ฉีดวัคซีนแล้ว อย่าลืมให้เด็ก(ทารก)นอนหงาย


ยุคนี้เป็นยุคที่คนคาดหวังอะไรๆ กับชีวิตไว้มากเกินจริง เมื่ออะไรๆ "ไม่ได้ดังใจ" ก็จะโทษคนอื่น ไม่มองหาเหตุผลตามความเป็นจริง ซึ่ง 1 ในแพะ(รับบาป)คือ พวกหมอนี่ละ

...

ผู้ช่วยทันตแพทย์(หมอฟัน)ท่านหนึ่งบอกผู้เขียนว่า เดี๋ยวนี้เด็กนักเรียนรุ่นใหม่ไม่เลือกหมอกันแล้ว มีแต่คนเลือกทันตแพทย์กับวิศวกร

หลานผู้เขียนพอรู้ผลสอบว่า ได้เรียนคณะวิศวกรรมก็ประกาศว่า จะไม่ไปดูผลสอบแพทย์(อีกต่อไป...)

...

ยุคนี้เป็นยุคที่คนคาดหวังอะไรๆ กับชีวิตไว้มากเกินจริง เมื่ออะไรๆ "ไม่ได้ดังใจ" ก็จะโทษคนอื่น ไม่มองหาเหตุผลตามความเป็นจริง ซึ่ง 1 ในแพะ(รับบาป)คือ พวกหมอนี่ละ

ศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขากล่าวว่า เร็วๆ นี้มีคนไข้รายหนึ่งตั้งครรภ์ (ท้อง) รกเกาะต่ำ ตกเลือดหลังคลอด

...

หมอทำการรักษาตามมาตรฐานอย่างดีเต็มที่ทุกอย่าง ในที่สุดตัดมดลูกเพื่อห้ามเลือดก็ยังช่วยชีวิตไว้ไม่ได้ แน่นอนว่า หนังสือพิมพ์ด่าหมอไว้ก่อนเลย

อาจารย์ท่านนำสถิติมาชี้ให้ดูว่า การคลอดลูกเป็นเรื่องของความเสี่ยง (ตาย) เช่นกัน ไม่ใช่การคลอดลูกจะราบรื่นเรียบร้อยเสมอไปดังตาราง

...

สถิติองค์การอนามัยโลก โอกาสตายจากการคลอดลูก
สถิติทั่วโลก 400 ใน 100,000
กลุ่มประเทศอาฟริกา 2,000 ใน 100,000
ประเทศไทย 200 ใน 100,000

...

สถิติกระทรวงสาธารณสุขไทย ซึ่งทุกวันนี้ใช้หมายเลขบัตรประชาชน 13 หลักทำให้มีความแม่นยำขึ้นพบว่า โอกาสตายจากการคลอดของไทยอยู่ที่ 40 ต่อแสน ซึ่งดีกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกมาก (แน่นอนว่า หนังสือพิมพ์ไทยไม่ค่อยลงข่าวดีแบบนี้)

นั่นหมายความว่า ถ้ามีผู้หญิงไปคลอด 100,000 ครั้ง (บางคนมีลูกหลายครั้ง) จะมีโอกาสตายอย่างต่ำ 40 หรือมีโอกาสตายประมาณ 4 ในหมื่น

...

อีกเรื่องหนึ่งคือ ปัญหาเด็กทารกอายุ 1-4 เดือนตายเฉียบพลันหลังจากการฉีดวัคซีน หรือไปหาหมอด้วยเรื่องไม่รุนแรง

เด็กส่วนใหญ่ตายในท่านอนคว่ำ เดิมเด็กไทยนอนหงาย ทำให้ไม่พบการตายเฉียบพลันแบบนี้ ต่อมาพ่อแม่อยากให้ "หัวสวย" แบบฝรั่งอเมริกา จึงจับให้นอนคว่ำ จึงพบเด็กตายเฉียบพลันเพิ่มขึ้น

...

สถิติจากอเมริกาพบว่า เด็กอายุ 1 เดือนถึง 1 ปี ส่วนใหญ่อายุ 1-4 เดือนตายเฉียบพลันแบบนี้ปีละ 5,000-6,000 ราย

ผู้เชี่ยวชาญรณรงให้เด็กนอนหงาย เพราะสมองที่ควบคุมการหายใจในเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ เวลาเด็กนอนคว่ำจะสูดอากาศเสีย หรืออากาศที่หายใจออกมาเข้าไปใหม่

...

อากาศเสียนี้มีคาร์บอนไดออกไซด์สูง ซึ่งหนักกว่าออกซิเจน... เมื่อหายใจเข้าไปซ้ำๆ ซากๆ จะเกิดการขาดอากาศหายใจ

จึงควรแนะนำให้เด็กเล็กนอนหงาย โดยเฉพาะขวบปีแรก และช่วงหลังฉีดวัคซีน

...

พวกเราที่เป็นหมอ พยาบาล อนามัย หรือนักสาธารณสุขโปรดอย่าลืมเตือนให้พ่อแม่ หรือผู้ปกครองเด็กจัดท่าเด็กอายุไม่เกิน 1 ปีให้นอนหงายเสมอ

ขอแถมหน่อยคือ การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การให้พ่อแม่ หรือผู้ปกครองกอดเด็ก และให้น้ำหวานนิดหน่อยหลังฉีดวัคซีนทำให้เด็กร้องไห้จากการฉีดวัคซีนน้อยลง

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

...

ที่มา                                                  

  • ขอขอบพระคุณ Medical Progress > ท่านศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา > ข่าวสารจากแพทยสภา > Medical Progress (www.medicalprogress-cme.com). May 2008. Vol.7 No.5 หน้า 11. 
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 17 พฤษภาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 183082เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2008 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ ที่คุณหมอประจำของน้องต้นไม้แนะให้นอนคว่ำตอนเมื่อน้องอายุ 3 เดือนค่ะ เพราะเด็กบางคนจะมีอาการกรนเมื่อนอนหงายค่ะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ ดร.จันทวรรณ...

  • ไปๆ มาๆ แล้ว... นอนหงายก็ยาก นอนคว่ำก็ยาก
  • นอนตะแคงไม่ทราบจะดีที่สุดหรือเปล่า คงต้องปรึกษาหมอเด็กดูครับ

นอนตะแคงก็ยากค่ะอาจารย์ ไหล่จะห่อด้วยค่ะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ ดร.จันทวรรณ...

  • สรุปแล้ว "เกิดเป็นมนุษย์นี้แสนยาก" จริงๆ...
  • ผมเองพยายามฝึกนอนตะแคง เพราะดีกับสุขภาพ ทว่า... นอนแล้วเจ็บซี่โครงจากการมีเลือดลมน้อย (ผอม) เลยต้องหาอะไรมารองซี่โครง เพื่อให้นอนตะแคงได้

สรุปแล้ว "เกิดเป็นมนุษย์นี้แสนยาก" จริงๆ...

สวัสดีค่ะ

ไม่ได้มาทักทายคุณหมอนานมากเลย

ตรงใจมากที่คุณหมอบอกว่า "เกิดเป็นมนุษย์นี้แสนยาก" ได้ความรู้สึกนี้ตั้งแต่อ่านย่อหน้าแรกๆ ของบันทึกนี้ทีเดียว

ความพอดีของมนุษย์นั้นไม่มี..

ขอบคุณค่ะ ^ ^

เป็นประโยชน์มากเลยค่ะอ.หมอ

ที่แคนาดานี้ไม่ให้เด็กนอนคว่ำเลยช่วงปีแรกจนกว่าเด็กจะพลิกตัวได้เองค่ะ

เป็นหนึ่งในหลายๆมาตรการที่เค้าพยายามจะลดความเสี่ยง Sudden Infant Death Sybdrome

"Infants in childcare were more likely to be last placed to sleep on their stomachs or found on their stomachs, when the usual sleep position was side or back. As a result, it is very important that parents be very specific with caregivers about the exact sleep position for their baby.

This study also highlights the need to educate daycare staff, grandparents and babysitters about back-sleeping and other ways to reduce the risk of SIDS."

PREVENTION AND TREATMENT
Flat spots may be prevented or treated by simple repositioning techniques and by relieving pressure on the head when baby is awake.  It is best to implement these simple measures from birth.

  • Always sleep baby on the back, not on the tummy or side.
  • Alternate the head position each time the baby is put down to sleep (left and right).
  • Place baby at the head of the crib one day and at the foot the next day.
  • Vary the crib position weekly so baby has new areas to look at.
  • Hold and cuddle your baby in upright positions
  • Avoid long periods in car seats, strollers, swings and bouncers because this causes pressure on the back of the head
  • From birth, give baby increasing amounts of side lying and tummy time to play.
  • Alternate the holding position when feeding baby i.e. hold in left arm for one feed and the right arm for the next feed.

Never use devices to position your baby while sleeping.  Never place your baby on their side to sleep.  Side sleep is very unstable.  Research has shown that baby who are not accustomed to sleeping on their tummy and are placed incorrectly or flip to the tummy from their side have an 18 to 20 times greater risk of dying of SIDS.  Coroners have reported deaths that have occurs the first or second time a baby is placed incorrectly.

http://www.sidscanada.org/flathead.html

ขอขอบพระคุณอาจารย์กมลวัลย์...

  • สำนวนเกิดเป็นมนุษย์นี้แสนยาก... มาจากพระสูตร (ส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก) ครับ
  • อาจารย์ประณีต ก้องสมุทร ท่านนำสำนวนนี้มาตั้งเป็นชื่อหนังสือ ซึ่งไพเราะทั้งพยัญชนะ และอัตถะ (ความหมาย)

ขอขอบพระคุณ...

ขอขอบพระคุณอาจารย์มัทนา...

  • ข้อมูลของอาจารย์มีประโยชน์มากๆ ครับ

เมืองไทยเราคงจะคล้ายเมืองอื่นๆ ทั่วโลกทุกวันนี้คือ มีอะไรไม่ดีก็โทษคนอื่นไว้ก่อน

  • เอะอะอะไรก็โทษหมอ...

คนที่ไปโทษ หรือติเตียนคนดีๆ เช่น พยาบาลที่ผมพบมาเป็นผู้มากด้วยกรุณา (ความกรุณา)

  • ถ้าใครคิดร้ายเข้านี่... คงจะบาปหนักมากๆ

ผมเคยเห็นคนไข้มะเร็งอาการหนักรายหนึ่งโกรธพยาบาล ไม่มีแรงแล้ว ยังใช้ผ้าก๊อซขว้างใส่พยาบาล มุ่งจะทำร้าย ปากก็ด่าไป...

  • พยาบาลรายนั้นท่านไม่โกรธ ยังคงมากด้วยความกรุณา
  • คนไข้แบบนี้มีโอกาสตายแล้วตกนรกสูงมากๆ เพราะเป็นกรรมที่ทำร้ายคนดีตอนใกล้ตาย

คนใกล้ตายควรจะสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ เช่น สวดมนต์ ฯลฯ ตายแล้วจะได้ไปดีหน่อย...

เพิ่งพาคลอดลูกได้ 1เดือน มีคนแนะนำให้เอาลูกนอนควำเลย

และแนะนำให้ดัดขาลูกด้วย เพราะกลัวขวโกง ถูกตามหลักการแพทย์ไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท