วิจัยในชั้นเรียน เนียนไปกับงาน:การเขียนโครงร่างงานวิจัย


การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

  เป็นการกำหนดโครงร่างวิจัย สำหรับได้แนวคิด +การตัดสินใจของครูที่จะทำวิจัยในชั้นเรียนนะครับ

แบบฟอร์มโครงร่างการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน/โรงเรียน (โครงการโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ฐานวิจัย: 2550)

                                  1.  ชื่อเรื่องที่วิจัย

                                  2.  ชื่อผู้วิจัย

                                  3. ที่มาของโครงการ (สภาพบริบทโรงเรียน ปัญหานักเรียนในห้อง  ผู้ปกครอง  การเรียนรู้ของ

                                      นักเรียน สอดคล้องมาตรฐานการเรียนรู้  สมศ.  หรือ พ.ร.บ. การศึกษา นำมาเขียนด้วย  )

                                  4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (ถ้าจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ ต้องรู้อะไรก่อนจึงจะแก้ปัญหาได้)

                                  5. ขอบเขตของการวิจัย

                                       5.1 กลุ่มเป้าหมาย/ กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน  วิธีเลือก (อย่าหลบห้องเรียนเด็กอ่อน)

                                       5.2 พื้นที่ในการดำเนินงาน ( 1 ผู้สอน  : 1 ห้องเรียน : 1 สาระการเรียนรู้)

                                       5.3  เนื้อหา

                                   6. กรอบแนวคิดในการดำเนินการ (การเชื่อมโยงความรู้ จากการอ่าน หลักการทฤษฎี มาสร้าง 

                                       หลอมรวมเป็นกรอบแนวคิดของตนเอง)

                                   7. วิธีดำเนินงานวิจัย

                                        7.1 แผนวิธีดำเนินกิจกรรม (แผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้)

                                        7.2 เครื่องมือช่วยในการรวบรวมความรู้

                                           (1) แผนการจัดการเรียนรู้ ควรมีลักษณะสำคัญดังนี้ 

                                          - มีกิจกรรมที่หลากหลาย

                                          - เน้นกระบวนการคิด

                                          - นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน

                                          - สอดแทรกคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่โรงเรียนต้องการวัด

                                          - ครอบคลุมทั้ง ความรู้  ทักษะกระบวนการ และเจตคติ

                                          - ครูผู้สอนคนอื่นสามารถสอนได้ ในกรณีที่เราไม่อยู่

                                          - ควรมีส่วนประกอบดังนี้

                                              (1.1) บันทึกหลังสอน เป็นการเขียนบันทึกแบบบรรยายเหตุการณ์

                                                       การบันทึกข้อมูลเชิงคุณลักษณะ เราสามารถบันทึกดังนี้

-                เหตุการณ์สำคัญ

-                บรรยากาศในการเรียนรู้

-                พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กนักเรียน

-                ผลการเรียนรู้ของเด็กนักเรียน

-                พฤติกรรมการสอนของครู

-                การถาม ตอบ ระหว่างครูและนักเรียน และหรือ ระหว่างนักเรียน ด้วยกันเอง

            การบันทึกข้อมูลเชิงปริมาณ

            เป็นการนำเอาข้อมูลที่เราวัดและประเมินผลเด็กนักเรียนในแผนการสอน นั้น ๆมาเขียนสรุป ผ่านเกณฑ์ หรือไม่ผ่านเกณฑ์ ในการสรุปผลข้อมูลเชิงคุณภาพนี้ เราจะแปรผลเป็นรายบุคคลรวมชั้นเรียน หรือรายกลุ่มรวมทั้งชั้นเรียนก็ได้ แล้วแต่เทคนิคของครู

   (1.2)  แบบประเมินตามสภาพจริง

            ในการสร้างแบบประเมินในแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนต้องสร้างประเมินที่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่เราตั้งไว้  อาจจะใช้แบบประเมิน

                                                         1. แบบให้น้ำหนักคะแนน (Rating  scale )

                                                         2. แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน

                                                         3. แบบทดสอบประจำแผนการเรียนรู้

   (1.3) ภาคผนวกของแต่แผนการจัดเรียนรู้

            เป็นเครื่องมือที่ช่วยผู้สอนใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น ใบความรู้  ใบงาน  

คำถาม   เกมและวิธีเล่นเกม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้  จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับครูผู้สอน หรือแม้กระทั่ง ครูที่เข้ามาสอนแทนในกรณี เราอบรม ป่วย หรือติดธุระส่วนตัว 

                                          (2)  การพูดคุย

                                                  เป็นทางการ

                                                 -  นักเรียน (การสัมภาษณ์)   ,   ครู ( การประชุม)   )

                                                  ไม่เป็นทางการ

                                                 -  ( พูดคุยเป็นกันเอง ทั้งนักเรียน  ครู  ผู้ปกครอง )

         (3)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

                      -  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเมื่อจบหน่วยการเรียนรู้

                      -  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายภาคเรียน/สิ้นปี

                      -  คะแนนจากการวัดผลประเมินผลทางการเรียนระดับชาติ (National  Test)

7.3 วิธีรวบรวมข้อมูล

                                7.4 การวิเคราะห์ข้อมูล

                                             การทำวิจัยในชั้นเรียน สามารถจำแนกการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้ 

                                            (1) ข้อมูลเชิงคุณภาพ  โดยข้อมูลในลักษณะนี้เป็นข้อมูลเชิงคุณลักษณะ สามารถรวบรวมข้อมูลจากบันทึกหลังสอน การพูดคุยแบบเป็นทางการ/ไม่เป็นทางการ   และสามารถใช้การวิเคราะห์ข้อมูล  โดยวิธีการ ถอดรหัส บันทึกหลังสอน ซึ่งประยุกต์จากวงจรการเรียนรู้ของ Kolb และ วิธีวิเคราะห์ข้อมูลในการ วิจัยเชิงคุณภาพ  ดังนี้  (บุบผา  อนันต์สุชาติกุล,2550)

1. แปลเหตุการณ์หรือข้อมูลเป็นรหัส  2. เชื่อมโยงสิ่งเรียนรู้เก่าและใหม่  3. สร้างข้อสรุป

(2) ข้อมูลเชิงปริมาณ สามารถรวบรวมจาก ผลงานเด็ก/ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ทำวิจัยอยู่  ปลายปี/ หรือผลการสอบระดับต่าง ๆ   ผู้ทำวิจัยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากคะแนนของนักเรียนโดย หาค่าร้อยละ  โดยมีเกณฑ์การแปลผล เป็นลักษณะผ่านเกณฑ์ หรือไม่ผ่านเกณฑ์

                                    8. ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย

                                    9. ผังดำเนินการ (ทำเป็นตาราง)

                                   10. งบประมาณ

                                         10.1 รายละเอียดงบประมาณการวิจัย

                                  11. เอกสารอ้างอิง

 

 

                                             

 

                                      

หมายเลขบันทึก: 167592เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2008 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท