เสียงธรรมจากสวนโมกข์ (1)


"เอาเหงื่อล้างอัตตา" , ท่านอาจารย์พุทธทาสเคยกล่าวว่าคือเพื่อนตายของท่าน,ฟังเสียงของท่านอาจารย์พุทธทาส ตั้งแต่สมัย ปี พศ.๒๕๑๓

ผมผูกพันกับสวนโมกข์ค่อนข้างมาก ตั้งแต่สมัยเรียนชั้นประถมศึกษา เส้นทางชีวิตที่ไม่ได้กำหนดเอง แต่เป็นเพราะคุณพ่อที่เคารพรักเป็นผู้เลือกให้ ทำให้ผมน้อยใจและผิดหวังอยู่ไม่น้อยในระยะแรก

บ้านผมอยู่ห่างตัวอำเภอไชยาไปทางตะวันตกประมาณ ๑๔ กิโลเมตร จบป.๔ ที่โรงเรียนใกล้บ้านแล้วก็ต้องมาเรียนต่อในตัวอำเภอ เป็น ป. ๕ รุ่นแรก ถนนยังไม่มี จะเดินไป-กลับวันละ ๒๐ กิโลเมตรก็คงไม่ไหว จึงต้องมาอาศัยอยู่ในตัวอำเภอเพื่อเรียนต่อ ความจริงเราก็มีบ้านพี่ชายคนโตซึ่งแต่งงานมีครอบครัวอยู่ไม่ไกลอำเภอ และบ้านน้าชายที่ใกล้ชิดเหมือนพ่อคนที่สองอยู่ใกล้ตลาดไชยา แต่คุณพ่อกลับให้ผมไปอยู่วัด เป็นเด็กวัด ที่พิเศษยิ่งขึ้นไปอีกคือเลือกเอาวัดชยารามที่มีท่านพระครูสุธนธรรมสารเป็นเจ้าอาวาส (ท่านอาจารย์พุทธทาสเคยกล่าวว่าคือเพื่อนตายของท่าน) วัดอื่นมีทำไมไม่ให้เราไปอยู่ ผมคิดเช่นนี้ทุกครั้งที่เห็นเพื่อนๆที่อยู่วัดเหล่านั้น อยู่กันค่อนข้างสบาย เที่ยวเตร่ได้ค่อนข้างมาก ไม่ต้องลำบากเหมือนที่วัดของเรา พ่อเป็นคนพูดน้อย ไม่ได้บอกเหตุผลอะไร แต่คาดเดาได้ในตอนหลังว่าคงจะให้ผมได้เข้ามารับการฝึกความแข็งแกร่งและความเป็นคนที่สมบูรณ์ในสำนักนี้เป็นแน่ ความที่ผมเป็นลูกคนสุดท้องด้วยกระมังที่ทำให้พ่อตัดสินใจเช่นนั้น เพราะอยู่บ้านทำอะไรก็เหยาะๆแหยะๆ ไม่ค่อยต้องรับผิดชอบกับอะไรจริงจังมากนัก เดี๋ยวก็แม่บ้าง พี่สาวบ้าง พี่ชายบ้างช่วยกันโอ๋

ที่วัดชยารามผมเริ่มแปลกใจว่าทำไมเด็กวัดทั้งที่เป็นรุ่นพี่และรุ่นเดียวกันจึงมีแต่ลูกครู และข้าราชการเป็นส่วนมาก ลูกผู้พิพากษาก็มี นึกอีกทีพ่อเราแม้จะเป็นชาวนาก็นับว่ามีวิสัยทัศน์ที่ไม่ธรรมดาเหมือนกัน คิดอะไรแบบเดียวกับพ่อแม่ของเพื่อนๆเหล่านั้น

ชีวิตและความเป็นอยู่ที่วัดชยาราม ทรหด หรืออาจเรียกตามความรู้สึกในตอนนั้นว่า "โหดมาก" ก็ได้ ทุกหัวค่ำต้องสวดมนต์ทำวัตร เป็นบทสวดแบบแปลตามแบบฉบับของสวนโมกข์ แม้ว่าจะสวดตอนหัวค่ำแต่ก็สลับวันกันไประหว่างบทสวดทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็น แรกๆก็ใช้หนังสือ แต่ตอนหลังก็จำกันได้เกือบทุกคน สวดมนต์เสร็จต้องมารวมตัวกันอ่านหนังสือ ทำการบ้านที่โรงฉันโดยมีท่านอาจารย์พระครูสุธนคอยสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิด ผมเคยโดนไม้เรียวฟาดก้น เหตุเพราะท่านเดินเข้ามาหาแล้วถามว่าอ่านอะไร ผมตอบว่าเป็นหนังสือ เสรีภาพ (นิตยสารของสำนักงานข่าวสารอเมริกันในสมัยนั้น) ท่านพร่ำสอนว่าควรทำอะไร อย่างไร ก่อนลงไม้เรียวที่ก้นผม พร้อมด้วยคำว่า เสรีภาพ ๓ ครั้งตามเสียงไม้เรียว เจ็บและจำครับ ไม่ได้โกรธเพราะท่านไม่ได้ใช้อารมณ์ ตอนเช้าทุกคนต้องตื่น ตี ๕ มาอ่านหนังสืออีกรอบ ท่านจะเดินตรวจไปทุกกุฏิที่พวกเราอยู่ หากยังไม่ตื่นก็จะใช้ด้ามไม้กวาดกระทุ้งที่พื้นห้องเพื่อปลุก บางคนขี้เซามากโดนฟาดด้วยไม้เรียวทั้งๆที่อยู่ในมุ้งก็มี

ท่านอาจารย์พระครูสุธนฯ ขยันมากๆ มีฝีมือในการก่อสร้าง และเป็นนักอ่าน นักฟัง และติดตามข่าวสารบ้านเมืองอยู่เสมอ คอยอบรมสั่งสอนพวกเราทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่นหลังสวดมนต์ในวันพระ ที่ว่าไม่เป็นทางการเช่นตอนเราไปขอลาท่านกลับไปเยี่ยมบ้าน จำได้ว่าครั้งหนึ่งไปลากลับบ้านในขณะที่ท่านอยู่บนหลังคาส้วม กำลังง่วนอยู่กับการซ่อมเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคา พนมมือจนเมื่อยแล้วเมื่อยอีก กว่าท่านจะบอกว่าไปเถอะ เพราะก่อนถึงประโยคนั้นท่านจะสอนเรื่องความไม่เห็นแก่ตัว การสำนึกในบุญคุณพ่อแม่ ให้รู้จักทำงานแบ่งเบาภาระท่าน และ โทษของความขี้เกียจเป็นต้น คำฮิตติดหูคือ "อย่าเห็นแก่ตัว" ท่านเน้นย้ำอยู่เสมอ เรื่องความไม่เห็นแก่ตัวนี้ไม่ได้อบรมกันด้วยการบอกกล่าวเท่านั้น ท่านจะนำพวกเราทำงานหนักอยู่เสมอเช่นขุดดิน ลอกคูคลองทางเดินเข้าหมู่บ้าน ขุดสระน้ำ ซ่อมแซมถนน แทบทุกคืนวันศุกร์ เริ่มตั้งแต่หัวค่ำท่านจะนำพวกเราออกทำงานดังกล่าว โดยใช้ตะเกียงเจ้าพายุเป็นเครื่องให้ความสว่างในการปฏิบัติการ "เอาเหงื่อล้างอัตตา" ตามแบบฉบับของสวนโมกข์ ท่านย้ำบ่อยๆว่ากินข้าวของเขา ต้องรู้จักทำอะไรทดแทนบุญคุณ นอกจากนี้กิจวัตรหลักของพวกเราอีกอย่างคือการเดินเท้าไปสวนโมกข์ ระยะทางประมาณ ๔-๕ กิโลเมตร ขาไปก็หอบหิ้วของไปช่วยเสริมที่โรงครัวสวนโมกข์ ทั้งอาหารแห้งและพืชผักที่มี โดยเฉพาะดอกขี้เหล็กที่มีมากที่วัดของเรา ขากลับบางทีก็มีสะตอจากสวนโมกข์ติดมือมาเลี้ยงพระที่วัดชยาราม กิจกรรมที่ทำที่สวนโมกข์ได้แก่การจัดเรียงหินตามทางเดินขึ้นเขาพุทธทอง เทปูนในงานก่อสร้างตามจุดต่างๆ รวมทั้งโรงมหรสพทางวิญญาณที่เพิ่งจะก่อสร้างในตอนนั้น การไปล่องแพไม้ซุงมาใช้ในการก่อสร้างพวกเราก็ได้ทำ การเลื่อยไม้ซุงเป็นแผ่นไม้กระดานก็ได้ทำ แรกๆก็เมื่อยแขนมาก แต่นานๆเข้าก็เริ่มชิน

นอกจากการต้องมีวินัย และต้องทำงานหนัก หลากหลายรูปแบบแล้ว ทุกวันพระเด็กวัดชยารามต้อถือศีลอุโบสถ งดอาหารเย็น จำได้ว่ามีครั้งหนึ่งผมอ่อนเพลียมากจนแทบจะออกไปเดินปิ่นโตตอนเช้าไม่ไหว อาหารเย็นของพวกเราในวันปกติเป็นเมนูที่หลายท่านอาจไม่เชื่อ หรือฟังแล้วอาจรู้สึกผะอืดผะอมขึ้นมาก็ได้ แต่รับรองว่าเป็นเรื่องจริง ไม่ได้ปรุงแต่งครับ คือเราจะเอากับข้าวทุกอย่างที่เหลือมาจากตอนกลางวันเทรวมกันในหม้อใบใหญ่ มีทุกอย่าง เช่นน้ำพริก แกงจืด แกงเผ็ด ของทอด และยำสารพัดชนิด นำมาต้มรวมกัน บางทีก็คั้นกะทิใส่เพิ่มและเติมน้ำปลาเข้าไปด้วย เราเรียกกันว่า "แกงรวม" เสร็จสรรพก็ตักราดข้าวแบ่งปันกันกินในหมู่อารามบอยของวัดนี้ .. กินเพื่ออยู่ กินเพื่อรับประโยชน์จากการกินครับ

เรื่องนี้ยังไม่จบครับ ยังมีเกร็ดชีวิตที่อยากเขียนอีก แต่เพราะมีงานที่ต้องรีบทำรออยู่ จึงต้องสมมติยุติลงด้วยเวลา เอ๊ะ แต่อ่านๆมาได้เห็นธรรม หรือการปฏิบัติธรรมบ้างหรือยังล่ะครับ ถ้าไม่มี หรือไม่เห็น ลอง Click ที่ Link ข้างล่างนี้ซิครับ ท่านจะได้ฟังเสียงของท่านอาจารย์พุทธทาส ตั้งแต่สมัย ปี พศ.๒๕๑๓ ในการอบรมพระนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น File เสียงสั้นๆ ต่อๆกันไปครับ ขอให้ได้รับประโยชน์จากการอ่านและการฟังกันให้เต็มที่นะครับ

http://www.pantip.com/~buddhadasa/dhammasound1/Buffalo.html

* * ขออภัยด้วยครับ ผ่านมานานหลายปี มาดูอีกทีก็พบว่า Link ข้างบนได้ ถึงแก่อสัญกรรม ไปแล้ว ไม่เป็นไรครับ ไปพบท่านอาจารยได้ที่ ..

http://www.buddhadasa.com/

อันนี้ภาคภาษาไทย

http://www.suanmokkh.org/history/teacher1.htm

อันนี้เป็นภาษาอังกฤษที่กัลยาณมิตร ศิษย์สวนโมกข์ นาม Santikaro ทำไว้

สวัสดีครับ.

หมายเลขบันทึก: 6047เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2005 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2016 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

     ผมก็สนใจคำสอนของท่านมากนะครับ อย่างเช่นที่ได้เคยเขียนบันทึกไว้ ความกลัว, ความสุข, และ ความจริงของชีวิต #2 “คน”

     ต่อไปคงได้อ่านอีกเยอะ ๆ นะครับ

ขอสมัครเป็นสมาชิกติดตามแนวคิดอันดีงามและสร้างสรรค์ของท่านด้วยคน นะคะ

สาธุ รออ่านตอนต่อไปนะครับ..

สนใงนของท่านพุทธทาสมาก เขียนบ่อย ๆนะครับรออ่านอยู่

นับว่าโชคดีมากนะครับที่ได้มีโอกาศเติบโตมาจากโลกแห่งนักปราชญ์ มิน่าท่านมีคุณสมบัติ เช่นนี้ รออ่านต่อครับผม

สวัสดีครับ
    ไม่น่าเชื่อว่าผมจะแย่ขนาดนี้ อาจตื่นเต้นมากไปหรืออย่างไรไม่ทราบได้ .. บันทึกแรกแท้ๆ ไม่ตอบต้อนรับแขกเลย ผ่านไปร่วมปีครึ่งเข้าแล้ว
    ขอบคุณ ครู บัว ทองกะไลย ที่ทำให้ผมได้ย้อนกลับมาพบความจริง และได้ตอบขอบคุณทุกท่านในวันนี้

  • คุณ ชายขอบ ... ได้เป็นน้องชายที่นับถือ เป็นคนแรกของผมไปนานแล้ว .. ห่างหายไปด้วยภารกิจการงาน ก็ยังคิดถึงเสมอครับ
  • ท่านผู้ใช้นาม เคารพ และศรัทธา  naigod และคุณ ออต  ขอบคุณครับที่ให้เกียรติมาเยี่ยมบันทึกแรกของผม
  • ครู บัว ทองกะไลย  ... ขอบคุณมากครับ เจอตัวจริงครั้งแรกที่ งานมหกรรม KM-3 แต่ไม่ได้คุยกัน  พอพบกันอีกครั้งที่ดอนเจดีย์ เมืองสุพรรณ พูดได้สั้นๆ ว่า พวกเดียวกัน อีกคนแล้วครับ
กำลังจะไปฝึกนั่งสมาธิที่สวนโมกข์ค่ะ แต่ไปไม่ถูก พยายามหาเส้นทางทั้งอากาศ และบก ที่ทำให้ตัวเองไม่หลงทาง ด้วยการค้นหาผ่าน google และก็มาเจอกับ blog ของอาจารย์ (ขออนุญาตเรียกว่าอาจารย์นะคะ) แวะเข้ามาอ่านประสาคนเรื่อยเฉื่อยชอบเฉไฉออกนอกเส้นทาง อ่านแล้วเกิดความรู้สึกว่า อย่างไรก็ต้องไปสวนโมกข์ให้ได้

คุณปัทมาครับ
     ด้วยความยินดีครับ  ขณะนี้ผมอยู่ที่ HoChiminh City ที่เวียดนาม จะกลับพรุ่งนี้แล้วครับ
     หากสนใจการไปสวนโมกข์ให้ลองโทร.ไปคุยกับญาติสนิทผมที่นั่นดูได้เลย ไม่ต้องเกรงใจครับ  บอกว่าผมแนะนำไปเป็น OK.

  • 084-628-6590   หรือ
  • 077-431-458

ท่านอาจารย์

  • รีบกลับไว ๆ
  • คิดถึง คิดถึง คิดถึง

สวัสดียามดึก คุณน้องในดวงใจ Miss somporn poungpratoom 

  • พรุ่งนี้ก็กลับแล้วครับ
  • คำสั้นๆ คิดถึง นั้นอ่านแล้วอุ่นมากเลยนะ จะบอกให้
  • ทำงานหนัก อย่าลืมดูแลสุขภาพด้วยนะ
  • รัก คิดถึง และเป็นห่วง
  • คำ ท่านอาจารย์ อนุญาตให้ใช้ครั้งสุดท้าย .. ไม่งั้น โป้ง จริงๆด้วย อิ อิ อิ.

จ้าพี่จ๋า

ติดพ่อครูมาค่ะ เพราะพ่อชอบเรียกพระอาจารย์อ่ะ

ดีมาก
   ว่านอน  สอนง่าย  ไม่ดื้อ  อิ อิ อิ
คิดถึงนะ
อ.สราวุธ(ครูตัน) ศรลัมภ์

 

     หวัดดีครับอาจารย์แก่น        ตอนนี้โรงเรียนใกล้ปิดเทอมต้นงานก้ยิ่งมากขึ้นเพราะทาง สพท.มีการติดคามนิเทศน์จุดเน้นฯ6.ข้อของสพท.อย่างเอาจริงเอาจังและยิ่งใกล้สิ้นปีงบประมาณอีกด้วยงานก็มากหน่อยทำให้ครูอายุมากๆอย่างผมฟิตงานขึ้นอีก20-30เปอร์เซ็น

     อาจารย์แก่นเป้นไงบ้างครับสบายดีนะครับขอให้สุขภาพแข็งแรง

        อาจารย์สราวุธ
 

อาจารย์ก็เป็นนักเล่าเรื่องที่เล่าได้น่าติดตามมากค่ะ

ชอบอ่านหนังสือท่านพุทธทาสมากค่ะ จริงๆตัวเองเพิ่งจะมาใฝ่ทางธรรมไม่นานน้อยกว่าสิบปีค่ะ เคยคิดว่าธรรมะไม่ใช่สำหรับเรา และตอนนั้นไม่เคยอ่านหนังสือของท่านเลยเพราะคิดว่าท่านคงพูดถึงธรรมะแบบสูงๆหรือเป็นวิชาการ เข้าใจยาก แต่พอหมดกรรมดวงตามองเห็นทางธรรม ได้มาอ่านแล้วรู้สึกว่านี่แหละของจริงแท้สำหรับมนุษย์ทุกคน นับว่ายังโชคดีนะคะ

ขอบพระคุณท่าน อ.คุณนายดอกเตอร์ มากครับที่ติดตามมายัง บันทึกแรกของการเขียนบันทึกลง Blog ของผมครับ 2 ปีเต็มมาแล้วนะครับ
    สวัสดีครับ 

เรียนท่านพี่ ตามมาเรียนรู้ JJ จำได้ว่าตอนมาบวชและจำพรรษา เมื่อ ปี ๒๕๑๖ เดินไปรับบาตร หลายกิโลครับ เจ็บเท้าแค่วันแรก วันต่อไปสบายๆ ครับ

สวัสดีครับอาจารย์

ภาคภูมิใจมากครับที่ได้รับความรู้

ท่าน JJ ... อ. สุจรินทร์ วรรณมาศ และ ท่าน สุวัฒน์ รัตนปริคณน์
    ขอบคุณครับที่แวะเวียนมาอ่าน บันทึกแรกของผม ใน Gotoknow แห่งนี้

สวัสดีค่ะ

คำว่า"สวนโมกข์" ขลังอยู่แล้วในความรู้สึก อ่านบทความที่เรียบง่ายแต่ทำให้เกิดศรัทธาใน ธรรมะ มากขึ้น จะติดตามอ่านเรื่อย ๆ ค่ะ

ขอบคุณ ครูแหม่มมากครับ

  • ตามมาอ่านบันทึกแรกใน Blog
  • อ่านแล้วได้ประโยชน์ก็ ดีใจด้วยครับ

เคารพศรัทธายิ่ง นมัสการหลวงพ่อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท