เหงือกไม่ดี เพิ่มเสี่ยงมะเร็ง(ปอด ไต ตับอ่อน เม็ดเลือด)


ผลการศึกษาพบว่า คนที่มีโรคเหงือกอักเสบ มีความเสี่ยง (โอกาสเป็น) มะเร็งปอด มะเร็งไต มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเม็ดเลือด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย) ฯลฯ เพิ่มขึ้นดังตาราง

...

เป็นที่ทราบกันดีว่า สุขภาพช่องปากมีผลต่อสุขภาพร่างกายอย่างกว้างขวาง วันนี้มีผลการศึกษาที่พบว่า คนที่มีโรคเหงือกอักเสบ เพิ่มเสี่ยงมะเร็งหลายชนิดมาฝากครับ

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์โดมินิค มิเชาด์ (Dr. Dominique Michaud) และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน สหราชอาณาจักร (หมู่เกาะอังกฤษ) ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ชาย 50,000 คน

...

ผลการศึกษาพบว่า คนที่มีโรคเหงือกอักเสบ มีความเสี่ยง (โอกาสเป็น) มะเร็งปอด มะเร็งไต มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเม็ดเลือด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย) ฯลฯ เพิ่มขึ้นดังตาราง

ความเสี่ยงมะเร็งปอดนั้นพิเศษกว่ามะเร็งอื่นๆ หน่อยตรงที่ว่า โรคเหงือกอักเสบจะเพิ่มความเสี่ยงเฉพาะในคนที่สูบบุหรี่เท่านั้น คนที่ไม่สูบบุหรี่ไม่พบว่า มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

...

ความเสี่ยงมะเร็งที่เพิ่มขึ้นถ้ามีเหงือกอักเสบ ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
มะเร็งปอด (ถ้าสูบบุหรี่) 1 ใน 3
มะเร็งไต เกือบ 50%
มะเร็งตับอ่อน เกือบ 50%
มะเร็งเม็ดเลือด 30%

...

อาจารย์มิเชาด์กล่าวว่า กลไกที่โรคเหงือกอักเสบทำให้ความเสี่ยง (โอกาสเป็น) มะเร็งเพิ่มขึ้นายังไม่เป็นที่ทราบกันแน่ชัด ทว่า... สมมติฐาน หรือความเป็นไปได้อาจมีดังต่อไปนี้

โรคเหงือกอักเสบเป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่มีการปล่อยสารเคมีที่ก่อให้เกิดการอักเสบ หรือทำให้ธาตุไฟกำเริบไปทั่วร่างกาย และทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดลง ทำให้เป็นมะเร็งได้ง่ายขึ้น

...

กลไกต่อไปคือ โรคเหงือกอักเสบทำให้ปริมาณเชื้อโรคในช่องปากเพิ่มขึ้น เมื่อคนเรากลืนอาหาร น้ำ หรือน้ำลาย (นักการเมืองหรือผู้บริหารหลายคนคงจะกลืนมากเป็นพิเศษ)... จะกลืนเชื้อโรคเข้าไปเพิ่มขึ้นแทบทั้งวัน

นอกจากนั้นกลไกในทางกลับกันก็อาจเป็นได้คือ โรคมะเร็งเป็นสาเหตุ ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคต่ำลง ภูมิคุ้มกันโรคที่ต่ำลงทำให้เหงือกอักเสบได้ง่าย

...

วิธีลดความเสี่ยงโรคเหงือกอักเสบที่สำคัญได้แก่

  • แปรงฟันให้ถูกวิธี โดยขอเรียนจากอาจารย์หมอฟัน หรือผู้ช่วยหมอฟัน
  • ใช้แปรงสีฟันขนอ่อนหรืออ่อนมาก

...

  • แปรงฟันเบาๆ...
  • แปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์วันละ 2-3 ครั้ง...

...

  • แปรงลิ้นหลังแปรงฟันเบาๆ โดยใช้ขนแปรงวางขวางแนวลิ้น เพื่อลดปริมาณเชื้อโรคในช่องปาก
  • ใช้ไหมขัดฟันวันละ 1 ครั้ง

...

  • บ้วนปากหลังกินอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลทันที
  • หมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาล มีส่วนช่วยทำความสะอาดฟันได้ในระดับหนึ่ง

...

  • ตรวจช่องปากกับอาจารย์หมอฟัน หรือผู้ช่วยหมอฟันทุกๆ 6-12 เดือน

...

แปรงสีฟันแข็งหรือมีความแข็งปานกลาง การแปรงฟันแรงๆ และการแปรงฟันไม่ถูกวิธีมีส่วนทำให้ฟันสึก และเหงือกสึกเร็วขึ้น

เรียนเสนอให้พวกเราหันมาใส่ใจสุขภาพช่องปาก เพื่อให้สุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                  

  • Thank BBC > Gum disease link to cancer risk > [ Click ] > May 26, 2008. // source > Lancet Oncology.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > 27 พฤษภาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 187260เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2008 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ อาจารย์หมอวัลลภ

ต้องบอกว่าประหลาดใจมากคะ ที่โรคเหงือกก็มีผลต่อส่วนอื่นๆ ของร่างกายด้วย เรียกได้ว่าทุกส่วนของร่างกายสัมพันธ์กันหมดเลยนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์มะปรางเปรี้ยว...

  • กลไกที่คาดกันว่า เหงือกหรือเนื้อเยื่อรอบเหงือก (บริเวณโคนฟัน / ปริทนต์) อักเสบทำให้เกิดโรคได้อย่างกว้างขวางนั้น เป็นผลจากสารเคมีที่ก่อให้เกิดการอักเสบ และเชื้อโรคปริมาณต่ำๆ ที่หลุดเข้าไปในเลือดเป็นพักๆ ในระยะยาวครับ

เป็นเรื่องที่น่ากลัวเกิดกว่าที่คิดนะคะ

ขอบคุณอาจารย์หมอวัลลภมากคะ ที่ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม

ขอขอบคุณอาจารย์มะปรางเปรี้ยวเช่นกันครับ...

ได้ความรู้ดีมากค่ะ ดิฉันก็มีปัญหาเกี่ยวกับลำคอมีเสมหะมาก ตอนกลางวันก็เหมือนหายใจไม่ค่อยออก และนอนกลางคืนรู้สึกอึกอัด และหายใจไม่สะดวกบางครั้งนอนๆ

อยู่ต้องทะลึ่งตัวลุกขึ้นทันทีเพราะอึดอัดมาก เป็นมานานแล้วค่ะ

ขอขอบคุณ... อาจารย์นิดา

  • ขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน

ปัญหาสุขภาพ...

  • ขอความกรุณาปรึกษาหมอ  เภสัชกร พยาบาล หรืออนามัยใกล้บ้าน เนื่องจากการวินิจฉัยจำเป็นต้องอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และทบทวนการใช้ยา
  • ขออภัยครับ...

ขอบคุณมากที่ให้ความรู็้เนื่องจากดิฉันเป็นโรคปริทนต์รักษาไม่หาย มีกลิ่นปากทำอย่างไรดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท