ทำไม ควันบุหรี่จึงเพิ่มเสี่ยง(โอกาสเป็น)มะเร็งปอด


เป็นที่ทราบกันดีว่า บุหรี่มีส่วนทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคภูมิแพ้ ถุงลมโป่งพอง มะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งปอด

...

เป็นที่ทราบกันดีว่า บุหรี่มีส่วนทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคภูมิแพ้ ถุงลมโป่งพอง มะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งปอด

บุหรี่เป็นสาเหตุของมะเร็งประมาณ 30% ของมะเร็งทั้งหมด วันนี้มีผลการศึกษาที่พบว่า ควันบุหรี่ทำให้เซลล์ปอดอ่อนแอ และบอบบาง ซึ่งส่งผลให้เกิดมะเร็งปอดได้ง่ายมาฝากครับ

...

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์ลอรา เฮส์ (Dr. Laura Hays) และคณะจากมหาวิทยาลัยโอเรกอน เฮลต์ แอนด์ ซายส์ สหรัฐฯ ทำการศึกษาวิจัยพบว่า

ควันบุหรี่มีส่วนทำให้เซลล์ปอดสร้างโปรตีนป้องกันมะเร็งชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า "แฟนซีดี2 (FANCD2)" ได้ช้าลง

...

เจ้าโปรตีน "แฟนซีดี2 (ไม่ทราบเป็นอะไรกับแผ่น CD)" ทำหน้าที่ในการปกป้องเซลล์ปอดจากมะเร็งผ่านกลไกสำคัญ 2 อย่างได้แก่

  • ซ่อมแซมสารพันธุกรรมหรือ DNA ที่ได้รับความเสียหาย ให้กลับมาดีดังเดิม
  • ถ้ากระบวนการซ่อม DNA เสียหาย และเซลล์เกิดการแบ่งตัวผิดปกติ > เจ้าแฟนซีดี2 จะออกคำสั่งพิเศษ ให้เซลล์ที่ผิดปกติไป "ฆ่าตัวตาย" เพื่อไม่ให้เติบโตเป็นมะเร็งต่อไป

...

เมื่อเซลล์ปอดสร้างโปรตีนที่ชื่อว่า "แฟนซีดี2" ได้ช้าลง หรือน้อยลง จะทำให้ความเสี่ยง (โอกาสเป็น) มะเร็งปอดเพิ่มขึ้นอย่างมาก

บุหรี่เป็นสาเหตุของมะเร็งในสหราชอาณาจักร (หมู่เกาะอังกฤษ) ประมาณร้อยละ 90

...

คนที่สูบบุหรี่แล้วไม่เป็นมะเร็งก็มีหลายคนเหมือนกัน ตัวอย่างเช่นคุณพ่อของผู้เขียนซึ่งเกิดมาไม่เคยเป็นมะเร็งเลยแม้แต่ชนิดเดียว ทว่า... เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเมื่ออายุ 52 ปี

กลไกที่บุหรี่ไปทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบตันได้ง่ายนั้น สันนิษฐานกันว่า น่าจะเกิดจากกลไกสำคัญ 2 ประการได้แก่

...

  • สารนิโคตินออกฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดหดตัว > เส้นเลือดที่หดตัวจะตีบตันได้ง่าย เปรียบคล้ายท่อเล็กที่ตันได้ง่ายกว่าท่อใหญ่
  • สารพิษหลายชนิดจากบุหรี่ทำให้หลอดเลือดเกิดการอักเสบ หรือธาตุไฟกำเริบ ทำให้เส้นเลือดบวม มีขนาดเล็กลง และมีการพอกของคราบไขมันได้เร็วขึ้น 

...

เรียนเสนอให้พวกเราหันมาหลีกเลี่ยง(ดีกว่าต้านทาน) ลด ละ เลิกบุหรี่ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือ สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายต่อต้านการสูบบุหรี่ในหมู่นักเรียน หรือวัยรุ่น เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมของคนที่มีสุขภาพดี (healthy society)

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                  

  • Thank BBC > Smoking 'triggers deadly changes' > [ Click ] > May 14, 2008. // British J of Cancer.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 15 พฤษภาคม 2551
หมายเลขบันทึก: 182452เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2008 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เคยมีคนรู้จักเปิดร้านอาหาร ไม่เคยสุลบุหรี่ ตายตอนอายุ 30 ปี เพราะเ็ป็็นมะเร็งปอดคะ่ คงได้รับควันบุหรี่จากลูกค้านะคะ

คุณหมอครับ ผมสูบบุหรี่มาประมาณ ๔๐ ปี ผมเลิกได้แต่ผมไม่กล้าเลิกครับเพราะเห็นเพื่อนฝูงที่สูบบุหรี่มานานแล้วเลิกบุหรี่ มีอันเป็นไปแทบทุกคน ผมเดาเอาว่า คงเกิดจากสภาพร่างกายที่เคยชินในการรับสารนิโครตินอยู่เป็นประจำ จึงเป็นปรกติวิสัยของการทำงานในสภาพภายในของร่างกาย พอเลิกบุหรี่ ความเคยชินที่เคยได้รับสารดังกล่าวเปลี่ยนไป ร่างกายปรับตัวไม่ทัน เกิดโรคแทรกซ้อน รวมทั้งมะเร็งปอดด้วย (เมื่อยังสูบอยู่ไม่เป็น พอเลิกสูบแล้วเป็น) ความคิดของผมเช่นนี้ มีส่วนถูกบ้างไหมครับหมอ ถ้าเป็นการคิดผิดผมต้องขออภัยด้วย ผมอยากได้ความรู้จากหมอเพิ่มเติมครับ ผมช่วยเหลือสังคม โดยกระตุ้น เตือนให้ลูกหลาน งด เลิก ไม่ลอง ไม่เสพบุหรี่ ผ่านรายการทางวิทยุกระจายเสียงเป็นประจำ ทั้งๆที่ตัวเองก็ยังสูบ จึงให้รู้สึกละอายใจมากครับ อาจารย์เก

ขอขอบคุณ... คุณ pannornote

  • เป็นไปได้จริงๆ ครับ... เรื่องควันบุหรี่มือสอง หรือควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบนี่อันตรายมากจริงๆ

ขอยกตัวอย่างบ้านผมก็แล้วกัน...

  • คุณพ่อสูบ > เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเมื่ออายุ 52 ปี
  • คุณแม่ไม่สูบ > หายใจควันเข้าไป เป็นโรคถุงลมโป่งพอง > ต้องใช้เครื่องหายใจประมาณเดือนกว่าๆ ก่อนเสียชีวิต
  • ตัวผมเอง > เป็นโรคภูมิแพ้มากมาย...

ขอขอบพระคุณอาจารย์เก...

  • ชีวิตคนเราไม่จำเป็นต้อง "สมบูรณ์แบบ" ไปเสียทุกเรื่องครับ มีดีบ้าง มีเสียบ้าง
  • หน้าที่ของเราคือ ทำส่วนของเราให้ดี ไม่จำเป็นต้องกดดันตัวเราให้เป็น "แบบอย่าง" ให้คนอื่นเสมอไป

การศึกษาที่ผ่านมา... พบว่า การเลิกบุหรี่ให้ผลดีตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมงแรก คือ เลือดจะมีออกซิเจนไหลเวียนดีขึ้น

  • ทว่า... การเลิกบุหรี่ก็เหมือนกับเรื่องอื่นๆ ของชีวิตคือ ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ ชีวิตเป็นเรื่องของ "การลงทุน"
  • ไม่มีหลักฐานว่า การเลิกบุหรี่ทำให้เสียชีวิต
  • ไม่เหมือนการเลิกเหล้า ซึ่งถ้าติดรุนแรงและเลิกทันที อาจทำให้ชัก หรือถึงตายได้ จึงควรปรึกษาหมอใกล้บ้าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท