วิทยฐานะแบบใหม่ (ต่อ)


การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

    วันนี้ มีโอกาสได้รับการต่อยอดเรื่องวิจัยในชั้นเรียนกับ โครงการโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ฐานวิจัย คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องการนำข้อมูลที่เรามีอยู่ มาถอดรหัส ตั้งแต่ 9 นาฬิกา ถึง 15 นาฬิกา ต่อจากนั้นเดินทางไปประชุมต่อ เรื่องการขับเคลื่อนโรงเรียนฐานวิจัย ของผู้บริหาร ที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22 อ.ปาย ตั้งแต่ 16.00 - 18.00 น.

     วันนี้เลยอยากจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การถอดรหัสจากข้อมูลที่เรามี ข้อมูลในการทำงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action  Research) เราก็จะม้ข้อมูล ในส่วนของพฤติกรรมการสอนของเราเอง  พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็ก  ผลการเรียนรู้ของเด็ก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบ  คะแนนจากผลงานเด็กที่เราใหน้ำหนักคะแนน(Rating scale) ในแบบวัดและประเมินผลตามสภาพจริง (Rubric) จะเป็นแบบแยกส่วนหรือองค์รวมก็ตามแต่  พวกนี้เราจะทำอย่างไร เพื่อใช้เขียนในงานวิจัย?

     ข้อมูลพวกนี้จะได้รับการถอดรหัส แล้วปรากฏในบทที่ 4 ผลการวิจัย  ครูหลายท่าน แม้แต่โรงเรียนผมเอง งงมาก และสับสนวุ่นวายกับข้อมูล ที่เป็นเชิงคุณลักษณะ และข้อมูลเชิงปริมาณ จะอธิบายตามลักษณะข้อมูลนะครับ

    1. ข้อมูลเชิงคุณลักษณะ ได้แก่ (1.)ข้อมูลที่เราได้จากบันทึกหลังสอนเชิงพรรณา บรรยาย (ดูบันทึกที่ผ่านมาว่าทำอย่างไร)  2. ข้อมูลจากการพูดคุยกับนักเรียนแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ 3. ข้อมูลจากสะท้อนคิดของนักเรียนหลังจากเรียนจบ 1 แผน หรือ 1 หน่วยการเรียนรู้ หรือเมื่อใดก็ตามแต่ที่เราให้นักเรียนเขียน 4. ข้อมูลจากการพูดคุยกับเพื่อนครู ผู้ปกครองเด็กนักเรียนห้องที่เราทำวิจัย ซึ่งเราเลือก 1 ห้อง 1 สาระการเรียนรู้

        ข้อมูลเชิงคุณลักษณะ ให้เราถอดแบบนี้นะครับ

บันทึกหลังสอน   เราอ่านแล้ววิเคราะห์ดูว่า เราใช้วิธีสอนอะไร บ้างในแต่ละขั้น เช่นขั้นนำเข้าสู่บทเรียนใช้ เพลง  เกม  สื่อของจริง ปริศนาคำทาย เชื่อมโยงความรู้เก่าไปสู่ความรู้ใหม่ หรือการซักถามเป็นต้น ให้ถอดออกมาให้หมด หลังจากนั้น นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจอะไร ให้เขียนออกมาเป็นข้อ   นักเรียนเกิดกระบวนการคิดออะไร อย่างไร เขียนมาเป็นข้อ ๆ  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับนักเรียนเป็นอย่างไร เขียนออกมาเป็นข้อ เราได้เรียนรู้อะไรจากวิธีสอนของเรา   เราได้เรียนรู้อะไรจากผู้เรียน (เราสามารถวิเคราะห์ทีละแผนการเรียนรู้ หรือถ้าขี้เกียจวิเคราะห์ทีละหน่วยการเรียนรู้ก็ได้ แต่ก็ไม่ควรขี้เกียจนะครับ) เราอาจจะสร้างเป็นแผนผังความคิด หรือเป็นกรอบที่เราออกแบบก็ได้นะครับ

การพูดคุยกับนักเรียน/ครู/ผู้ปกครอง (เป็นทางการ/ไม่เป็นทางการ)  เป็นการเก็บข้อมูลที่เราว่า 3 เส้า  ให้เขียนบันทึกไว้ว่าคุยกับใคร เมื่อวันที่เท่าไหร่ เราถอดออกมาบางประโยคที่คิดว่า ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์การวิจัยของเรา  หรืออาจมีข้อความอื่นที่เราคิดว่าเป็นผลกระทบจากการทำวิจัยของเรา

สะท้อนคิดของนักเรียน  ข้อมูลอาจเป็น นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในวันนี้ ความรู้ใหนที่เป็นความรู้เก่า ความรู้ใหนที่เป็นความรู้ใหม่ นักเรียนอยากรู้อะไรต่อไป นักเรียนรู้สึกอย่างไรในวันนี้ เป็นต้น สามารถเขียนในการวิเคราะห์บันทึกหลังสอนได้ เป็นข้อมูลที่ เราสามารถดึงออกมาเพื่อตอบต่อ วัตถุประสงค์งานวิจัย

ข้อมูลเชิงประมาณ ได้แก่ข้อมูล 1. คะแนนจากผลการทดสอบประจำแผนการเรียนรู้ (ไม่จำเป็นต้อง Pre - Post และไม่จำเป็นต้องมีทุกแผนการเรียนรู้) 2. คะแนนจากการทดสอบหลังเรียนจบ 1 หน่วยการเรียนรู้ 3. คะแนนจากการประเมินตามสภาพจริงของแต่ละแผน/หน่วยการเรียนรู้ (เราสามารถเก็บเป็นรายกลุ่ม หรือรายบุคคลก็ได้ แต่สมควรจะมีทั้งคะแนนรายบุคคลและรายกลุ่ม ) 4. ผลการสอบปลายปี หรือแม้กระทั่งผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (NT หรือ O-NET) 5. คะแนนจากการสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

  ข้อ 1- 4  เราเอาคะแนนมาหาค่าร้อยละ อาจนำเสนอผ่านเกณฑ์ ไม่ผ่านเกณฑ์ เป็นจำนวนคน 

  ข้อ 5  เรามาหาค่าเบี่ยงเบน ใช้โปรแกรม SPSS FOR WINDOW ออกมาเป็นตาราง และอธิบายตามตาราง

* เราจะหาคะแนนจากชิ้นงานของเด็กได้อย่างไร?

 ให้อาจารย์เราหาเกณฑ์มา ตัวอย่าง เราจะวัดความคิดเด็ก จากงาน 1 ชิ้น เราจะสร้างเป็น เป็น รูบริค

ไม่สามารถคิดเชื่อมโยงได้เลย  0 คะแนน

คิดเชื่อมโยงได้ 1 ข้อ  1 คะแนน

คิดเชื่อมโยงได้ 2 ข้อ 2 คะแนน

คิดเชื่อมโยงได้ 3 ข้อ หรือมากกว่า 3 คะแนนเป็นต้น

* สร้างเกณฑ์เป็น เป็นแบบ ให้นำหนักคะแนนนะครับ

พรุ่งนี้ถ้าว่างจะมาเขียนสรุปภาพรวมตั้งแต่เริ่มต้นทำนะครับ ว่าเราจะเริ่มอย่างไร เผื่อมีคนสนใจอยากทำ แต่เป็นแบบจานด่วนนะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 166451เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2008 22:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 10:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • เข้ามาอ่านต่อ
  • ขอ save ไปให้เพื่อนครู ที่โรงเรียนอ่านด้วยนะคะ  เพราะเพื่อนครู บางคน ก็ไม่ได้เข้า net บ่อยๆ
  • ขอบคุณค่ะ

ครูเจิด เยี่ยมเยี่ยม

  • ทำอย่างไร หนอ จึงจะให้เพื่อนครู ได้มีโอกาสอ่านบ้าง
  • แล้วครูอ้อยจะเข้ามาอ่านอีกนะคะ

ขอบคุณค่ะ

P   ครูที่โรงเรียนก็ไม่ชอบเข้ามาดูเหมือนกันครับ  ในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผมก็คอยสรุปให้เขาทีละอย่าง ๆ ไปเหมือนกัน และคอยกระตุ้น ให้เจียดเวลาทำบ้าง ค้นคว้าเองบ้าง คงใช้เวลาอีกนานครับ ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นนะครับ

P  พี่อ้อย ใช้วิธี ปริ้นเอ้าออกมาคงจะช่วยได้มากนะครับ อันดับแรกคือเรื่องของใจ นะครับ เมื่อก่อนผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง อินเตอร์เน็ต เท่าไหร่ ตอนนี้ก็รู้เรื่องบ้าง แต่ก็พยายามหาเวลาว่างมาศึกษา ตอนนี้มีดครงการอบรม ครูที่โรงเรียนเรื่อง การใช้เวป บล็อกของ Gotoknow เพื่อหาความรู้อยู่นะครับ ร่วมกับครูที่ไปอบรมมา ลำพังผมเองไม่ค่อยรู้เรื่อง การทำซักเท่าไหร่ เผื่อจะกระตุ้นให้ครูที่โรงเรียน มีนิสัย ค้นคว้า และแบ่งปันบ้างนะครับ

ถ่ายทอดสิ่งที่รู้เป็นตัวหนังสือให้อ่านได้ดีมากค่ะ ฉันอ่านไปเหมือนกับฟังคุณพูด เออ..เจ๋งค่ะ แล้วก็..ได้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นทีเดียว ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท