ลักคณา พบร่มเย็น
อาจารย์ ลักคณา ลักคณา พบร่มเย็น พบร่มเย็น

คำพิพากษาที่แสดงถึงความแตกต่างของทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดากับสาธารณสมบัติของแผ่นดิน


ทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดากับสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

 

คำพิพากษาที่แสดงถึงความแตกต่างของทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดากับสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

 

                เมื่อกล่าวถึงที่ดินของรัฐ  ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าหมายถึงสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพียงอย่างเดียว  โดยไม่ได้คำนึงถึงที่ดินที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาหรือที่ดินที่รัฐถือครองอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์  ดังนั้น  เพื่อให้เห็นความชัดเจนของประเภทที่ดินของรัฐ  จึงได้ศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าที่ดินของรัฐประเภททรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดามีลักษณะที่แตกต่างจากที่ดินที่ของรัฐที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน  เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในการนำหลักกฎหมายมาใช้ในที่ดินของรัฐแต่ละประเภทต่อไป ดังนี้

-------------------------------------------------------------

1. ที่ดินของรัฐเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์จริงหรือไม่

--------------------------------------------------------------

                คำพิพากษาฎีกาที่ 1159/2511

                ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคแรกนั้น มีความหมายว่า บรรดาที่หลวงทั้งหลายซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ก็ดี หรือที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินตามธรรมดาไม่ไช่ทรัพย์นอกพาณิชย์ และไม่ใช่ทรัพย์ที่จะถือเอาหรือโอนกันไม่ได้เหล่าหนี้ก็ดี ถ้าไม่มีกฎหมายพิเศษได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นแล้ว ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมที่ดินดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกัน เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ใช้ก็ได้...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2424/2542

ทรัพย์สินของแผ่นดินมี 2 ประเภท คือ  ทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาซึ่งเป็นของรัฐ กับสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ว่าใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ฉะนั้น ทรัพย์สินของแผ่นดินที่จะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่นั้น จึงขึ้นอยู่กับสภาพของทรัพย์สินนั้นเองว่าได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2545

ทรัพย์ของแผ่นดินจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสภาพของตัวทรัพย์นั้นว่าราษฎรได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ ….

บทวิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่กล่าวมาข้างต้น  แสดงให้เห็นว่า ที่ดินของรัฐมี 2 ประเภท  ดังนี้

(1) ที่ดินของรัฐที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดา หรือที่ดินที่รัฐถือครองอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งมิใช่ทรัพย์

       นอกพาณิชย์

(2)  ที่ดินของรัฐที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือที่ดินของรัฐที่ใช้หรือสงวนไว้ เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน

       หรือเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์

ที่ดินของรัฐ จะเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์หรือไม่ คงต้องพิจารณาจากลักษณะสภาพของที่ดินว่ารัฐถือครองที่ดินในลักษณะใด หากที่ดินของรัฐถูกใช้หรือสงวนไว้อย่างสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็จะกลายเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์  หากที่ดินที่รัฐถือครองไว้อย่างเจ้าครองกรรมสิทธิ์ที่สามารถจำหน่าย  จ่าย โอนการครอบครองได้  ก็จะมิใช่ทรัพย์นอกพาณิชย์

------------------------------------------------------------------------------------------------

2. ที่ราชพัสดุเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน?

-------------------------------------------------------------------------------------------------

                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824 - 825/2511
                ที่ราชพัสดุได้เคยใช้เป็นที่ปลูกสร้างโรงงานฆ่าสัตว์แต่เลิกไป ปัจจุบันใช้เป็นที่ปลูกบ้านพักนายอำเภอและโรงเก็บ
รถดับเพลิง เป็น ทรัพย์สินของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยใช้เป็นที่ปลูกสร้างสำนักราชการบ้านเมืองอัน
ราชการใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา1304(3) จะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะ หรือพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 1305 เท่านั้น
และจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินมิได้ตามมาตรา 1306

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2424/2542

เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาปรากฏว่า ที่ดินพิพาทซึ่งบริษัท ช. ยกให้โจทก์ได้ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนป. และเนื่องจากโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินของโจทก์ จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ประเภทสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 จำเลยจึงไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 130

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7742/2548

แม้ตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงระบุว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 และ 5 ที่ดินพิพาทจึงเป็นเพียงทรัพย์สินของแผ่นดิน มิใช่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) (3) ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (3) ประกอบมาตรา 362

หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงระบุว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 มาตรา 4 และ 5 จึงเป็นเพียงทรัพย์สินของแผ่นดิน มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) (3) ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ 

ดังนั้น เมื่อเทศบาลตำบลน้ำพองซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาท มีหนังสือแจ้งให้จำเลยออกจากที่ดิน จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ยอมออกจากที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของเทศบาลน้ำพองโดยปกติสุข เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (3) ประกอบมาตรา 362           

บทวิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา

                คำพิพากษาฎีกาที่ 824 - 825/2511 ได้เกิดขึ้นก่อนมีการบังคับใช้ พ... ที่ราชพัสดุ .. 2518 ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มี
กฎหมายว่าด้วยการปกครองดูแลรักษาที่ราชพัสดุให้เป็นไปโดยมีระเบียบและหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ทำให้เกิดปัญหายุ่งยาก
ในทางปฏิบัติ  เนื่องจากสาธารณสมบัติของแผ่นดินย่อมถือเป็นที่ราชพัสดุด้วยเช่นกัน
                ผลการบังคับใช้ ... ที่ราชพัสดุ .. 2518 มาตรา 4[1]  ทำให้ที่ดินของรัฐสำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อ
ประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกัน  ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามมาตรา 1304(1) และ(2) ไม่ใช่ที่ราชพัสดุ  แต่
สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ตามมาตรา 1304  (3) ยังคงถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ 
ดังนั้น  ที่ราชพัสดุที่กระทรวงการคลังมีกรรมสิทธิ์ มีทั้งที่ดินของรัฐที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาที่เป็นทรัพย์ใน
พาณิชย์กับสาธารสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะซึ่งเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ เช่นกัน  ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับสภาพของที่ราชพัสดุนั้น

                อย่างไรก็ตาม  ที่ดินของรัฐที่เป็นทรัพย์ของแผ่นดินในทุกประเภทตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 1307 กล่าวคือ ท่านห้ามมิให้ยึดทรัพย์สินของแผ่นดิน ไม่ว่าทรัพย์สินนั้น จะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่

 



[1] มาตรา 4  ที่ราชพัสดุ หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด เว้นแต่ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังต่อไปนี้

(1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน

(2) อสังหาริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ

          ส่วนอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลและขององค์การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ

หมายเลขบันทึก: 242743เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2009 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับได้ความรู้มากครับ

เป็นการเตรียมข้อมูลสำหรับทำวิทยานิพนธ์ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท