม่าไข่ปลา แต่ผลใหญ่เพราะความอุดมสมบูรณ์ ถือเป็นตัวชี้วัดชาวบ้านอย่างหนึ่งครับ

http://gotoknow.org/blog/thaophattalung/369871

อาจารย์ค่ะหมากเม่านี้ที่กระบี่ก็มีค่ะ แต่จะมี 2 ชนิด คือชนิดที่กินลูก และชนิดที่กินใบ ชนิดที่กินใบนี้ ถ้าเอาไปใส่ในแกงเลียงจะ อร่อยมากค่ะ

ดิฉันเคยกินสมัยเรียนอยู่ที่วิทยาลัยเกษตรสุราษฎร์ค่ะ เม็ดเล็กๆเค้าเรียกว่าเม่านาค่ะ เม็ดโตเหมือนของอาจารย์เรียกว่าเม่าป่าคะ หาได้ยากมากค่ะ สงสัยไปเรียนครั้งหน้าต้องแอบแวะไปเก็บมากินหน่อยแล้วละ

นำมาตำน้ำพริกหรือยำก็อร่อยนะคะ ที่บ้านเคยทำให้ทาน

ภาพเคลื่อนไหว

สวัสดีค่ะอาจารย์.......

ดิฉันก็เคยทานนะค่ะแต่แถวบ้านจะเรียกกันว่า ส้มเม่า ค่ะเมื่อตอนเด็กๆ เมื่อก่อนแถวบ้านจะเป็นป่าเลยมีต้นส้มเม่านี้เยอะมาก

แต่เมื่อ เวลาผ่านไปนานนับปี

ทำให้ต้นส้มเม่านี้เกือบจะสูญพันธ์ไปเลยก็ว่าได้ แต่ปัจุจบันก็ยังเหลืออยู่พอให้เห็นประปราย

อยากฝากเมนูเด็ดเกี่ยวกับผลไม้ชนิดนี้ ลองเอาเมล็ดดที่ใกล้จะสุกหรือสุกแล้วปะปนกันไป โดย

1.เอามาทิ่มในครก(พอหยาบนิดๆ)

2.ใส่เครื่องปรุง เช่น หอมแดง กะปิ น้ำตาลขาว น้ำปลา พริกสด(หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ) ค้นให้เข้ากัน

3.ปรุงรสแล้วแต่ชอบ

แค่นี้ก็เป็นสลัดผลไม้รสเด็ดได้อีกอย่างหนึ่งน่ะค่ะ

หน้าตาแปลกๆ ไม่เหมือนแถวบ้านผม แต่ถ้าเอามาใส่กะปินิด พริกหน่อย และน้ำปลา น้ำตาล แล้วตำน่าจะอหร่อยนะ ครับ

กระบี่ก็มีนะค่ะลูกหว้าแบบนี้แหละเหมือนกันเลย

แต่ที่บางคนบอกว่าเอามาโขลกกับกะปินะ น่าจะเป็นส้มเม้า เป็นภาษาพื้นบ้านทางใต้

แต่ภาษากลางเรียกอะไรไม่รู้ ลูกจะเล็กกว่าลูกหว้า ลูกหว้าเมล็ดกินไม่ได้นะค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์พินิจ หนูเป็นคนที่ชอบทานลูกเม่ามากเลยค่ะ เพิ่งทานไปเมื่อวันแม่ที่ผ่านมาเองค่ะ เขาว่ากันว่าต้นลูกเม่าเป็นต้นไม้ที่อดทนมากและยังวัดถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินละแวกนั้นอีกด้วยค่ะ

แถวบ้านจะเรียกลูกส้มเม่า อยู่จังหวัดกระบี่ค่ะ( อ.คลองท่อม) เอามาตัมพอเละนิดหน่อยใสกระปี พริกสด น้ำปลา น้ำตาล (อาจจะเรียกว่าโครก ก็ได้) ได้รสชาติไปอีกแบบค่ะ แถวบ้านจะมีสองชนิด คือสมเม่าป่า และสมเม่าบ้าน สมเม่าป่าจะมีใบเรียวเล็กต้นจะสูงกว่าสมเม่าบ้าน มีลูกขนาดเล็กกว่าสมเม้าบ้าน ถ้านำมาตัมสมเม่าป่าจะน่ากินกว่าค่ะ สมเม่าบ้านกินดิบ ๆ อร่อย

  • ขอบคุณทุกท่านครับ ต้องขออภัยที่ไม่ได้ตอบรายบุคคล
  • สำหรับคำถามของครูหยุย ที่ว่ากินแล้วติดฟันและลิ้นจนดำไปหมดนั้น น่าจะป็นลูก มังเครมากกว่าครับ บางถิ่นทางใต้เรียก ลูกเหมร (เมร๋)
  • วันนี้ผมไปบ้านญาติ คุยเรื่องลูกเม่าเม็ดโตในบันทึกนี้ เขาก็บอกว่าน่าจะเป็น "ลูกมุดชี" มากกว่า 
  • ผมก็ถึงบางอ้อ ลืมสนิทเลยว่าเด็กๆก็เคยกินและรู้จักมันดี
  • มุดชี อาจเป็นเพียงชื่อท้องถิ่น บางทีอาจเป็นหมากเม่าพันธุ์หนึ่งก็ได้

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์..............

ส้มเม่าที่กระบี่มีเยอะค่ะ เด่วถ้าเจอคาบสวนอาจารย์หนูจะนำไปฝากนะค่ะ

ถ้าปลูกไว้บริเวณบ้านหนูว่าคงจะดีไม่น้อยนะค่ะ นกคงมากินลูกเม่าเต็มไปหมด

ช่วยให้บริเวณบ้านร่มรื่นดีค่ะ

ขอบคุณครับคุณ ภัทรีพร เดโชศาสตร์

      อยากได้ต้นเม่า ทั้งสองสามพันธุ์ครับ ตอนนี้ปลูกไว้ต้นหนึ่งยังเล็กมาก  ได้มาจากในสวนปาล์มของเพื่อนที่สุราษฎร์ ไม่แน่ใจว่าเป็นพันธุ์ไหน

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์...........

ที่ศูนย์พันธุ์ไม้ ของจังหวัดกระบี่ อะค่ะ อาจารย์ เขามีแจกพันธุ์ไม้เยอะเลยค่ะ

สองสามวันก่อนเขาเพิ่งแจกไป แต่หนูติดฝึกสอนเด็กอะค่ะ เลยไม่ได้เข้าไป ถ้ามีโอกาสหนูได้

เข้าไปรับรอง ถ้ามีต้นเม่าเดี่ยวหนูเอามาฝากท่านอาจารย์แน่นอนค่ะ

ด้วยความเคารพทำงานก่อนค่ะอิๆๆๆ

สวัสดีค่ะคุณลุง handy

ดิฉันก็เคยเคยกินค่ะ ลิ้นกับฟันดำปี๋เลยค่ะ

* จากคราวที่แล้วที่ได้ให้คำแนะนำในการเขียนบันทึกดิฉันไป

ดิฉันก็ได้นำเอาไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลง พร้อมการพัฒนาขึ้น

ตอนนี้ก็เลยนำงานมาส่ง เพื่อที่จะให้อาจารย์ช่วยติเตียนผลงานให้หน่อยค่ะ

เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเขียนต่อๆไป ค่ะ

ดิฉันขอขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ

สวัสดีค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์ ..........

ลูกเม่า จำได้ตอนสมัยเป็นเด็ก เคยทาน ทานแล้วฟันดำด้วย แต่ตอนนี้ไม่ได้เห็นมานานแล้ว ว่างๆถ้าผมมีโอกาสไปราชภัฏสุราษฎ์ธานี กะว่าจะแอบไปทาน อิอิ ว่าแต่อยู่ตรงส่วนไหนของมหาลัยคับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

หนูคิดว่าคงจะเป็นแบบเดียวกันที่คุณพ่อกำลังหามาปลูกที่บ้านแน่เลยค่ะ

เดี๋ยวนี้มันหายากแล้วใช่มั๊ยค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ คนกระบี่เรียกส้มเม่าค่ะ ตอนเด็ก ๆ หนูทานบ่อยคะ นอกจากทานผลสุกสีดำ มีรสหวานแล้ว คุณป้าหนูเคยนำผลดิบสีเขียวมาใส่แกงส้มปลาย่าง (นำส้มเม่ามาใส่แทนมะขามเปียก) แกงส้มของคุณป้าหนูอร่อยมากค่ะ ถ้าอาจารย์สนใจแกงส้มปลาย่างกับลูกเม่าก็ลองทำดูค่ะ รับรองอร่อยแน่ ๆ ค่ะ วิธีปรุงก็ง่าย ๆ ค่ะ

ใส่ปลาย่าง เครื่องแกง กะปี ส้มเม่าโขลงพอประมาณใส่ลงหม้อ พอเดือดก็จะได้กลิ่นส้มเม่าแทนมะขาม ก็อร่อยอีกแบบนึงค่ะ พูดแล้วก็อยากทานนะ แต่เดี๋ยวนี้หายากคะ

ขอขอบคุณอาจารย์มาก ๆ นะคะที่อาจารย์เสนอเรื่องลูกเม่าขึ้นมา ทำให้หนูได้รู้จักลูกเม่ามากขึ้น สวัสดีค่ะ

     สวัสดีค่ะ...

     ที่บ้านหนู(สตูล)เรียกกันว่า..ลูกเม่า..มี2พันธุ์ค่ะ..คือลูกเม่าบ้านกับลูกเม่าป่า...ใบของลูกเม่าบ้านจะหนากว่าและก็มีรสเปรี้ยวสามารถนำมาแกงเลียงกับปลาย่างได้(เรียกกันว่าเลียงเคยเลียงเกลือ)..ลูกของมันก็มีขนาดใหญ่ หวานแล้วก็เนื้อจะเยอะกว่า..ส่วนเม่าป่าใบจะเล็ก บาง นำมาทำอาหารไม่ได้ ลูกของมันก็มีรสเปรี้ยวกว่า..ส่วนลูกสุกคนแถวบ้านหนูชอบเอามาคลูกกับเกลือป่นรสชาดก็จะออกเปรี้ยว หวาน เค็มถ้าช่วงไหนมีลูกเม่าเยอะทางโรงเรียนแถวน้นก็จะให้นักเรียนเก็บลูกเม่าสุกไปทำไวน์ลูกเม่ากัน..

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท