ข้าวหย่ากู๊ มาฆบูชา


มาฆบูชา จาตุรงคสันนิบาต อรหันต์ ข้าวหย่ากู๊

            วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือนสาม ของทุกปี เป็นวันมาฆบูชา วันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง  เรียกว่าจาตุรงคสันนิบาต  มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น  4  ประการ

            * เป็นวันที่พระสงฆ์มาชุมนุมกัน จำนวน 1250 องค์ โดยมิได้นัดหมาย

            ** พระสงฆ์ทุกองค์ล้วนเป็นพระอรหันต์

            ***พระสงค์เหล่านั้นเป็นเอหิภิกขุอุปปสัมปทา คือพระพุทธเจ้าบวชให้ทุกองค์

            **** วันนั้นพระจันทร์เต็มดวง และโคจรมาใกล้ดาวศุกร์ที่ชื่อ "มาฆะ"

             ขอเชิญ กัลยาณมิตร g2go   - ทำบุญตักบาตร  ฟังธรรม   เวียนเทียน และนั่งสมาธิทำจิตใจให้สงบ  สาธุ!

                      ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจะมีประเพณีหลู้ข้าวหย่ากู๊ ( หลู่ข้าวใหม่เดือนสาม) 

                      ข้าวหย่ากู๊มีลักษณะคล้ายข้าวเหนียวแดง ประชาชนตามป็อก(ชุมชน) ต่างๆจะช่วยกันกวนข้าวหย่ากู๊ ก่อนวันมาฆบูชา 1 วัน

                     วัตถุดิบก็นำมาจากบ้านช่วยกันคนละไม้คนละมือ   ซึ่งก็มีเพียวข้าวเหนียว       น้ำตาลทรายแดง  น้ำอ้อย  กะทิ น้ำ  เมื่อกวนจน ( มีต่อ).........

                      ได้ที่ข้าวเหนียวสุก  หอมแล้ว ก็จะช่วยกันขนใส่รถ  แห่ไปตามถนน ถวายตามวัดต่างๆ และให้ทานกับบ้านใกล้เรือนเคียง (แต่ก่อนใช้เกวียนตกแต่งดอกไม้แห่ไปตามถนน สวยงามมาก ตวามเจริญทางวัตถุ และhigh t., มักจะเข้ามาขับไล่ความเป็นธรรมชาติ และวิถีชีวิตเดิมๆของเรา  ก่อนนั้นถนนหน้าบ้านเป็นพื้นดินดำ มีร่องน้ำไหลผ่าน ถึงเวลากลางคืนนอนฟังเสียงน้ำไหลสบายๆ )

                      ความเป็นมา   มีผู้เล่าว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกไปบิณฑบาตรตามหมู่บ้านในท้องนาท้องไร่ บังเอิญขณะนั้นเกิดฝนตกทำให้พระพุทธเจ้าเปียกฝน จึงได้เข้าไปผิงไฟในโรงนา ขณะนั้นชาวนาเจ้าของโรงนา กำลัวกวนข้าวหย่ากู๊ เมื่อทำเสร็จก็นำไปถวายพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้ายังไม่ฉันท์ แต่นั่งผิงไฟ ชาวนาจึงใส่ฟืนเพิ่มขึ้นจนผ้าสบงจีวรของพระพุทธเจ้าแห้งดีแล้ว จึงถวายข้าวหย่ากู๊  

                      ความเชื่อ  ชาวนา หรือผู้ที่ทำนามีความเชื่อว่าถ้าได้ทำข้าวหย่ากู๊ไปถวายตามวัด และให้ทานกับเพื่อนบ้าน แล้วจะทำให้ในปีต่อไปทำนาจะได้ข้าวเพิ่มขึ้นอีก   Believe  it or not . Please  share........

                      อยางไรก็ตาม อย่าลืมทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลของตัวเอง และครอบครัวค่ะ

            

หมายเลขบันทึก: 166463เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2008 23:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

วันนี้แม่ผมไปวัด แม่จัดดอกไม้ในสลุงสวยดี ผมนำภาพดอกไม้นี้มาฝากพี่เอื้องแซะครับ

บรรยากาศแบบล้านนาเลยนะครับ (ครอบครัวผมเป็นล้านนาทั้งหมดครับ)

          ตอนแรกคิดว่าน้องเป็นคนไตเหมือนพี่  คนเมืองคนไตก็เป็นปี้ เป็นน้องกันเนาะ พี่ตื่นใส่บาตรหน้าบ้าน แล้วก็ต่างซอมต่อ  ( นำข้าวและผลไม้ที่เป็นมงคลใส่กระทงเล็กๆ แล้วถวายบนหิ้งพระ  แม่พระธรณี เจ้าที่ คิดว่าคุณแม่น้องก็คงจะทำเช่นกัน ) แบ่งบุญกันนะ 

         ดอกไม้สวยค่ะ ได้กลิ่นหอมของดอกเรวดี (ถ้าจำไม่ผิด) ขอบคุณค่ะ

ขออนุโมทนาบุญกับอาจารย์และคุณเอกด้วยนะคะ..

อ่านแล้วสนุกมากๆๆแต่เรื่องการทำบอกให้ละเอียดกว่านี้กน่อยนะคะ

  • สวัสดีค่ะน้องต้อม
  • ยินดีที่มารับบุญด้วยกัน
  • สุข สงบ ตลอดไปค่ะ
  • สวัสดีค่ะคุณแพรว
  • ต้องขออภัยที่ไม่ได้อ่านบันทึก
  • การทำข้าวหย่ากู๊ก็คล้ายกับข้าวเหนียวแก้ว
  • เม็ดข้าวเหนียวแก้ว จะออกสีใสๆ กว่าข้าวหย่ากู้ รสชาดจะหวาน มันเหมือนกันค่ะ 
  • ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะคุณ วัว
  • ขอบคุณที่มาร่วมอนุโมทนาบุญค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครูเอื้องแซะ

         พิธีหลู้ข้าวหย่ากู๊ของพี่น้องชาวแม่ฮ่องสอน น่าสนใจมากค่ะ  เป็นประพณีที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้ไม่ให้สูญหายไป  สมัยก่อนมีการแห่ด้วยเกวียนคงน่าดูมากนะคะ  เหมือนที่บ้านครูดาหลาสมัยก่อนเมื่อมีงานทำบญก็จะมีญาติพี่น้องเดินแห่ครัวทานเป็นที่สนุกสนานครึกครื้น  แต่ปัจจุบันบางครั้งใช้รถยนต์บรรทุก ไม่ีเวลามากการทำบุญจึงทำแบบเร่งรีบข่งกับเวลาไปด้วย

                               

             ครูดาหลาไปงานนี้ที่เพื่อนแม่ฮ่องสอนเป็นเจ้าภาพ จัดที่อ.ปายค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท