เด็กไทย คว้าแชมป์โลก Rescue Robot 2007


ทีม INDEPENDENT แชมป์เก่า Rescue Robot 2006 ก็สามารถป้องกันแชมป์ เป็นแชมป์โลกในปี 2007

ผลเป็นทางการออกมาเรียบร้อยแล้วค่ะ ในที่สุดทีม INDEPENDENT แชมป์เก่า Rescue Robot 2006 ก็สามารถป้องกันแชมป์ เป็นแชมป์โลกในปี 2007 ได้ค่ะ เย้.... ^ ^

ขอขอบคุณคณะวิศวกรรมศาสตร์ รูปจาก www.eng.kmitnb.ac.th

ดูรายละเอียดได้ที่ Independent คว้าแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัย 2 ปีซ้อนพร้อมรางวัลหุ่นยนต์ยอดเยี่ยม กับจดหมายข่าวต่อไปนี้ได้ค่ะ

จดหมายข่าว

ขอแสดงความยินดีกับเด็กๆ ทุกคนด้วยค่ะ ^ ^

หมายเลขบันทึก: 109889เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2007 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (44)

ดูภาพข่าวจาก อสมท. ตอนเข้ารอบแรก และภาพข่าวตอนชนะเลิศได้ที่นี่ค่ะ http://tna.mcot.net/i-content.php?clip_id=qqGaoqk=

สวัสดีครับพี่กมลวัลย์

ว้าววววว.... จากที่เคยอวยพรไว้ ยินดีและดีใจเป็นอย่างมากครับผม ที่เห็นทีมน้องๆ เก่งๆ ทำชื่อเสียงให้กับประเทศชาติและสถาบันครับ

น่าปลื้มใจจริงๆ ครับ ทำให้เราเห็นได้ว่า เด็กไทยไม่ธรรมดา ขอเพียงแต่ว่าเราสนับสนุนและแนะนำเค้าให้เดินไปให้ถูกทางเท่านั้น เป็นเพื่อนกับเค้า ที่จะร่วมคิดร่วมให้โอกาส คงต้องขอบคุณท่านๆ อาจารย์ที่ปรึกษาและสถาบันนะครับที่เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้มีโอกาสดีๆ แบบนี้ และที่แน่ๆ น้องๆ เหล่านี้ ก็ทำงานเป็นทีมให้เห็นได้ว่า คนไทยก็ทำงานเป็นทีมเป็นครับ

ผมว่าสิ่งดีๆ เหล่านี้ควรมีการสนับสนุนกันต่อๆ ไปครับ โดยเฉพาะการถ่ายทอดระหว่างนักศึกษากับ นักศึกษากันเองด้วยครับ หากทำแล้วขยายผลต่อไป ที่มีผลต่อการนำไปใช้ในภาครัฐและเอกชนได้ก็คงจะดีมากๆ ยิ่งๆ ขึ้นครับ

ขอแสดงความยินดีด้วยอีกครั้งนะครับ

ไม่แน่ใจว่าในทีมนี้ ในภาพ มีคนที่เคยผลิตเครื่องกรีดยางอัตโนมัติอยู่ด้วยไหมครับ

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีอีกรอบครับ

รู้สึกว่าจะส่งไปสองทีมหรือเปล่าครับ ขอเป็นกำลังใจให้ทีมอื่นๆ ด้วยนะครับ รับข้อคิดประสบการณ์มาปรับปรุงและพัฒนาต่อไปนะครับ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ ทีมนะครับ

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะ น้องเม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ---------> http://www.somporn.net

คลาดกันนิดเดียวเมื่อวาน พี่เขียนบันทึกสุดท้ายเสร็จก็ปิดเครื่องกลับบ้าน ถึงบ้านก็หลับสนิทเลย ^ ^

เด็กไทยไม่ธรรมดาจริงๆ ค่ะ ศักยภาพของนักศึกษามีมาก แต่ต้องช่วยเขาดึงออกมาใช้ในทางที่ถูกต้อง ทางสถาบันก็คงสนับสนุนเรื่องนี้ในลักษณะนี้ต่อไปค่ะ

ปีนี้ที่สจพ.มีสองทีมเพราะเราเป็นแชมป์ปีที่แล้ว (INDEPENDENT) เขาให้เราไปป้องกันแชมป์ด้วย ส่วนอีกทีมคือ IDEAL นั้นเป็นแชมป์ประเทศไทยปีนี้ ก็เลยไปด้วยกัน ๒ ทีมค่ะ แต่พี่ก็เพิ่งทราบเหมือนกันว่าหอการค้าเขาส่งด้วย แล้วก็เก่งมาก ได้ที่ ๓

ตอนรอบแรกทีมที่ได้ที่ ๔ IDEAL คะแนนนำโด่งมากค่ะ ยังนึกว่าตัวนี้จะชนะ แต่ว่าตอนรอบสุดท้ายเห็นเขาว่าหุ่นมีปัญหา เลยทำให้ได้คะแนนจากรอบสุดท้ายน้อย รวมเลยได้เป็นที่ ๔ แต่อย่างที่บอกนะคะ แพ้ชนะไม่เป็นไร เด็กได้ประสบการณ์ ซึ่งปีหน้าก็คงมี young blood ใหม่ๆ เข้ามาร่วมงานให้เด็กๆ กลุ่มนี้ถ่ายทอดประสบการณ์ต่อไป

อ้อ..ลืมเล่าว่าเด็กทั้งสองทีมนี้เป็นนักศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ สจพ. ปราจีนบุรี ทั้งคู่ค่ะ ดังนั้นชี้ให้เห็นว่านักศึกษาที่เรียนอยู่ที่ภูมิภาค นั้นน่าจะมีโอกาสดีหรือดีกว่าคนที่เรียนอยู่กรุงเทพฯ ในการทำกิจกรรมแบบนี้มากกว่า ถ้าอาจารย์ คณะ และสถาบันส่งเสริมค่ะ

ส่วนเรื่องเป็นกลุ่มนักศึกษาที่ทำเครื่องกรีดยางหรือเปล่านั้น ไม่แน่ใจค่ะ แต่ไม่น่าจะใช่ค่ะ ไว้จะลองถามๆ ดูนะคะ

ขอบคุณน้องเม้งที่แวะมาแสดงความยินดีนะคะ ^ ^

  • ดูข่าวจากทีวี และชื่นชนมาหลายวันแล้วค่ะ
  • เก่งจริงอนาคตของชาติที่ได้สร้างชื่อเสียงให้แสถาบันและประเทศไทย

สวัสดีค่ะคุณอัมพร อรุณศรี

พอดีไม่มีโอกาสประชาสัมพันธ์ช่วงเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมา ทำให้เขียนเรื่องนี้ช้าไปหน่อย ^ ^ แต่อยากเขียนเป็นบันทึกเก็บไว้เป็นหลักฐานว่าเด็กไทยมีศักยภาพดีจริงๆ เพราะการแข่งขันในระดับนี้ก็แสดงให้เห็นว่าเรามีศักยภาพจริงๆ ทั้งทางด้านทุนมนุษย์และเทคโนโลยีก็พอจะสู้เขาได้

ผลงานของเด็กๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ทั้งหลายค่ะ พวกเราก็คงต้องช่วยกันต่อไป อย่างน้อยช่วยกันส่งเสียงเชียร์และให้กำลังใจก็ยังดีค่ะ เพราะการลงทุนพัฒนาคนในระยะยาวนั้น ทั้งรัฐและทั้งสังคมต้องช่วยกันค่ะ ดิฉันคิดว่าคุณพี่ทราบดี เพราะก็ทำงานกับเด็กๆ เหมือนกัน ^ ^

ขอบคุณที่เข้ามาให้ข้อคิดเห็นนะคะ....

เมื่อคืนดูข่าวแล้วยังคุยกับน้องชายเลย ว่านี่สิอนาคตของชาติ ใช้พลัง สมอง และเวลาอย่างสร้างสรรค์ เจ๋งจริงๆ น้องกลุ่มนี้ เห็นในข่าวบอกว่าชนะญี่ปุ่นด้วยคะแนนห่างกันเกือบร้อย ไม่ใช่ชนะแบบฉิวเฉียด แต่กินขาดค่ะ น่าชื่นชม ข่าวน่ายินดีแบบนี้อยากเห็นเยอะๆ

สวัสดีค่ะคุณLittle Jazz \(^o^)/ 

ในจดหมายข่าวที่ทำงานบอกว่าชนะญี่ปุ่นแค่ประมาณ ๓๐ แต้มค่ะ แต่ที่สำคัญคือมีทีมเข้าร่วมถึง ๑๙๗ ทีมจาก ๒๖ ประเทศ แล้วเด็กเราชนะเขาหมด...ยอดเล๊ย....เจ๋งจริงๆ.. ^ ^

เรื่องความสามารถคงไม่เป็นรองใคร เรื่องเทคโนโลยีกับทุนคงเป็นรองบ้าง แต่เรื่องนี้มันขึ้นกับว่าจะใช้ความสามารถอย่างไรให้ได้เต็มที่เสียมากกว่า ^ ^

ตอนนี้ประเทศที่มี Rescue Robot Open เหมือนเมืองไทยก็มีที่ญี่ปุ่น อเมริกา เยอรมันและอิหร่าน ถ้าจำไม่ผิดค่ะ เพราะฉะนั้นประเทศพวกนี้ก็คงส่งหุ่นเข้ารายการนี้เป็นประจำ

ต้องแสดงความยินดีให้กับเด็กจุฬา (จุฬาฯได้ที่ ๒ แพ้แข่งเตะฟุตบอลแบบต้องยิงลูกโทษกับ Carnegie Mellon U) กับทีมหอการค้าที่ส่ง rescue robot เข้าแข่งด้วย

ขอบคุณที่มาช่วยกันยินดีนะคะ ^ ^

 

ขอแสดงความยินดีกับทีมชนะเลิศและทีมต่างๆ ที่เป็นตัวแทนของเมืองไทยไปแข่งด้วยครับ ทีมหอการค้าโดนญี่ปุ่นเฉือนไปนิดเดียว ส่วนทีมจุฬานั้น ผมว่าไม่เบาเลยนะครับ ที่ดวลกับ CMU ได้สูสี

ต้องแสดงความยินดีกับเครือซิเม็นต์ไทย SCG ที่การลงทุนให้โอกาสแก่เยาวชนในครั้งนี้ ได้สร้างความภูมิใจในตนเองให้กับเด็กๆ ช่วยให้เขาเข้าใจว่าไม่มีใครได้อะไรมาฟรีๆ ครับ

สวัสดีค่ะคุณConductor

sponsor และการลงทุนจากสถาบัน และองค์กรต่างๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นมากค่ะสำหรับการส่งเสริมกิจกรรมดีๆ ของนักศึกษา

เท่าที่ทราบ SCG เป็น sponsor การเดินทางให้กับนักศึกษาทั้ง ๒ ทีมค่ะ แต่ไม่แน่ใจว่าสนับสนุนในด้านอื่นๆ ด้วยหรือไม่

ผู้สนับสนุนให้ทีมคณาจารย์ไปดูแลการแข่งขันก็มีคณะวิศวกรรมศาสตร์กับสมาคมหุ่นยนต์ที่เป็นผู้จัดการแข่งขัน rescue robot ในทุกปี และสจพ.ก็สนับสนุนเงินรางวัลหลังจากแข่งชนะระดับประเทศแล้วด้วยค่ะ

ถ้าไม่มีองค์กรเหล่านี้ช่วยเหลือ ผลงานดีๆ เช่นนี้ของนักศึกษาคงจะเกิดขึ้นได้ยากค่ะ ดิฉันกำลังนึกถึงโครงการโอลิมปิกทางวิชาการ เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ฯลฯ ที่มีจัดอบรม เข้าค่าย และส่งนักเรียน นักศึกษาเข้าแข่งขันอยู่ทุกปี ส่วนเหล่านี้ก็ควรได้รับการสนับสนุนเช่นกันค่ะ

ดีที่ยังมีผลงานดีๆ ออกมาเป็นกำลังใจให้ทุกคนก้าวไปข้างหน้าด้วยความมั่นใจมากขึ้นนะคะ..

ขอบคุณที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยียนและ ลปรร ค่ะ

สวัสดีค่ะ

P

ดูข่าวจากทีวี ดีใจมากค่ะ

ข่าวแบบนี้ อยากดู และปลื้มใจค่ะ

เด็กไทย มีศักยภาพ พวกผู้ใหญ่ควรช่วยกันสนับสนุน และเผยแพร่เกียรติคุณ จะได้เป็นตัวอย่างเด็กอื่นๆค่ะ

อยากเห็นอนาคตของชาติเป็นแบบนี้เยอะๆ

  • มาแสดงความยินดีด้วยครับผม
  • ดีใจจังเลยครับ

สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์  P sasinanda และอ. ขจิต ฝอยทอง P

คณะเด็กๆ และทีมงานจะกลับคืนวันที่ 12 กค. นี้เวลา 5 ทุ่มกว่าค่ะ เห็นที่ทำงานเขาเกณฑ์คนไปรับอยู่ แต่คงไม่ได้ไป น่าจะมีข่าวออกทีวีบ้างค่ะ แต่ไม่แน่ใจ

ขอบคุณที่ช่วยกันเชียร์เด็กๆ เสมอนะคะ ดิฉันว่ากำลังใจสำคัญมากๆ และเราต้องช่วยกันส่งเสริมเด็กๆ ต่อไปค่ะ

ขอบคุณที่มาร่วมกันแสดงความยินดีนะคะ ^ ^

สวัสดีครับพี่

พอดีน้องๆ จากเมืองไทย ส่งมาให้อ่าน

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9500000081356

ลองอ่านดูเล่นๆ นะครับ

สวัสดีค่ะน้องเม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ---------> http://www.somporn.net

พี่เห็นข่าวนี้แล้วล่ะค่ะ แปลกดีนะคะ ก็ว่ากันไปค่ะสำหรับคนทำสื่อ....

ขอบคุณที่แวะมาบอกนะคะ พอดีกำลังจะเอา link ของมติชนที่เพิ่งค้นเจอมาลงเพิ่มพอดี ^ ^

Link ข่าวของทีมจุฬาจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9500000080964

ไชโยดีใจสุดสุดค่ะอาจารย์..กมลวัลย์

ครูอ้อยดีใจด้วยคนหนึ่งนะคะ..ไชโย.

ขอบคุณค่ะครูอ้อย สิริพร กุ่ยกระโทก

เด็กๆ กลับมาเมื่อคืนแล้วค่ะ ตอนนี้ข่าวกลายเป็นเรื่องลบพระบรมฉายาลักษณ์แทน แปลกดีค่ะhttp://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9500000081961

ที่สจพ.จะมีงานเลี้ยงให้กับทีมงานและเด็กๆ เร็วๆ นี้ค่ะ (จำวันที่ไม่ได้) ที่ทำงานมีป้ายติดแสดงความยินดีทั่วไปหมดเลยค่ะ ^ ^

อยากให้มีแบบนี้บ่อยๆ ในหลายๆ มหาวิทยาลัย ในหลายๆ โรงเรียน เด็กๆ ที่กำลังจะเติบโตขึ้นมาจะได้มีตัวอย่างดีๆ ดูค่ะ

ขอบคุณครูอ้อยที่เข้ามาร่วมไชโยนะคะ ขอไชโยด้วยค่ะ

ไชโย \ ^ o ^ /   ไชโย \ ^ o ^ /   ไชโย \ ^ o ^ /

มา เย้เย้

ไชโย \ ^ o ^ /   ไชโย \ ^ ^ /   ไชโย \ ^ o ^ /

ด้วยคนค่ะอาจารย์ 

เคยได้ยินเขาบอกว่า เป็นแชมป์นั้นไม่ยาก เท่ารักษาแชมป์ค่ะ  เด็กๆเก่งจริงๆ

แบบนี้เรียกว่า ศิษย์ดีเพราะมีครูใช่ไหมคะ  อิอิ

ขอบคุณคุณหนิง DSS "work with disability" ( หนิง ) มากๆ เลยที่ชมว่าศิษย์ดีเพราะมีครู.... ใช่เลย แต่ในที่นี้ศิษย์ก็เก่งด้วยตัวเองด้วยค่ะ เพราะโจทย์แบบนี้ครูบางคนอาจทำได้ไม่ดีเท่าเหมือนกัน 5555 

แต่ดิฉันว่าคณาจารย์ผู้ควบคุมทีมที่ไปแข่ง คณาจารย์ที่ปรึกษาของเด็กๆ เหล่านี้ก็เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง (ว่าง่ายๆ ว่าเก่งมากๆ จริงๆ) เหมือนกันค่ะ ^ ^

ขอบคุณที่แวะเข้ามา ลปรร นะคะ ^ ^

สวัสดีค่ะคุณConductor

ขอบคุณสำหรับ link นะคะ

ดิฉันเองก็ไม่รู้เบื้องหลังของการพัฒนาหุ่นยนต์เท่าไหร่ค่ะ รู้ในงานตอนทำงานเป็นรองคณบดี และไม่ได้ดูแลโครงการหุ่นยนต์โดยตรงค่ะ แต่รู้ค่ะว่าความสำเร็จของทีมนั้นเกิดจากการทำงานเป็นทีม และความตั้งใจของทีมงาน แน่นอนว่านายพินิจ เขื่อนสุวงศ์ (ได้ยินว่าเป็นคนบังคับหุ่นที่เก่งมาก) มีส่วนสำคัญมาก และอีกคนที่ควรพูดถึงคือ นายอดิศักดิ์ ดวงแก้วค่ะ คนหลังนี้เป็นคนสำคัญอีกคนหนึ่งที่คลุกอยู่กับหุ่นยนต์เกือบทุกตัวที่ส่งแข่งในรอบนี้เลยค่ะ

เบื้องหลังคิดว่ายังมีอาจารย์อีกหลายท่านที่สมควรกล่าวถึง เช่น รศ.ดร.วรา วราวิทย์  รศ.เวช วิเวก รศ.ดร.ธีรศิลป์ ทุมวิภาต ส่วนใหญ่ทำงานเบื้องหลังคอยแก้ปัญหาการพัฒนาหุ่นยนต์ให้กับทีมเด็กๆ ค่ะ

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์กมลวัลย์มากที่สุดครับ

ที่กล่าวยกย่องผู้ที่อยู่เบื้องหลังเรื่องราวของหุ่นยนต์นี้

นักศึกษากับอาจารย์ก็ช่วยกันทำงานอย่างเต็มที่ตลอด

เวลาเกือบ 6 เดือน เด็กก็เครียด ครูก็หวาดกลัวว่า

เราจะพบกับความสำเร็จได้อย่างไรกันหนอ? 

แต่เมื่อเวลา-โอกาส-สถานที่(ที่เรารู้จักคือคำว่าจังหวะ)

มาถึงแล้ว เรื่องดีๆ อย่างนี้ก็มักจะเกิดขึ้นน่ะครับ

ขอขอบพระคุณที่อาจารย์ให้กำลังใจครับ และขอให้คำมั่นกับอาจารย์ว่า จะขออึดและอดทนที่จะทำงานต่อไป ตามแนวทางปรัชญาของพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ของเรา

ขอบพระคุณครับ 

สวัสดีค่ะอาจารย์ธีรศิลป์

ตัวจริงเสียงจริงแวะเข้ามาเองเลยนะคะ ^ ^

สำหรับท่านที่ยังไม่ทราบ อ.ธีรศิลป์เป็นที่ปรึกษาทีม IDEAL ค่ะ

ทราบเหมือนกันค่ะว่าทำงานกันหนักมาก แต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยทราบหรอกค่ะ มักจะรู้กันตอนได้รางวัลไปแล้ว

การใช้จังหวะเป็นสิ่งสำคัญมากอย่างที่อาจารย์บอกค่ะ ยังเคยได้ยินเลยว่าคนมีโชคเท่านั้นยังไม่พอ ต้องรู้จักใช้จังหวะและโอกาสด้วย เพราะฉะนั้นที่ชนะติดกันสองปีซ้อนนั้นมิใช่โชคแน่นอนค่ะ ^ ^

ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้กับความตั้งใจของอาจารย์ในการพัฒนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ 

เราทุกคนต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่แวะเข้ามาให้ข้อคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ 

ขอบคุณคุณ Conductor มากค่ะ ที่เอาบทความเบื้องหลังมากฝากกัน อ.ชิต เขียนดีมากเลยค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

สวัสดีค่ะคุณConductor

เปลี่ยนรูปใหม่ เกือบจำไม่ได้แน่ะค่ะ ^ ^

ขอขอบคุณสำหรับการ update ข่าวสารนะคะ ตามไปอ่านแล้วค่ะ

แล้วก็เอารูปที่ถ่ายตอนเด็กเดินผ่านตึกที่ทำงานนำหุ่นไปแสดงในงานเปิดตึกอีกตึกหนึ่งค่ะ ถ่ายเมื่อ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา หลังจากกลับมาไม่นานค่ะ

Dsc00397a 

Dsc00398a 

ข้อเสียอย่างหนึ่งของการเป็น champ ก็คือจะต้อง on-tour ไปโชว์ตัวอยู่เรื่อยค่ะ ซึ่งต้องเตรียมตัวมาก บางครั้งนักศึกษาต้องขาดเรียน หรือไม่มีเวลาเตรียมตัวเพื่อสอบ ทำให้ผลการเรียนไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก การทำกิจกรรมแบบนี้ก็เป็นดาบสองคมได้ ถ้าไม่มีการแบ่งเวลาให้ดี หรือเด็กไม่มีสิทธิเลือกว่าจะไปแสดงหรืไม่แสดงในงานใดบ้างค่ะ การไปงานแสดงต้องใช้ทุนสูงเลยค่ะ ทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ขนาดแสดงในสถาบันเอง ยังต้องเข็นอุปกรณ์มากันเองเลยค่ะ

อ้อ...เด็กๆ เหล่านี้เรียนที่ปราจีนบุรี นะคะ ไม่ได้อยู่กรุงเทพค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งสำหรับข้อมูล update นะคะ

เรื่องรูปนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการทดลองเล็กๆ ครับ ว่ามิตรรักแฟนเพลง จำอัตลักษณ์ของสมาชิกอื่นอย่างไร จะเอาไปปรับปรุง g2kmon (คือผมสงสัยว่ารูปจำเป็นไหม หากจะต้องใส่รูป จะทำอย่างไรจึงไม่เพิ่มภาระให้ GotoKnow) อาจารย์เป็นคนแรกที่ทักเลยครับ เพราะว่าเพิ่งเปลี่ยน

เรื่องภาระของผู้ชนะนั้น ผมเห็นใจจริงๆ ครับ แต่เมืองไทยขาด success stories เป็นอย่างมาก

ยิ่งกว่านั้น ส่วนหนึ่งของความเป็นผู้ชนะนั้นคือปริจจาคะ (การเสียสละความสุขสำราญ เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม) หากเด็กเหล่านี้เข้าใจว่าชัยชนะมาพร้อมกับความรับผิดชอบต่อผู้อื่น และชัยชนะไม่ได้แปลว่าการครอบครอง ประสบการณ์ครั้งนี้ ก็จะมีค่ามากต่อชีวิตของพวกเขาในอนาคตครับ

สวัสดีอีกครั้งค่ะคุณConductor

รูปใหม่เป็นการ์ตูนก็น่ารักดีนะคะ สะดุดตาค่ะ จำได้ไม่ยากค่ะ ถ้าเป็นมิตรรักแฟนเพลงกัน ก็คงเห็นความแตกต่างอย่างแน่นอนค่ะ รูปต่างจากเดิมไปเลยค่ะ ^ ^

เรื่องจำเป็นต้องมีรูปใน g2kmon หรือไม่นั้น สำหรับตัวเองคิดว่าไม่จำเป็นค่ะ ส่วนใหญ่จะจำชื่อหรือนามแฝงของคนที่เราอ่านบ่อยๆ ได้ แต่แน่นอนว่าจะต้องใช้เวลาหาชื่อมากกว่าใช้เวลาในการดูรูปแน่ๆ เพราะดูรูปง่ายกว่าอยู่แล้วค่ะ

สำหรับตัวเองแล้วโปรแกรม g2kmon สะดวกดีแล้วค่ะ โหลดได้เร็วด้วยค่ะ แต่ยังมีปัญหาเรื่องการ refresh อยู่ค่ะ ไม่ยอมปรับปรุงตัวเองทุก 4-5 นาทีตามที่ควรจะเป็น แต่คิดว่าเป็นปัญหาจากเครื่องและโปรแกรม IE ที่ตัวเองใช้อยู่ค่ะ ไม่ได้เป็นจากโปรแกรมหรอกค่ะ

สำหรับเรื่องของเด็กๆ กลุ่มนี้นั้น ดิฉันก็เห็นใจเขาค่ะ กลัวว่าถ้าทำมากไปอาจเรียนจบช้ากว่าเพื่อน แต่เท่าที่เคยได้ยินทางสถาบันเขาก็ให้ทุนสนับสนุนเรียนต่อกันถึง ป.เอก อยู่แล้วค่ะ อันนี้น่าจะขึ้นกับเขา ว่าทำได้ขนาดไหน แล้วใช่ทางของเขาหรือไม่ แต่แน่นอนว่าที่ผ่านมาเขาได้โอกาสการเรียนรู้ในการทำงาน ได้รู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักแก้ปัญหา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักให้และรู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวมด้วยค่ะ 

อย่างน้อยสิ่งหนึ่งที่เด็กเหล่านี้ได้ให้ประเทศชาติไว้ก็คือเป็นหนึ่งใน success stories แต่สิ่งเหล่านี้เขาคงต้องเรียนรู้ว่ามีได้บ้างก็ย่อมมีเสียบ้าง ได้ชื่อเสียงก็ต้องจัดแบ่งเสียสละเวลาทำหน้าที่เพื่อสังคมอย่างเหมาะสม

ขอบคุณที่แวะเข้ามาเติมเต็มเรื่องนี้เสมอนะคะ และขอขอบคุณเรื่องโปรแกรม g2kmon  ด้วยค่ะ

ฝากไว้สองตอนสุดท้ายเพื่อให้ข้อมูลอยู่ในบันทึกเดียวกันครับ

สำหรับ g2kmon ที่ไม่อัพเดตนั้น ความจริงมันทำงานปกติครับ IE ก็ใช้ได้ แต่ GotoKnow ช้าจนไม่ตอบภายใน 30 วินาที จึงดูเหมือนกับไม่มีการอัพเดต

ถ้าจะยื้อจนได้คำตอบก็สามารถทำได้ครับ แต่นั่นคือความไม่เกรงใจคนอื่น+เจตนาทำให้คนอื่นช้าทั้งๆที่รู้

สวัสดีค่ะคุณ PConductor

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับ link

ดิฉันตามไปอ่านดูแล้วค่ะ อ่านแล้วก็ทำให้คิดถึงการดำเนินการที่ สจพ.ค่ะ

สำหรับเรื่องการพัฒนาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่สจพ. นั้น ยังไม่มีรูปแบบการวางแผนเพื่อการพัฒนาอย่างชัดเจน อย่างน้อยก็เท่าที่ดิฉันมองเห็น  ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าฝ่ายบริหารมีการดำเนินการเตรียมการสำหรับการแข่งขัน การส่งเสริมทีม การพัฒนาเด็กรุ่นใหม่ การพัฒนาอาจารย์ อย่างไรหรือไม่

กำลังมองว่ายุทธศาสตร์ด้านนี้ของพระนครเหนือยังไม่ชัดนัก เท่าที่ผ่านมา และเท่าที่ทราบ การลงแข่ง การพัฒนาหุ่น ยังเป็นการดำเนินการของคนกลุ่มเล็กๆ ที่สนใจด้านนี้โดยตรงเท่านั้น  ก็ต้องดูว่าปีต่อๆ ไป จะมีผลเป็นอย่างไร

จริงๆ แล้ว(ส่วนตัว)ไม่คาดหวังมากนักกับการชนะเลิศของทีมในปีถัดๆ ไป แต่ที่จำเป็นต้องรักษาไว้คือกระบวนการการเรียนรู้ของทีมในการลงแข่งแต่ละครั้ง ดิฉันคิดว่าความรู้ที่ได้จากการผ่านกระบวนการหรือวิธีการ สำคัญกว่าผลที่ได้รับในกรณีนี้ค่ะ

ขอบคุณคุณ Conductor อีกครั้งนะคะ ^ ^

               เรียน  ท่านอาจารย์กมลวัลย์  ที่นับถือ

         จะขออนุญาตท่านอาจารย์ เล่าเรื่อง ที่มาที่ไป และผลที่ตามมา  ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอันสืบเนื่องมาจาก  การแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยที่สหรัฐอเมริกา          เริ่มต้นจาก การกลับถึงประเทศไทย  เมื่อ 12 กรกฎาคมราวๆ ห้าทุ่มถึงเที่ยงคืนเห็นจะได้(ฟังดูคุ้นๆ ยังไงๆ อยู่นา)พอเดินผ่านศุลกากรที่สนามบิน เป็นที่เรียบร้อยแล้วมีคนมาต้อนรับมากมาย  จนแทบจำไม่ได้ว่ามีใครบ้างแต่มีอยู่ท่านหนึ่งคือ  เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์เดินมาแจ้งให้ทราบว่า   ได้มีการส่งชื่อ ธีรศิลป์ให้ไปเข้าแข่งขันในรายการ อัจฉริยะข้ามคืนฟังดูทีแรกตกใจมาก  และยังถามไปว่า แล้วไม่ถามเจ้าตัวก่อนหรือ  ว่าจะไปได้หรือไม่   อย่างไร?”คำตอบคือว่า  ส่งชื่อไปแล้ว  คงต้องไปเข้าแข่งขันแน่นอนก็เป็นข่าวแรกที่ได้ยิน  ส่วนอีกคำถามหนึ่งจำไม่ได้ว่าใคร ถามว่าตกลงถือหรือไม่ถือ ?  งง!!!! ใหมล่ะครับอาจารย์

ที่จริงแล้วผู้ถามต้องการทราบเรื่องรูปถ่ายวันที่ชนะได้แชมป์

คำถามคือว่า  ได้ถือรูปของพระเจ้าอยู่หัวไว้ในมือหรือไม่   

เพราะว่า  หนังสือพิพม์ลงกันให้สนั่นไป โจมตีกันใหญ่

โดยที่เจ้าตัวที่ถูกถ่ายรูปไม่รู้เรื่องเลย    ได้ตอบไปว่า 

ถ่ายรูปไปหลายจำนวนมากและหลายอิริยาบท  จำไม่ได้จริงๆ

รู้อย่างเดียวว่า ตอนนี้  ไม่อยากถืออะไรทั้งสิ้น  อยากนอนมากเพราะนั่งเครื่องบินมา 20 กว่าชั่วโมงแล้ว  

ขอไปนอนก่อนได้ใหม ไม่ขอถืออะไร

        ท่านอาจารย์กมลวัลย์ ได้เคยดู  รายการอัจฉริยะข้ามคืน 

นี้หรือไม่ครับ?  จะมีการจัดกลุ่ม  และทำงานกันเป็นทีม  เพื่อให้ได้ชัยชนะ (ไปที่จังหวัดหนองคายครับ)( ยังมีต่ออีกหลายตอนอยู่นะครับอาจารย์  ขออนุญาตจบตอน Intro ก่อนนะครับ)            ระลึกถึงเสมอครับ                  ธีรศิลป์

สวัสดีค่ะ อ.ธีรศิลป์ ^ ^

ดีใจที่อาจารย์แวะเข้ามาเล่าประสบการณ์ต่อเนื่องจากตอนที่คุมทีมไปแข่งมานะคะ

เรื่องที่ไปร่วมรายการอัจฉริยะข้ามคืนนั้นน่าสนใจมากค่ะ แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้ดูตอนที่อาจารย์ไปออกรายการมานะคะ ^ ^  ยังไงก็จะคอยติดตามค่ะ

คิดอยู่ว่าอยากให้อาจารย์ขึ้นบันทึกของตัวเองจังค่ะ ลองสมัครสมาชิก gotoknow ไหมคะ ลองดูที่ คู่มือการใช้ระบบ (24 สค. 50) นะคะ ถ้าสนใจ   

ขอบคุณค่ะอาจารย์  

 เรียน อาจารย์กมลวัลย์ ที่นับถือ ( ขอต่อตอนที่สองนะครับ ) ธีรศิลป์ ก็ได้ไปเข้าแข่งขันในวันที่  8-10 สิงหาคมในรายการ อัจฉริยะข้ามคืนที่จังหวัดหนองคาย     ศาลากลางจังหวัดฯภาระกิจที่หนึ่ง ให้ไปถ่ายรูปตามสถานที่กำหนด เวลา 3 ชม.เพื่อจะได้รับตัวอักษร มาเป็นคำใบ้  สถานที่ก็คือ1.  ตลาดท่าเสด็จ และเล่นเกมกินเนืองให้หมดจาน        ห้ามเหลือเศษแม้แต่นิดเดียว จะได้ธง 1 ผืน2. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว และเล่นเกมตวงน้ำ      โดยใช้โหลขนาด 7 ลิตร และ  5 ลิตร      ให้ได้น้ำในโหลเหลือเพียง 6 ลิตร จะได้ธง 1 ผืน        3. วัดโพธิ์ชัย และเล่นเกมยกไม้ 2 ชิ้นจากรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส 5 รูป        แล้วใส่กลับเข้าไปใหม่ ให้เหลือรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสเพียง 4 รูป      จะได้ธง 1 ผืน                   ในการจัดกลุ่มเพื่อแข่งขัน ได้รับสีแดง     มีสมาชิก 3 คน คือ       ธีรศิลป์ , ดร.มทินา  และ  ดิเรก    เริ่มการแข่งขันเวลา 17:00 น. ของวันที่ 9 สิงหาคม     โดยไม่ให้มีของมีค่าติดตัวเลย  ให้เพียงแต่   กล้องดิจิตล 1 อัน สตางค์ 50 บาท และ รูปถ่ายต้นฉบับ 3 รูป     ของสามสถานที่เป้าหมาย        พวกเราทั้งสาม  ก็โบกรถกระบะที่ผ่านมาพอดี  ขอร้องให้ผู้ขับรถและผู้ที่นั่งมาด้วยเห็นใจเราพาพวกเราไปส่งยังท่าเสด็จเพื่อถ่ายรูป  ถ่ายรูปเสร็จแล้ว  ก็ไปกินแหนมเนือง ที่ร้านแดงแหนมเนืองอาจารย์ครับ  แหนมเนืองชุดใหญ่ที่เขาให้พวกเรากินนั้น อร่อยดีครับ แต่สุดจะทรมานในการกิน  แม้แต่น้ำจิ้มก็ต้องกวาดให้เรียบ จึงจะได้แผ่นป้ายตัวอักษรมา 1 แผ่นเป็นตัว  MU                พวกเราทั้งสาม ก็ขอให้ผู้ขับรถขับพาเราไปสะพานมิตรภาพไทย-ลาว พี่เขาชื่อ ประวิทย์ และ พี่มัลลิกา ก็พยายามพาพวกเราไปที่สะพาน อย่างทรหด ไปถึงสะพานปิดขึ้นไปไม่ได้  เลยใช้วิธีโบกรถตู้ประจำทางที่จะข้ามไปลาว เพื่อขออาศัยไปถ่ายรูปที่กลางสะพาน   แต่พอไปถึงคอสะพานพนักงานของรายการ   เรียกเราให้ลงไปเล่นเกมตวงน้ำ พวกเราเล่นเกมผ่านได้   จึงได้ธงมา 1 ผืน  และพวกเราต้องทำการวิ่งไปประมาณ 300 เมตร ไปถึงกลางสะพานเพื่อถ่ายรูป แต่อาจารย์ครับ  เป้ที่เขาให้เราแบกใส่หลังมาด้วย  เริ่มทำความเจ็บปวดที่หลังตรงบริเวณเอวเข้าให้แล้ว  ก็ได้แต่ทน ทน และ ทน ไปก่อนครับคราวนี้ได้ตัวอักษร S ครับ                พวกเราทั้งสาม ก็ขอให้พี่ประวิทย์และพี่มัลลิกา พาไปที่วัดโพธิชัยได้ไปถ่ายรูปในพระอุโบสถ  ที่มีพระใสเป็นพระประธาน คราวนี้ได้ตัว O                           กลับมายังศาลากลาง    ก็ใกล้จะถึงสองทุ่มอยู่แล้วนำตัวอักษรมาต่อเรียงกันกับของทางรายการเป็นคำว่า  LASSMUOOต้องตีให้เป็นตัวเลขสี่ตัว เพื่อจะได้เปิดเซฟ  ตีความได้เป็น  1511 ครับนำไปเปิดเซฟ ได้คำถามมาสามคำถาม คือ1. แหนมเนืองชุดที่พวกเราไปกิน ราคาเท่าใด   ตอบว่า     135 บาท2. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว สร้างโดยเงินของประเทศใด                ตอบว่า       รัฐบาล ออสเตรเลีย 3. พระเสริม พระพี่น้องของพระใสที่วัดโพธิชัย ตอนนี้ประดิษฐานอยู่ที่ใหน                ตอบว่า        กรุงเทพมหานคร

                ภารกิจที่หนึ่งนี้  พวกเราทั้งสามคน ผ่านไปได้ครับ

( ยังมีต่อ ภาระกิจที่สองนะครับ )

ธีรศิลป์

สวัสดีค่ะอาจารย์ธีรศลป์

ดีที่มีคนใจดี รับขึ้นรถนะคะ น่ารักมากๆ เลย

ภารกิจโหดพอสมควรเลยนะคะ นอกจากสมองดีแล้วร่างกายคงต้องพร้อมมากๆ เลยค่ะ

เท่าที่อ่านจากที่อาจารย์เล่าให้ฟังนี้ ต้องมีการคำนวณ มีไหวพริบในการแก้ปัญหามากเลยนะคะ

เท่าที่เคยดูรายการนะคะ จะทำตรงแกะ code ที่ให้เป็นรหัสเซฟ ไม่เคยได้เลย ตรงนี้ยอมแพ้จริงๆ ถ้าเป็นตัวเองสงสัยจะเสร็จแถวๆ นี้แหละค่ะ 55555 อาจารย์เก่งนะคะ ที่ผ่านภารกิจนี้ไปได้ เพราะดูยังไงก็ดูไม่ออกว่า LASSMUOO กลายเป็น 1511 ได้ยังไง ^ ^

แล้วจะคอยตามอ่านภารกิจที่สองนะคะ .. ขอบคุณอาจารย์ที่แวะมาให้ความรู้ที่บันทึกนี้ค่ะ... 

 

 

เรียน ท่านอาจารย์กมลวัลย์ ที่นับถือ

ท่านอาจารย์ ลองเขียน LASSMUOO ลงในกระดาษ

แล้วลองกลับหัว อ่านดูนะครับ

(กลับหัวกระดาษนะครับ อย่ากลับหัวตัวเองล่ะ)

แฮะ แฮะ ล้อเล่นนะครับอาจารย์

แล้วจะคิดเป็นตัวเลขได้ว่า 1511 น่ะครับ

จะส่งเรื่องมาให้อีกนะครับ

ระลึกถึงเสมอครับ

ธีรศิลป์

เรียนอ.ธีรศิลป์ 

เขาเข้าใจทำนะคะอาจารย์ พอกลับหัวก็อ่านออกเลย..

แต่คราวนี้ก็แย่อีกล่ะค่ะ กว่าจะจำได้ว่า ออกพรรษา คือวันไหน 55555  ความรู้น้อยค่ะ แต่พอนึกออกอยู่หรอกค่ะ ^ ^

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ ^ ^

เรียนอาจารย์กมลวัลย์
ได้ส่งไฟล์ที่สามมาให้แล้วครับ
แต่ไม่เห็นปรากฏในBLOG นี้
ไม่ทราบว่าเป็นอะไรครับ
อาจจะยาวเกินไปเลยไม่รับนาครับ
ยังไงก็จะส่งมาใหม่ครับ
ธีรศิลป์

สวัสดีค่ะอ.ธีรศิลป์

หวังว่าคงได้พิมพ์ไว้ใน word processor อื่นๆ ก่อนนำมาลงในนี้นะคะ ไม่งั้นถ้าต้องพิมพ์ใหม่คงแย่เหมือนกันค่ะ เคยเป็นเหมือนกันที่ลงข้อคิดเห็นไม่ได้ค่ะ แต่ถ้าจะเขียนอะไรยาวๆ จะเขียนลง word เอาไว้ก่อน แล้วค่อย copy มาลงในข้อคิดเห็นค่ะ 

ตอนนี้เปลี่ยนมาใช้ browser ใหม่ชื่อ firefox ซึ่งมันจำข้อความที่เราส่งได้ถ้าเราส่งไม่ผ่าน ปัญหาข้อความหายถ้าส่งไม่ผ่านเลยหมดไปค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่แวะมาเล่าสู่กันฟังเสมอนะคะ

เรียน อาจารย์กมลวัลย์
 

ขออภัยอาจารย์กมลวัลย์ครับ ที่หายเงียบไป
ตอนนี้ กำลังวุ่นกับรายงาน กพรปี2550 รวม7หมวด
ที่จะต้องจัดทำให้เสร็จโดยเร็วภายในปลายเดือนตค.
เลยยังไม่ได้เล่าเรื่อง การแข่งขันรายการ
อัจฉริยข้ามคืน ภาระกิจที่2 มาให้นะครับ
เร็วๆนี้ละครับ คงจะส่งมาได้ครับ

ก็สนใจที่จะเขียนบันทึกอยู่เหมือนกันนะครับ
แต่ตอนนี้ ชอบอ่านในส่วนของอาจารย์มากกว่า
ได้ความรู้ดี มีหลากหลายด้วยครับ 

ระลึกถึงอาจารย์เสมอครับ
ธีรศิลป์

รับทราบค่ะ อ.ธีรศิลป์

แล้วจะรออ่านตอนต่อภารกิจที่ ๒ นะคะ   ไว้ว่างก่อนแล้วค่อยเขียนก็ได้ค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่แวะมาเติมเต็มที่บันทึกนี้นะคะ ^ ^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท