ปลาหมึกไทย...กินมากไปคงไม่ปลอดภัย


เป็นที่ทราบกันดีว่า อาหารทะเล เช่น หอยนางรม ปลา ฯลฯ มีแร่ธาตุซิ้งค์ (สังกะสี) ค่อนข้างสูง (แร่ธาตุนี้พบในเมล็ดฟักทองเช่นกัน) นอกจากนั้นปลาทะเลยังเป็นแหล่งของไขมันชนิดดีมาก (โอเมกา-3) อีกด้วย

...

เป็นที่ทราบกันดีว่า อาหารทะเล เช่น หอยนางรม ปลา ฯลฯ มีแร่ธาตุซิ้งค์ (สังกะสี) ค่อนข้างสูง (แร่ธาตุนี้พบในเมล็ดฟักทองเช่นกัน) นอกจากนั้นปลาทะเลยังเป็นแหล่งของไขมันชนิดดีมาก (โอเมกา-3) อีกด้วย

สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัยทำการสุ่มตรวจปลาหมึกไทยพบว่า มีการปนเปื้อนสารแคดเมียมดังตาราง

...

ค่าปกติที่ยอมรับได้ของแคดเมียมคือ ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม (มก.) ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม โปรดสังเกตว่า คราวนี้อาจารย์ท่านไปสุ่มตัวอย่างไกลถึงพิษณุโลก

ช่วงเวลาที่สำรวจคือ 30 เมษายน 2551 - 6 พฤษภาคม 2551 พบว่า เกินขีดที่ยอมรับได้ไป 1 ใน 5 ตัวอย่าง

...

ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ ปริมาณแคดเมียม (มก./กก.)
ผัดกะเพราปลาหมึก ศูนย์การค้าใน อ.เมือง 0.08
น้ำพริกเผาปลาหมึก ตลาดโต้รุ่งแยกบ้านแขก 0.11
ปลาหมึกผัดน้ำมันหอย ร้านโต้รุ่งหลังอาชีวะ 0.14
ปลาหมึกทอดกระเทียม ร้านโต้รุ่งแยกประตูมอญ 1.97
ยำปลาหมึก ร้านโต้รุ่งหน้า ม.นเรศวร 0.09

...

แคดเมียมเป็นโลหะหนักที่ใช้ในอุตสาหกรรมย้อมผ้าแพร กระดาษ หมึกพิมพ์ สีที่ใช้ทาภาชนะ

เศษแคดเมียมจะสะสมในดิน และดินตะกอนใต้น้ำ

...

อาจารย์จากกรมประมงกล่าวว่า ปลาหมึกแต่ละชนิดจะมีสารแคดเมียมไม่เท่ากัน โดยจะพบในปลาหมึกลายและปลาหมึกกระดองมากกว่าปลาหมึกกล้วย

สาเหตุเนื่องจากปลาหมึกกล้วยหากินกลางทะเล ส่วนปลาหมึกลายและปลาหมึกกระดองหากินตามผิวดินเขตน้ำตื้น ตะกอนดินในเขตน้ำตื้นมีโลหะหนักสะสมอยู่มากกว่า

...

ถ้าร่างกายได้รับแคดเมียมขนาดต่ำๆ จะไปสะสมที่ไตเป็นหลัก (เช่นเดียวกับโลหะหนักอีกหลายชนิด)

ถ้าได้รับแคดเมียมสะสมมากเกินในระยะยาว อาจทำให้เกิดโรคกระดูกโปร่งบาง หรือกระดูกพรุน โดยไปรบกวนการทำงานของวิตามิน D แคลเซียม และคอลลาเจน (โปรตีนที่เป็นโครงสร้างของเนื้อเยื่อหลายชนิด)

...

ทีนี้ถ้าได้รับมากๆ ในคราวเดียว อาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เป็นตะคริว หรือท้องเสียอย่างแรงได้

วิธีป้องกันอันตรายจากสารแคดเมียมที่สำคัญได้แก่

...

  • กินอาหารทะเลที่ไม่ใช่ปลาแต่น้อย และไม่กินบ่อยเกิน > ถ้าคนเราได้รับโลหะหนักคราวละน้อยๆ ร่างกายจะขับออกได้บางส่วน
  • โลหะหนักหลายชนิด เช่น ตะกั่ว ฯลฯ ดูดซึมได้ดีในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ > จึงควรระวังเรื่องนี้ในเด็กให้มาก

...

  • ถ้ากินปลาหมึก... ปลาหมึกกล้วยจะปลอดภัยกว่าปลาหมึกลายหรือปลาหมึกกระดอง
  • ควักไส้ปลาหมึกทิ้ง... เนื่องจากแคดเมียมสะสมในไส้มากกว่าส่วนเนื้อ

...

  • ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งก่อนกินอาหาร หรือดื่มน้ำ เนื่องจากชีวิตคนเราทุกวันนี้มีโอกาสสัมผัสกับโลหะหนักในหมึกพิมพ์ เช่น อ่านหนังสือ สีทาบ้าน สีทาภาชนะต่างๆ ฯลฯ เป็นประจำ

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                  

  • ขอขอบพระคุณไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย > มัน!มากับอาหาร > แคดเมียมจากปลาหมึกในอาหารปรุงสำเร็จ > ไทยรัฐ. 16 พฤษภาคม 2551. หน้า 7.
  • ขอขอบพระคุณสถาบันอาหาร > สถาบันอาหาร องค์กรเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0-2886-8088 หรอ www.nfi.or.th/infocenter
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 16 พฤษภาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 182953เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2008 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับคุณหมอ

    คุณหมอสบายดีไหมครับ เรื่องนี้สำคัญมากๆ เลยครับ เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเลยครับ การจากที่เราปล่อยของเสียลองแม่น้ำลำคลองด้วยก็ส่งผลให้ปลาต่างๆ สะสมสารเคมีต่างๆ แม้แต่การทำขนมขายเช่น ขนมกล้วยทอดห่อหนังสือพิมพ์ ก็น่าคิดครับ ปัจจุบันยังมีหรือเปล่าครับ

    ปลาหมึกผมชอบท่านมากๆ เลยครับ

กราบขอบพระคุณมากครับ

  • สวัสดีค่ะท่านอาจารย์หมอ
  • เป็นคนชอบทานปลาหมึกมากค่ะ บันทึกนี้มีประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพร่างกาย
  • จะเอาไว้เตือนตนเวลาทานปลาหมึกค่ะ
  •  ขอบคุณอาจารย์หมอค่ะ

ขอบพระคุณสำหรับความรู้ดังกล่าวค่ะ

เห็นภาพเลยค่ะ

อันตรายจังเลยค่ะ แต่อย่างไรก็งดปลาหมึกดีกว่าใช่ไหมค่ะอาจารย์ เพราะคอเรสเตอรอลสูง

ขอขอบคุณ... คุณเม้ง

  • อย่าเพิ่งตกใจเลยครับ

ปลาหมึกอร่อยๆ นี่เป็นภูมิปัญญาของครัวไทย และครัวตะวันออก...

  • นานๆ ครั้งน่าจะปลอดภัยดีทีเดียว

ขอขอบคุณ... คุณเอื้องแซะ

  • ขอแสดงความชื่นชมที่ใส่ใจสุขภาพครับ... สาธุ สาธุ สาธุ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ ดร.จันทวรรณ...

  • นานๆ ครั้งน่าจะดีครับ
  • ถ้างดไปเลยกลัวจะโดนว่า "ชีวิตไม่มีรสมีชาด" หรืออะไรทำนองนั้น เพราะปลาหมึกอร่อยมากทีเดียว...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท