OT (งานล่วงเวลา) สัปดาห์ละเท่าไรดี


พวกเราคงจะชื่นชอบหรือชิงชัง OT (งานล่วงเวลา) ไม่มากก็น้อย... น้อยไปงานอาจจะเดินช้า มากไปอาจจะเปลืองค่าจ้าง หรือเสียสุขภาพ

Hiker 

พวกเราคงจะชื่นชอบหรือชิงชัง OT (งานล่วงเวลา) ไม่มากก็น้อย... น้อยไปงานอาจจะเดินช้า มากไปอาจจะเปลืองค่าจ้าง หรือเสียสุขภาพ

วันนี้มีข้อคิดจากผลการวิจัย ซึ่งท่านอาจารย์ ผศ.ดร.ธีรยุส วัฒนาศุภโชคตีพิมพ์ในผู้จัดการรายสัปดาห์มาฝากครับ...

งานล่วงเวลามีส่วนเพิ่มประสิทธิผลขององค์กร ช่วยให้ไม่ต้องจ้างบุคลากรใหม่มาเพิ่ม ซึ่งจะต้องทำการฝึกอบรมกันใหม่ โดยเฉพาะในช่วงที่มีความต้องการกำลังคนสูงสุด หรือช่วง พีค (peak)”

ขณะเดียวกันก็มีขีดจำกัดที่มีต้นทุนค่าล่วงเวลา (overtime / OT) บุคลากรที่ทำงานหนักเกินอาจมีประสิทธิผลต่ำลง เสี่ยงอุบัติเหตุ ความเจ็บไข้ได้ป่วยมากขึ้นไปด้วย

งานบางอย่างอาจทำ OT ได้มากหน่อย เช่น งานสำนักงาน ฯลฯ เมื่อเทียบกับงานประเภทใช้แรงงาน

ประเทศที่ร่ำรวยในยุโรปและอเมริกาจำกัดเพดาน OT ไว้ที่ 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ รวมทั้งกำหนดขีดจำกัดห้ามหมอและเจ้าหน้าที่สุขภาพทำงานมากเกินไว้ เนื่องจากทำให้เสี่ยงต่อความผิดพลาด และอุบัติเหตุ

ขอกลับไปดูผลการศึกษาวิจัยบ้าง... ท่านอาจารย์ธีรยุสกล่าวว่า ผลการศึกษาวิจัยออกมาดังต่อไปนี้...

  1. การทำ OT มากเกิน 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จะทำให้ค่าตอบแทน OT สูงขึ้น ความเสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บ และอุบัติเหตุในที่ทำงานสูงขึ้น
  2. การทำ OT ในช่วง 41-59 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ประสิทธิผลในการทำงานจะไม่ลดลง สุขภาพไม่เสีย สถิติอุบัติเหตุ หรือความบาดเจ็บจากการทำงานไม่เพิ่มขึ้น

สรุปง่ายๆ คือ การทำ OT ในช่วง 40-60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์มีผลดีมากกว่าผลเสีย

กรณีจำเป็นต้องทำ OT มากเกิน 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์นั้นพบว่า ความเสี่ยงทางลบมักจะเกิดกับพนักงานที่มีอายุมากๆ เป็นส่วนใหญ่

วิธีแก้ไขคือ ถ้าจำเป็นต้องเร่งงาน... ควรเลือกจ้างพนักงานที่อายุน้อยทำ OT ในส่วนที่เกิน 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

การดูแลสุขภาพสำหรับหน่วยงานที่มีการทำ OT นั้น... ควรเน้นการป้องกันหวัด ซึ่งติดต่อกันผ่าน มือที่ปนเปื้อนเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย เช่น หลังไอ-จาม หลังสั่งน้ำมูก ฯลฯ และผ่านบริเวณที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก

มาตรการต่อไปนี้มีส่วนช่วยลดการแพร่โรคหวัด ไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ได้

  • จัดเตรียมอ่างล้างมือ และสบู่ไว้ ซึ่งควรใช้ก๊อกที่ไม่ต้องใช้มือสัมผัส หรือมีการสอนให้ล้างก๊อกน้ำทุกครั้งที่ล้างมือ
  • จัดให้มีการฝึกอบรมความสำคัญ และวิธีการล้างมือให้ถูกวิธี

<ul>

  • จุดที่ควรให้ล้างมือทุกครั้งได้แก่ จุดเข้าที่ทำงาน(หลังลงเวลาทำงาน) หลังออกจากห้องน้ำ ก่อนดื่มน้ำ ก่อนกินอาหาร
  • ส่งเสริม (หรือบังคับ) ให้ทุกคนล้างมือด้วยสบู่หลังลงเวลาทำงาน โดยอาจมีการติดตั้งกล้องวิดีโอบันทึกภาพไว้ เพื่อสำรวจและประเมินผลเป็นประจำ
  • </ul> <ul>

  • ใช้บานประตูห้องน้ำ โรงอาหารแบบซิกแซกแทนแบบมีบานประตู เพื่อลดการใช้มือสัมผัสลูกบิดประตู หรือบานประตู
  • ยอมรับการลาป่วยในระดับหนึ่งดีกว่าการตั้งเป้าหมายให้วันลาป่วยเป็น ศูนย์ (O)” เนื่องจากถ้าคนป่วยไปทำงานอาจจะเพิ่มการแพร่เชื้อในที่ทำงาน
  • </ul> <ul>

  • เพิ่มการระบายอากาศในที่ทำงานให้มากพอ เช่น ติดพัดลมดูดอากาศ ฯลฯ เพื่อลดการแพร่เชื้อหวัด 
  • ให้รางวัลเชิงบวกกับพนักงานที่ดูแลสุขภาพดี เช่น ลดความอ้วนได้ ลดระดับไขมันในเลือด(โคเลสเตอรอล)ได้ ลดความดันเลือด(ที่สูงเกิน)ได้ ฯลฯ
  • </ul>ถึงตรงนี้… ขอให้พวกเรามีความสุข และมีสุขภาพการทำงานที่ดีไปนานๆ ครับ <p>    แนะนำให้อ่าน:                                   </p>

        แหล่งที่มา:                                      

    </span><ul>

  •  ขอขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์ ผศ.ดร.ธีรยุส วัฒนาศุภโชค. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ความลับที่ซ่อนเร้นของโอเวอร์ไทม์. ผู้จัดการรายสัปดาห์. 21-27 พฤษภาคม 2550. ปี 20. ฉบับ 1068. หน้า D4.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
    • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
    • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT ศูนย์มะเร็งลำปาง
    • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 23 พฤษภาคม 2550.
  • </ul>

    คำสำคัญ (Tags): #งาน#สุขภาพ#หวัด
    หมายเลขบันทึก: 98127เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2007 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (4)

    ขอบคุณอาจารย์หมอวัลลภมากค่ะ

    เป็นข้อมูลที่ดีต่อพนักงานและองค์กรในการดูแลสุขภาพของพนักงานได้เป็นอย่างดีค่ะ

     

    • ในกิจกรรมนิสิตนี่ หลังจากเลิกเรียนซึ่งเป็นงานประจำแล้ว ยังมีกิจกรรมให้ทำจนดึกบางวันถึงเช้าเป็นงานพิเศษ
    • ถามผมว่าจะเลือกอะไรดี รักษาสุขภาพ หรือ หาประสบการณ์ ถามว่านอนดึกมีหรือไม่ มีครับ เยอะ แต่เวลาที่นอนปกติมีมั้ย ก็พอมี
    • เอาเป็นว่าเดินทางสายกลางดีที่สุดนะครับอาจารย์ ใช่มั้ยครับ
    ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท