คนรู้จักให้มีความสุขมากกว่าคนเค็มๆ (ไม่รู้จักให้)


คนไทยเราคงจะทราบกันดีว่า การให้นำความสุขมาสู่ผู้(รู้จัก)ให้ ทว่า... ฝรั่งยังสงสัยเรื่องนี้กันอยู่ จึงต้องทำการศึกษาวิจัย วันนี้มีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการให้มาฝากครับ

...

คนไทยเราคงจะทราบกันดีว่า การให้นำความสุขมาสู่ผู้(รู้จัก)ให้ ทว่า... ฝรั่งยังสงสัยเรื่องนี้กันอยู่ จึงต้องทำการศึกษาวิจัย วันนี้มีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการให้มาฝากครับ

ท่านศาสตราจารย์เอลิซาเบต ดันน์ และคณะ ทำการทดสอบทฤษฎีที่ว่า ความสุขของคนเราไม่ได้มาจากการแสวงหาอย่างเดียว ทว่า... ขึ้นอยู่กับความสุขจากการใช้จ่ายอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการ(รู้จัก)ให้ด้วย

...

ท่านทำการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 630 คน ผลการศึกษาพบว่า

  • คนที่(รู้จัก)ให้มีความสุขมากกว่าคนที่ไม่(รู้จัก)ให้
  • ผู้ใหญ่ที่(รู้จัก)ให้มีความสุขมากกว่าผู้ใหญ่ที่ไม่(รู้จัก)ให้

...

ทำไมคนเราจึงมีความสุขจากการให้... อาจารย์ท่านอธิบายไว้อย่างนี้

  • การให้ทำให้ผู้ให้มองตัวเองในแง่ดีมากขึ้น
  • การให้ทำให้ผู้รับหรือสังคมมองผู้ให้ในแง่ดีมากขึ้น

...

อาจารย์ดอกเตอร์จอร์จ ฟีลด์แมน นักจิตวิทยา แห่งเบอร์มิงแฮม นิว ยูนิเวอร์ซิที่ สหราชอาณาจักรกล่าวว่า

  • "Giving to charity partly makes you feel better because you're in a group. You are also perceived as being an altruist.
  • "On an individual level, if I give to you, you are less likely to attack me and more likely to be nice to me.
  • "การให้อะไรๆ กับส่วนรวมหรือสังคมมีส่วนทำให้ผู้ให้รู้สึกดีขึ้น เนื่องจากเป็นที่ยอมรับของสังคมมากขึ้นว่า เป็นคนมี "น้ำใจ"
  •  

    "การให้อะไรๆ กับบุคคล(ให้เป็นส่วนตัว)มีส่วนทำให้คนอื่นเป็นมิตรกับผู้ให้มากขึ้น มีความเป็นศัตรูกันน้อยลง"

...

บางคนอาจจะคิดว่า การให้จำเป็นต้องใช้วัตถุสิ่งของเสมอไป ทว่า... ความจริงแล้ว คนเราก็โหยหาสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุมากเหมือนกัน

ตัวอย่างการให้ที่ไม่จำเป็นต้องใช้วัตถุสิ่งของ เช่น

...

  • ให้กำลังใจ > หัดชื่นชมคนรอบข้างให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะการแสดงความชื่นชมคนใกล้ตัว... เมื่อคนอื่นทำความดี เช่น กล่าวขอบคุณหรือขอบใจคนที่จัดเตรียมอาหารให้ ฯลฯ

...

คุณครูภาษาไทยของผู้เขียนกล่าวว่า "ถ้าถามว่า ใครเป็นคนน่ารักในสายตาคนไทย หรือคนไทยชอบคนอย่างไร"...

"คนไทยชอบคนที่กล่าวคำว่า ขอโทษ ขอบคุณ และขอบใจเป็น"

...

เรื่องนี้คงจะฝึกฝนกันได้ไม่ยาก โดยเริ่มจากการหัดชื่นชมคนอื่น (appreciation ที่อาจารย์ท่านหนึ่งเรียกว่า "อัปปรีย์ซิเอชั่น") วันละ 1 ครั้ง หลังจากนั้นให้เพิ่มเป็นวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร (คนเราอารมณ์ดีตอนหลังอาหารมากกว่าก่อนอาหาร)

ส่วนเรื่องการขอโทษนั้น... ควรฝึกบ่อยๆ ไม่ว่าเราจะทำอะไรผิดพลาดหรือไม่ก็ควรกล่าวคำนี้ให้ได้ หัดไหว้ตอนขอโทษด้วยยิ่งดี เพื่อส่งเสริมการให้อภัยทาน

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                  

  • Thank BBC > Charity 'makes you feel better' > [ Click ] > March 20, 2008. / Science Magazine.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > 21 มีนาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 172217เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2008 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารย์ครับ

มีข้อสงสัยอยู่ว่า มันจะเกิดการบ่มเพาะอีกขั้วหนึ่งไหมว่า   ได้ไม่รู้จักพอ   ครับ

                                                รวมตะกอน

ขอขอบคุณ... คุณสิทธิรักษ์

  • จริงครับ... โรค "ไม่รู้จักพอ" กำลังระบาดไปทั่ว และอาจจะระบาดมานานแล้ว (เกือบทุกยุคทุกสมัย) ด้วย
  • ทีนี้ถ้าเรารู้จักอยู่แบบพอเพียง และมีใจแบบ "เพียงพอ" แล้ว คงจะมีความสุขขึ้นได้ในวันนี้ทีเดียว...

สวัสดีค่ะอาจารย์

เห็นด้วยทุกข้อค่ะ

การให้มีความสุขเสมอ..อย่างน้อยก็สุขใจที่ได้ให้

เมื่อคิดที่จะให้ใจก็เป็นสุข...เมื่อให้แล้ว ก็เป็นสุขที่ได้ให้

การให้เป็นปัจจัยที่ช่วยตัดความโลภออกจากใจได้เป็นอย่างดีทีเดียว...

ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์และท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านครับ...

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท