รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ทยศยิ่งยง
รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ทยศยิ่งยง Assoc. Dr.Yongyootdha Tayossyingyong



หมายเลขบันทึก: 176803เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2008 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2016 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)

61. วรรณา อินทรเกษม

เมื่อ อ. 12 ก.พ. 2551 @ 12:47

544411 [ลบ]

บทอภิปราย จินตภาพอุดมศึกษา-ก้าวใหม่หลังการปฏิรูปเรียนวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ อ่านแล้วทำการบ้านส่ง ดร. กีรติ ยศยิ่งยง ด้วยน่ะ.........เดี๋ยวติด ไอ(I)คำถาม ๑. คุณเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด ๒. เห็นด้วยกับผู้อภิปรายหรือเปล่า เพราะอะไร? ๑. จากหัวข้อกราวพาทย์ ในการกล่าวถึง “จินตภาพอุดมศึกษา ก้าวใหม่หลังการปฏิรูป” คำตอบนี้จะเห็นด้วยหรือไม่ นั้นเป็นเพียงการแสดงทัศนคติต่อการปฏิรูปการศึกษาในทัศนของผู้บริหาร/นักวิชาการศึกษาของการศึกษาในเมืองไทยไปได้ เหตุเพราะเส้นทางการอุดมศึกษาไทยในปัจจุบันและอนาคตนั้น เปลี่ยนตามกระแสการเปลี่ยนแปลงตามนโยบายของนักการเมืองไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนนายกรัฐมนตรี เปลี่ยนรัฐมนตรีของกระทรวงศึกษาธิการ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ ตามกรอบแนวทางการวางแผนการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์การเชิงกลยุทธ์ เกี่ยวกับการอุดมศึกษา ซึ่งแสดงออกซึ่งสุขทรรศนะ เกี่ยวกับการอุดมศึกษา และในฐานะเจ้าสำนักทุกขทรรศน์ เกี่ยวกับแนวโน้มของการอุดมศึกษาไทยในปัจจุบันและเหตุใดการอุดมศึกษาจึงยากแก่การปฏิรูป ๒. ทิศทางและแนวโน้มของการอุดมศึกษาไทย ผู้อภิปรายได้กล่าวถึงทิศทางและแนวโน้มที่สำคัญทั้ง ๖ ประการนั้น การเปลี่ยนแปลงองค์การเป้าหมายสำคัญของการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนรากฐานแนวคิดของการเปลี่ยนแปลง เป็นรายข้อ ดังนี้ ๒.๑ ทิศทางและแนวโน้มด้าน Commodification, Marketization,McDonaldization เป็นกระบวนการแปรบริการอุดมศึกษาให้เป็นสินค้า ก่อให้เกิดได้เพราะบริการอุดมศึกษามีลักษณะความเป็นเอกชน กระบวนการดังกล่าวนี้เติบโตและพัฒนาการของพลังทุนนิยม ในระบบเศรษฐกิจอันเป็นไปตามธรรมชาติ เพื่อแสวงหารายได้ ขับเคลื่อนกระบวนการแปรบริการอุดมศึกษาให้เป็นสินค้า ปราศจากการควบคุมและกำกับของรัฐ เกื้อกูลการพิมพ์ปริญญาเพื่อขาย ซึ่งมีผลต่อกระบวนการแปรบริการอุดมศึกษาให้เป็นสินค้า ภาคเอกชนต้องการบริการอุดมศึกษาเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการผลิตและการบริหารจัดการเพื่อผลการปฏิบัติการทางธุรกิจ การได้วุฒิบัตรหรือปริญญาบัตรไม่มีความสำคัญเท่ากับการเพิ่มพูนทุนมนุษย์ เพราะภาคเอกชนในฐานะลูกค้ามีความจริงจังในการประเมินคุณภาพของบริการอุดมศึกษาที่ผลิตที่สถาบัน -๒- ภาครัฐบาลสนใจแก่นของบริการอุดมศึกษา และไม่มีความจริงจังในการประเมินคุณภาพของบริการอุดมศึกษาที่ผลิตระบบราชการเพียงแต่กำหนดว่าการศึกษาต้องมีปริญญาเพื่อความก้าวหน้าในตำแหน่งต่างๆ ให้สูงขึ้น โดยเร่งผลิตบริการอุดมศึกษาเพื่อขายและเร่งให้มหาวิทยาลัยเป็นโรงพิมพ์ปริญญาบัตร เพื่อสนองตอบต่อตลาด พยายามจดระบบการบริหารจัดการอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และควบคุมคุณภาพของผลผลิตให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน มหาวิทยาลัยไทยหาได้มีการจัดระบบการบริหารจัดการอย่างเป็นวิทยาศาสตร์และมิได้ใส่ใจในคุณภาพที่ผลิตได้ ผู้บริหารจำนวนมากไม่มีความสำนึกในเรื่องต้นทุนมีการใช้ทรัพยากรในทางสูญเปล่า กระบวนการแปรบริการอุดมศึกษาเป็นสินค้า เพื่อขาย นับเป็นทิศทางและแนวโน้มสำคัญของภาคอุดมศึกษาในปัจจุบันและอนาคตที่เห็นกระแสเหล่านี้ล้วนก่อผลทำลายภาคอุดมศึกษาในระยะยาว ๒.๒ ทิศทางและแนวโน้ม : ความหลากหลายของบริการอุดมศึกษา Product Differentiation นี้ เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์กับอุปทาน ด้านหนึ่งต้องการบริการอุดมศึกษาที่มีลักษณะหลากหลาย อีกด้านหนึ่งต้องปรับตัวสนองตอบความต้องการตามพลังตลาด ทำให้ผลที่เกิดขึ้นจะมีหลักสูตรที่ออกแบบใหม่เพื่อสนองตลาดมากขึ้น สถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีความเป็นอิสระค่อนข้างสมบูรณ์ มีอำนาจในการอนุมัติหลักสูตรและมีอำนาจในการประสาทปริญญาบัตร ส่วนสถาบันอุดมศึกษาเอกชนต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุม กำกับ และตรวจสอบของรัฐชนิดเข้มงวดมากกว่า การผลักดันในมหาวิทยาลัยของรัฐออกนอกระบบราชการ มีผลให้มหาวิทยาลัยของรัฐเดินแนวทางการตลาดและมุ่งผลิตเพื่อขาย หลักสูตรที่ออกแบบใหม่เพื่อสนองตอบความต้องการของตลาด ย่อมต้องออกแบบตามการชี้นำ”มือที่มองไม่เห็น” เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพในการผลิตและการทำงาน บางส่วนอาจต้องการเพียงกระดาษแผ่นเดียว ความเป็นไปได้ในการได้มาซึ่งปริญญาน่าจะมีมากขึ้น ราคาที่ต้องจ่ายแพงขึ้น ความคาดหวัง การออกแบบหลักสูตรใหม่ลดความเข้มงวดในทางวิชาการ ลดความเข็มงวดในการประเมินผลการเรียนรู้ ลดเวลาในการศึกษา ทำให้เกิดความหลากหลายของผลผลิตก่อเกิดความด้อยคุณภาพและความเสื่อมทรามของมหาวิทยาลัย หลักสูตรที่ออกแบบใหม่ประกอบด้วยวิชาที่ไม่มีองค์ความรู้ของตนเอง หยิบยื่นเนื้อหา สาขาวิชามากวนผสมกัน ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน ปราศจากบูรณาการแห่งวิทยาการ ผู้สอนมิได้ทำหน้าที่บูรณาการแห่งวิทยาการ การสร้างความหลากหลายของบริการอุดมศึกษา ปรากฏอย่างชัดเจนในระดับบัณฑิตศึกษา ในระดับปริญญาตรี ความหลากหลายของบริการมิได้มีมากเท่ากับความเป็นสาขาวิชา การตอบสนองความต้องการของตลาดด้วยการผลิตบริการอุดมศึกษาที่มีลักษณะหลากหลาย มหาวิทยาลัยจะสนใจการเรียนการสอนมากกว่าการผลิตองค์ความรู้สำหรับสังคมไทย มุ่งเดินแนวทางตลาดทำให้คุณภาพของการศึกษาเสื่อมลง เพราะตลาดในสัดส่วนสำคัญมิได้ต้องการคุณภาพมากกว่าไปกว่าปริญญาบัตรหรือวุฒิบัตร -๓- ๓. ทิศทางและแนวโน้มที่สาม มหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University) มหาวิทยาลัยจำนวนไม่น้อยวาดฝันว่าจะพัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย กำหนดเป้าหมายในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้ยกฐานเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก เป็นเรื่องค่อนข้างเพ้อเจ้อ เพราะการวาดฝันโดยมิได้พิจารณาสภาพความเป็นจริงในบริบทของสังคมไทย มหาวิทยาลัยถูกกำหนดให้มีภารกิจหลักในการผลิตกำลังคน มากกว่าการวิจัย โดยมิได้พิจารณาสภาพความเป็นจริงในบริบทของสังคมไทย มหาวิทยาลัยถูกกำหนดให้มีภารกิจหลักในการผลิตกำลังคน มากกว่าการวิจัยทั้ง ๆที่งบประมาณด้านการวิจัยในเมืองไทยยังไม่ได้รับการสนับสนุนขาดความสนใจที่ทำการวิจัย มุ่งแต่ผลิตบัณฑิตเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานอย่างเร่งรีบ เปิดสอนในสาขาวิชาทุกสถาบันเหมือนกัน คล้ายกันก็ว่าได้ ทั้ง ๆ ในแต่ละสาขานั้นขาดผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่ผลิต การกลั่นกรองอาจารย์ที่สอนและการประเมินอาจารย์ผู้สอน ขาดความเข้มงวดเท่าที่ควร เพราะเหตุที่ว่าขณะนี้อาจารย์มุ่งสอนนักศึกษาเป็นธุรกิจมากกว่าการให้ความรู้ ระบบอุดมศึกษาไทย มิอาจดึงหรือผูกมัดผู้ที่มีความรู้ความสามารถในดำรงอยู่ในระบบราชการได้ การเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารราชการเพื่อออกนอกระบบทำให้ทุกฝ่ายต้องเร่งรีบหาความมั่นคงและความก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพ๒.๔ ทิศทางและแนวโน้มที่สี่ ระบบธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัย(Good Governance) การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พร้อมความเป็นหมายของGood Governance นั้น ต้องดูเป้าหมายของการปรับปรุงการบริหารกิจการ ความจำเป็นในการสร้างระบบบริหารกิจการ การปรับเปลี่ยนบทบาทของภารรัฐ ตลอดจนการสร้างระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พร้อมด้วยหลักการบริหาร ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อนำไปสู่การบริหาร บทบาทหลักในการส่งเสริม การปรับปรุงการบริหาร โครงการเพื่อสนับสนุนการบริหารความสำเร็จในการสร้างระบบการบริหาร ซึ่งทั้งหมดนี้ระบบการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษา มิได้สร้างกลไกความรับผิดชอบ ต่อประชาชน ชุมชน ตลอดจนวิชาการ ขาดความรับผิดชอบต่อการใช้ทรัพยากรของแผ่นดิน ใช้จ่ายแบบสุรุ่ยสุร่าย มิได้เปิดโอกาสให้สมาชิกในชุมชนเดียวกันมีส่วนร่วมในการกำหนดเส้นทางการพัฒนาและการใช้ทรัพยากร ปราศจากความโปร่งใสผู้บริหารมีแนวโน้มที่จะไม่เปิดเผยฐานะการเงิน เข้มงวดเพื่อป้องกันปัญหาการขัดแย้ง คัดสรรบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งจากเหตุผลส่วนตัว การจัดซื้อจัดจ้างผู้บริหารมักมีส่วนร่วมในผลประโยชน์เข้าส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม ความขัดแย้งที่มีอยู่มักถูกปิดเป็นความลับ ความเลื่อมล้ำและเสื่อมเสียบางกรณีปกปิดมิอาจเปิดเผยได้ ภายใต้การพัฒนาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยากที่จะใช้หลักธรรมาภิบาลได้ -๔- ๒.๕ ทิศทางและแนวโน้มที่ห้า ระบบคลังเพื่อการอุดมศึกษา (High Education Finance) ระบบคลังเพื่ออุดมศึกษามีอยู่ ๒ ประการคือ รัฐบาลจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐอย่างเต็มที่ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน รัฐมิได้จัดสรรเงินอุดหนุนให้ ที่เป็นเช่นนี้ ประการแรก ระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษาเป็นการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน มีลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างระดับปริญญาตรีกับระดับบัณฑิตศึกษา ในส่วนของรัฐมีทั้งโครงการพิเศษ สมทบพิเศษ ในอัตราที่สูงทำให้ต้นทุนการผลิตในด้านคุณภาพต่ำ มีการพ้นสภาพออกจากระบบมากกว่าจะศึกษาอยู่จนครบหรือตลอดหลักสูตร เป็นระบบที่จำกัดเสรีภาพในการเลือก เพราะถ้าคุณไม่เสียเงินในโครงการสมทบพิเศษก็ไม่สามารถเรียนได้ เพราะโครงการปกติไม่สามารถแข่งขันกันได้ ความต้องการดังกล่าวทำให้มีการแข่งขันระหว่างสถาบันอุดมศึกษา ในการปรับปรุงคุณภาพ นโยบายการเก็บเงินค่าบริการอุดมศึกษาในอัตราต่ำกว่าเป็นระบบที่จำกัดเสรีภาพในการเลือกของนักศึกษา นักศึกษาจะมีเสรีภาพในการเลือกสถานศึกษาตามความต้องการ อันมีผลต่อรายได้ของสถาบัน เพราะรายได้นั้นมาจากรายได้ค่าบริการอุดมศึกษา ส่งเสริมการแข่งขันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในการปรับปรุงคุณภาพ ระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษาในปัจจุบันมิได้เสริมส่งให้นักศึกษาจากครอบครัวยากจนมีโอกาสในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย แม้จะมีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา แต่ไม่เพียงพอเพราะนักศึกษายากจนต้องการคือ เงินให้เปล่าหรือทุนการศึกษาที่ไม่ใช้เงินกู้ ถามว่าเอาอะไรมาวัดความยากจนวัดกันที่อะไร นักศึกษาที่มาจากครอบครัวเกษตรกรรมมีเท่าใด ในปัจจุบัน เพราะความยากจนไม่สามารถทำให้เด็กเหล่านั้นเข้ามาเรียนได้ นอกจากสร้างความไม่เป็นธรรมและไม่เกื้อประโยชน์นักศึกษาที่มาจากครอบครัวยากจน ยังบ่มเพาะความไร้ประสิทธิภาพของสถานศึกษา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงต้องปรับระบบการบริหารไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐคือออกนอกระบบ ระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษาในปัจจุบันมิได้เสริมส่งให้นักศึกษาจากครอบครัวยากจนมีโอกาสในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย แม้จะมีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เพราะสิ่งนักศึกษายากจนต้องการคือ เงินให้เปล่าหรือทุนการศึกษา เหล่านี้เอาอะไรมาวัดถึงความยากจน นักศึกษาจะรู้ว่าครอบครัวว่ายากจนอย่างไรในเมื่อการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาข้อมูลนั้นไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงเอาอะไรมารับรองความยากจน เพราะคนเซ็นรับรองเองยังไม่กล้าบอกความจริงว่ายากจนเพราะถ้าบอกแล้วไม่ได้มีการแจ้งมูลการกู้ยืมที่คนที่ยากจนไม่ได้กู้ เป็นครอบครัวผู้มีอันจะพอช่วยตัวเองได้มากู้เป็นปัญหาที่แก้กันมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ แรกเริ่มทุกคนอยากกู้แต่ไม่ปฏิบัติตามกฎกติการะเบียบการกู้ยืม เกิดความไม่เป็นธรรมและไม่เกื้อประโยชน์แก่นักศึกษา ระบบความไร้ประสิทธิภาพของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มีเงินทุนเท่าใดก็ไม่พอกับความต้องการของนักศึกษาเหล่านั้นได้ จึงต้องมีการปรับปรุงและปฏิรูประบบราชการ -๕- แต่การปฏิรูปในแนวทางที่กล่าวข้างต้นนี้ยากที่จะเป็นไปได้ หากมหาวิทยาลัยยังคงมีความเป็นอิสระโดยปราศจากความรับผิด ความพยายามในการดึงมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ และเปลี่ยนแปลงระบบการจัดสรรงบประมารแผ่นดินไปสู่การจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วปารังแต่จะซ้ำเติมปัญหาที่มีอยู่แล้วให้เลวร้ายลง หากไม่ถือโอกาส การสร้างกลไก ปรับปรุงคุณภาพการบริหาร และปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต รวมทั้งการปฏิรูปการคลังเพื่อการศึกษา ความเป็นอิสระโดยปราศจากความรับผิดเป็นกติกาอันเลวร้าย บ่อนทำลายระบบอุดมศึกษาในขั้นฐานราก สถาบันเองก็พยายามที่ออกนอกระบบเพื่อการบริหารสถาบันให้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีการเรียกร้องความเป็นไปได้ไม่ออกนอกระบบแต่ก็สู้กระแสทางการเมืองไม่ได้จึงทำให้มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งออกนอกระบบกันเกือบหมดแล้วโดยลือไปว่าแต่ละมหาวิทยาลัย/สถาบันมีพันธกิจ ภารกิจเพื่ออะไร ๒.๖ ทิศทางและแนวโน้มที่หก สากลานุวัตรของการอุดมศึกษา Internationlization of Higher Education ข้อตกลงทางการค้าบริการ กำลังกลายเป็นระเบียบการค้าระหว่างประเทศ โดยบริการการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของภาคบริการ ทั้งนี้การขยายตัวของระบบโรงเรียนนานาชาติได้ระบาดไปทั่วไม่ว่าจะเป็นระดับอนุบาล ประถม มัธยม อุดมศึกษา และการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่สูงกว่าปริญญาตรีเวลานี้กลายเป็นนานาชาติไปแล้ว แม้กระทั่งหน่วยงานบางหน่วยมีองค์กรและสถาบันต่างๆ สนับสนุนการวิจัยก็ได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศเป็นนานาชาติไปตามสมัยนิยมในยุคปัจจุบัน เพราะเมืองไทยไม่มีงบประมาณพอที่จะสนับสนุน เป็นการดีที่มีการเปลี่ยนแปลง ประเทศไทยยอมรับกติกาการเปิดเสรีการค้า ภาคอุดมศึกษาอาจมิได้รับผลกระทบมากนัก เพราะสถาบันอุดมศึกษาค่อย ๆ ปรับตัวไม่ก้าวกระโดดจนเสียโอกาสและเวลา การเปิดเสรีภาคอุดมศึกษาทำให้ประเทศที่พัฒนาแล้วมีทางเลือกในการย้ายที่ตั้งโรงงาน มาสู่ประเทศที่สาม การศึกษาจึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามยุคตามสมัย เพราะทำให้การศึกษาในเมืองไทยเกิดการแข่งขันกันเอง ในการแย่งชิงลูกค้า(นักศึกษา) มีการขยายตัวทางการศึกษาขณะนี้มีการเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ตมีมากขึ้น ทำให้เกิดช่องทางการหารายได้ การถ่ายทอดวิชาการ การแลกเปลี่ยนนักศึกษา การแลกเปลี่ยนต่างๆ จึงเกิดขึ้นมากมายได้ด้านนี้ ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวไปสู่โลกาภิวัตน์ การถ่ายทอดวิชาการ การทดลอง การใช้สื่อทางเทคโนโลยี การใช้บริการห้องสมุดต่างๆ ห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ขนาดของตลาดแหล่งงานให้กับนักศึกษาที่คาดว่าจะจบในแต่ละปีการศึกษาได้มีงานทำ เป็นการแย่งชิงลูกค้ากันอย่างมาก -๖- ๓.เหตุใดการอุดมศึกษาจึงแยกแก่การปฏิรูป จากคำกล่าวดังกล่าว คำถามหนึ่งคือ จะปฏิรูปด้านใด (What) อย่างไร (How) เพื่อใคร (ForWhom)ซึ่งการปฏิรูปอุดมศึกษาจะขับเคลื่อนได้ ก็ต่อเมื่อมีคำตอบคำถามพื้นฐานทั้งสามดังกล่าวนี้ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ประชาสังคมจะต้องมีฉันทมติเกี่ยวกับการปฏิรูปด้วย ขบวนการปฏิรูปจึงจะขับเคลื่อนได้๓.เหตุใดการอุดมศึกษาจึงแยกแก่การปฏิรูป จากคำกล่าวดังกล่าว คำถามจะปฏิรูปด้านใด(What) ปัญหาของระบบอุดมศึกษาอยู่ที่ไหน อยู่ที่โครงสร้าง คุณภาพของอาจารย์ นักศึกษา หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน คำถามนี้ระบบอุดมศึกษาอยู่ที่นโยบายของคณบดีฝ่ายวิชาการ คุณภาพของอาจารย์อยู่ที่การให้ความรู้แก่ผู้เรียน นักศึกษาอยู่ที่ความเข้าใจในวิชาการหรือไม่ การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันนี้ผู้เรียนต้องค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเนื่องจากผู้สอนไม่มีเวลาในการเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้เรียน ๆ ต้องขยันหมั่นเพียรในการศึกษาอย่างมากไม่เช่นนั้นการศึกษาจะขาดคุณภาพ คำถาม จะปฏิรูปอุดมศึกษาอย่างไร (How) ปัจจุบันนี้ระบบอุดมศึกษาทั้งระบบเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติ แข่งขันกันทุกระดับการศึกษาจะปฏิรูปกันอย่างไรเล่าหากทุกหน่วยงานเร่งผลิตบัณฑิตเพื่อสนองตอบด้านแรงงานมิเช่นนั้นการศึกษาจะพัฒนาไม่ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงและทันเพื่อนบ้านใกล้ในภูมิภาคเอเซียนนี้ได้ คำถามเพื่อใคร(ForWhom)จะปฏิรูปอุดมศึกษาเพื่อตอบสนองต่อสังคมไทย เกิดการแข่งขันกันในระดับอุดมศึกษาตามกระแสการเปลี่ยนแปลงยุคโลกาภิวัตน์ เป้าหมายของการปฏิรูปคืออะไรเพื่อตอบสนองด้านตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันกันอย่างมาก ดังนั้นการปฏิรูปจะขับเคลื่อนได้ ก็ต่อเมื่อมีคำตอบคำถามพื้นฐานทั้งสามดังกล่าวนี้ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ประชาสังคมจะต้องมีฉันทมติเกี่ยวกับการปฏิรูปจึงจะขับเคลื่อนได ๓.๒ พลังการปฏิรูปอุดมศึกษา ตอบคำถามข้อ ๓.๒ พลังการปฏิรูป อยู่ที่ไหน? มาจากไหน? พลังการขับเคลื่อนมาจากปัจจัยภายในและภายนอก รวมความแล้วจะปฏิรูปเพื่อใคร อย่างไร นั้นก็ต้องตอบคำถามทั้ง ๓ ข้อ พร้อมกับจะต้องมีคำตอบร่วมกัน หลังยังไม่มีการทำประชามติแล้วประเด็นต่าง ๆ ของการปฏิรูปย่อมเป็นไปได้ยากยิ่ง เพราะการสร้างฉันทมติเป็นเงื่อนปมสำคัญของการปฏิรูป การปฏิรูปจะเกิดขึ้นได้จักต้องมีผู้นำที่เข้าใจการปฏิรูปอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งการปฏิรูปนั้นมีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง อย่างเห็นได้ชัด เพราะเมื่อมีการปฏิรูปสิ่งต่าง ๆ ย่อมเปลี่ยนแปลง เกิดการแข่งขันกันเองภายในสถาบัน/มหาวิทยาลัย ในการแข่งขันการเปิดการเรียนการสอน หลักสูตร ที่เกือบจะเหมือน ๆ กันทุกสถาบัน ปณิภาณของสถาบันผลิตบัณฑิตแต่ละสาขาเพื่ออะไร มหาวิทยาลัยราชภัฎต่างๆ มีปรัชญาการผลิตเพื่ออะไร ในสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ผลิตบัณฑิตเพื่ออะไร กลายเป็นว่าปัจจุบัน -๗- สถาบันอุดมศึกษาเกือบทุกแห่งผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองด้านแรงงาน บางสาขาก็ขาดแคลน บางสาขาจบมาแล้วไม่มีงานทำ ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาททางการศึกษาเป็นอย่างมาก มีการขยายโอกาสทางการศึกษาไปยังภูมิภาคเพื่อขยายเป็นวิทยาเขต แต่ไม่ดูความต้องการของตลาดว่ามีความต้องการหรือไม่ สนองด้านแรงงาน บางสาขาก็ขาดแคลน บางสาขาจบมาแล้วไม่มีงานทำ ปัจเป็นการเปิดโอกาสให้แก่ชุมชน แต่ควรเป็นการศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่นการปฏิรูปการศึกษาจึงจะไปได้ดี ควรนำหลักธรรมภิบาลมาเป็นหลักในการบริหารกิจการด้านการศึกษา ระบบการบริหารจัดการที่ไร้หลักธรมาภิบาลแล้ว ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาจะประสบความสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ในแต่ละสถาบัน สถาบันที่ผู้บริหารใส่ใจต่อการปฏิรูป มุ่งประโยชน์ของชุมชนยิ่งกว่าผลประโยชน์ส่วนบุคคล เพราะหลักธรรมาภิบาล การมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนก็สามารถจะปฏิรูปการศึกษาได้ การขับเคลื่อนการปฏิรูปย่อมเป็นไปได้ เป็นพลังจากภายในองค์กรของตนที่กระทำได้สำเร็จไปได้ด้วยดี มีผู้นำการศึกษาจำนวนไม่น้อยที่เป็นห่วงเป็นใยในสภาพปัจจุบัน บางคนเข้ามานั่งเป็นกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา บางคนเข้ามาเพื่อปรับปรุงคุณภาพทางการศึกษา ปฏิรูปการศึกษา ตรวจสอบผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา หากผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษามองไม่เห็นปัญหาความจำเป็นในการปฏิรูปย่อมไม่เกิดประการสำคัญสถาบันอุดมศึกษาไทยมีความเป็นอิสระสูงมาก ในเสรีภาพทางวิชาการ มีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการแต่ละคณะของตนเอง ด้านงบประมาณ การกำหนดหลักสูตร การประสาทปริญญา อัตราค่าบริการ ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุงการศึกษา เงินอุดหนุนวิชาการ พัฒนาวิชาการ เป็นต้น อีกทั้งการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรสถาบันการเงิน มีการกู้เงินจากธนาคารพัฒนาอาเซีย (ADB) มาเพื่อการพัฒนาสิ่งต่างๆ ในการปฏิรูปการศึกษา สรุปผู้เรียนจะเห็นด้วยหรือไม่การสรุปอภิปรายนี้นั้น อาจเห็นด้วย เพราะพลังการปฏิรูปที่สำคัญเป็นพลังที่อยู่ภายในสถาบันอุดมศึกษานั้นเอง มีการปฏิบัติการร่วมในสังคม ก่อเกิดสมาชิกในชุมชนมีฉันทมติว่าด้วยการปฏิรูป ต้องมีความเห็นพ้องต้องกันว่า จะปฏิรูปอะไร อย่างไร เพื่อใคร หากปราศจากฉันทมติดังกล่าวนี้ พลังการปฏิรูปยากที่จะก่อเกิดและเติบโตได้ แต่จะทำได้ถึงขั้นใดหากบุคลากรในองค์กรไม่มีส่วนร่วม ช่วยกันผลักดันในการปฏิรูปการศึกษาเกิดขึ้น มิเช่นนั้นแล้วการศึกษาไทยเวลานี้จะว่าไปตามหลังประเทศเพื่อนบ้านกันแล้วนะ -๘- ๓.๓ การออกแบบสถาบันอุดมศึกษาในด้านสถาบัน (Institutional Design) มหาวิทยาลัยไทยแต่ดั้งเดิมมิได้สนับสนุนเป็นมหาวิทยาลัยเป็นหน่วยผลิตองค์ความรู้ มุ่งให้ผลิตคน เพราะเมื่อก่อนการเรียนการสอนเทคโนโลยียังไม่แพร่หลายอย่างปัจจุบันที่ตามไม่ทัน ความรู้ก็เช่นกันประเทศไทยขาดงบสนับสนุนการทำวิจัย เร่งผลิตคน องค์ความรู้ ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับทุก ๆ คนในโลกใบนี้แล้ว เป็นโอกาสที่สถาบันอุดมศึกษาขยายโอกาสไปยังวิทยาเขต เพื่อเป็นการกระจายความรู้ออกไป ในส่วนกลางของงบสนับสนุน ขอความร่วมมือจากองค์กร หน่วยงานทั้งในประเทศ และต่างประเทศมาสนับสนุนโครงงานวิจัยกันมากขึ้น การเรียนการสอนตัวอย่างของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ( สจพ.เดิม) นั้น มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับ ป.วช. , ป.วส. ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มีสำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศส เยอรมัน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี เวียตนาม ตลอดจนหน่วยงานภายในประเทศ ตัวอย่างของการแข่งขันหุ่นยนต์(Robot) หุ่นยนต์กู้ภัย เป็นแชมป์ในประเทศและทั่วโลก โดยได้รับความเอื้อเฟื้อสนับสนุนจาก บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) (SCG) มาโดยตลอด มีโครงการวิจัยต่างๆ มากมาย จึงทำให้มหาวิทยาลัยต้องขยายการศึกษาออกไปยังวิทยาเขตปราจีนบุรีเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ในอนาคตที่ปราจีนบุรี จะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอน ในระดับป.วช. ปริญญาตรีเพิ่มมากขึ้น ส่วนที่กรุงเทพฯ จัดการศึกษาระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฏีบัณฑิต เน้นการวิจัย มีการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอน มากกว่า ๑๓๐ หลักสูตร โดยได้ยุบหลักสูตรระดับ ป.วส. เมื่อปี ๒๕๔๑ ซึ่งหากไม่ยุบโอกาสตลาดวิชา การค้า แรงงาน ยั

62. นางสาวสุมณฑา โชติกรณ์

เมื่อ อ. 12 ก.พ. 2551 @ 21:08

544823 [ลบ]

ในฐานะที่ท่านเป็นผู้บริหารการศึกษาท่านคิดเรื่องนี้อย่างไรตอบ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นผู้บริหารการศึกษาข้าพเจ้าคิดเรื่องนี้ว่า การเกิดมาเป็นคน การศึกษาเป็นส่วนที่สำคัญของชีวิต ผู้ปกครองหลายคนได้ทุ่มเทกำลังกาย ใจ ทรัพย์สมบัติ เพื่อให้บุตรหลานเข้าสู่ระบบหวังผลในอนาคตคือการเป็นคนดี มีคุณภาพ สามารถช่วยเหลือตนเองได้เป็นที่พึ่งพาของคนอื่นได้ มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อชะตากรรมของประเทศชาติบ้านเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฎ คือ มหาวิทยาลัยรากหญ้ามีจำนวนคนผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ากับไปเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตนักศึกษาที่ได้เข้าสู่ระบบการเรียนมาหลายปี บางคนใช้เวลาสั้นบ้างยาวบ้างก็ตามศักยภาพของแต่ละคนที่ต้องพยายามให้จบการศึกษาอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการเรียนการทำความเข้าใจต่อปัญหานี้ จะต้องเริ่มต้นจากความเป็นจริง คือ เข้าใจถึงสภาพที่ระบบการศึกษา มิได้อยู่โดดเดี่ยวอย่างเป็นอิสระจาก ระบบเศรษฐกิจสังคม และโครงสร้างทางอำนาจการเมือง สำหรับสังคมไทย พัฒนาการของระบบการศึกษา และสถาบันการศึกษาทุกระดับ ก็เป็นผลสะท้อนมาจาก การพัฒนาระบบอำนาจรัฐ และระบบเศรษฐกิจเช่นกัน ในระยะเริ่มแรก ระบบอำนาจรัฐ ของเรา มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วกว่าระบบเศรษฐกิจ ที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างเชื่องช้ากว่า ระบบการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาของไทย จึงถูกสร้าง และดัดแปลงให้สนองตอบ การผลิตบุคลากร และรูปการจิตสำนึก เพื่อรับใช้ทำงานให้แก่กลไกรัฐ จนถึงยุคของการเร่งรัด พัฒนาเศรษฐกิจ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับต่างๆ ที่บทบาทความสำคัญของกลไกรัฐเริ่มลดลง เปลี่ยนเป็นกลุ่มสถาบันด้านทุน และธุรกิจ เริ่มมีความสำคัญทางสังคม และเริ่มก้าวเข้ามามีส่วนสำคัญ ในโครงสร้างอำนาจการเมือง การศึกษาในระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็เริ่มปรับเปลี่ยนแนวทาง ไปเป็นการสนองตอบต่อผลประโยชน์ ของภาคธุรกิจมากขึ้น เป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน ถ้าไม่ได้ปรับเป็นการผลิตแรงงานระดับล่าง ให้แก่ภาคธุรกิจ ในเชิงโครงสร้างของการจัดการการศึกษา ที่ระดับปริญญา แยกตัวออกจากระบบ และเป็นอิสระ สามารถหาแนวทางการบริหารจัดการของตนเอง การผลิตบัณฑิตปริญญา เพื่อธุรกิจ หรือมุ่งสร้างบุคลากรผู้มีความรู้เฉพาะด้านที่มี "ตลาดแรงงาน" ต้องการรองรับอยู่ เสียมากกว่า การสร้างบุคคลให้เป็นผู้มีทั้ง ความรู้ ความดี ในฐานะที่เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบทรัพยากรทางการศึกษาท่านมีแนวทางใดที่ทำให้บุคลากรทางการศึกษาเรื่องนี้อย่างไรตอบ บุคลากรในโรงเรียนซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า “บุคลากรในโรงเรียนมีความสำคัญต่อการบริหารฯ” เพราะบุคลากรฯเป็นผู้รับผิดชอบฯและดำเนินการเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ทั้ง วัสดุ อุปกรณ์ และการจัดการต่างๆ เพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนให้ประสบกับความสำเร็จได้นั้นผู้บริหารฯต้องสร้างภาวะผู้นำและควรยึดหลักวิชาที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาบูรณาการไปสู่การปฏิบัติที่เน้นการมีส่วนร่วมอย่างมุ่งมั่นและจริงจัง ดังนี้1. มีความซื่อสัตย์สุจริต ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของการบริหาร เพราะจะต้องทำเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อให้เกิดความศรัทธาและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคลากร ผู้ใต้บังคับบัญชา ดังคำกล่าวที่ว่า “แบบอย่างที่ดีย่อมอยู่เหนือคำสอนอื่นใด”2. มีความยุติธรรม การบริหารงานด้วยความเสมอภาค เป็นกลาง และยุติธรรมกับทุกคน ซึ่งทำให้ลดความขัดแย้งภายในโรงเรียนได้

3. มีความมุ่งมั่น ขยัน อดทน และเป็นคนสู้งาน บุคลากรฯ จะเห็นการทำงานและจะนำไปเป็นแบบอย่าง โดยยึดหลักว่า “สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น”

4. มีความรับผิดชอบสูง “ ความรับผิดชอบ” เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่ง เพราะ ความรับผิดชอบทำให้งานประสบความสำเร็จ แม้ในบางครั้งงานที่สำคัญของโรงเรียนเกิดความผิดพลาด ในฐานะผู้บริหารฯ จำเป็นต้องยอมรับและรับผิดชอบโดยไม่โยนความผิดไปให้ผู้อื่น 5. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นำแนวคิดและวิธีการใหม่ๆมาปฏิบัติในโรงเรียนบ้างเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงสร้างสรรค์ แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง 6. มีภาวะผู้นำสูง ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนเชิงการพัฒนาที่ดีขึ้นใน 4 ด้าน กล่าวคือ ด้านบริหารงานบุคคล ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ และด้านการบริหารงานทั่วไป 7. กล้าที่จะคิด กล้าที่จะพูด กล้าที่จะนำ กล้าที่จะทำ กล้าที่จะตัดสินใจ และกล้าที่จะรับผิดชอบ ในฐานะผู้บริหารฯ8. มีคุณธรรม และจริยธรรม ยึด พรหมวิหาร 4 เป็นธรรมะในการบริหารบุคลากร ได้แก่ - เมตตา ให้ความรัก ความปรารถนาดีแก่ทุกคนด้วยความเสมอภาค ไม่ลำเอียง - กรุณา ให้ความช่วยเหลือแก่บุคลากรฯ ที่มีทุกข์ตามโอกาสและความเหมาะสมอย่างเท่าเทียมกันหรือกรณีมีปัญหาในหน้าที่การงานและปัญหาส่วนตัว - มุฑิตา ยินดีให้กำลังใจแก่บุคลากรทุกคนเมื่อประสบความสำเร็จในชีวิต หรือในหน้าที่ การงานตามความเหมาะสม พิจารณาความดีความชอบที่ใช้หลักความดี/ เก่ง ส่งเสริม และ สนับสนุนให้ทำผลงานเพื่อการพัฒนาวิชาชีพที่สูงขึ้น การจัดทำการ์ดอวยพรและของที่ระลึกมอบให้ ในวันคล้ายวันเกิด ฯลฯ - อุเบกขา ทำงานโดยปราศจากอคติ วางตัวเป็นกลาง ให้ความยุติธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ลำเอียง ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่แสดงความดีใจจนเกินควร หรือทับถมผู้อื่นเมื่อประสบเคราะห์กรรม 9. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์สูง สามารถเก็บความรู้สึกต่างๆ ได้ สุขุม รอบคอบ นุ่มนวล มีความอดทนต่อความรู้สึกที่ไม่ถูกต้อง หรือการปฎิบัติที่ขัดต่อกฎระเบียบ และวัฒนธรรม 10. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรในโรงเรียนและ ครอบครัว มีนิสัยรักการอ่าน การใช้เวลาว่างในวันหยุด โดยการวางแผนและบริหารเวลาให้คุ้มค่าที่สุดสำหรับการปฏิบัติงาน และการศึกษาเพื่อการพัฒนา

ตนเองเสมอ

11. มีความจริงใจ ยึดอุดมการณ์ในการทำงานให้ความเป็นกันเองแก่ผู้ร่วมงาน ทุกคนด้วยความเสมอภาค ด้านการบริหารงาน การบริหารงานในด้านต่างๆ ของโรงเรียน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ และด้านบริหารงานทั่วไป ควรใช้วิธีการบริหารรูปแบบใหม่ “รูปแบบที่ทุกคนมีส่วนร่วม” ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ และร่วมรับผิดชอบโดยพิจารณาจัดทำภารกิจให้ชัดเจน ครอบคลุมงานทั้งหมดและมี

การกำหนดกลุ่มงานที่มีความสอดคล้องกัน จัดโครงสร้างบริหารที่เป็นนิติบุคคล มีการบริหารเป็นระบบ มีสายบังคับบัญชา และการประสานคน /งาน เพื่อให้เกิดความคล่องตัว มีการกำหนดขอบเขต อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ ในทุกระดับของตำแหน่ง ตามความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ทุกขั้นตอน ไว้อย่างชัดเจนและโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องฝึกการสร้างจิตสำนึกในเรื่องของความรักและภักดี ความหวงแหน และความเป็นเจ้าของร่วมกัน

ดั่งที่กระแสพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ ข้าราชการทุกหมู่เหล่าได้นำมาเป็นข้อคิด “สำหรับ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” นำหลักธรรมะมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพได้แก่ ฉันทะ ความพึงพอใจ โดยให้บุคลากรทุกคนได้ทำงานอย่างที่ตนเองชอบ ปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะมีความเพียรพยายามในการทำงาน ทำงานด้วยความคิดก่อนทำ การทำงานด้วยความไตร่ตรอง มีความรอบคอบ ถูกต้อง รวดเร็ว การบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ดังนั้นผู้บริหารโรงเรียนเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของโรงเรียนในการเป็นแบบอย่างที่ดีที่จะนำโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพสู่ความสำเร็จ ต้องมีคุณลักษณะของผู้นำ คือ การบริหารเชิงคุณภาพ กับการประกันคุณภาพการศึกษาคุณภาพผู้เรียนมุ่งเน้นสู่ความเป็นสากล โดยใช้การบริหารที่เน้นแบบการมีส่วนร่วมการบริหารโดยยึดประชาธิปไตย การสร้างทีมงาน หลัก 5 ส. เทคนิคการวิเคราะห์แบบ SWOT. การบริหารแบบ TQM. การบริหารระบบคุณภาพ ISO 9002 จนสามารถบริหารโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

63. นางสาวสุมณฑา โชติกรณ์

เมื่อ อ. 12 ก.พ. 2551 @ 21:10

544825 [ลบ]

จินตภาพอุดมศึกษา ก้าวใหม่หลังการปฏิรูป คงต้องการให้ผู้อภิปรายวาดภาพเกี่ยวกับการอุดมศึกษาในประเทศไทย พร้อมทั้งแสดงความหวังเกี่ยวกับ ก้าวใหม่หลังการปฏิรูป หัวข้อการอภิปราย ซึ่ง กล่าวถึง ก้าวใหม่หลังการปฏิรูป เราจำเป็นต้องเพ่งพินิจเส้นทางของการอุดมศึกษาไทยในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตเพื่อตอบคำถามว่า เราจะสามารถหันเหการอุดมศึกษาไทยออกจากเส้นทางเดิมได้หรือไม่ และหากเราต้องการ ก้าวใหม่หลังการปฏิรูป เราก็ต้องมีคำตอบว่า เส้นทางใหม่ของการอุดมศึกษาไทยคือเส้นทางใด และ ก้าวใหม่ นั้นจะก้าวอย่างไร

ทิศทางและแนวโน้มของการอุดมศึกษาไทยที่สำคัญ 6 ประการ

ทิศทางและแนวโน้มที่หนึ่ง การเติบโตของกระบวนการแปรบริการอุดมศึกษาเป็นสินค้า (Commodification) การผลิตบริการอุดมศึกษาเพื่อขาย (Marketization) และกระบวนการแม็กโดนัลดานุวัตรของบริการอุดมศึกษา (McDonaldization of Higher Education)

ทิศทางและแนวโน้มที่สอง การผลิตบริการอุดมศึกษา เพื่อให้มีลักษณะหลากหลาย (Product Differentiation)

ทิศทางและแนวโน้มที่สาม ความหวังกับความเป็นจริงของมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University)

ทิศทางและแนวโน้มที่สี่ ระบบธรรมาภิบาลในระบบอุดมศึกษาของรัฐ (University Governance)

ทิศทางและแนวโน้มที่ห้า พัฒนาการของระบบการคลัง เพื่อการอุดมศึกษา (Higher Education Finance)

ทิศทางและแนวโน้มที่หก การเติบโตของกระบวนการสากลานุวัตรของการอุดมศึกษา (Internationalization of Higher Education)

คุณเห็นด้วยกับผู้อภิปรายหรือเปล่าเพราะอะไร

ตอบ เห็นด้วยกับผู้อภิปราย เพราะ ระบบอุดมศึกษาไทยนอกจากถูกตราตรึงในเส้นทางเดิม ยากที่จะขยับเขยื้อนสู่เส้นทางใหม่แล้ว ยังขาดพลังการปฏิรูปอีกด้วย ทิศทางและแนวโน้มของการอุดมศึกษาไทยในปัจจุบันจึงยากแก่การปฏิรูปกระบวนการแปรบริการอุดมศึกษาเป็นสินค้า กระบวนการผลิตบริการอุดมศึกษาเพื่อขาย นับเป็นทิศทางและแนวโน้มสำคัญของภาคอุดมศึกษาในปัจจุบันและอนาคตที่เห็น กระแสเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ก่อผลทำลายภาคอุดมศึกษาในระยะยาวผลผลิตที่มีความหลากหลายมากขึ้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์กับอุปทานด้านหนึ่ง ตลาดต้องการบริการอุดมศึกษาที่มีลักษณะหลากหลาย ในอีกด้านหนึ่ง สถาบันอุดมศึกษาต้องปรับตัวสนองตอบความต้องการตามพลังตลาด ผลที่เกิดขึ้นก็คือ จะมีหลักสูตรที่ออกแบบใหม่เพื่อสนองตอบตลาดมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีความเป็นอิสระค่อนข้างสมบูรณ์ สภาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีอำนาจในการอนุมัติหลักสูตรและมีอำนาจในการประสาทปริญญาโดยอิสระ ในขณะที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุม กำกับ และตรวจสอบของรัฐชนิดเข้มงวดมากกว่ามาก การสนองตอบความต้องการของตลาดด้วยการผลิตบริการอุดมศึกษาที่มีลักษณะหลากหลาย มีผลต่อการประกอบภารกิจและคุณภาพของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจะสนใจการจัดการเรียนการสอนมากกว่าการผลิตองค์ความรู้สำหรับสังคมไทย การมุ่งเดินแนวทางตลาดทำให้คุณภาพของบริการอุดมศึกษาเสื่อมทรามลง เพราะตลาดในสัดส่วนสำคัญมิได้ต้องการคุณภาพมากไปกว่าปริญญาบัตรหรือวุฒิบัตร ระบบการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่มิได้เปิดโอกาสให้สมาชิกในชุมชนมหาวิทยาลัยเดียวกันมีส่วนร่วมในการกำหนดเส้นทางการพัฒนาและการใช้ทรัพยากร การตัดสินใจในเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของกลุ่มบุคคลเพียงกระหยิบมือ หลายต่อหลายมหาวิทยาลัยกำหนดระเบียบเพื่อกีดกันการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน และมีแนวโน้มที่จะรวบอำนาจไว้ในหมู่ ชนชั้นปกครอง ในมหาวิทยาลัย การกีดกันการมีส่วนร่วมของ ประชาชน เกื้อกูล ชนชั้นปกครอง ในการแปรมหาวิทยาลัยให้เป็นโรงพิมพ์ปริญญาบัตร เพื่อแสวงหารายได้จากการขายบริการอุดมศึกษา ซึ่งมีผลโดยตรงต่อรายได้และผลประโยชน์ของ ชนชั้นปกครอง ในมหาวิทยาลัยนั้นเองการขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปจะประสบความสำเร็จหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ในแต่ละสถาบัน ในสถาบันที่ ชนชั้นปกครอง ใส่ใจต่อการปฏิรูป มุ่งประโยชน์ของชุมชนวิชาการยิ่งกว่าผลประโยชน์ส่วนบุคคล และระบบการบริหารจัดการมีลักษณะธรรมาภิบาล โดยที่การมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนอยู่ในระดับสูง การขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปย่อมเป็นไปได้ แต่สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีคุณลักษณะเช่นนี้มีจำนวนน้อยนัก ความหวังที่จะปฏิรูปการอุดมศึกษาทั้งระบบแลดูริบหรี่อย่างยิ่ง ธรรมาภิบาลกับสถาบันการศึกษา เป็นพื้นฐานที่ช่วยพัฒนาระบบให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพโดยยึดหลัก 6 ประการ ดังนี้1.หลักนิติธรรม1. เผยแพร่ความรู้เรื่องกฎ ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของสถาบันการศึกษาแก่ผู้รับบริการและประชาชนทั่วไป ด้วยความเป็นจริง2. สร้างจิตสำนึกแก่เจ้าหน้าที่และพนักงานของสถาบันการศึกษาในการใช้กฎ ระเบียบด้วยความเป็นธรรมและมีความยุติธรรมแก่ผู้ที่มาสมัครเรียนทุกฐานะ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยใจรักบริการ ไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งมากกว่า และทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อสถาบันการศึกษาและผู้ที่มาเรียน3. ทบทวน ปรับปรุง กฎ ระเบียบ และกระบวนการ การดำเนินการให้เป็นธรรม และทันกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ต้องคอยตรวจดูเรื่องของกฎหมายที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุกช่วงปี เพื่อประโยชน์ต่อสถาบันการศึกษา เจ้าของกิจการ เจ้าหน้าที่ พนักงาน ตลอดจนผู้มาเรียน ลดช่องว่างในการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน2. หลักคุณธรรม1. กำหนดจรรณยาบรรณของเจ้าหน้าที่ พนักงาน อาจารย์ผู้สอน เจ้าของกิจการ ไว้อย่างเด่นชัด 2. จัดให้มีระบบการร้องเรียนในการให้บริหารของหน่วยงาน ตลอดจนจัดให้มีระบบการร้องเรียนสำหรับผู้เรียนที่มีต่ออาจารย์ผู้สอน พนักงาน และตัวสถาบันการศึกษาด้วย3. รณรงค์ให้มีการใช้หลักคุณธรรมอย่างกว้างขวางและจริงจังในทุกระดับจากระดับบริหารจนถึงระดับผู้ปฏิบัติตามทุกคน เพื่อคุณภาพงานของสถาบันการศึกษาในทุกส่วนสามารถปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี ราบรื่น ได้ผลประโยชน์แก่ทุกฝ่าย 4. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความมีคุณธรรมของหน่วยงาน ตลอดจนประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ของหน่วยงานเพื่อสร้างจิตสำนึกในเรื่องนี้ เช่น การรับประกันความพึงพอใจของผู้เรียน เป็นต้น5. สร้างระบบเครือข่ายการส่งเสริมหลักคุณธรรมระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ และกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม เช่น สถาบันการศึกษาเป็นสปอนเซอร์ให้กับการแข่งฟุตบอลรุ่นเยาวชนประจำจังหวัด เป็นการส่งเสริมให้เยาวชนที่มีเวลาว่างหันมาเล่นกีฬาดีกว่าไปติดยาเสพย์ติดหรือมั่วสุมสิ่งที่ไม่ดี เป็นต้น 3. หลักความโปร่งใส1. สำรวจความเห็นของผู้เกี่ยวข้องในภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาชนเกี่ยวกับความโปร่งใสที่ต้องการได้รับจากสถาบันการศึกษา เช่น การจัดทำแบบสอบถามจากพ่อแม่ผู้ปกครองของผู้ที่มาเรียน และผู้สมัครเรียน เป็นต้น เพื่อจะได้ทราบว่าพวกเขาเหล่านั้นต้องการที่จะรู้ข้อเท็จจริงอะไรบ้าง และทางสถาบันการศึกษาควรโปร่งใสที่จะให้พวกเขาเหล่านั้นตรวจสอบทางโรงเรียนได้ว่า ส่งมองสิ่งที่ดีที่สุดให้ผู้เรียนอย่างแท้จริง ไม่คิดเอารัดเอาเปรียบอย่างฉ้อโกง เป็นต้น 2. สร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติงานอย่างโปร่งใส สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน เช่น ลดการใช้อำนาจของคนหมู่มากข่มเหงคนหมู่น้อย พนักงานเจ้าหน้าที่ทุกคนในสถาบันการศึกษาจะต้องไม่เอาเปรียบในการทำงานซึ่งกันและกัน เป็นต้น3. กระตุ้นและผลักดันให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานปฏิบัติตาม พรบ. ข้อมูลข่าวสาร และมีระบบให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ 4. ปรับปรุงระบบสารสนเทศและระบบการจัดเก็บเอกสาร ให้สะดวกต่อการสืบค้น และเผยแพร่แก่ประชาชน 5. จัดทำประกาศและคู่มือการขอรับบริการสำหรับประชาชน โดยระบุขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการที่ชัดเจน 6. มีระบบการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล รับฟังความคิดเห็นจากบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไป 4. หลักความมีส่วนร่วม1. ปรับปรุงกฎ ระเบียบ และกลไกการให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม เช่น สอบถามความคิดเห็นของผู้มาเรียนว่ามีสิ่งใดควรปรับปรุง เพิ่มเติม หรือแก้ไขตรงจุดใดบ้าง เป็นต้น2. รณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกเรื่องการมีส่วนร่วมแก่เจ้าหน้าที่และพนักงานของสถาบันการศึกษา 3. สร้างหลักประกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้มีส่วนร่วม เช่น การทำประกันสังคมให้แก่พนักงานและเจ้าหน้าที่ต่างๆ ในสถาบันการศึกษา เป็นต้น 5. หลักความรับผิดชอบ 1. ให้เจ้าของสถาบันการศึกษาเป็นแบบอย่างที่ดี มีมาตรฐานหรือข้อกำกับความประพฤตินักบริหาร เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกน้อง2. สร้างความสำนึกเรื่องความรับผิดชอบของตนเอง (self-accountability) เช่น ใช้การมีส่วนร่วมระบบการตรวจสอบ ระบบประเมินผลแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ เพื่อเป็นการวัดคุณภาพของตัวพนักงานและสถาบันการศึกษา3. ส่งเสริมผู้มีความรู้ความสามารถ โดยใช้ระบบการให้รางวัล และระบบจูงใจอื่น ๆ เพื่อให้สถาบันการศึกษาสามารถยกระดับตัวเองให้ครองใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย 6. หลักความคุ้มค่า1. สร้างจิตสำนึกแก่เจ้าหน้าที่และพนักงาน ในการประหยัดการใช้ทรัพยากร เช่น การไม่เปิดไฟและแอร์ในขณะไม่มีผู้อยู่ในห้อง การปิดก๊อกน้ำให้สนิททุกครั้งที่ไม่ใช้งาน เป็นต้น2. ลดขั้นตอนการให้บริการ/การทำงาน เช่น เมื่อลูกค้ามาสมัครเรียนที่สถาบันการศึกษา ก็ควรให้ลูกค้าสามารถใช้บริการได้ที่เดียวเสร็จทุกกระบวนการ ไม่ควรให้ลูกค้าต้องเดินไปหลายจุดเพื่อสมัครและชำระเงิน เป็นต้น3. ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุน/เพิ่มผลผลิต 4. กำหนดเป้าหมาย และมาตรฐานการทำงาน เพื่อให้เป็นจุดเป้าหมายในการทำงาน สามารถทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้ตรงและรวดเร็วมากขึ้น ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรและเวลารวมถึงเงินทุนในการทำนอกเป้าหมายที่วางไว้5. มีระบบการติดตามประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบความคุ้มทุน ในการดำเนินการเรื่องต่าง ๆ เพื่อสามารถที่จะรู้ว่าตรงส่วนใดเป็นจุดอ่อนที่ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากร เมื่อหาพบจะได้หาทางแก้ไข เพื่อเป็นการประหยัดและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าของสถาบันการศึกษา6. มีระบบการรายงานผลที่สอดคล้องกับระบบการประเมินผล สถาบันการศึกษาควรมีการวัดผลในทุกๆ เดือน เพื่อที่จะสามารถรู้ว่าคอร์สใดให้ประสิทธิผลได้ดีที่สุด และคอร์สใดควรยกเลิกเพื่อไม่ให้เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากร จะได้นำทรัพยากรส่วนนั้นไปดำเนินงานในส่วนอื่นๆ ที่จะทำกำไรได้7. ใช้เทคนิคการบริหารงานแบบใหม่สำหรับบางงาน ที่หน่วยงานไม่ต้องทำเอง เช่น การจ้าง เหมา รปภ. พนักงานทำความสะอาด เป็นต้น การก้าวเป็นองค์กรที่ดี การปฏิบัติต่อพนักงาน สถาบันการศึกษาควรปฏิบัติต่อพนักงานในด้านต่างๆ ดังนี้ จ่ายค่าจ้างเงินเดือนและค่าตอบแทนตามกฎหมายมีระบบการเพิ่มค่าจ้างและให้ผลประโยชน์เพิ่มเติมแก่พนักงานตามผลงานอย่างเหมาะสม สถานที่ทำงานและที่พักถูกสุขอนามัยมีสวัสดิการช่วยเหลือเรื่องการรักษาพยาบาล การบรรเทาทุกข์แก่พนักงาน มีระบบพัฒนาพนักงาน ให้ความรู้แก่พนักงาน และสนองตอบต่อข้อเสนอหรือข้อคิดเห็นของพนักงาน เป็นต้น

การปฏิบัติต่อผู้บริโภค สถาบันการศึกษาควรปฏิบัติต่อผู้บริโภคในด้านต่างๆ ดังนี้ มีระบบการควบคุมการการสอนให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ และคุณภาพมาตรฐานนั้นให้ประโยชน์ต่อลูกค้า ชี้หน่วยวัดแจ้งลักษณะบริการ และราคาที่ชัดเจนเข้าใจง่าย แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับบริการ นอกจากนี้ องค์กรควรดูแลและรับผิดชอบต่อผลที่เกิดกับลูกค้า เป็นต้น

การปฏิบัติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันการศึกษาควรปฏิบัติต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ควรปฏิบัติต่อชุมชนด้วยความจริงใจให้ความช่วยเหลือและคืนกำไรให้ชุมชนตามเหมาะสมไม่เบียดเบียนและเอาเปรียบสังคม มีระบบการทำบัญชีรายงานผลที่ถูกต้องเป็นจริง รวมถึงเสียภาษีในอัตราที่ถูกต้อง เป็นต้น

64. พระมหาเกรียงไกร กองโส การจัดการสึกษา มมร. ปี 1

เมื่อ อา. 17 ก.พ. 2551 @ 09:13

548984 [ลบ]

เจริญพร อาจารย์ ดร. กีรติ เนื่องด้วย วันที่ 18 ถึง 21 ก.พ. นี้ ต้องไปจัดงานสัปดาห์มาฆบูชา ของกระทรวงวัฒนธรรม ที่วัดสระเกตุ ฯ อาจจะช้าบ้าง แต่คงจะเข้าเรียนตามปกติ จินตภาพอุดมศึกษา ก้าวใหม่หลังปฏิรูป ทิศทางและแนวโน้มที่หนึ่ง การเติบโตของกระบวนการอุดมศึกษาเป็นสินค้า การผลิตบริการอุดมศึกษาเพื่อการขาย และกระบวนการแม็กโดนัลดานุวัตรของบริการอุดมศึกษา นับเป็นทิศทางและแนวโน้มการศึกษาในปัจจุบันและอนาคตที่เกิดขึ้น ทัศนะและความเข้าใจด้านบริหาร พอจะสรุปสาระสำคัญดังนี้1. การบริหารย่อมมีวัตถุประสงค์2. การดำเนินการด้านบริหารให้บรรลุวัตถุประสงค์ต้องอาศัยกลุ่มบุคคลหลายฝ่ายร่วมงานกัน3. การร่วมมือกันดำเนินงานนั้นต้องมีระบบ เป็นไปอย่างมีกระบวนการ4. ต้องมีทรัพยากรการบริหารที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน แต่ละสถาบันการศึกษา ต่างมีแนวนโยบาย ผลิตบุคลากรทางการศึกษา ผลิตบัณฑิตออกมามากมาย หากจะมองว่าประสพผลสำเร็จ ก็อาจจะถูกต้อง เพราะแค่จบการศึกษาตามที่ผ่านเกณฑ์ ทำให้จบหลักสูตร แล้วแต่ละสถาบันก็เกิดการแข่งขัน มีการนำเสนอ ชักจูงให้คนเข้ามาเรียน โดยทำแบบการตลาดตามที่กล่าวมานั้น มีนักเรียนมาเรียนมากมาย แล้วคุณภาพ ประสิทธิภาพของบริการด้านอุดมศึกษาอยู่ที่ไหน หากจะมองตามหลักพุทธศาสนากับการบริหาร ที่เชื่อในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของมนุษย์ ที่ต้องสอดคล้อง กับการพัฒนาทั้งสามด้าน คือด้านกาย ด้านจิตใจ และด้านปัญญา อันเป็นแกนนำคือ มีวินัย หลักของศีล ใฝ่ศึกษา หลักของสมาธิ แก้ปัญหาเป็น หลักปัญญา และโดดเด่นด้านคุณธรรม หลักของวิมุตติ จะพัฒนาโลกใบนี้ให้เจริญแค่ไหน ถ้าไม่พัฒนาจิตใจคนที่อยู่ในโลก เหมือนการวางระเบิด ที่รอการปะทุ จะเห็นได้ว่า กระบวนการของการศึกษา หรือการฝึกฝนพัฒนาจะขับเคลื่อนไปได้ จำเป็นต้องเข้าใจ จุดเริ่มต้น หรือปัจจัยที่จะทำให้เกิดการศึกษาที่ถูกต้องเสียก่อน ทิศทางแนวโน้มที่สอง ความหลากหลายของบริการอุดมศึกษาหากจะมองการบหิหารการศึกษา กับการบริหารด้านอื่น โดยเฉพาะด้านธุรกิจและอตสาหกรรม จะมีความแตกต่าง และคล้ายกันคือ 1. ความมุ่งหมาย การบริหารธุรุกิจ คือผลกำไร ส่วนการบริหารการศึกษา นั้นไม่หวังผลกำไรมาในรูปวัตถุ แต่พัฒนาบุคคลให้มีความเจริญงอกงาม ฉะนั้น กำไรก็คือการพัฒนาบุคคล 2. บุคคล บุคคลที่มีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษา มีทุกระดับ ทั้งคุณลักษณะ เจตคติ แตกต่างจากอาชีพอื่น ทั้งผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ 3. กรรมวิธีที่ดำเนินงาน ในการถ่ายทอดความรู้ การจัดการศึกษามีวัตถุประสงค์แตกต่างไปจากธุรกิจ 4. ผลิตผล ทางการศึกษาผลิตบุคลากรออกมาเป็นมูลค่า แต่เป็นคุณค่า คุณภาพ และคุณประโยชน์ ทิศทางแนวโน้มที่สาม มหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย จากสังคมเกษตรกรรม พัฒนามาเป็นสังคมเศรษฐกิจ แล้วเชื่อมโยงการศึกษา พัฒนามาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ทฤษฎีนี้ ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ในทางปฏิบัติ ยังประสพปัญหามากมาย แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลง บุคคล หรือสถาบันการศึกษา จำเป็นต้อง ปรับปรุงตนเองให้ทันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทิศทางแนวโน้มที่สี่ ระบบธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัย ระบบการศึกษา ที่เชื่อมโยงกับหลักธรรมาภิบาล ตามแนวนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ คือมีคุณธรรมนำความรู้ เชื่อมโยงความร่วมมือ การเชื่อมโยง มีปฏิสัมพัน์ ร่วมกันทำงานกันกับสถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา และสถาบันชุมชน จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล อย่างชัดเจนมากกว่านี้ แนวโน้มที่ห้า ระบบคลังเพื่อการอุดมศึกษา การคลัง หรือระบบการใช้จ่าย จำเป็นอย่างมาก เพราะแม้จะสังเคราะห์ระบบ หรือวิเคราะห์ระบบ อย่างไรก็ต้องมีการคลัง กองทุนการศึกษา กองทุนการวิจัย กองทุนพัฒนาทรัพยากรบุคคล มีระบบการตรวจสอบ การจัดการการคลังที่ชัดเจน ที่จะได้รับการสนับสนุน จากรัฐด้วย แนวโน้มที่หก สากลนุวัตรของการอุดมศึกษา การเปิดเสรี การค้าบริการทางการศึกษา มีในทุกประเทศ ดังเช่นนักเรียนไทย ไปเรียนต่อต่างประเทศ เพื่อพัฒนาศึกษา ดังนั้นหากมองมาที่ประเทศไทย ก็เป็นที่น่าสนใจ หากมีการพัฒนาเป็นที่ยอมรับเป็นสากล ฯ

65. พระสาคร สิริคุตฺโต นักศึกษา ป.โท สาขาวิชา การจัดการศึกษา

เมื่อ จ. 18 ก.พ. 2551 @ 10:51

550067 [ลบ]

ตอบคำถามเรื่อง การ Comment ในเรื่องของทิศทางและแนวโน้มของการอุดดมศึกษาไทย 6 ข้อ ดังนี้

1. ทิศทางและแนวโน้ม การเติบโตของกระบวนการแปรบริการอุดมศึกษาเป็นสินค้า (Commodification) การผลิตบริการอุดมศึกษาเพื่อขาย (Marketization) และกระบวนการแม็กโดนัลดานุวัตรของบริการอุดมศึกษา (McDonaldization of Higher Education)

Comment ตรงที่ ผลของการตอบสนองต่อตลาด ทำให้มหาวิทยาลัยไทยเดินอยู่บนเส้นทางของ McUniversity กระบวนการแม็กโดนัลดานุวัตร (McDonaldization) มิได้ก่อเกิดในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเท่านั้น หากยังก่อเกิดในอุตสาหกรรมการศึกษาด้วย ในขณะที่ McDonald ให้บริการ แดกด่วน ยัดเร็ว (Fast Food) McUniversity ก็ให้บริการ Fast Education และผลิต Instant Graduates ในขณะที่ McDonald มีระบบเครือข่ายสาขา McUniversity ก็จัดระบบเครือข่ายสาขา ในลักษณะ Chain Stores ด้วย มหาวิทยาลัยของรัฐไทยจำนวนมากก้าวลำไปให้บริษัทเอกชนผลิตบริการอุดมศึกษาในนามของตนเอง

2. ทิศทางและแนวโน้มความหลากหลายของบริการอุดม ศึกษา (Product Differentiation)

Comment ตรงที่ การผลักดันให้มหาวิทยาลัยของรัฐออกนอกระบบราชการโดยปราศจากนโยบายและแผนการอุดหนุนของรัฐที่ชัดเจน มีผลในการผลักดันให้มหาวิทยาลัยของรัฐเดินแนวทางตลาดและมุ่งผลิตบริการอุดมศึกษาเพื่อขาย อันเป็นไปตามแนวโน้ม Commodification,Marketization และ McDonaldization การสนองตอบความต้องการของตลาดด้วยการผลิตบริการอุดมศึกษาที่มีลักษณะหลากหลาย มีผลต่อการประกอบภารกิจและคุณภาพของมหวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจะสนใจการจัดการเรียนการสอนมากกว่าการผลิตองค์ความรู้สำหรับสังคมไทย

3. ทิศทางและแนวโน้มมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University)

Comment ตรงที่ ระบบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ยังคงมีอิทธิพลในระบบสถาบันอุดมศึกษาของรัฐอย่างแน่นหนา การกลั่นกรองอาจารย์และการประเมินผลงานอาจารย์ขาดความเข้มงวดเท่าที่ควร มหาวิทยาลัยในสังคมไทยจะไม่สามารถพัฒนาไปเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยได้ หากยังต้องพิจารณาการออกแบบเชิงสถาบันของมหาวิทยาลัยและการกำหนดกติกาการเล่นเกมในระดับอุดมศึกษา เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีบทบาทในการผลิตความรู้ใหม่อีกด้วย ปัจจัยเชิงสถาบันมีความสำคัญยิ่งยวดในกระบวนการปฏิรูป

4. ทิศทางและแนวโน้มระบบธรรมมาภิบาลของมหาวิทยาลัย (University Governance)

Comment ตรงที่ ระบบการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาของรัฐปราศจากความโปร่งใสผู้บริหารมหาวิทยาลัยมีแนวโน้มที่จะไม่เปิดฐานะการเงินสุทธิของมหาวิทลัย หรือแม้แต่อำพรางฐานะการเงิน เพื่อประโยชน์ในการของบประเมาณแผ่นดิน ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลบริษัทเอกชนที่รับสัมปทานในการผลิตบริการอุดมศึกาในนามมหาวิทยาลัย การขาดความโปร่งใสช่วยหล่อเลี้ยงความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากร ในอีกด้านหนึ่ง เกื้อกูลการดูดซับส่วนเกินทางเศรษฐกิจจากการบริหารมหาวิทยาลัย ระบบการบริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในปัจจุบันมิได้มีคุณลักษณ์ตามหลัก ธรรมาภิบาล การดึงมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการในขณะที่ยังมิได้มีธรรมาภิบาล ย่อมยังความล้มเหลวแก่มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล

5. ทิศทางและแนวโน้มระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษา (Higher Education Finance)

Comment ตรงที่ ระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษาที่มีลักษณะ Supply-side Financing เป็นระบบที่จำกัดเสรีภาพในการเลือกของนักศึกษา เนื่องเพราะเป็นการจัดสรรทรัพยากรให้แก่ผู้บริโภค นักศึกษาจะมีเสรีภาพในการเลือกสถานศึกษาตามความต้องการ

6. ทิศทางและแนวโน้มสากลานุวัตรของการอุดมศึกษา (Internationalization of Higher Education)

Comment ตรงที่ การเปิดเสรีภาคบริการอุดมศึกษามีผลต่อการขยายตัวของบริการอุดมศึกษาทางไกลด้วย การขยายบริการอุดมศึกษาผ่าน internet จะมากขึ้น โดยที่ส่วนใหญ่อาจเป็นบริการอุดมศึกษาคุณภาพตำ และลูกค้าในเมืองไทยอาจต้องการปริญญาบัตรมากกว่าบริการที่มีคุณภาพ

เจริญพร...สาธุ

66. วรรณา อินทรเกษม

เมื่อ จ. 18 ก.พ. 2551 @ 11:20

550107 [ลบ]

ขอส่งงานย้อนหลังค่ะ อาจะล้าช้า ค่ะ จะพยายามส่งให้ครบ

แนวทางแก้ไขปัญหา"มหาวิทยาลัยราชภัฎ... วิกฤติหรือไม่? จากหนังสือพิมพ์ผ้จัดการ วันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๑

คำตอบ เห็นด้วยหรือไม่ ถ้ามองด้านหลักสูตร คิดว่าควรจะเปิดสอนให้รู้ว่าบริบทของมหาวิทยาลัย หรือปรัชญาของมหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิตมาแล้วสอดคล้องกับสังคมที่ต้องการหรือไม่ บางครั้งเมื่อโลกเปลี่ยนแปลง การเรียนการสอนก็ต้องเปลี่ยน แต่ต้องไม่ลืมว่าจุดม่งหมายของมหาวิทยาลัยราชภัฎคือ ผลิตบุคลากรทางการศึกษา "ครู" แต่เมื่อเปลี่ยนแปลงแล้ว ผลิตบัณฑิตในสาขาที่ขาดแคลนตามกระแสนิยม ก็ต้องยอมรับสภาพ เปิดหลักสูตรเหมือน ๆ กันทุกมหาวิทยาลัยแต่แนวทางปรัชญาต่างกันก็ไม่มีความหมาย แนวทางการแก้ไขในฐานะที่ดูแลรับผิดชอบ คงต้องมองทุกระบบที่เกี่ยวข้อง และหาสาเหตุว่าในแต่ละระบบนั้นเกิดอะไรขึ้น

ปัญหาด้านครูผ้สอน ควรมีเวลาในการสอน ร้จักเตรียมการสอน อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ ให้รู้จักการออกไปประกอบอาชีพ ร้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดี ทำอย่างไรจะให้นักศึกษาอย่ในหน้าที่ศีลธรรมได้ ครูควรมีเวลา ๕-๑๐ นาทีก่อนสอนที่จะอบรมสั่งสอนนักเรียนนักศึกษา ตัวอาจารย์เองมีจุบอดอยู่หรือไม่ แก้ไขได้หรือเปล่า เคยสอนหรือเปล่าว่าโจทย์แต่ละข้อหรือแต่ละลักษณะมีรูปแบบในการวิเคราะห์และแก้ไขโจทย์ได้อย่างไร ?

ด้านการศึกษา หาครูที่มีความเป็นครูสอนหนังสือมากกว่าครูที่สอน เพราะเด็กเวลาเรียนเขาพร้อมที่จะเรียนที่ฟังครูสอน หรือไม่ เพราะเด็กนักเรียนสมัยนี้ไม่ร้จัดความรับผิดชอบหาความร้ให้ตัวเองมีความเข้าใจ มั่นใจพอที่จะแก้ปัญหาโจทย์

ความมั่นใจในตัวนักศึกษาก็เช่นกัน ไม่มีคำตอบที่ว่าจะเริ่มจากจุดไหน แก้ตรงไหน แล้วจะหาย ดูเหมือนทุกคนที่เกี่ยวข้องสามารถหันไปโทษคนอื่นได้ทั้งหมด

ควรที่จะร่วมกันทำคนละไม้ละมือ แบ่งปันความรับผิดและชอบ เหตุการณ์เช่นนี้คงจะไม่เกิด

67. วรรณา อินทรเกษม

เมื่อ จ. 18 ก.พ. 2551 @ 11:29

550118 [ลบ]

ตอบคำถาม ๖ ข้อ จากการวิพากษ์วิจารณ์เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เรื่อง ในทิศทางและแนวโน้มของการอุดมศึกษาไทย ทั้ง ๖ ข้อ ดังนี้

ทิศทางและแนวโน้มที่หนึ่ง ๑. ทิศทางและแนวโน้ม การเติบโตของกระบวนการแปรบริการอุดมศึกษาเป็นสินค้า (Commodification) การผลิตบริการอุดมศึกษาเพื่อขาย (Marketization) และกระบวนการแม็กโดนัลดานุวัตรของบริการอุดมศึกษา (McDonaldization of Higher Education)

Comment ตรงที่ ผลของการตอบสนองต่อตลาด ทำให้มหาวิทยาลัยไทยเดินอยู่บนเส้นทางของ McUniversity กระบวนการแม็กโดนัลดานุวัตร (McDonaldization) มิได้ก่อเกิดในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเท่านั้น หากยังก่อเกิดในอุตสาหกรรมการศึกษาด้วย ในขณะที่ McDonald ให้บริการ แดกด่วน ยัดเร็ว (Fast Food) McUniversity ก็ให้บริการ Fast Education และผลิต Instant Graduates ในขณะที่ McDonald มีระบบเครือข่ายสาขา McUniversity ก็จัดระบบเครือข่ายสาขา ในลักษณะ Chain Stores ด้วย มหาวิทยาลัยของรัฐไทยจำนวนมากก้าวลำไปให้บริษัทเอกชนผลิตบริการอุดมศึกษาในนามของตนเอง

๒. ทิศทางและแนวโน้มความหลากหลายของบริการอุดม ศึกษา (Product Differentiation)

Comment ตรงที่ การผลักดันให้มหาวิทยาลัยของรัฐออกนอกระบบราชการโดยปราศจากนโยบายและแผนการอุดหนุนของรัฐที่ชัดเจน มีผลในการผลักดันให้มหาวิทยาลัยของรัฐเดินแนวทางตลาดและมุ่งผลิตบริการอุดมศึกษาเพื่อขาย อันเป็นไปตามแนวโน้ม Commodification,Marketization และ McDonaldization การสนองตอบความต้องการของตลาดด้วยการผลิตบริการอุดมศึกษาที่มีลักษณะหลากหลาย มีผลต่อการประกอบภารกิจและคุณภาพของมหวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจะสนใจการจัดการเรียนการสอนมากกว่าการผลิตองค์ความรู้สำหรับสังคมไทย

๓. ทิศทางและแนวโน้มมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University)

Comment ตรงที่ ระบบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ยังคงมีอิทธิพลในระบบสถาบันอุดมศึกษาของรัฐอย่างแน่นหนา การกลั่นกรองอาจารย์และการประเมินผลงานอาจารย์ขาดความเข้มงวดเท่าที่ควร มหาวิทยาลัยในสังคมไทยจะไม่สามารถพัฒนาไปเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยได้ หากยังต้องพิจารณาการออกแบบเชิงสถาบันของมหาวิทยาลัยและการกำหนดกติกาการเล่นเกมในระดับอุดมศึกษา เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีบทบาทในการผลิตความรู้ใหม่อีกด้วย ปัจจัยเชิงสถาบันมีความสำคัญยิ่งยวดในกระบวนการปฏิรูป

๔. ทิศทางและแนวโน้มระบบธรรมมาภิบาลของมหาวิทยาลัย (University Governance)

Comment ตรงที่ ระบบการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาของรัฐปราศจากความโปร่งใสผู้บริหารมหาวิทยาลัยมีแนวโน้มที่จะไม่เปิดฐานะการเงินสุทธิของมหาวิทลัย หรือแม้แต่อำพรางฐานะการเงิน เพื่อประโยชน์ในการของบประเมาณแผ่นดิน ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลบริษัทเอกชนที่รับสัมปทานในการผลิตบริการอุดมศึกาในนามมหาวิทยาลัย การขาดความโปร่งใสช่วยหล่อเลี้ยงความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากร ในอีกด้านหนึ่ง เกื้อกูลการดูดซับส่วนเกินทางเศรษฐกิจจากการบริหารมหาวิทยาลัย ระบบการบริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในปัจจุบันมิได้มีคุณลักษณ์ตามหลัก ธรรมาภิบาล การดึงมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการในขณะที่ยังมิได้มีธรรมาภิบาล ย่อมยังความล้มเหลวแก่มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล

๕. ทิศทางและแนวโน้มระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษา (Higher Education Finance)

Comment ตรงที่ ระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษาที่มีลักษณะ Supply-side Financing เป็นระบบที่จำกัดเสรีภาพในการเลือกของนักศึกษา เนื่องเพราะเป็นการจัดสรรทรัพยากรให้แก่ผู้บริโภค นักศึกษาจะมีเสรีภาพในการเลือกสถานศึกษาตามความต้องการ

๖. ทิศทางและแนวโน้มสากลานุวัตรของการอุดมศึกษา (Internationalization of Higher Education)

Comment ตรงที่ การเปิดเสรีภาคบริการอุดมศึกษามีผลต่อการขยายตัวของบริการอุดมศึกษาทางไกลด้วย การขยายบริการอุดมศึกษาผ่าน internet จะมากขึ้น โดยที่ส่วนใหญ่อาจเป็นบริการอุดมศึกษาคุณภาพตำ และลูกค้าในเมืองไทยอาจต้องการปริญญาบัตรมากกว่าบริการที่มีคุณภาพ

68. วรรณา อินทรเกษม

เมื่อ จ. 18 ก.พ. 2551 @ 11:37

550123 [ลบ]

ขอส่งงานย้อนหลังค่ะ อาจะล้าช้า ค่ะ จะพยายามส่งให้ครบ

เรื่อง "การวางแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ"

จากที่พอจะสรุปได้ในการรับฟังการถวายความรู้ ในปรเด็นที่ว่าด้ยการวางแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ หัวใจหลักของท่านผู้บรรยายจะเน้นลงไปที่ประเด็นสำคัญอยู่ ๔ ประเด็นด้วยกัน คือ

๑. การวิเคราะห์ถึงบริบทปัจจัยภายใน ซึ่งเป็นดารสำรวจตนเองให้มองเห็นตนเองว่าเป็นอย่างไรมีความพร้อมหรือมีจุดด้อยด้านใน

๒. การวิเคราะห์ถึงบริบทปัจจัยภายนอก ที่มีส่วนในการเกี่ยวข้องกับตัวเราหรือองค์กร

๓. การวิเคราะห์ถึงบริบทของโลกที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่อย่างรวดเร็วและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เนืองๆ

และ ๔. เป็นการวิเคราะห์แบบคาดการณ์ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการมองหาจุดแข็ง กำจัดจุดอ่อน เสริมสร้างโอกาส และป้องกันภัยคุกคาม และกำหนดแผนการนโยบาย ทั้งในส่วน นโยบาย ส่วนองค์กร และส่วนของผู้ปฏิบัติการ

แต่ในส่วนตัวอยากจะขอเสริมเพิ่มเติมเสริมแนวคิด เพื่อให้เกอดการพัฒนาที่ยั่งยืน ก็คือ

๑. เข้าใจเหตุปัจจัย ว่าสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นต้นเหตุของเรื่องต่างๆ นั้นมาจากอะไร ทำไมจึงต้องเป็นแบบนี้

๒. ประเมินผลที่จะตามมาจากเหตุปัจจัยที่ได้ศึกษามาแล้ว

๓. รู้จักตน และองค์กรว่าสภาพแวดล้อมต่างๆ เป็นอย่างไร

๔. เข้าใจสถานการณ์และโอกาสที่เกิดขึ้นมาแล้วนำมาคิดว่าจะดำเนินนโยบายด้านใดในตอนไหนเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

๕. สรรหาความพอดี ที่ปัจจุบันสังคมอาจจะเรียกว่าความพอเพียง คำนึงว่าองค์กรและตัวเราต้องการอะไรทำอย่างไรให้พอเพียง ไม่เกินไปหรือขาดไป

๖. เข้าใจท่าทีที่บริบทของสังคมมีต่อเราและองค์กร และเข้าใจว่าพร้อมจะอยู่อย่างกลมกลืน

๗ และรู้จักเลือกใช้ในความแตกต่างของบุคคลที่มีส่วนร่วมทำให้เกิดการพัฒนาซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในหลักการของพระพุทธศาสนา เรียกว่าสัปปุริสธรรม (qualities of a good man; virtues of a gentleman)

69. วรรณา อินทรเกษม

เมื่อ จ. 18 ก.พ. 2551 @ 11:58

550138 [ลบ]

ขอส่งงานย้อนหลังอีก

หลักการบริหารจัดการทั่วไปนั้นต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย ๔ อย่างคือ ๑. คน man ๒ . เงินหรือทุน money ๓ . วิธีการ method ๔ . วัสดุ , อุปกรณ์ material ซึ่งการบริหารจัดการนั้นมีความจำเป็นต้องใช้หลักการและวิธีการในการดำเนินงาน

ปัจจุบันองค์ประกอบนั้นมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตามยุคและสมัยที่มีความไม่นิ่งตามกระแสโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดองค์ประกอบเพิ่มมากขึ้น ดังนี้ ๑. คน man ๒ . เงิน money ๓ . เครื่องจักรกล , เครื่องมือ machine ๔. วิธีการ method ๕. การจัดการ management ๖ . การตลาด marketing ๗. เวลา minutes ๘. วัสดุอุปกรณ์ materialในการบริหารจัดการในองค์กรหนึ่งที่สามารถทำได้ประสบผลสำเร็จ ขณะเดียวกันหากนำมาบริหารจัดการอีกหน่วยงานหนึ่งอาจจะไประสบผลสำเร็จก็เป็นได้เนื่องจาก ส่วนประกอบโดยบริบทหรือยังมีส่วนอื่นที่ไม่เหมือนกัน แต่ให้ใช้เป็นแนวทางและให้ศึกษารายละเอียดแก้ไขปรับปรุงปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา เมื่อให้องค์กรมีประสิทธิภาพและบุคคลในองค์กรเกิดความพึงพอใจ * การศึกษาของไทยที่ยังไม่ได้ปรับปรุง ทรัพยากรมนุษย์มีผลต่อการจัดการศึกษาอย่างไร สมมติว่าท่านเป็นผู้บริหารท่านจะจัดการอย่างไร* การศึกษาของไทยที่ยังไม่ได้มีการปรับปรุง การศึกษาของไทยนั้น ยังมีค่านิยมและวัฒนธรรมของไทยเราเองที่นิยมและยอมรับเอาวัฒนธรรมของต่างชาติและรับเขามาทั้งดุ้นโดยไม่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความเป็นไทย และมีจุดยืนของตนเอง โดยเฉพาะปัจจุบันอาจจะมองให้เห็นว่านโยบายในการขยายโอกาสทางการศึกษามีจุดอับคือเราขยายฐานการศึกษา แต่ฐานแต่ละฐานที่เราขยายนั้นไม่แน่น เป็นเพียงการฉาบฉวยและมองว่าตนพัฒนาแล้วทั้งที่ความเป็นจริงนั้นกลับเป็นการหลอกตนเองและระบบ ทำให้เรามองเห็นช่องโหว่ และมีการผลิตบัณฑิตที่มีแต่ปริมาณไม่มีคุณภาพ เกิดปัญหาบัณฑิตตกงาน เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย

ทรัพยากรบุคคลมีผลต่อการจัดการศึกษาคือ ทรัพยากรบุคคลมีผลต่อการพัฒนาทุกๆด้าน มิใช่แต่เพียงการศึกษาเท่านั้น เพราะคนหรือกลุ่มบุคคลเป็นสิ่งที่ช่วยขับเคลื่อน ทุกสิ่งอย่างในการทำงาน การพัฒนาสิ่งแรกก็ควรจะจัดการพัฒนาคน ก่อนเพราะถ้าพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ได้ การพัฒนาด้านอื่นๆก็มิใช่เรื่องยาก ปัจจุบันก็ประสบปัญหาในการบริหารจัดการเพราะคนของเราไม่มีประสิทธิภาพ ขาดความรับผิดชอบ มีการเอารัดเอาเปรียบ ปัญหาการคอรัปชั่น และอื่นๆ ก็เนื่องจากการพัฒนาคนของเราไม่ประสบผลสำเร็จ

ถ้าท่านเป็นผู้บริหารท่านจะจัดการบริหารอย่างไร การเป็นผู้บริหารนั้นใช่ว่าทุกท่านจะประสบผลสำเร็จในการบริหารทุกคนไม่เนื่องจากองค์ประกอบที่แตกต่างกันในทุกๆด้าน แต่ควรมีแนวทาง ดังนี้

๑. มีภาวะผู้นำ ( พัฒนาตน)

๒. มีความรู้และเรียนรู้งาน ( พัฒนางาน )

๓. มีความเป็นประชาธิปไตย

๔. สร้างแรงจูงใจในองค์กร

๕. สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน

๖. มีการวัดและประเมินผลเป็นระยะๆในการบริหารนั้นควรมีการวางแผนการจัดการโดยให้องค์กรมีส่วนร่วมในการวางตัวบุคคลให้เหมาะสมกับงาน มีการประสานกันในการทำงานและ มีการสร้างแรงจูงใจเพื่อต้องการให้งานสำเร็จสู่เป้าหมาย มีการให้รางวัลเมื่อบุคลากรทำดีโดยอาจให้เป็นคำชมเชยยกย่องหรือเงินรางวัลก็ได้เมื่อคราวเจ็บป่วยก็ควรให้ขวัญและกำลังใจ หากลวิธีที่จะทำให้ได้ใจของคนในองค์กรทำให้เกิดแรง ผลักดันให้รักและอยากทำงาน

70. วรรณา อินทรเกษม

เมื่อ จ. 18 ก.พ. 2551 @ 12:29

550177 [ลบ]

ขอส่งงานย้อนหลังอีก สรุปบทเรียนวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๐

- การบริหารจัดการต้องมีการวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งขององค์กรของตนเอง โดยต้องมีบริบทที่เกี่ยวข้องหลากหลายด้าน ซึ่งในแต่ละองค์กรก็ย่อมมีความแตกต่างกันไป ผู้บริหารอาจประสบผลสำเร็จได้ในหน่วยงานของตนแต่เมื่อ สิ่งแวดล้อมหรือบริบทที่แตกต่างกันอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนกลวิธีหรือ มิอาจใช้วิธีการเดียวกันให้ได้ผลทั้งนี้ผู้บริหารต้อง มีโลกทัศน์ที่กว้าง และต้องทันสมัย มีมุมมองที่แตกต่างสามารถ ให้คำแนะนำแก่บุคลากรในหน่วยงานของตนได้ เป็นผู้ที่สามารถกำกับ ควบคุมดูแลและคอยติดตามประสานงานและประเมินผลเป็นระยะๆ เมื่อเกิดปัญหาหรือเกิดความบกพร่องในองค์กรนั้นสามารถ ควบคุมสถานการณ์ได้หรือช่วยการแก้ปัญหาได้

71. วัฒนพงค์ ขันทองดี

เมื่อ อ. 19 ก.พ. 2551 @ 17:54

551389 [ลบ]

บทความอภิปราย จินตภาพอุดมศึกษา- ก้าวใหม่หลังการปฏิรูป สรุปบทความ กล่าวถึงการปฏิรูปการศึกษาในแนวทางด้านความคิดและแนวโน้มความน่าจะเป็นและในบางประเด็นก็ได้เกิดขึ้นและมองภาพในอนาคตข้างหน้าซึ่งผู้เสนอแนวทางหรือทิศทางดังนี้ 1.กระบวนการแปรบริการอุดมศึกษาให้เป็นสินค้า ( Commodification) เกิดแรงจาการกระตุ้นทางด้านการตลาดมีความต้องการแรงงานหรือบุคคลที่มีศักยภาพและสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนต่างต้องตอบสนองความต้องการและเมื่อมีแรงกระตุ้นมากผลผลิตออกมามากโดยมุ่งแต่ปริมาณเลยลืมนึกถึงคุณภาพเช่นอาหาร ( fast food ) *แนวคิดมีความหลากหลายในการแปรความหมายเพราะในการจัดการศึกษายังมีเช่นผลิตเพื่อป้อนตามความต้องการของตลาดจริงเห็นด้วย 30% 2.ความหลากหลายของบริการอุดมศึกษา (Product Differentiation ) เกิดการแข่งขันกันในการจัดหลักสูตรที่หลากหลายและใหม่เพื่อให้ทันความต้องการของตลาด สถาบันทางการศึกษาของรัฐ การตอบสนองความต้องการของตลาดด้วยการผลิตบริการอุดมศึกษาที่มีลักษณะหลากหลายมีผลต่อการประกอบภารกิจและคุณภาพของมหาวิทยาลัยสนใจการจัดการเรียนการสอนมากว่าการผลิตองค์ความรู้สำหรับสังคมไทยการมุงเดินทางการตลาดทำให้คุณภาพทางการศึกษาเสื่อมทรามลง *เกิดการแข่งขันกันมากมายมิใช่แต่การศึกษาอย่างเดียวยังมีอีกหลายสาขาอาชีพที่มีการแข่งกันเนื่องจากผลประโยชน์และความเป็นไปได้เห็นด้วย 50% 3.มหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University)มหาวิทยาลัยจำนวนไม่น้อยวาดฝันว่า จะพัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย จากการพัฒนาแรกๆเราคาดหวังว่ามหาวิทยาลัยมีหน้าที่หรือภารกิจหลักในการผลิตกำลังคนเพื่อป้อนหน่วยงานต่างๆมีหน้าที่จัดองค์กรแห่งการเรียนรู้ การจัดองค์กรยังขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องยังยึดรูปแบบเดิมๆเพียงแต่เน้นการปรับโครงสร้างเงินเดือนให้สูงขึ้นและมีนโยบายให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ *เป็นการแสดงทัศนะที่แสดงผลในการล้มเหลวในการศึกษาบางมหาวิทยาลัยเท่านั้นซึ่งกระผมคิดว่ามีความเป็นจริงประมาณบ้างเห็นด้วย 20% และแม้สังคมการศึกษาของเราอาจมีความเป็นไปได้หรือไม่นั้นเราต้องอาศัยทุกฝ่ายร่วมมือซึ่งกันและกัน 4.ระบบธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัย (University Governance) การบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมิได้เป็นไปตามหลักธรรมมาภิบาล ขาดความรับผิดชอบ ขาดการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส *เห็นด้วยเพราะระบบการบริหารการจัดการสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่มิได้เปิดโอกาสให้สมาชิกในชุมชนมหาวิทยาลัยเดียวกันมีส่วนร่วมในการกำหนดเส้นทางการพัฒนาและการใช้ทรัพยากรการตัดสินใจในเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของกลุ่มคนไม่กี่คน การรวบและยึดอำนาจพรรคพวก หรือการกินตามลำดับและแบ่งผลประโยชน์และการเดินสายสอนหนังสือของอาจารย์ 5.ระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษา (Higher Education finance) การจัดสรรงบประมาณที่มีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงของงบประมาณที่แต่ละมหาวิทยาลัยได้รับไม่เท่ากัน ส่งผลต่อการศึกษาโดยตรงเช่นฐานะทางเศรษฐกิจครอบครัว แม้มีกองทุนให้กู้ยืมแต่ก็มีจำกัดและไม่ทั่วถึง * เห็นด้วย 35%เพราะส่วนใหญ่ก็มีให้กู้แต่ก็ยังไม่เต็มร้อยเปอร์เซนต์และแต่ละมหาวิทยาลัยก็มีจำนวนนักศึกษาไม่เท่ากัน การบริหารจัดการแตกต่างกัน การเงินอาจจะไม่เหมือนกัน 6. สากลานุวัตรของการอุดมศึกษา (Internationalization of Higher Education) การที่สังคมไทยมีการขยายโอกาสทางการศึกษาโดยที่มีการนำระบบการเปิดเสรีทางการศึกษาโดยใช้หลักสูตรนานาชาติซึ่งมีอยู่เกลื่อนและมากมายทั้งของรัฐและเอกชน และมีมหาวิทยาลัยจากประเทศที่พัฒนาแล้วมุ่งสู่ประเทศที่ด้อยพัฒนาและทำให้เกิดการแข่งขันกันมากแม้ประเทศที่ด้อยพัฒนาอาจได้รับผลประโยชน์ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่แต่ก็มีการแข่งขันกันมากขึ้น * เห็นด้วยว่ามีการขยายเช่นหลักสูตรนานาชาติแต่ก็มีส่วนแบ่งในการจัดการศึกษาและแม้ปัจจุบันเริ่มมีมามากและทำให้เกิดค่านิยมทางการศึกษาที่ใหม่ๆเป็นเงาตามมา การจะปฏิรูปอุดมศึกษาต้องยึดหลักการคือ 1.จะต้องมีคำตอบคำถามพื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิรูป 1.1จะปฏิรูปอุดมศึกษาในด้านใด(What ) ปัญหาของระบบอุดมศึกษาอยู่ที่ไหน เช่นโครงสร้าง ,คุณภาพของครูอาจารย์ คุณภาพของนักศึกษา ,หลักสูตร,การจัดการเรียนการสอน,โครงสร้างแรงจูงใจ 1.2จะปฏิรูปการศึกษาอย่างไร (How) จะรื้อระบบอุดมศึกษาทั้งระบบหรือจะปฏิรูป เป็นส่วนๆ การปฏิรูปต้องมีลำดับขั้นในการดำเนินการหรือไม่และข้อต่อของการปฏิรูปมีผลกระทบลูกโซ่หรือไม่ 1.3จะปฏิรูปอุดมศึกษาเพื่อใคร (For Whom) จะปฏิรูปเพื่อให้ระบบอุดมศึกษารับใช้ สังคมไทยหรือปฏิรูปเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีความสามารถในการแข่งขันในสังคม เศรษฐกิจโลก 2จะปฏิรูปการศึกษาได้จักต้องมีพลังในการขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูป 2.1 พลังในการขับเคลื่อนการปฏิรูปอุดมศึกษามีทั้งภายในประเทศและพลังจากต่างประเทศ พลังภายในประเทศมีทั้งพลังภายในสถาบันและภายนอกสถาบันอุดมศึกษา 2.2 พลังการปฏิรูปภายในสถาบันอุดมศึกษาจักต้องเป็นพลังหลักในการขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูป เพราะมิอาจมุ่งหวังพึ่งพลังอื่นใดได้ 3จะปฏิรูปการศึกษาได้จักต้องมีการออกแบบเชิงสถาบัน (Institutional Design) ที่เหมาะสม 3.1โครงสร้างสถาบันให้เป็นแรงดึงดูดบุคลากรเข้ามาร่วมทำงานเช่นเงินรางวัลตอบแทน 3.2โครงสร้างของวิจัยการพัฒนา สนับสนุนการผลิตความรู้ การลงทุนทางด้านการศึกษา การบริหาร และวิชาการให้เพียงพอและเกื้อกูลกันในกระบวนการปฏิรูป 3.3การแบ่งบทบาทหน้าที่ในการปฏิรูประหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนเป็นกติกาที่สำคัญมีความชัดเจนในการกำหนดบทบาทและหน้าที่ การแก้ไขนั้นสามารถทำได้โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขและมองภาพในองค์รวมและผลกระทบโดย กำหนดบทบาทให้ชัดเจนไม่ยึดพรรคพวก ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการและปรับโครงสร้างหลักสูตรให้เหมาะสมและความต้องการของตลาดโดยมีการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดและมุ่งเน้นคุณภาพควบคู่กับปริมาณ สนับสนุนด้านงบประมาณที่เหมาะสมมีแรงดึงดูดใจในการทำงาน และพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งสู่ อนาคตที่ยั่งยืน แสดงความคิดเห็น ผู้เขียนบทความแสดงให้เห็นความชัดเจนในเรื่องระบบและวิธีการปรับปรุงแก้ไขและข้อเสนอแนะได้ดีทำให้เห็นภาพและเห็นด้วยโดยรวมในการจัดสถาบันอุดมศึกษามีปัญหามากมายขาดความมีเสถียรภาพและจุดยืนที่ไม่แน่นอนเกิดการแข่งขันโดยระบบโครงสร้างการบริหาร การจัดการและงบประมาณยังมีช่องโหว่ บุคลากรยังไม่มีคุณภาพ และสะท้อนสู่ผลผลิตที่นับวันจะมีแต่จำนวนหรือปริมาณแต่ไม่คุณภาพและประสิทธิภาพโดยผู้เขียนบทความได้มองให้เห็นอย่างเด่นชัดรวมทั้งแนวทางที่สามารถแก้ไขได้ในบางประเด็น และหากมองให้ลึกและกว้างปัญหาทุกสิ่งสามารถแก้ไขได้แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง.จะต้องมีหลักดังที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ จะปฏิรูปอุดมศึกษาในด้านใด(What )ปัญหาของระบบอุดมศึกษาอยู่ที่ไหน เช่นโครงสร้าง ,คุณภาพของครูอาจารย์คุณภาพของนักศึกษา ,หลักสูตร,การจัดการเรียนการสอน,โครงสร้างแรงจูงใจ จะปฏิรูปการศึกษาอย่างไร (How) จะรื้อระบบอุดมศึกษาทั้งระบบหรือจะปฏิรูปเป็นส่วนๆ การปฏิรูปต้องมีลำดับขั้นในการดำเนินการหรือไม่และข้อต่อของการปฏิรูปมีผลกระทบลูกโซ่หรือไม่ จะปฏิรูปอุดมศึกษาเพื่อใคร (For Whom) จะปฏิรูปเพื่อให้ระบบอุดมศึกษารับใช้สังคมไทยหรือปฏิรูปเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีความสามารถในการแข่งขันในสังคม เศรษฐกิจโลกจะปฏิรูปการศึกษาได้จักต้องมีพลังในการขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปพลังในการขับเคลื่อนการปฏิรูปอุดมศึกษามีทั้งภายในประเทศและพลังจากต่างประเทศ พลังภายในประเทศมีทั้งพลังภายในสถาบันและภายนอกสถาบันอุดมศึกษา พลังการปฏิรูปภายในสถาบันอุดมศึกษาจักต้องเป็นพลังหลักในการขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูป เพราะมิอาจมุ่งหวังพึ่งพลังอื่นใดได้จะปฏิรูปการศึกษาได้จักต้องมีการออกแบบเชิงสถาบัน (Institutional Design) ที่เหมาะสม โครงสร้างสถาบันให้เป็นแรงดึงดูดบุคลากรเข้ามาร่วมทำงานเช่นเงินรางวัลตอบแทน โครงสร้างของวิจัยการพัฒนา สนับสนุนการผลิตความรู้ การลงทุนทางด้านการศึกษา การบริหาร และวิชาการให้เพียงพอและเกื้อกูลกันในกระบวนการปฏิรูป การแบ่งบทบาทหน้าที่ในการปฏิรูประหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนเป็นกติกาที่สำคัญมีความชัดเจนในการกำหนดบทบาทและหน้าที่

72. นายบุญเลิศ ระงับทุกข์

เมื่อ อา. 24 ก.พ. 2551 @ 13:08

555497 [ลบ]

COMMENT ทิศทางและแนวโน้มของการอุดมศึกษาไทย

1. มหาวิทยาลัยในไทยส่วนใหญ่มุ่งที่จะจัดระบบการศึกษาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์อย่างเดียวโดยไม่ใส่ใจในคุณภาพของบริการที่ผลิตได้ กล่าวคือ มหาวิทยาลัยพยายามที่จะลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุดและควบคุมคุณภาพของผลผลิต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่จะทำให้เกิดผลเสียทำลายภาพของอุดมศึกษาไทยทั้งสิ้น

2. ความหลากหลายของบริการอุดมศึกษาในปัจจุบันมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีการผลิตหลักสูตรใหม่ๆออกมาเพื่อเอาใจตลาดซะส่วนมาก ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวหลายๆวิชาได้มีการประยุกต์เนื้อหาจากต่างสาขาวิชามารวมกันแต่ก็ไม่ได้เป็นเนื้อหาเดียวกันแม้แต่น้อย ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้คุณภาพของบริการอุดมศึกษาเสื่อมทรามลงอีกเช่นเดียวกัน

3. ต้องการที่จะเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยโดยลืมคิดไปว่า มหาวิทยาลัยมิได้มีภารกิจในการผลิตองค์ความรู้ ทำให้เกิดปัญหาที่ว่ามหาวิทยาลัยมุ่งแต่จะขายบริการให้แก่ลูกค้าแต่เพียงอย่างเดียว ไม่มีการผลิตความรู้ใหม่ๆมาป้อนแก่ลูกค้า ผลเสียสุดท้ายก็กลับมาตกอยู่ที่ลูกค้าเช่นเคยคือจบแบบไม่มีคุณภาพไม่มีประสิทธิภาพ

4. มหาวิทยาลัยขาดระบบธรรมาภิบาล พูดง่ายๆก็คือไม่มีความรับผิดชอบต่อผลผลิตก็คือลูกค้าที่ผลิตส่งให่แก่ตลาด เพราะครูอาจารย์มุ่งแต่จะหาผลประโยชน์ให้กับตัวเองซะส่วนใหญ่วันๆแทบจะไม่ได้เข้าสอนด้วยซ้ำไปเพราะมัวแต่เดินสายสอนที่นั่นที่นี่ เวลาเข้าห้องก็แจกแต่เอกสารให้นักศึกษาไปศึกษาเอาเอง อธิบายก็ไม่รู้เรื่องบางทีเรียนจนถึงชั่วโมงสุดท้ายแล้วก็ยังไม่เข้าในว่าที่อาจารย์พูดๆมามันคืออะไรกันแน่น แล้วอย่างนี้จะโทษใครกันหละ

5. ระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษา นี่ก็เหมือนกันครับมหาวิทยาลัยมุ่งแต่จะคัดเลือกนักศึกษาที่มีฐานะเข้ามาเรียน พูดกันง่ายๆก็คือใครรวยก็เรียนได้ใครไม่มีก็อย่าเข้ามาเรียนดีกว่า เพราะมหาวิทยาลัยได้ค่าตอบแทนตรงนี้สูง เนื่องจากต้องเอาไปใช้จ่ายในด้านการให้บริการด้านอื่นไม่ว่าจะเป็นเปิดศูนย์การศึกษาตามสถาบันต่างๆ เป็นค่าตอบแทนคณาจารย์จากภายนอกที่เชิญเข้ามาสอน เกิดการแข่งขันกันในหน่วยงานเดียวกัน ผลเสียจะไปตกที่ใครได้หละนอกเสียจากผลผลิตของสถาบันเองนั่นแหละ

6. การเปิดเสรีทางอุดมศึกษา ข้อนี้ผมเห็นด้วนนะเพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้เลือกตามความถนัดตามความชอบ ตามราคาที่ตัวเองสามารถ และอีกอย่างก็เป็นการเปิดโลกทัศน์ทางการศึกษาให้เห็นว่าต่างประเทศเขาไปถึงไหนกันแล้ว เราจะได้นำความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้กับประเทศของเราได้มั่งหรือคุณคิดอย่างไร..............?

73. ศศิธร กันเรือง สาขาการจัดการศึกษา

เมื่อ พ. 27 ก.พ. 2551 @ 10:13

558418 [ลบ]

งานวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551

Comment ทิศทางและแนวโน้มของการอุดมศึกษาไทย 6 ข้อ ดังนี้

1. ทิศทางและแนวโน้ม การเติบโตของกระบวนการแปรบริการอุดมศึกษาเป็นสินค้า (Commodification) การผลิตบริการอุดมศึกษาเพื่อขาย (Marketization) และกระบวนการแม็กโดนัลดานุวัตรของบริการอุดมศึกษา (McDonaldization of Higher Education)

Comment เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว เพราะการผลิตบัณฑิตในปริมาณที่มาก ทำให้คุณภาพของบัณฑิตลดลง และความศักดิ์สิทธิ์ของปริญญาบัตรก็ลดค่าลงไปด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากมองในแง่ Optimisim ก็ถือเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียวในวงกว้าง

2. ทิศทางและแนวโน้มความหลากหลายของบริการอุดม ศึกษา (Product Differentiation)

Comment เห็นด้วย เพราะแนวทางการผสมผสาน หรือ บูรณาการแนวคิดทางการศึกษาในหลาย ๆ สาขามาเป็นศาสตร์ ๆ หนึ่ง กำลังเป็นที่นิยมกับสถาบันการศึกษาอย่างยิ่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน หากแต่ความผสมผสานหรือการบูรณาการดังกล่าวในแง่วิชาการ ย่อมก่อให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาแนวทางการศึกษาไทย

3. ทิศทางและแนวโน้มมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University)

Comment เห็นด้วย เนื่องจากในปัจจุบัน ประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการวิจัยเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการแทบทั้งสิ้น ทั้ง ๆ ที่พื้นฐานโครงสร้างยังไม่ได้ทำการพัฒนาคน /บุคลากร/อาจารย์ ทำให้ความรู้ที่ได้บางครั้งมีความ "ตื้นเขิน" ทางวิชาการ

4. ทิศทางและแนวโน้มระบบธรรมมาภิบาลของมหาวิทยาลัย (University Governance)

Comment เห็นด้วย เนื่องจากวิถีการกำหนดนโยบาย ๆ ของการบริหารในมหาวิทยาลัยต่างมาจากบุคคลชั้นสูงในมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันเริ่มมีการคำนึงถึงภาคประชาชน ชุมชนและท้องถิ่นมากขึ้น ทำให้นโยบายบางส่วนต่างเข้าถึงภาคดังกล่าวมากขึ้น

5. ทิศทางและแนวโน้มระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษา (Higher Education Finance)

Comment เห็นด้วย กับการที่มหาวิทยาลัยรัฐถูกอุ้มโดยงบประมาณของรัฐมากเกินไป ทำให้ไม่ตื่นตัวในการพัฒนาระบบการบริหาร การบริการให้ดียิ่งขึ้น จึงควรลดการอุดหนุนจากรัฐบาลให้น้อยลง และหันมาส่งเสริมการมีนโยบายเงินให้เปล่า (Grant) แก่นักเรียนยากจน เพื่อส่งเสริมและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้เท่าเทียมกัน

6. ทิศทางและแนวโน้มสากลานุวัตรของการอุดมศึกษา (Internationalization of Higher Education)

Comment เห็นด้วย ที่ว่าการขยายตลาดการศึกษาสู่สากลในรูปแบบที่เน้นปริญญา (ปริมาณ) มากกว่าคุณภาพนั้น ทำให้ระบบการศึกษาไม่มีคุณภาพ แต่การเปิดโอกาสในการศึกษาสู่สากล ย่อมเป็นเรื่องที่ดี แต่ควรเน้นเรื่องคุณภาพด้วยเช่นกัน

74. ศศิธร กันเรือง สาขาการจัดการศึกษา

เมื่อ พ. 27 ก.พ. 2551 @ 11:15

558504 [ลบ]

งานวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551

ความเห็นที่มีต่อ บทความเรื่อง จินตภาพอุดมศึกษา :ก้าวใหม่หลังการปฏิรูป

เป็นบทความที่มีความคิดในแง่ Pessimism ซึ่งการแสดงความเห็นในที่นี้ จึงขอไปในทิศทางเดียวกับผู้เขียนบทความ ที่ทำให้เห็นการปฏิรูปการศึกษาไทย ในแง่ลบและแง่ความโหดร้ายของระบบการบริหารศึกษาที่แผงไว้ในกระแสของการปฏิรูป กระแสสังคมโลก ต่างทำให้ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนา กลับไปสู่การเป็นยุค Modernization ทางการศึกษาอีกครั้ง ภายหลังจากที่มีการ Modernization ของระบบรัฐประศาสนศาสตร์ไปแล้วเมื่อยุคที่ผ่านมา

การเปลี่ยนผ่านของระบบการบริหารการศึกษา โดยที่ยังไม่มีรากฐานที่เข้มแข็งอย่าง การพัฒนาบุคลากร คน หรืออาจารย์ ซึ่งเป็น 1ใน M ของการบริหารที่สำคัญที่สุด ก็ย่อมทำให้ระบบการศึกษาของประเทศไทย เป็นไปอย่างตื้นเขิน พัฒนาแต่เฉพาะเปลือก ที่ห่อหุ้มไปด้วยนโยบายการพัฒนาที่เน้นความเป็นสากล การเน้นการวิจัย การเน้นการเปิดหลักสูตรใหม่ ๆ ตามกระแสในยุคปัจจุบัน โดยไม่มีหลักพื้นฐานของทฤษฎี

ดังนั้น หากจะให้สรุปภาพของอุดมศึกษาหลังการปฏิรูป ก็ย่อมต้องยอมรับความจริงในแง่ของความโหดร้ายของระบบการพัฒนาที่แฝงมาในรูปของการพัฒนานั่นเอง

75. พระมหาเกรียงไกร กองโส มมร ปี 1 การจัดการศึกษา

เมื่อ พฤ. 28 ก.พ. 2551 @ 07:35

559297 [ลบ]

ปรัชญาการศึกษาไทย

หลักการและจุดมุ่งหมาย นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แสวงหาข้อสรุปในเรื่องปรัชญาการศึกษาของไทยให้เหมาะกับการปฏิรูปการศึกษาที่เหมาะกับการนำสังคมไทย

นิยามเชิงปฏิบัติการ ปรัชญาการศึกษาถูกกล่าวถึงในหลายความหมาย เพื่อให้เข้าใจตรงกัน ปรัชญาการศึกษาในที่นี้หมายถึง แนวความคิดพื้นฐานและความคาดหวังในประเด็นที่เกี่ยวกับการศึกษาเช่นเรื่องลักษณะของสังคม ลักษณะของคน และการศึกษาที่พึงปรารถนา ในฐานะที่เป็นหลักการและเป้าหมายของการจัดการศึกษา

การแสวงหาปรัชญาการศึกษาของไทย

แม้ว่าในอดีตการให้การศึกษาของไทยจะมีปรัชญาความเชื่อทางการศึกษาตามแบบของสังคมที่มีความผูกพันเป็นหนึ่งเดียวกับความเชื่อของพุทธศาสนา เช่นเชื่อว่าการศึกษาคือการเรียนรู้เพื่อสืบทอดคำสอนของศาสนา การเรียนการสอนเน้นการรู้หนังสือ การท่องจำและการถ่ายทอดจากครูซึ่งเชื่อว่าเป็นปูชนียบุคคล เพราะครูดั้งเดิมคือพระสงฆ์ แต่ความเชื่อเหล่านี้ไม่ได้รับการระบุไว้เป็นลายลักษณ์ เนื่องจากการศึกษาในยุคโบราณเป็นการศึกษาอย่างไม่เป็นระบบตามแบบปัจจุบัน แม้จะมีระบบของตนเองก็ตาม

ควรมีความพยายามนำเสนอปรัชญาการศึกษาโดยมีฐานคิดจาก 3 ฐาน คือ

1. ฐานพุทธศาสนา เป็นแนวคิดที่เสนอให้นำคำสอนแบบพุทธมาประยุกต์ หรือมาเป็นแนวทางหลักในการกำหนดเป้าหมาย กำหนดวิธีการสอน เช่นแนวคิดเรื่องการศึกษาคือการพัฒนาขันธ์ เพื่อละอกุศลมูลของ ศ.ดร.สาโรช บัวศรี การศึกษาเพื่อการทำลายสัญชาตอย่างสัตว์ และเพื่อบรมธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ และการศึกษาเพื่ออิสรภาพของมนุษย์ ด้วยกระบวนการพื้นฐานแห่งศีล สมาธิ และปัญญาของท่านพระธรรมปิฎก (ปยุต ปยุตโต)

2. ฐานสังคม คือแนวความคิดที่เสนอให้รัฐปรับระบบการศึกษาเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของระบบการศึกษา เช่นแนวความคิดของ ศ.เสน่ห์ จามริก

3. ฐานสากล เป็นแนวความคิดที่ถูกครอบงำด้วยแนวความคิดที่มุ่งพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย มุ่งเน้นการพัฒนายกระดับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมีความเชื่อว่าความเจริญทางเศรษฐกิจ คือรากฐานของการพัฒนา แนวความคิดนี้เป็นแนวคิดกระแสหลักของการพัฒนาการศึกษาตามที่ราชการกำหนด

ปรัชญาการศึกษาไทยปัจจุบันเป็นไปตามแนวของฐานที่สาม คือ เชื่อว่าการลงทุนทางการศึกษาคือการลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศ

ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ต่างพยายามปฏิรูประบบการศึกษาของตนเองเพื่อให้รับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์ โดยรวมปรัชญาการศึกษาของทุกประเทศ เชื่อว่าการศึกษาคือกลไกของการสร้างสังคมใหม่ที่ยังคงเอกลักษณ์ของตนเองท่ามกลางความเป็นสากล ลักษณะคนที่ต้องการคือคนที่มีความรู้ความสามารถเทียบได้กับสากล ในขณะเดียวกันก็ต้องมั่นคงอยู่กับ วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของประเทศ

ปรัชญาการศึกษาไทย

สังคมไทยในอนาคตจะเป็นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัตน์ พร้อม ๆ กับการเผชิญภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเคยมีผู้ชี้ให้เห็นถึงผลร้ายอย่างเป็นรูปธรรมที่เกิดจากนโยบายการพัฒนาประเทศ โดยละทิ้งรากฐานทางสังคมไทยซึ่งมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมจากเกษตรกรรม หันไปมุ่งตามรูปแบบการพัฒนาของตะวันตก

ลักษณะของสังคมไทยที่พึงปรารถนา คือ สังคมที่มีความเข้มแข็งอย่างมีเหตุมีผลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมือง เพื่อให้สามารถยืนหยัดอยู่อย่างพึ่งตนเองได้ในสังคมโลก โดยมีพื้นฐานอยู่ที่การเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เป็นสังคมที่พออยู่พอกิน มีความสมดุลในทุกปัจจัยทางสังคม

ลักษณะของคนไทยที่พึงปรารถนา คือ คนที่มีปัญญา มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถทางสังคมและความสามารถในการทำงานพร้อมกับมีวิสัยทัศน์

การศึกษาที่พึงประสงค์ของไทย คือ การศึกษาในระบบเปิด ที่เปิดโอกาสให้คนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมือง เพื่อให้การศึกษาเป็นประโยชน์ต่อบุคคลในการพัฒนาตนเองและครอบครัว พัฒนาอาชีพและการงาน พัฒนาชุมชน ประเทศชาติ และพัฒนาสิ่งแวดล้อม คนไทยยุคใหม่จะต้องมี คุณธรรม ความรู้ความสามารถและทักษะของคนในสังคมสมัยใหม่บนพื้นฐานของความเป็นไทยอย่างมั่นคงต่อไป

76. วรรณา อินทรเกษม

เมื่อ จ. 10 มี.ค. 2551 @ 12:18

570693 [ลบ]

ส่งการบ้านค่ะเพิ่ม ไม่รู้ว่าครบถ้วนหรือยังไม่ได้แก้ตัวน่ะต้องช่วยแม่ดูแลพ่อที่ป่วย

ในฐานะซึ่งท่านดูแลทรัพยากรทางศึกษาท่านมีแนวทางแก้ปัญหาอย่างไรเกี่ยวกับบุคคลากรทางการศึกษา?

- มีแนวทางแก้ปัญหาบุคคลากรทางการศึกษา ข้าพแบ่งเป็น 3 ประเด็น ดังนี้

2.1 - In Put ครู/อาจารย์ที่สอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏต้องมีความรู้ความสามารถและเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่สอน และมีความเชี่ยวชาญวิชานั้นๆอย่างมาก เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ ครู/อาจารย์ที่สอนต้องมีความเชี่ยวชาญพิเศษ และสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและศีลธรรม ไปด้วย เป็นการบูรณาการไปด้วย จะทำให้นักศึกษาเข้าใจและนำหลักคุณธรรมไปใช้ในชีวิตให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมอีกด้วย

- หลักสูตร ผู้บริหารการศึกษา ต้องหาคนที่มีชื่อเสียงทางสังคมที่ประสบความสำเร็จของชีวิต แล้วมาจัดหลักสูตร เพื่อเป็นหลักสูตรที่น่าเร้าใจให้นักศึกษาเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ และหลักสูตรนั้นต้องสอดคล้องกับแผนงานบริหารการจัดการศึกษากับมหวิทยาลัยได้ด้วย เช่นหลักสูตรที่ทำการสอนนั้น ต้องมีจุดหมายที่จะให้นักศึกษาได้บำเพ็ญกุศลบุญ ก็คือ การเข้าค่ายคุณธรรม นักศึกษาที่เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยราชภัฏแล้วต้องมีความรู้ความสามารถ และที่สำคัญก็คือ เก่ง ดี มีความสุข ในการเรียนด้วย นักศึกษาต้องรู้หลักดำเนินชีวิต และสร้างประโยชน์ให้แก่ตนเองสังคมด้วย ถึงจะเป็นนักศึกษาที่ดี รวมทั้งคณะครูอาจารย์และรวมถึงหลักสูตรที่สอนจะทำให้นักศึกษามีความรู้มากขึ้นเป็นต้น

2.2 Process การจัดการเรียนการสอน ต้องเป็นการจัดการเรียนการสอนโดยยึดหลักบูรณาการหรือแบบธรรมชาติ ที่ทำให้ผู้สอนและผู้เรียนไม่น่าเบื่อในการศึกษาเล่าเรียน เช่น การเรียนการสอนแบบบูรณาการ ก่อนจะเข้าเรียน ควรให้นักศึกษาเล่นเกมส์ก่อนเข้าสู่บทเรียนทำให้นักศึกษาไม่เบื่อ และสนุกกับการเรียนด้วย ถึงจะประสบความสำเร็จเกี่ยวกับกระบวนการการจัดการเรียนการสอน แบบบูรณาการ หรือการออกภาคสนามนอกสถานที่ จะทำให้นักศึกษาได้เปลี่ยนแปลงบรรยากาศการเรียนการสอนด้วย จะทำให้นักศึกษามีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและสามารถนำเอาความคิดมาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ขึ้นมาได้

2.3 Out Put คุณภาพ คุณภาพที่พึงจะได้ระหว่าง ครู/อาจารย์ และนักศึกษา

- ครู/อาจารย์ มีคุณภาพและประสิทธิภาพในความคิดริเรื่มสร้างสรรค์จากนามธรรมเป็นรูปธรรม สามารถนำหลักการสอนแบบไปหาแบบง่ายได้ และที่สำคัญคือ ครู/อาจารย์สามารถวิเคราะห์นักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพจนทำให้ครู/อาจารย์มีคุณธรรมมากขึ้น

- นักศึกษามีคุณภาพ และประสิทธิภาพ ใด้นความรู้ ความคิด และหลักการวิเคราะห์ ในสิ่งที่ได้เล่าเรียนมาจากครู/อาจารย์ เรียนจากสิ่งที่เป็นนามธรรมเป็นรูปธรรมได้ ที่สำคัญ คือ นักศึกษามีความรู้คู่คุณธรรมหมายถึง เก่งในด้านวิชาการไม่พอก็ต้องมีหลักธรรมประคับประคองให้ชีวิตของตนเองมีความสุข ดังเช่น เก่ง ดี มีความสุข เป็นต้น

77. แม่ชีฉวีวรรณ อ่อนน้อม

เมื่อ จ. 10 มี.ค. 2551 @ 15:01

570825 [ลบ]

ส่งงาน วันอังคาร ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551 จากบทความเรื่อง จิตภาพของอุดมศึกษา – ก้าวใหม่หลังการปฏิรูปการศึกษา มีการแบ่งแบ่งการอภิปลายออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 กล่าวถึงทิศทางและแนวโน้มของการอุดมศึกษาไทยในปัจจุบัน ตอนที่ 2 นำเสนออรรถาธิบายว่า เหตุใดการอุดมศึกษาไทยจึงยากแก่การปฏิรูป ทิศทางและแนวโน้มของการอุดมศึกษาไทยในปัจจุบัน เพราะว่า กล่าวถึงทิศทางและแนวโน้มที่สำคัญ 6 ประการคือ 1. ทิศทางและแนวโน้มการเติบโตของกระบวนการแปรบริการอุดมศึกษาเป็นสินค้า (Commodification) การผลิตบริการอุดมศึกษาเพื่อขาย (Marketization) และกระบวนการแม็กโดนัลดานุวัตรของบริการอุดมศึกษา (McDonaldization of Higher Education) เป็นกระบวนการแปรบริการอุดมศึกษาให้เป็นสินค้า (Commodification) ก่อเกิดได้เพราะบริการอุดมศึกษามีลักษณะความเป็นเอกชนของสินค้า 2. ทิศทางและแนวโน้มความหลากหลายของบริการอุดม ศึกษา (Product Differentiation) การสนองความต้องการของตลาดด้วยการผลิตบริการอุดมศึกษาที่มีลักษณะหลากหลาย มีผลต่อการประกอบภารกิจและคุณภาพของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจะสนใจการจัดการเรียนการสอนมากกว่าผลิตการเรียนรู้สำหรับสังคมไทย การมุ่งเดินแนวทางตลาดทำให้คุณภาพของบริการอุดศึกษาเสื่อมทรามลง เพราะตลาดในสัดส่วนสำคัญมิได้ต้องการคุณภาพมากไปกว่าปริญญาบัตรหรือวุฒิบัตร 3. ทิศทางและแนวโน้มมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University) มหาวิทยาลัยเมื่อแรกสถาปนาในสังคมไทยถูกกำหนดให้มีภารกิจในการผลิตกำลังคน มิได้มอบหมายให้มีภารกิจในการผลิตองค์ความรู้ การออกแบบเชิงสถาบัน (Instifutional Design) ของมหาวิทยาลัยไทยจึงไม่ส่งเสริมการทำหน้าที่ผลิตความรู้ ในประเด็นที่สำคัญ ระบบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ยังคงมีอิทธิพลในระบบสถาบันอุดมศึกษาของรัฐอย่างแน่นหนา การกลั่นกรองอาจารย์และการประเมินผลงานอาจารย์ขาดความเข้มงวดเท่าที่ควร - มหาวิทยาลัยในสังคมไทยจะไม่สามารถพัฒนาไปเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยได้ เพราะการละเลยประเด็นการออกแบบเชิงสถาบันของมหาวิทยาลัยมีผลเท่ากับการละเลยประเด็นสำคัญในการปฏิรูปอุดมศึกษา ในขณะที่แบบสถาบันและกติกาการเล่นเกมในระดับอุดมศึกษาไทยไม่เกื้อกูลให้มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ผลิตองค์ความรู้ให้มาสำหรับสังคมไทย การที่สถาบันอุดมศึกษาไทยเดินแนวทาง (Commodification, Marketization and McDonaldization) มีผลต่อการเสื่อมทรามของระบบอุดมศึกษาอย่างสำคัญ มหาวิทยาลัยมุ่งขายบริการอุดมศึกษาเพื่อแสวงหารายได้เป็นหลักกิจกรรมในการผลิตความรู้ ซึ่งมีน้อยอยู่แล้ว ยิ่งมีน้อยลงไปอีก ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยห่างเหจากการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยมากขึ้น จนดูเหมือนว่า มหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยมีอยู่ในพจนานุกรมของผู้บริหารสถานศึกษา ดังนั้นจึงเป็นเรื่องเป็นไปได้อยาก 4. ทิศทางและแนวโน้มระบบธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัย (University Governance) ระบบการบริหารการจัดการสถาบันอุดมศึกษามิได้สร้างกลไกความรับผิดชอบ (Accountability Mechanism) เพื่อให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยรับผิดชอบทั้งประชาชน ต่อชุมชน วิชาการ และต่อมหาวิทยาลัยที่ตนเป็นผู้บริหาร ความรับผิดชอบจะมีหรือไม่ และมีมากน้อยเพียงใด เป็นความสำนึกของปัจเจกบุคคล มิได้เกิดจากกลไกระบบ - ระบบการบริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในปัจจุบันมิได้มีคุณลักษณะตามหลักธรรมาภิบาล การดึงมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการในขณะที่ยังมิได้ธรรมาภิบาล ย่อมยังความล้มเหลวแก่มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลตั้งแต่ตั้ง ภายไต้พัฒนาการดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สถาบันอุดมศึกษาของรัฐยากที่จะมีธรรมาภิบาลได้ เหตุผลสำคัญเป็นเพราะการขาดพลังการเรียกร้องภายในสถาบัน อาจารย์ มหาวิทยาลัยจำนวนมากตกอยู่ใน กับดักความยากจน ตามมาตรฐานชนชั้นกลางระดับสูง (Upper-Middle Class) และใช้เวลาส่วนใหญ่ในการแสวงหารายได้ บางคนด้อยการ เดินสายสอนหนังสือ อำนาจบริหารตกอยู่ในมือ ชนชั้นปกครอง จำนวนน้อยที่เห้นช่องทางในการหาประโยชน์จากทรัพยากรแผ่นดิน ในเมื่อไม่มีแรงกดดันในการสถาปนาระบบธรรมาภิบาล ภายในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ก็ยังคงเหลือแต่อำนาจรัฐเท่านั้นที่จะจัดการเรื่องนี้ได้ อย่างไรก็ตามในสังคมการเมืองที่รัฐปราศจากธรรมาภิบาล จะหวังให้รัฐสถาปนาระบบธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐได้อย่างไร หากไม่สามารถสถาปนาระบบธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จะพัฒนาระบบอุดมศึกษาต่อไปได้อย่างไร 5. ทิศทางและแนวโน้มระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษา (Higher Education Finance) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษามี 2 ประการ คือ ประการแรก รัฐบาลเกือบมิได้จัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประการที่สอง รัฐบาลจัดสรรงบประมาณแผ่นดินแก่สถาบันอุดมศึกษาของรัฐอย่างค่อนข้างเต็มที่ - ระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษาในปัจจุบันมิได้ส่งเสริมให้นักศึกษาจากครอบครัวยากจนมีโอกาสในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย แม้จะมีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา แต่ไม่เพียงพอ เพราะสิ่งที่นักศึกษายากจนต้องคือ เงินให้เปล่า (Grant) หรือทุนการศึกษา มิใช่เงินให้กู้ ระบบการลังเพื่อการอุดมศึกษาดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นอกจากสร้างความไม่เป็นธรรมและไม่เกื้อประโยชน์นักศึกษาที่มาจากครอบครัวที่ยากจนแล้ว ยังบ่มเพาะและแพร่ระบาดความไร้ประสิทธิภาพของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐอีกด้วย ความเป็นอิสระโดยปราศจากความรับผิดชอบเป็นกติกาการเล่นเกมอันเลวร้าย ซึ่งบ่อนทำลายระบบอุดมศึกษาในขั้นฐานราก 6. ทิศทางและแนวโน้มสากลานุวัตรของการอุดมศึกษา (Internationalization of Higher Education) การเปิดเสรีการค้าบริการการศึกษาเป็นที่ยอมรับในหมู่ชนชั้นสูงในสังคมไทย การขยายตัวของระบบโรงเรียนนานาชาตินับเป็นประจักษ์พยานของข้อความนี้ การเปิดเสรีการค้าบริการการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีมากกว่าการศึกษาระดับอื่น การเปิดเสรีภาคบริการอุดมศึกษามีผลต่อการขยายตัวของบริการอุดมศึกษาทางไกลด้วย การขยายบริการอุดมศึกษาผ่าน internet จะมีมากขึ้น โดยที่ส่วนใหญ่อาจเป็นบริการอุดมศึกษาคุณภาพตำ และลูกค้าในเมืองไทยอาจต้องการปริญญาบัตรมากกว่าบริการที่มีคุณภาพ ในส่วนความคิดของข้าพเจ้า เห็นด้วยกับความคิดในบางประเด็น ระบบการศึกษาไทยยากที่จะพัฒนาให้ทัดเทียนกับหลายๆประเทศในเอเชีย การศึกษาไทยมีความอ่อนแอตั้งแต่ต้นแล้ว การที่เราจะมาพูดถึงอุดมศึกษานั้นมันเป็นส่วนหางแล้ว การศึกษาต้องย้อนกับไปดูเราจะเห็นว่ามีปัญหาตั้งแต่ ประถม มัธยมศึกษา ถ้าเรามีการพัฒนาดีในจุดเริ่มต้น คิดว่าในส่วนของอุดมศึกษาก็จะเกิดปัญหาน้อย ดังนั้นการจัดคุณภาพของมหาวิทยาลัยทั่วโลกประเทศไม่ติดอันดับ ใน100ของมหาวิทยาลัยทั่วโลกเลย การศึกษาต้องมีการจัดปฏิรูปให้เหมาะกับความเป็นไทย ถึงแม้คุณจะมีการปฏิรูปไปแค่ไหน เอาระบบการศึกษาในบางประเทศที่มีคุณภาพมาจัด แต่ถ้าเราไม่จัดให้เอื้อกับนิสัยของคนไทยแล้วการศึกษาไทยก็ยังมีปัญหาไม่มีวันจบอย่างแน่นอน

78. แม่ชีฉวีรรณ อ่อนน้อม

เมื่อ จ. 10 มี.ค. 2551 @ 18:30

571016 [ลบ]

ส่งงานย้อนหลังของวันอังคาร ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551

เป็นเรื่องเดียวกันกับที่เรียนวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551 แต่เป็นการแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ในเรื่อง จินตภาพอุดมศึกษา - ก้าวใหม่หลังการปฏิรูป แสดงความคิดเห็นทิศทางแนวโน้มของอุดมศึกษาไทย ซึ้งมี 6 ประการ

ทิศทางแนวโน้มที่หนึ่ง มีการเปรียบอุดมศึกษาไทยเป็นสินค้า มีการผลิตเพื่อขาย และกระบวนการแม็กโดนัลดานุวัตรของบริการอุดมศึกษา จะบอกว่าในหลายสถาบันถ้าคุณมีเงินคุณก็สามารถรับปริญญาได้ คงไม่ต่างอะไรกับการค้าขาย แต่มหาวิทยาลัยบางแห่ต้องมีค่าใช้จ่างสูงแต่ก็มีคุณภาพก็มี เช่นมหิดล จุฬา

ทิศทางแนวโน้มที่สอง การผลิตบริการอุดมศึกษา เพื่อให้มีลักษณะหลากหลาย การที่มีการผลิตการศึกษาเพื่อความหลากหลายเป็นการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม ผลิตจนมั่วไปหมด จนไม่รู้ว่าเรากำลังทำอะไรกันแน่ หาความเป็นตัวเองก็ไม่ได้ เห็นใครมีอะไรตัวก็ต้องมีด้วย มีการแข่งขันกันสูงมาก

ทิศทางแนวโน้มที่สาม ความหวังกันความเป็นจริงของมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย การวิจัยถือว่าสำคัญมากในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าจากการปฏิรูปการศึกษาในระดันอุดมศึกษาจำเป็นต้อบงมีการวิจัยในสถาบันการศึกษา การศึกษาในเมืองไทยยังไม่ประสบผลสัมเร็จในการวิจัย เนื่องจากเราขาดบุคลกรที่มีคุณภาพและเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้มาก ดังนั้นการวิจัยยังเป็นเรื่องที่เพ้อฝันสำหรับคนไทยอยู่

ทิศทางและแนวโน้มที่สี่ ระบบธรรมาภิบาลในระบบอุดมศึกษาของรัฐ ระบบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเรามีการเรียนแบบต่างชาติมากจนขาดความเป็นตัวตนของเราเอง การศึกษาปัจจุบันเกิดปัญหามากมายในเรื่องทางด้านคุณธรรมจริยธรรม ขาดการอนุธัมนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่ดีงานของไทย

ทิศทางและแนวโน้มที่ห้า การพัฒนาระบบการคลัง เพื่ออุดมศึกษา ประเทศไทยบยังให้ความสำคัญของเรื่องการศึกษาน้อยจะเห็นได้จากการสนับสนุนงบปนะมาณทางด้านการศึกษา ทำให้การศึกษาไทยพัฒนาช้ากว่าหลายประเทศในเอเชีย การจัดสันงบขาดความโปร่งใส ยุตธรรม

ทิศทางและแนวโน้มที่หก การเติบโตของกระบวนการสากรรานุวัตรของการอุดมศึกษา เป็นการเปิดเสรีภาคอุดมศึกษาให้มีประโยช์แก่ประเทศที่มีการพัฒนาแล้วอย่างมาก ซึ่งเป็นการขยายช่องทางหารายได้ในกลุ่มพันธมิตร แต่เรื่องนี้กไม่อาจจะบอกได้ว่าการศึกษาไทยจะสามารถก้าวพ้นจากไทยไปขายในต่างแดดได้ เพราะการศึกษาไทยยังต้องมีการพัฒนาอีกมาก และการศึกษาไทยยังอยู่ในคุณภาพตำ

79. นางสาวสุมณฑา โชติกรณ์

เมื่อ จ. 10 มี.ค. 2551 @ 18:55

571053 [ลบ]

ทิศทางและแนวโน้มของระบบอุดมศึกษาไทยในปัจจุบันทิศทางและแนวโน้มที่สำคัญ 6 ประการ

ทิศทางและแนวโน้มที่หนึ่ง การเติบโตของกระบวนการแปรบริการอุดมศึกษาเป็นสินค้า (Commodification) การผลิตบริการอุดมศึกษาเพื่อขาย (Marketization) และกระบวนการแม็กโดนัลดานุวัตรของบริการอุดมศึกษา (McDonaldization of Higher Education)กระบวนการแปรบริการอุดมศึกษาให้เป็นสินค้า (Commodification) ก่อเกิดได้ เพราะบริการอุดมศึกษามีลักษณะความเป็นเอกชนของสินค้า (Privateness of Goods) กระบวนการดังกล่าวนี้เติบโตและพัฒนาตามพัฒนาการของพลังทุนนิยมในระบบเศรษฐกิจอันเป็นไปตามธรรมชาติ แต่ถูกเสริมด้วยแรงกระตุ้นสำคัญ 2 ด้าน ด้านหนึ่งตลาดมีความต้องการบริการอุดมศึกษาบางประเภท อีกด้านหนึ่ง สถาบันอุดมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน ต่างสนองตอบความต้องการของตลาด เพื่อแสวงหารายได้ การที่มหาวิทยาลัยของรัฐไทยมีอำนาจในการประสาทปริญญา โดยปราศจากการควบคุมและกำกับของรัฐ เกื้อกูลการพิมพ์ปริญญาเพื่อขาย ซึ่งมีผลต่อกระบวนการแปรบริการอุดมศึกษาให้เป็นสินค้าความต้องการบริการอุดมศึกษาในตลาดประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน

1. ความต้องการของภาคเอกชน (Private- Sector Market)

2 . ความต้องการของภาครัฐบาล (Public-Sector Market)

ภาคเอกชนต้องการบริการอุดมศึกษาเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการผลิตและการบริหารจัดการ อันมีผลต่อผลปฏิบัติการทางธุรกิจ (Business Performance) การได้วุฒิบัตรหรือปริญญาบัตรไม่มีความสำคัญเท่ากับการเพิ่มพูนทุนมนุษย์ (Human Capital) การได้วุฒิบัตรหรือปริญญาบัตร โดยที่ทุนมนุษย์มิได้เพิ่มพูนขึ้น มิได้เป็นประโยชน์ต่อผลประกอบการของวิสาหกิจเอกชน ความต้องการบริการอุดมศึกษาของภาคเอกชน จึงส่งผลต่อการผลิตของสถาบันอุดมศึกษา เพราะภาคเอกชนในฐานะลูกค้ามีความจริงจังในการประเมินคุณภาพของบริการอุดมศึกษาที่ผลิตโดยสถาบันต่างๆ

ภาครัฐบาลสนใจกระพี้มากกว่าแก่นของบริการอุดมศึกษา และไม่มีความจริงจังในการประเมินคุณภาพของบริการอุดมศึกษาที่ผลิตโดยสถาบันต่างๆ ระบบราชการเพียงแต่กำหนดว่า หากต้องการดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายตำรวจระดับนายพันและนายพลต้องได้รับปริญญาโทในสาขาวิชารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ หากต้องการขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา ต้องได้รับปริญญาโทในสาขาวิชาศึกษาศาสตร์หรือครุศาสตร์ การใช้ปริญญาเป็นเกณฑ์สำหรับการขึ้นสู่ตำแหน่งราชการระดับสูง มีผลต่อการเพิ่มพูนความต้องการบริการอุดมศึกษา แต่การที่ระบบราชการมิได้สนใจประเมินคุณภาพของบริการอุดมศึกษา ที่ผลิตโดยสถาบันต่างๆ ทำให้ความต้องการบริการอุดมศึกษาของภาครัฐบาล มิอาจส่งผลต่อการปรับปรุงคุณภาพของบริการ

ทิศทางและแนวโน้มที่สอง การผลิตบริการอุดมศึกษา เพื่อให้มีลักษณะหลากหลาย (Product Differentiation)หลักสูตรที่ออกแบบใหม่ ซึ่งสร้างความหลากหลายของบริการอุดมศึกษาดังที่กล่าวข้างต้นนี้ ปรากฏอย่างชัดเจนในระดับบัณฑิตศึกษาในระดับปริญญาตรี ความหลากหลายของบริการมิได้มีมากเท่า เนื่องจากความเป็นสาขาวิชายังคงมากเท่า เนื่องจากความเป็นสาขาวิชายังคงดำรงอยู่ ความหลากหลายของบริการอุดมศึกษาระดับปริญญาตรียังขยายต่อไปอีกได้ ด้วยการออกแบบหลักสูตรในแนวทาง Sandwich Courses ของสหราชอาณาจักร ดังเช่นการผสมสาขาวิชานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์เข้าด้วยกัน หรือการลอกเลียนหลักสูตร PPE ของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด เป็นต้น การสนองตอบความต้องการของตลาดด้วยการผลิตบริการอุดมศึกษาที่มีลักษณะหลากหลาย มีผลต่อการประกอบภารกิจและคุณภาพของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจะสนใจการจัดการเรียนการสอนมากกว่าการผลิตองค์ความรู้สำหรับสังคมไทย การมุ่งเดินแนวทางตลาดทำให้คุณภาพของบริการอุดมศึกษาเสื่อมทรามลง เพราะตลาดในสัดส่วนสำคัญมิได้ต้องการคุณภาพมากไปกว่าปริญญาบัตรหรือวุฒิบัตร

ทิศทางและแนวโน้มที่สาม ความหวังกับความเป็นจริงของมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University)มหาวิทยาลัยจำนวนไม่น้อยวาดฝันว่า จะพัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University) ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กำหนดเป้าหมายในการปฏิรูปอุดมศึกษาเพื่อให้มหาวิทยาลัยไทยยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก (World-Class University) จินตภาพอุดมศึกษาดังที่กล่าวนี้เป็นเรื่องวาดฝันโดยมิได้พิจารณาความเป็นจริงในบริบทของสังคมไทย มหาวิทยาลัยเมื่อแรกสถาปนาในสังคมไทยถูกกำหนดให้มีภารกิจหลักในการผลิตกำลังคน มิได้รับมอบหมายให้มีภารกิจในการผลิตองค์ความรู้ การออกแบบเชิงสถาบัน (Institutional Design) ของมหาวิทยาลัยไทย จึงไม่เสริมส่งการทำหน้าที่ผลิตความรู้กล่าวคือ มิได้ออกแบบเพื่อให้มีอาจารย์ประจำ หากแต่ใช้นักวิชาการที่ประจำกระทรวงทบวงกรมต่างๆ เป็นผู้สอน ไม่ทุ่มลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางวิชาการ (Academic Infrastructure) การจัดองค์กรมหาวิทยาลัยใหม่ในรูปมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลหรือมหาวิทยาลัยนอกระบบราชการ ดังที่ขับเคลื่อนในสังคมไทยปัจจุบันมิได้สลัดแอกแบบสถาบันที่ใช้มาแต่ดั้งเดิม หากแต่ยังคงยึดแบบสถาบันเดิม เพียงแต่ปรับโครงสร้างเงินเดือนให้สูงกว่าเดิม แต่มิได้ดีกว่าเดิมมากนัก เมื่อเปรียบเทียบสวัสดิการทั้งมวลที่ข้าราชการได้รับกับที่พนักงานมหาวิทยาลัยได้รับ ในประการสำคัญ ระบบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ยังคงมีอิทธิพลในระบบสถาบันอุดมศึกษาของรัฐอย่างแน่นหนา การกลั่นกรองอาจารย์และการประเมินผลงานอาจารย์ขาดความเข้มงวดเท่าที่ควร แม้จะเปลี่ยนแปลงการจ้างงานจากระบบการจ้างงานตลอดชีพ (Life-Time Employment) มาเป็นการจ้างงานตามพันธสัญญา (Contract Employment) หาได้เปลี่ยนแปลงแบบสถาบันในขั้นรากฐานไม่ ภายใต้ระบบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์อันแน่นหนา สัญญาการจ้างงานจะถูกต่ออายุไปเรื่อยๆ จนการจ้างงานในระบบสัญญามิได้แตกต่างจากระบบการจ้างงานตลอดชีพ ในขณะที่แบบสถาบันและกติกาการเล่นเกมในระบบอุดมศึกษาไทยไม่เกื้อกูลให้มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ผลิตองค์ความรู้ใหม่สำหรับสังคมไทย การที่สถาบันอุดมศึกษาไทยเดินแนวทาง Commodification Marketization และ McDonaldization มีผลต่อความเสื่อมทรามของระบบอุดมศึกษาอย่างสำคัญ มหาวิทยาลัยมุ่งขายบริการอุดมศึกษาเพื่อแสวงหารายได้เป็นหลัก กิจกรรมในการผลิตความรู้ ซึ่งมีน้อยอยู่แล้ว ยิ่งมีน้อยลงไปอีก ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยห่างเหจากการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยมากขึ้น จนดูเหมือนว่า มหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย มิได้อยู่ในพจนานุกรมของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ด้วยเหตุดังนี้ จึงเป็นเรื่องชวนหัวที่จะวาดฝันว่า สังคมเศรษฐกิจไทยกำลังพัฒนาไปสู่ Knowledge-Based Economy

ทิศทางและแนวโน้มที่สี่ ระบบธรรมาภิบาลในระบบอุดมศึกษาของรัฐ (University Governance)

การบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมิได้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ขาดความรับผิด (Accountability) ขาดการมีส่วนร่วม (Participation) และขาดความโปร่งใส (Transparency) ระบบการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษามิได้สร้างกลไกความรับผิด (Accountability Mechanism) เพื่อให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยรับผิดชอบทั้งต่อประชาชน ต่อชุมชนวิชาการ และต่อมหาวิทยาลัยที่ตนเป็นผู้บริหาร ความรับผิดจะมีหรือไม่ และมีมากน้อยเพียงใด เป็นความสำนึกของปัจเจกบุคคล มิได้เกิดจากกลไของระบบ การขาดความรับผิดมีผลต่อการใช้ทรัพยากรของแผ่นดินในทางสุรุ่ยสุร่าย ยิ่งมหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จในการเรียกร้องความเป็นอิสระในนามของเสรีภาพทางวิชาการมากเพียงใด การตรวจสอบประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัยในการใช้ทรัพยากรของแผ่นดินยิ่งยากมากเพียงนั้น

ระบบการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่มิได้เปิดโอกาสให้สมาชิกในชุมชนมหาวิทยาลัยเดียวกันมีส่วนร่วมในการกำหนดเส้นทางการพัฒนาและการใช้ทรัพยากร การตัดสินใจในเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของกลุ่มบุคคลเพียงกระหยิบมือ หลายต่อหลายมหาวิทยาลัยกำหนดระเบียบเพื่อกีดกันการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน และมีแนวโน้มที่จะรวบอำนาจไว้ในหมู่ ชนชั้นปกครอง ในมหาวิทยาลัย การกีดกันการมีส่วนร่วมของ ประชาชน เกื้อกูล ชนชั้นปกครอง ในการแปรมหาวิทยาลัยให้เป็นโรงพิมพ์ปริญญาบัตร เพื่อแสวงหารายได้จากการขายบริการอุดมศึกษา ซึ่งมีผลโดยตรงต่อรายได้และผลประโยชน์ของ ชนชั้นปกครอง ในมหาวิทยาลัยนั้นเอง

ภายใต้พัฒนาการดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สถาบันอุดมศึกษาของรัฐยากที่จะมีธรรมาภิบาลได้ เหตุผลสำคัญเป็นเพราะการขาดพลังการเรียกร้องภายในสถาบัน อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากตกอยู่ใน กับดักความยากจน ตามมาตรฐานชนชั้นกลางระดับสูง (Upper-Middle Class) และใช้เวลาส่วนใหญ่ในการแสวงหารายได้ บางคนด้วยการ เดินสาย สอนหนังสือ อำนาจการบริหารตกอยู่ในมือ ชนชั้นปกครอง จำนวนน้อยที่เห็นช่องทางในการหาประโยชน์จากทรัพยากรของแผ่นดิน ในเมื่อไม่มีแรงกดดันในการสถาปนาระบบธรรมาภิบาลภายในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ก็คงเหลือแต่อำนาจรัฐเท่านั้นที่จะจัดการเรื่องนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ในสังคมการเมืองที่รัฐปราศจากธรรมาภิบาล จะหวังให้รัฐสถาปนาระบบธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐได้อย่างไร

หากไม่สามารถสถาปนาระบบธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จะพัฒนาระบบอุดมศึกษาต่อไปได้อย่างไร

ทิศทางและแนวโน้มที่ห้า ระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษา (Higher Education Finance)

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษามีอยู่อย่างน้อย 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก รัฐบาลเกือบมิได้จัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประการที่สอง รัฐบาลจัดสรรงบประมาณแผ่นดินแก่สถาบันอุดมศึกษาของรัฐอย่างค่อนข้างเต็มที่

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบการคลังสำหรับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีอยู่อย่างน้อย 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก ระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษามีลักษณะเป็นการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้แก่สถาบันอุดมศึกษาหรือผู้ผลิตบริการอุดมศึกษา หรือที่ภาษาเศรษฐศาสตร์เรียกว่า Supply-side Financing แม้ในเวลาต่อมาจะมีการจัดตั้งกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งจัดสรรเงินให้กู้แก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วย แต่การจัดสรรเงินให้กู้มิได้เป็นไปตามหลักการของ Demand-side Financing เพราะเป็นการจัดสรรลงไปยังสถาบันอุดมศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชนซึ่งทำหน้าที่จัดสรรต่อไปยังนักศึกษาผู้กู้อีกทอดหนึ่ง

ประการที่สอง ระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษาของรัฐมีลักษณะแตกต่างกันระหว่างระดับปริญญาตรีกับระดับบัณฑิตศึกษา ในระดับบัณฑิตศึกษาที่เป็นโครงการพิเศษ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐเก็บค่าบริการอุดมศึกษาในอัตราใกล้เคียงกับต้นทุนการผลิตถัวเฉลี่ยเป็นอย่างต่ำ เพราะเป็นการผลิตเพื่อขายหารายได้ ในขณะที่ระดับปริญญาตรีเก็บค่าบริการต่ำกว่าต้นทุนการผลิตถัวเฉลี่ยมาก

ระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษาที่มีลักษณะ Supply-side Financing เป็นระบบที่จำกัดเสรีภาพใน

ในเมื่อรัฐยังต้องให้เงินอุดหนุนแก่นักศึกษาในระดับปริญญาตรีในอัตราสูง แต่มหาวิทยาลัยหารายได้จากการขายบริการในระดับบัณฑิตศึกษา ถึงมหาวิทยาลัยจะเลือกเดินแนวทางตลาด แต่ตลาดบริการอุดมศึกษามิอาจมีฐานะเป็นตลาดที่แท้จริงได้ เพราะผู้บริหารมหาวิทยาลัยขยาดที่จะขึ้นค่าบริการอุดมศึกษาในระดับปริญญาตรี (ทั้งๆ ที่รับมอบอำนาจในการตัดสินใจอย่างเต็มที่) เนื่องเพราะเกรงแรงเสียดทานทางการเมือง ในเมื่อรัฐมิได้กดดันเพื่อเปลี่ยนระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษา จากระบบ Supply-side Financing ไปเป็น Demand-side Financing สถาบันอุดมศึกษาของรัฐจึงยังแบมือของบประมาณแผ่นดินในระดับเกินสมควรต่อไป ในขณะที่ส่วนเกินทางเศรษฐกิจที่ได้จากการขายบริการอุดมศึกษาโครงการพิเศษแบ่งปันกันในหมู่ผู้บริหารและอาจารย์มหาวิทยาลัยผู้ผลิตบริการอุดมศึกษา ทั้งๆ ที่ส่วนเกินทางเศรษฐกิจดังกล่าวนี้เกิดจากการใช้ทรัพยากรของแผ่นดิน ทั้งทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรกายภาพ ด้วยเหตุดังนี้ ตลาดการบริการอุดมศึกษาจึงมีลักษณะครึ่งๆ กลางๆ หรือที่ภาษาเศรษฐศาสตร์เรียกว่า Quasi-Market อันเป็นตลาดที่ไม่เกื้อกูลให้กลไกราคาทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรได้อย่างเต็มที่

ระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษาดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นอกจากสร้างความไม่เป็นธรรมและไม่เกื้อประโยชน์นักศึกษาที่มาจากครอบครัวที่ยากจนแล้ว ยังบ่มเพาะและแพร่ระบาดความไร้ประสิทธิภาพของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐอีกด้วยหากจะปฏิรูประบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นนี้ ก็ต้องปรับระบบ Supply-side Financing ไปสู่ระบบ Demand-side Financing ปรับอัตราค่าบริการอุดมศึกษาระดับปริญญาตรีให้ใกล้เคียงกับต้นทุนการประกอบการถัวเฉลี่ย จัดตั้งกองทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มาจากครอบครัวยากจน และแปรตลาดบริการอุดมศึกษาจาก Quasi-Market ไปเป็นตลาดที่แท้จริง โดยลดทอนการใช้ทรัพยากรของแผ่นดินในการหาประโยชน์ส่วนบุคคลในหมู่ผู้บริหารและอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่การปฏิรูปในแนวทางที่กล่าวข้างต้นนี้ยากที่จะเป็นไปได้ หากมหาวิทยาลัยยังคงมีความเป็นอิสระโดยปราศจากความรับผิด ความพยายามในการดึงมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ และเปลี่ยนแปลงระบบการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินไปสู่การจัดสรรงบเงินอุดหนุนทั่วไปในลักษณะ Bloc Grant รังแต่จะซ้ำเติมปัญหาที่มีอยู่แล้วให้เลวร้ายลง หากไม่ถือโอกาสในการสร้างกลไกให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมีความรับผิดในการปรับปรุงคุณภาพบริการอุดมศึกษาและปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต รวมทั้งการปฏิรูประบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษาควบคู่ไปด้วย ความเป็นอิสระโดยปราศจากความรับผิดเป็นกติกาการเล่นเกมอันเลวร้าย ซึ่งบ่อนทำลายระบบอุดมศึกษาในขั้นฐานราก

ทิศทางและแนวโน้มที่หก การเติบโตของกระบวนการสากลานุวัตรของการอุดมศึกษา (Internationalization of Higher Education)ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services = GATS) กำลังกลายเป็นระเบียบการค้าระหว่างประเทศ ในการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮา (Doha Round) การค้าบริการโดยเสรีเป็นหัวข้อการเจรจาที่สำคัญ โดยที่บริการการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของภาคบริการ การเปิดเสรีการค้าบริการการศึกษาเป็นที่ยอมรับในหมู่ชนชั้นสูงในสังคมไทย การขยายตัวของระบบโรงเรียนนานาชาตินับเป็นประจักษ์พยานของความข้อนี้ การเปิดเสรีการค้าบริการการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีมากกว่าการศึกษาระดับอื่น โครงการจัดการศึกษานานาชาติผุดขึ้นในสาขาวิชาต่างๆ ของสถาบันอุดมศึกษาจำนวนมากทั้งของรัฐและเอกชน โครงการเหล่านี้มักจะมีมหาวิทยาลัยต่างประเทศเป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Alliance) บางโครงการจัดการเรียนการสอนในลักษณะ Sandwich Courses โครงการส่วนใหญ่มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยต่างชาติ สังคมไทยยอมรับการเปิดเสรีการค้าบริการการศึกษาตั้งแต่ก่อนการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ โครงการจัดการศึกษานานาชาติถือเป็นหน้าตาของสถาบัน โดยที่ผู้บริหารบางส่วนหลงเข้าใจผิดว่า โครงการดังกล่าวนี้เป็นกลไกในการยกระดับมหาวิทยาลัยให้เป็น World-Class University แท้ที่จริงแล้ว คุณภาพของโครงการจัดการศึกษานานาชาติ ในคณะวิชาของมหาวิทยาลัยต่างๆ แตกต่างกันมาก โครงการลักษณะเช่นนี้เป็นกลไกในการหากำไร เพื่อแบ่งปันกันในหมู่ผู้บริหารและอาจารย์มหาวิทยาลัย มิใช่กลไกในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพของบริการอุดมศึกษา การเปิดเสรีภาคบริการอุดมศึกษาให้ประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการขยายช่องทางในการหารายได้ สถาบันอุดมศึกษาไทยอาจได้ประโยชน์จากการรับถ่ายทอดวิทยาการจากมหาวิทยาลัยที่เป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ แต่มิอาจคาดหวังว่า สถาบันอุดมศึกษาไทยจะสามารถก้าวพ้นแผ่นดินไทยเพื่อไปขายบริการอุดมศึกษาในต่างแดน การตั้งรับการเปิดเสรีภาคบริการอุดมศึกษาจึงเป็นยุทธวิธีเดียวที่มีให้เลือกสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย ระบบอุดมศึกษาไทยจะปฏิรูปได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอันจำเป็นอย่างน้อย 3 ประการ กล่าวคือ

1 . จะปฏิรูปอุดมศึกษาได้ จักต้องมีคำตอบ คำถามพื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิรูปอุดมศึกษา

2 . จะปฏิรูปอุดมศึกษาได้ จักต้องมีพลังขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูป

3 . จะปฏิรูปอุดมศึกษาได้ จักต้องมีการออกแบบเชิงสถาบัน (Institutional Design) ที่เหมาะสม

การปฏิรูปอุดมศึกษามีคำถามพื้นฐานที่จักต้องหาคำตอบอย่างน้อย 3 คำถาม

1. ปฏิรูปอุดมศึกษาในด้านใด (What) ปัญหาของระบบอุดมศึกษาอยู่ที่ไหน อยู่ที่โครงสร้าง อยู่ที่คุณภาพของอาจารย์ อยู่ที่คุณภาพของนักศึกษา อยู่ที่หลักสูตร อยู่ที่การจัดการเรียนการสอน หรือว่าอยู่ที่โครงสร้างสิ่งจูงใจ

2. ปฏิรูปอุดมศึกษาอย่างไร (How) จะรื้อระบบอุดมศึกษาทั้งระบบ หรือว่าจะปฏิรูปเป็นจุดๆ การปฏิรูปต้องมีลำดับขั้นในการดำเนินการ (Policy Sequencing) หรือไม่ และข้อต่อของการปฏิรูปที่มีผลกระทบลูกโซ่ต่อการปฏิรูปด้านอื่นๆ อยู่ที่ไหน

3.ปฏิรูปอุดมศึกษาเพื่อใคร (For Whom) จะปฏิรูปเพื่อให้ระบบอุดมศึกษารับใช้สังคมไทย หรือจะปฏิรูปเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีความสามารถในการแข่งขันในสังคมเศรษฐกิจโลก เป้าหมายปฐมฐานของการปฏิรูปอุดมศึกษาคืออะไร

ลักษณะไร้ธรรมาภิบาลของระบบการบริหารจัดการเป็นปัญหาที่ต้องเยียวยาแก้ไข ผู้นำการศึกษาที่เป็นห่วงเป็นใยความเป็นไปในระบบอุดมศึกษามีจำนวนหาน้อยไม่ หลายคนมีข้อเสนอในการปฏิรูปอุดมศึกษา หากอธิการบดีและคณะมองไม่เห็นปัญหาและความจำเป็นในการปฏิรูป การขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปเป็นไปได้ด้วยความลำบากยากยิ่ง มหาวิทยาลัยไทยมีความเป็นอิสระสูงมากในนามของเสรีภาพทางวิชาการ รัฐถูกกีดกันมิให้ข้องเกี่ยวกับกิจกรรมมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการมีอำนาจในการอนุมัติหลักสูตรและประสาทปริญญา รวมตลอดจนการกำหนดอัตราค่าบริการอุดมศึกษา การที่พลังนอกมหาวิทยาลัยจะทะลุทะลวงเข้าไปขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปภายในมหาวิทยาลัย จึงมิใช่เรื่องง่าย พลังการปฏิรูปที่สำคัญเป็นพลังที่อยู่ภายในสถาบันอุดมศึกษานั้นเอง มิอาจพึ่งพลังนอกสถาบันได้ และยิ่งมิอาจหวังพึ่งพลังกดดันจากต่างประเทศ ปมเงื่อนสำคัญอยู่ที่การจุดปะทุให้มีปฏิบัติการร่วมในสังคม (Social Collective Action) ปฏิบัติการร่วมดังกล่าวนี้จะก่อเกิดได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกในชุมชนมีฉันทมติว่าด้วยการปฏิรูป ต้องมีความเห็นพ้องต้องกันว่า จะปฏิรูปอะไร จะปฏิรูปอย่างไร และจะปฏิรูปเพื่อใคร หากปราศจากฉันทมติดังกล่าวนี้ พลังการปฏิรูปยากที่จะก่อเกิดและเติบโตได้

สรุป

การยึดแนวทางการกำหนดขั้นตอนโดยใช้ขอบข่ายของระบบ การยึดแนวทางการกำหนดขั้นตอนโดยใช้ขอบข่ายของระบบ หมายถึง การใช้ขอบข่ายตามแบบจำลองระบบคือ สภาพแวดล้อมหรือบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการหรือการดำเนินการ ผลลัพธ์ และผลย้อนกลับเพื่อการควบคุมหรือการปรับปรุง เป็นแนวทางในการกำหนดองค์ประกอบ ขั้นตอน ลำดับขั้น ทิศทาง และความสัมพันธ์ขององประกอบหลักและองค์ประกอบรอง นั่นคือผู้จัดระบบต้องศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการผลย้อนกลับเป็นขั้นตอนตามมา

การกำหนดขั้นตอนโดยยึดแนวทางทางจากบรรทัดฐานการพิจารณาดำเนินการจัดระบบ การกำหนดขั้นตอนโดยใช้บรรทัดฐานการพิจารณาดำเนินการจัดระบบเป็นการตั้งประเด็นจากที่ได้กล่าวไว้แล้วมาเป็นหลัก โดยสามารถจะประมวลได้ 12 คำถาม คือ

1.อะไรคือเครื่องหมายหรือชี้ของจุดอ่อนหรือปัญหา

2.อะไรเป็นสาเหตุของจุดอ่อนหรือปัญหา

3.จะมีวิธีกำหนด เกณฑ์และวิทีการจัดระบบอย่างไร

4.จะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการวัดความสำเร็จในการแก้จุดอ่อนหรือแก้ปัญหา

5.จะมีวิธีวัดความสำเร็จในการแก้จุดอ่อนหรือแก้ปัญหาอย่างไร

6.จะมีวิธีการที่ใช้ดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง

7.จะมีวิธีการตัดสินใจเลือกทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดอย่างไร

8.องค์ประกอบของระบบปัจจุบันจะต้องเสริม ปรับเปลี่ยนปรับปรุง หรือแทนด้วยองค์ประกอบอื่นๆ มีอะไรบ้าง

9.คุณลักษณะข้อใดของระบบปัจจุบันที่ต้องนำมาใช้ในการพัฒนาระบบใหม่

10.จะมีวิธีการสร้างระบบใหม่อย่างไร

11.จะมีวิธีการทำให้ประสิทธิภาพของการดำเนินงานคงอยู่เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร

12.จะมีวิธีการเผยแพร่และนำระบบที่ปรับแล้วหรือระบบใหม่ไปใช้อย่างไร

จากทั้ง12คำถาม ย่อมจะมองเห็นแนวทางที่จะนำมาใช้ในการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดระบบได้ นั่นคือ จะต้องวิเคราะห์หาจุดอ่อนและสาเหตุเกณฑ์และวิธีการวัดความสำเร็จ ข้อมูนเกี่ยวกับองค์กร การกำหนดทางเลือก และวิธีการจัดระบบและวิธีการเผยแพร่และการนำไปใช้ เป็นต้น ( ศาสตราจารย์ ดร. ชัยยงค์ พรหมวงศ์) (ดร. เชาวเลิศ เลิศชโลฬาร) การที่ระบบราชการมิได้สนใจประเมินคุณภาพของบริการอุดมศึกษา ที่ผลิตโดยสถาบันต่างๆ ทำให้ความต้องการบริการอุดมศึกษาของภาครัฐบาล มิอาจส่งผลต่อการปรับปรุงคุณภาพของบริการ การสนองตอบความต้องการของตลาดด้วยการผลิตบริการอุดมศึกษาที่มีลักษณะหลากหลาย มีผลต่อการประกอบภารกิจและคุณภาพของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจะสนใจการจัดการเรียนการสอนมากกว่าการผลิตองค์ความรู้สำหรับสังคมไทย การมุ่งเดินแนวทางตลาดทำให้คุณภาพของบริการอุดมศึกษาเสื่อมทรามลง เพราะตลาดในสัดส่วนสำคัญมิได้ต้องการคุณภาพมากไปกว่าปริญญาบัตรหรือวุฒิบัตร มหาวิทยาลัยมุ่งขายบริการอุดมศึกษาเพื่อแสวงหารายได้เป็นหลัก กิจกรรมในการผลิตความรู้ ซึ่งมีน้อยอยู่แล้ว ยิ่งมีน้อยลงไปอีก ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยห่างจากการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยมากขึ้น จนดูเหมือนว่า มหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย มิได้อยู่ในพจนานุกรมของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ด้วยเหตุดังนี้ จึงเป็นเรื่องชวนหัวที่จะวาดฝันว่า สังคมเศรษฐกิจไทยกำลังพัฒนาไปสู่ Knowledge-Based Economy ในเมื่อไม่มีแรงกดดันในการสถาปนาระบบธรรมาภิบาลภายในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ก็คงเหลือแต่อำนาจรัฐเท่านั้นที่จะจัดการเรื่องนี้ได้ หากไม่สามารถสถาปนาระบบธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จะพัฒนาระบบอุดมศึกษาต่อไปได้อย่างไร ความพยายามในการดึงมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ และเปลี่ยนแปลงระบบการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินไปสู่การจัดสรรงบเงินอุดหนุนทั่วไปในลักษณะ Bloc Grant รังแต่จะซ้ำเติมปัญหาที่มีอยู่แล้วให้เลวร้ายลง หากไม่ถือโอกาสในการสร้างกลไกให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมีความรับผิดในการปรับปรุงคุณภาพบริการอุดมศึกษาและปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต รวมทั้งการปฏิรูประบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษาควบคู่ไปด้วย ความเป็นอิสระโดยปราศจากความรับผิดเป็นกติกาการเล่นเกมอันเลวร้าย ซึ่งบ่อนทำลายปมเงื่อนสำคัญอยู่ที่การจุดปะทุให้มีปฏิบัติการร่วมในสังคม (Social Collective Action) ปฏิบัติการร่วมดังกล่าวนี้จะก่อเกิดได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกในชุมชนมีฉันทมติว่าด้วยการปฏิรูป ต้องมีความเห็นพ้องต้องกันว่า จะปฏิรูปอะไร จะปฏิรูปอย่างไร และจะปฏิรูปเพื่อใคร หากปราศจากฉันทมติดังกล่าวนี้ พลังการปฏิรูปยากที่จะก่อเกิดและเติบโตได้

80. พระทวีศักดิ์ หนูมาก

เมื่อ จ. 10 มี.ค. 2551 @ 22:44

571323 [ลบ]

1 พระทวีศักดิ์ หนูมาก การจัดการสึกษา มมร. ปี 1

เมื่อ จ 1o มีนาคม 2551

ทำให้เราได้ทราบเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรว่าเมื่อพัฒนาคนแล้วองค์กรของเราก็ต้องมีการพัฒนาตามไปด้วย พูดง่ายๆก็คือ คนเก่งองค์กรก็เก่ง เราจะต้องมีการพัฒนาทุกรูปแบบเพื่อให้ COI เก่งตามไปด้วยเช่นกัน องค์กรจะมีการพัฒนาได้ก็ต้องมีการทำงาน เมื่อโลกของเราเปลี่ยนจากยุคโลกาภิวัฒน์ เป็นโลกแห่งความรู้ก็ให้เราจงใช้ความรู้ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมาเพื่อเป็นการพัฒนาองค์กรของเราเอง

สิ่งแรกที่องค์กรต้องทำก็คือการจัดการความรู้หรือกระบวนการเรียนรู้โดยการใช้องค์ความรู้ที่สำคัญมาใช้และเปลี่ยนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อให้บุคลากรของเราเอาความรู้นี้ไปเป็นฐานของความรู้ทั้งทางลึกและทางกว้างเพราะว่าเราจะต้องแข่งขันกับโลกภายนอกอยู่ตลอดเวลาและเพื่อให้องค์กรของเราเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม และให้เราคิดอยู่เสมอว่าโลกที่เราอย่ทุกวันนี้เป็นโลกที่อยู่บนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำให้เราทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา.

81. พระทวีศักดิ์ หนูมาก

เมื่อ จ. 10 มี.ค. 2551 @ 23:04

571348 [ลบ]

พระทวีศักดิ์ หนูมาก นักศึกษา ป.โท สาขาวิชา การจัดการศึกษา

จากบทความต่างๆที่ได้ศึกษาในวันที่ 7 ธันวาคม 2550

การศึกษาถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด เพราะว่าการที่เราจะพัฒนาประเทศให้มีความเจริญได้ทุกด้านนั่น สิ่งแรกคือประชาชนในสังคมมีการศึกษาที่ดี

ต่อไปในอนาคตทิศทางการศึกษาไทยจะต้องมีการเปลี่ยนไปอย่างมาก เพราะเนื่องจากกระแสโลกมีการเปลี่ยนแปลง และมีความเจริญก้าวหน้าไปมากทั้งทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารโทรคมนาคม สังคมไทยต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้รู้ทันกับสังคมโลก

จากโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ สังคมไทยต้องเผชิญกับภัยคุกคามทั้งทางเศรษฐกิจ ดังนั้นเราจะต้องสร้างปัจจัยที่ได้เปรียบในการแข่งขัน ปัจจัยที่ว่าคือคุณภาพของประชากรและกำลังคน มีขีดความสามารถในการบริหารและการจัดการ มีระบบสารสนเทศ คือข่าวสารข้อมูลสมบูรณ์เพียงพอที่จะใช้ในการตัดสินใจ และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหมาะสมสามารถพึ่งตนเองได้ และใช้ประโยชน์ได้

การสร้างคนอยู่ในระดับที่พึ่งตนเองได้ และใช้เป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันก็คงหนีไม่พ้นการศึกษา

จากปัจจัยดังกล่าวเป็นสาเหตุทำให้เกิดมีการปฏิรูปการศึกษา ก็เพื่อให้การบริหารการจัดการเป็นไปอย่างมีระบบ และกระบวนการที่จะพัฒนาคนเพื่อให้คนออกไปพัฒนาสังคม พร้อมที่จะเผชิญกับภัยคุกคามและนำประเทศไปสู่เวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

82. พระทวีศักดิ์ หนูมาก

เมื่อ จ. 10 มี.ค. 2551 @ 23:16

571359 [ลบ]

เรื่อง "การวางแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ"

จ 10 มีนาคม 51

จากที่พอจะสรุปได้ในการรับฟังการถวายความรู้ ในปรเด็นที่ว่าด้ยการวางแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ หัวใจหลักของท่านผู้บรรยายจะเน้นลงไปที่ประเด็นสำคัญอยู่ ๔ ประเด็นด้วยกัน คือ

๑. การวิเคราะห์ถึงบริบทปัจจัยภายใน ซึ่งเป็นดารสำรวจตนเองให้มองเห็นตนเองว่าเป็นอย่างไรมีความพร้อมหรือมีจุดด้อยด้านใน

๒. การวิเคราะห์ถึงบริบทปัจจัยภายนอก ที่มีส่วนในการเกี่ยวข้องกับตัวเราหรือองค์กร

๓. การวิเคราะห์ถึงบริบทของโลกที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่อย่างรวดเร็วและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เนืองๆ

และ ๔. เป็นการวิเคราะห์แบบคาดการณ์ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการมองหาจุดแข็ง กำจัดจุดอ่อน เสริมสร้างโอกาส และป้องกันภัยคุกคาม และกำหนดแผนการนโยบาย ทั้งในส่วน นโยบาย ส่วนองค์กร และส่วนของผู้ปฏิบัติการ

แต่ในส่วนตัวอยากจะขอเสริมเพิ่มเติมเสริมแนวคิด เพื่อให้เกอดการพัฒนาที่ยั่งยืน ก็คือ

๑. เข้าใจเหตุปัจจัย ว่าสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นต้นเหตุของเรื่องต่างๆ นั้นมาจากอะไร ทำไมจึงต้องเป็นแบบนี้

๒. ประเมินผลที่จะตามมาจากเหตุปัจจัยที่ได้ศึกษามาแล้ว

๓. รู้จักตน และองค์กรว่าสภาพแวดล้อมต่างๆ เป็นอย่างไร

๔. เข้าใจสถานการณ์และโอกาสที่เกิดขึ้นมาแล้วนำมาคิดว่าจะดำเนินนโยบายด้านใดในตอนไหนเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

๕. สรรหาความพอดี ที่ปัจจุบันสังคมอาจจะเรียกว่าความพอเพียง คำนึงว่าองค์กรและตัวเราต้องการอะไรทำอย่างไรให้พอเพียง ไม่เกินไปหรือขาดไป

๖. เข้าใจท่าทีที่บริบทของสังคมมีต่อเราและองค์กร และเข้าใจว่าพร้อมจะอยู่อย่างกลมกลืน

83. พระทวีศักดิ์ หนูมาก

เมื่อ จ. 10 มี.ค. 2551 @ 23:37

571372 [ลบ]

พระทวีศักดิ์ หนูมาก

จ 10 มีนาคม51

4 ภาวะผู้นำคืออะไร ภาวะผู้นำ ในโลกของการบริหารถือว่า Leadership คือ ความสามารถของคนหนึ่งที่จะมีอิทธิพลชักจูงโน้มน้าวให้คนอื่นมีส่วนร่วมในองค์กรนั้นอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้ประสบความสำเร็จ ต้องมีความสามารถในการโน้มน้าวคนอื่น มีอิทธิพลต่อคนอื่น ทำให้คนอื่นทำตามหรือคล้อยตามได้ และมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์องค์กรอื่น เพราะฉะนั้น คนที่มี Leadership คือ คนที่สามารถทำให้คนอื่นมาทำงานร่วมกับตัวเองได้ และทำให้เกิดลักษณะที่สร้างสรรค์ และเป็นประโยชน์กับองค์กร

ลักษณะของภาวะผู้นำ Leadership มี 2 ลักษณะคือ

De Jure Leader เป็น Leadership ที่เกิดขึ้นกับ Authority ที่เรียกว่า De Jure คือในนาม แต่งตั้งใครคนใดคนหนึ่งขึ้นมาในตำแหน่งนั้นๆจะเกิดขึ้นเป็น Leadership เป็นผู้นำในองค์นั้นขึ้นมาทันที เช่น บริษัทตั้งขึ้นมามี Authority ต้องเป็นผู้นำ การเป็นแบบ De Jure Leader ไม่ถือว่าเป็นผู้นำอย่างแท้จริง เพราะจะเห็นได้ว่า ผู้นำหลายคนที่อยู่ในตำแหน่งนั้นไม่ได้ทำอะไรที่มีอิทธิพลที่จะโน้มน้าวชักจูงให้คนในองค์กรทำงานร่วมกัน

De Facto Leader เป็นผู้นำจริงๆ ถึงแม้ว่าจะไม่มีตำแหน่ง ในสังคม จะเห็นว่า ในหมู่บ้านจะมีคนลักษณะเช่นนี้เป็นผู้นำ

ผู้นำควรมีลักษณะอย่างไร

vision : วิสัยทัศน์ คือ ความสามารถที่จะจิตนาการว่าในอนาคตสิ่งที่ตัวเองต้องทำเป็นอย่างไร และมีความสามารถที่จะว่างแผนเพื่อให้ความคิดเหล่านั้นเป็นจริงขึ้นมา เป็นความสามารถที่จะจิตนาการว่าสังคมที่ตนเองจะสร้างขึ้นมาเป็นอย่างไร หรือ สังคม บริษัท หน่วยงานควรจะเป็นอย่างไรในอนาคต ตลอดจนความสามารถที่จะวางแผนที่จะทำให้ความคิดฝันเหล่านั้นเป็นจริงขึ้นมาได้

Confidence : มีความเชื่อมั่น มีความมุ่งมั่นในการที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จ

เป็นคนที่ฝังใจในภาพพจน์ของตัวเอง อยากให้คนอื่นมองภาพพจน์ของตัวเองว่า เป็นผู้ที่มีความสามารถ เป็นผู้ที่น่าเชื่อถือ และที่สำคัญคือ ปลุกเร้าให้ผู้อื่นเกินความคิดอย่างเดียวกันกับที่ตนเองเป็นได้ นอกจากนั้น ยังต้องเป็นผู้สื่อสารให้คนภายนอกเข้าใจว่า องค์กรนั้นทำอะไรอยู่ด้วย

ลักษณะต่างๆของผู้นำเหล่านี้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือเป็นลักษณะโดยธรรมชาติ ทฤษฏีหนึ่งบอกว่า เป็นไปตามลักษณะที่เกิดขึ้นภายใน ลักษณะที่เหมือนเป็น Born Leader คนบางคนเกิดขึ้นภายใน ลักษณะที่ผู้นำคือ มี vision passion Confider เป็นต้น ทฤษฏีนี้ มีคนเชื่อถือมายาวนานว่า คนที่จะเป็น Born Leader เกินขึ้นโดยธรรมชาติ มีความเชี่อถือตนเองหรือลักษณะทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้น สืบสายโดยสายเลือด ซึ่งบางคนไม่ได้เป็นอย่างนั้น ยกตัวอย่าง จากงานวิจัยฉบับหนึ่ง ที่ได้ไปสัมภาษณ์ จอมพล ถนอม กิตติขจร ว่ายุคไหนที่ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ท่านตอบว่าท่านเกิดมาจากการที่มีคนพร่ำบอกท่านว่า ท่านคือผู้นำตั้งแต่เด็กๆ ท่านเติบโตขึ้นทาด้วยความเชื่อว่าท่านเป็นผู้นำ จะต้องตัดสินใจ ต้องมีลักษณะ ต่างๆตามแบบผู้นำ เพราะฉะนั้นจึงทำให้เกิดความน่าสนใจ ว่าคนที่ถูก convince ว่าตนเองเป็นผู้นำ พฤติกรรมจะเกิดขึ้นตามลักษณะนั้น เหมือนว่าเกิดขึ้นตามกรรมพันธุ์ แต่ปัจจุบัน ทฤษฏีเรื่องของ Innate Leader น้อยลงไปแต่คนปัจจุบันเชื่อในเรื่อง Situational Leadership เชื่อว่าสถานการณ์สร้างผู้นำ คนบางคนที่ยังไม่เคยมีลักษณะ trait อย่างนี้มาก่อน อาจจะมีลักษณะแอบซ่อนนี้ในตัว แต่ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่จะแสดงลักษณะเป็นผู้นำขึ้นมาเมื่อมีสถานการณ์ที่เรียกร้องให้ตัวเองเป็นผู้นำสำคัญขึ้นมา คุณภาพเหล่านี้ต้องออกมาด้วยความจำเป็น ดังเช่นภาพยนตร์ที่มีลักษณะเป็น Disaster Movie ที่คนติดเข้าไปอยู่ในท่อใต้ดิน 10 คน ไม่มีใครมีลักษณะเป็นผู้นำ ไม่มีใครมีอาชีพที่ใกล้เคียงกับความเป็นผู้นำ แต่เมื่อใกล้ความตายขึ้นมา จึงต้องอุปโลกน์คนคนหนึ่งขึ้นมาเป็นหัวหน้า เป็นผู้นำ และสามารถทำให้คนอีก 7 คนรอดมาได้แต่ก็มีบางคนเสียชีวิตไป ทำให้ตนเองเป็น Leader ขึ้นมาได้ ตัวอย่างการทดลองของลิง ลิงบางตัวที่ฝึกตัวเองได้ดีและรวดเร็วสามารถที่จะเป็นผู้นำในสถานการณ์นั้นๆ ได้แม้ไม่มีความรู้มาก่อนว่าต้องมีความสามารถในการกดไฟแดงหรือไม่ ยิ่งคาดคะเนได้เร็วกว่าเมื่อไฟแดงจะขึ้นมา จะมี response time มากขึ้นเท่านั้น แต่เมื่อต้องดูแลตนเองและเพื่อนของตนเองความสามารถของตนเองในการที่ต้องรีบกดไฟให้เร็วจึงเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นทฤษฏีในปัจจุบันจึงเชื่อว่า ผู้นำเกิดขึ้นได้จากสถานการณ์และความสามารถและความสามารถที่จะเกิดขึ้นได้หากฝึกฝนให้เกิดลักษณะต่างๆ อย่างนี้ได้

84. พระทวีศักดิ์ หนูมาก

เมื่อ จ. 10 มี.ค. 2551 @ 23:53

571384 [ลบ]

พระทวีศักดิ์ หนูมาก

จ 10 มีนาคม 51

5 เรื่อง คุณเห็นด้วยผู้อภิปรายเรื่อง จินตภาพอุดมศึกษา-ก้าวใหม่หลังการปฎิรูป หรือไม่ เพราะอะไร?

- ความต้องการบริการอุดมศึกษาในตลาดประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นความต้องการของภาคเอกชน (Private-Sector Market) อีกส่วนหนึ่งเป็นความต้องการของรัฐบาล (Public-Sector Market) ภาครัฐบาลสนใจกระพี้มากกว่าแก่นของบริการอุดมศึกษา และไม่มีความจริงจังในการประเมินคุณภาพของบริการอุดมศึกษาที่ผลิตโดยสถาบันต่างๆ กระบวนการแปรบริการอุดมศึกษาเป็นสินค้า กระบวนการผลิตบริการอุดมศึกษาเพื่อขาย และกระบวนการแม็กโดนัลดานุวัตร นับเป็นทิศทางและแนวโน้มสำคัญของภาคอุดมศึกษาในปัจจุบันและอนาคตที่เห็น กระแสเหล่านี้ล้วนแต่ก่อผลทำลายภาคอุดมศึกษาในระยะยาว

ทิศทางและแนวโน้มความหลากหลายของบริการอุดม ศึกษา (Product Differentiation) การสนองความต้องการของตลาดด้วยการผลิตบริการอุดมศึกษาที่มีลักษณะหลากหลาย มีผลต่อการประกอบภารกิจและคุณภาพของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจะสนใจการจัดการเรียนการสอนมากกว่าผลิตการเรียนรู้สำหรับสังคมไทย การมุ่งเดินแนวทางตลาดทำให้คุณภาพของบริการอุดศึกษาเสื่อมทรามลง เพราะตลาดในสัดส่วนสำคัญมิได้ต้องการคุณภาพมากไปกว่าปริญญาบัตรหรือวุฒิบัตร

ทิศทางและแนวโน้มมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University) มหาวิทยาลัยเมื่อแรกสถาปนาในสังคมไทยถูกกำหนดให้มีภารกิจในการผลิตกำลังคน มิได้มอบหมายให้มีภารกิจในการผลิตองค์ความรู้ การออกแบบเชิงสถาบัน (Instifutional Design) ของมหาวิทยาลัยไทยจึงไม่ส่งเสริมการทำหน้าที่ผลิตความรู้ ในประเด็นที่สำคัญ ระบบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ยังคงมีอิทธิพลในระบบสถาบันอุดมศึกษาของรัฐอย่างแน่นหนา การกลั่นกรองอาจารย์และการประเมินผลงานอาจารย์ขาดความเข้มงวดเท่าที่ควร

- มหาวิทยาลัยในสังคมไทยจะไม่สามารถพัฒนาไปเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยได้ เพราะการละเลยประเด็นการออกแบบเชิงสถาบันของมหาวิทยาลัยมีผลเท่ากับการละเลยประเด็นสำคัญในการปฏิรูปอุดมศึกษา ในขณะที่แบบสถาบันและกติกาการเล่นเกมในระดับอุดมศึกษาไทยไม่เกื้อกูลให้มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ผลิตองค์ความรู้ใหมาสำหรับสังคมไทย การที่สถาบันอุดมศึกษาไทยเดินแนวทาง (Commodification, Marketization and McDonaldization) มีผลต่อการเสื่อมทรามของระบบอุดมศึกษาอย่างสำคัญ มหาวิทยาลัยมุ่งขายบริการอุดมศึกษาเพื่อแสวงหารายได้เป็นหลัก

ทิศทางและแนวโน้มระบบธรรมมาภิบาลของมหาวิทยาลัย (University Governance) ระบบการบริหารการจัดการสถาบันอุดมศึกษามิได้สร้างกลไกความรับผิดชอบ (Accountability Mechanism) เพื่อให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยรับผิดชอบทั้งประชาชน ต่อชุมชน วิชาการ และต่อมหาวิทยาลัยที่ตนเป็นผู้บริหาร ความรับผิดชอบจะมีหรือไม่ และมีมากน้อยเพียงใด เป็นความสำนึกของปัจเจกบุคคล มิได้เกิดจากกลไกระบบ

- ระบบการบริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในปัจจุบันมิได้มีคุณลักษณะตามหลักธรรมาภิบาล การดึงมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการในขณะที่ยังมิได้ธรรมาภิบาล ย่อมยังความล้มเหลวแก่มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลตั้งแต่ตั้ง ภายไต้พัฒนาการดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สถาบันอุดมศึกษาของรัฐยากที่จะมีธรรมาภิบาลได้ เหตุผลสำคัญเป็นเพราะการขาดพลังการเรียกร้องภายในสถาบัน อาจารย์ มหาวิทยาลัยจำนวนมากตกอยู่ใน กับดักความยากจน ตามมาตรฐานชนชั้นกลางระดับสูง (Upper-Middle Class) และใช้เวลาส่วนใหญ่ในการแสวงหารายได้ บางคนด้อยการ เดินสายสอนหนังสือ อำนาจบริหารตกอยู่ในมือ ชนชั้นปกครอง จำนวนน้อยที่เห้นช่องทางในการหาประโยชน์จากทรัพยากรแผ่นดิน ในเมื่อไม่มีแรงกดดันในการสถาปนาระบบธรรมาภิบาล ภายในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ก็ยังคงเหลือแต่อำนาจรัฐเท่านั้นที่จะจัดการเรื่องนี้ได้ อย่างไรก็ตามในสังคมการเมืองที่รัฐปราศจากธรรมาภิบาล จะหวังให้รัฐสถาปนาระบบธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐได้อย่างไร หากไม่สามารถสถาปนาระบบธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จะพัฒนาระบบอุดมศึกษาต่อไปได้อย่างไร

- ระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษาในปัจจุบันมิได้ส่งเสริมให้นักศึกษาจากครอบครัวยากจนมีโอกาสในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย แม้จะมีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา แต่ไม่เพียงพอ เพราะสิ่งที่นักศึกษายากจนต้องคือ เงินให้เปล่า (Grant) หรือทุนการศึกษา มิใช่เงินให้กู้ ระบบการลังเพื่อการอุดมศึกษาดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นอกจากสร้างความไม่เป็นธรรมและไม่เกื้อประโยชน์นักศึกษาที่มาจากครอบครัวที่ยากจนแล้ว ยังบ่มเพาะและแพร่ระบาดความไร้ประสิทธิภาพของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐอีกด้วย ความเป็นอิสระโดยปราศจากความรับผิดชอบเป็นกติกาการเล่นเกมอันเลวร้าย ซึ่งบ่อนทำลายระบบอุดมศึกษาในขั้นฐานราก

- การที่ระบบการบริหารจัดการที่ไร้ธรรมมาภิบาลดำรงอยู่ได้ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจำนวนมาก โดยที่ ชนชั้นปกครอง ในมหาวิทยาลัยไม่ใส่ใจแก้ไขแม้แต่น้อย ด้านหนึ่งแสดงให้เห็นว่า ลักษณะไร้ธรรมาภิบาลดังกล่างให้เกิดประโยชน์แก่ ชนชั้นปกครอง นั่นเอง ในอีกด้านหนึ่งสะท้อนให้เห็นอย่างชัดแจ้งถึงภาวะไร้พลังในการขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูป ในเมื่อชนชั้นปกครอง เหล่านั้นมองไม่เห็นว่า ลักษณะไร้ธรรมาภิบาลของระบบการบริหารจัดการเป็นปัญหาที่ต้องเยียวยาแก้ไข

- ระบบการบริหารจัดการที่ไร้ธรรมาภิบาลก่อผลซำเติมวัฏจักรแห่งความด้อยพัฒนา มหาวิทยาลัยจำนวนมากนอกจากจะมีระบบการบริหารจัดการที่ปราศจากความโปร่งใสและความรับผิดชอบแล้ว ยังพยายามกีดกันและลดทอนการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนอีกด้วย สถาณการณ์ดังกล่าวนี้สร้างความเฉยเมยต่อความเป็นไปในสถาบัน ซึ่งมีผลบั่นทอนพลังการปฏิรูป เพราะฉะนั้นการอุดมศึกษาไทยจึงยากแก่การปฏิรูป เป็นต้น

85. พระทวีศักดิ์ หนูมาก

เมื่อ อ. 11 มี.ค. 2551 @ 00:06

571391 [ลบ]

พระทวีศักดิ์ หนูมาก

จ 10 มีนาคม 51

6 เรื่อง มหาวิทยาลัยราชภัฏ..... วิกฤตหรือไม่?

ปัจจัยแรกที่ ผู้บริหารต้องคิดในเรื่องของการบริหารการจัดการศึกษาที่ดีในสถานศึกษา เช่น สาขาวิชาที่นักศึกษาสนใจและน่าเร้าใจที่คาดว่าจะจบ แล้วไม่มีคำว่าตกงาน ก็จะทำให้นักศึกษาต้องการเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏ จะเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่ทำให้นักศึกษามากขึ้น

ปัจจัยต่อมา ผู้บริหารต้องคิดในเรื่องของการบริหารและการจัดการศึกษาที่ดี เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมและศีลธรรม ที่ทำให้นักศึกษาต้องเรียนรู้เข้าใจและนำไปประพฤติปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ถึงจะไม่มีปัญหาตามมาที่ออกเป็นสื่อต่างๆ เช่นมีการติดยาเสพติดในสถานศึกษาเป็นต้น

1.2 แนวคิดในเรื่องของอาจารย์/บุคคลากร อาจารย์และบุคคลากรนี้ถือว่าเป็นบุคลที่สำคัญยิ่งที่จะพัฒนาให้นักศึกษา ประสบความสำเร็จในชีวิต และอาจารย์ทุกวันนี้เริ่มจะมีการสูญพันธุ์ไปเรื่อยๆ เพราะการแข่งขันนั้นเป็นไปตามระบบธรรมเนียมของราชการ ผู้บริหารทางมหาวิทยาลัยราชภัฏต้องคิดและค้นหา กลยุทธ์ใหม่ๆ ถึงจะสามารถหานักศึกษาที่จะเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยราชภัฏได้

1.3 แนวคิดในเรื่องของระบบการแข่งขัน เริ่มตั้งแต่คณาจารย์ในแต่ละสาขา แต่ละคณะ ต้องหาคณาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ สาขาวิชาต่างๆ มาสอนให้นักศึกษา ให้มีความรู้ไปใช้ได้ให้เกิดประโยชน์ และการแข่งขันของผู้บริหารของมหาวิทยาลัยต้องกำหนดยุทธศาสตร์ ที่จะเพิ่มยอดของนักศึกษานั้นมีมากขึ้นทุกๆปี และที่สำคัญที่สุด ผู้บริหารการศึกษาต้องหาจุดขายของมหาวิทยาลัยของตัวเองเพื่อที่จะดึงดูดให้นักศึกษาเข้ามาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่สำคัญที่สุดของมหาวิทยาลัยราชภัฏต้องคำนึงถึงการเรียน แบบบูรณาการ ถึงจะสอนวิชาอะไรก็ตาม ต้องมีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมเสมอ ถึงจะให้นักศึกษามีความเก่ง ความดี และมีความสุขในการศึกษา

1.4 แนวคิดในเรื่องของระบบการเมือง กระทรวงศึกษาธิการมีการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้ามากที่สุด เช่นรัฐมนตรีปี 2550 มีนโยบายที่ดี มีกลยุทธที่ดี แล้วทำให้การศึกษาประสบความสำเร็จ ต่อมา ปี 2551 รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการมีการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้า ต้องประสานงานต่อที่รัฐมนตรี ปี 2550 นั้นกระทำมา จะทำให้การศึกษาของไทยมีประสิทธิภาพอย่างมหาศาล เพราะนโยบายและกลยุทธ์ได้ถูกหล่อหลอมให้ตกผลึกถึงจะทำให้การศึกษามีเป้าหมาย ที่ชัดเจน และประสบความสำเร็จของแวดวงการศึกษาแล้วจะทำให้ ระบบการศึกษาบ้านเราเทียบเท่ากับประเทศอื่นได้

- และที่สำคัญที่สุด คืองบประมาณที่จัดสรรแต่ละแห่ง ก็ให้มีงบประมาณเท่าๆกัน เช่นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงดังก็ให้งบประมาณเท่ากับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ถึงจะไม่มีการเอารัดเอาเปรียบกัน และอยู่ที่ผู้บริหารจะจัดการเกี่ยวกับงบประมาณอย่างไร

- ถ้าผู้บริหารการศึกษาทำเช่นนี้แล้ว ข้าพเจ้าคิดว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏ ไม่วิกฤตแน่นอน

2. ในฐานะซึ่งท่านดูแลทรัพยากรทางศึกษาท่านมีแนวทางแก้ปัญหาอย่างไรเกี่ยวกับบุคคลากรทางการศึกษา?

- มีแนวทางแก้ปัญหาบุคคลากรทางการศึกษา ข้าพแบ่งเป็น 3 ประเด็น ความสามารถและเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่สอน และดังนี้

2.1 - In Put ครู/อาจารย์ที่สอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏต้องมีความรู้มีความเชี่ยวชาญวิชานั้นๆอย่างมาก เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ ครู/อาจารย์ที่สอนต้องมีความเชี่ยวชาญพิเศษ และสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและศีลธรรม ไปด้วย เป็นการบูรณาการไปด้วย จะทำให้นักศึกษาเข้าใจและนำหลักคุณธรรมไปใช้ในชีวิตให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมอีกด้วย

- หลักสูตร ผู้บริหารการศึกษา ต้องหาคนที่มีชื่อเสียงทางสังคมที่ประสบความสำเร็จของชีวิต แล้วมาจัดหลักสูตร เพื่อเป็นหลักสูตรที่น่าเร้าใจให้นักศึกษาเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ และหลักสูตรนั้นต้องสอดคล้องกับแผนงานบริหารการจัดการศึกษากับมหวิทยาลัยได้ด้วย เช่นหลักสูตรที่ทำการสอนนั้น ต้องมีจุดหมายที่จะให้นักศึกษาได้บำเพ็ญกุศลบุญ ก็คือ การเข้าค่ายคุณธรรม นักศึกษาที่เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยราชภัฏแล้วต้องมีความรู้ความสามารถ และที่สำคัญก็คือ เก่ง ดี มีความสุข ในการเรียนด้วย นักศึกษาต้องรู้หลักดำเนินชีวิต และสร้างประโยชน์ให้แก่ตนเองสังคมด้วย ถึงจะเป็นนักศึกษาที่ดี รวมทั้งคณะครูอาจารย์และรวมถึงหลักสูตรที่สอนจะทำให้นักศึกษามีความรู้มากขึ้นเป็นต้น

2.2 Process การจัดการเรียนการสอน ต้องเป็นการจัดการเรียนการสอนโดยยึดหลักบูรณาการหรือแบบธรรมชาติ ที่ทำให้ผู้สอนและผู้เรียนไม่น่าเบื่อในการศึกษาเล่าเรียน เช่น การเรียนการสอนแบบบูรณาการ ก่อนจะเข้าเรียน ควรให้นักศึกษาเล่นเกมส์ก่อนเข้าสู่บทเรียนทำให้นักศึกษาไม่เบื่อ และสนุกกับการเรียนด้วย ถึงจะประสบความสำเร็จเกี่ยวกับกระบวนการการจัดการเรียนการสอน แบบบูรณาการ หรือการออกภาคสนามนอกสถานที่ จะทำให้นักศึกษาได้เปลี่ยนแปลงบรรยากาศการเรียนการสอนด้วย จะทำให้นักศึกษามีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและสามารถนำเอาความคิดมาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ขึ้นมาได้

86. สกุลรัตน์ โรจนพรพิรักษ์

เมื่อ อ. 11 มี.ค. 2551 @ 09:53

571586 [ลบ]

Comment ทิศทางและแนวโน้มของการอุดมศึกษาไทย 6 ข้อ ดังนี้

1. ทิศทางและแนวโน้ม การเติบโตของกระบวนการแปรบริการอุดมศึกษาเป็นสินค้า (Commodification) การผลิตบริการอุดมศึกษาเพื่อขาย (Marketization) และกระบวนการแม็กโดนัลดานุวัตรของบริการอุดมศึกษา (McDonaldization of Higher Education)

สรุปความคิดเห็น การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันนั้นเป็นการมุ่งตอบความต้องการทางตลาดมากกว่าความสนใจที่ต้องการศึกษาจริง ๆ เมื่อตลาดต้องการต้องการด้านไหน สถาบันอุดมศึกษาก็จะเปิดคณะนั้น ไม่มีการวางแผนว่าปริมาณปริมาณบัณฑิตที่จบนั้นมีมากเท่าไหร่ เมื่อมีปริมาณมาก ก็ทำให้ขาดคุณภาพ

2. ทิศทางและแนวโน้มความหลากหลายของบริการอุดม ศึกษา (Product Differentiation)

แสดงความคิดเห็นได้ว่า ในสถาบันอุดมศึกษาต้องการมีหลากหลายทางวิชาการเนื่องจากต้องการตอบสนองสังคมในด้านต่าง ๆ เนื่องการหารายได้มาจากสังคมการให้บริการทางการศึกษา จึงต้องมีความหลากหลายเพื่อตอบมีรายได้ จนสถาบัน อุดมศึดษาขาดความเชี่ยวชาญ ด้านที่ตนเชี่ยวชาญ

3. ทิศทางและแนวโน้มมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University)

แสดงความคิดเห็นว่า สถาบันอุดมศึกษานอกมีหน้าที่ให้บริการทางการศึกษาเป็นหลัก นอกจากนี้ สถาบันอุดมศึกษายังต้องมีห้าที่ในการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้ใหม่ ๆ มีการปรับปรุงความรู้ที่ล้าสมัย สถาบัยอุดมศึกษาไม่ได้ส่งเสริมให้เป็นองค์การที่ทั้งสร้างความรู้ใหม่ และผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ

4. ทิศทางและแนวโน้มระบบธรรมมาภิบาลของมหาวิทยาลัย (University Governance)

แสดงความคิดเห็นว่า ในหลักการบริหารสมัยนั้น ต้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการกระจายอำนาจต้องมีการตรวจสอบที่โปร่งใส ทำให้ไม่เกิดความขัดแย้งระหว่างกัน หลักธรรมาภิบาลเป็นเครื่องมือในการบริหาร แต่ในความเป็นจริงสถาบันอุดมศึกษายังขาดการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลที่แท้จริง ยังขาดการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารในการกำหนดเส้นทางการพัฒนา การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

5. ทิศทางและแนวโน้มระบบการคลังเพื่อการอุดมศึกษา (Higher Education Finance)

แสดงความคิดเห็นว่า สถาบันอุดมของไทยมีทั้งสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นของเอกชน และของรัฐบาล รัฐบาลได้จัดสรรเงินให้แก่สถาบันอุดมศึกษาในจำนวนที่แตกต่างกัน จึงทำให้สถาบันอุดมจึงต้องมีการรายได้เพื่อให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในองค์กร จำนวนนักศึกษาในระดับบัณฑิตมีจำนวนมากกว่าจำนวน แต่การเก็บค่าบริการการศึกษา ซึ่งไม่ได้คิดจากค่าใช้จ่ายจริง

6. ทิศทางและแนวโน้มสากลานุวัตรของการอุดมศึกษา (Internationalization of Higher Education)

แสดงความคิดเห็นว่า ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารระหว่างภูมิภาคในโลกมีความรวดเร็วมาก จนทำให้เสมือนแต่ละประเทศอยู่ใกล้กัน จึงมีการขยายอำนาจ ในปัจจุบัน การขยายอำนาจในเชิงเศรษฐกิจ การเมือง สังคม เข้าไปครอบคลุมความคิดของคนในประเทศนั้น จนทำให้ เกิดการเบนความคิด ในเรื่องการใช้ชีวิต เช่น เรานิยมทานอาหารฝรั่ง นิยมดาราเกาหลี เป็นต้น เราไม่มีการให้ความรู้ในเรื่องความภาคภูมิในในการเป็นไทย มองที่จุดเด่นของเรา และจุดด้อยของขา เมื่อมีการแพร่เข้าในประเทศ เราก็รับเอามาทั้งหมด ได้พิจารณาว่าอะไรดี อะไรไม่ดี

การเปิดเสรีการค้าในเรื่องการบริการทางศึกษามีการขยายตัวอย่างมาก มีการจัดการเรียนกสอนในโครงการนานาชาติ มีค่าใช้จ่ายสูง มีการจ้างอาจารย์จากต่างประเทศ ทำให้เสียดุลรายได้ และค่าจ้างของอาจารย์ในอัตราที่สูง ก็ทำให้ต้องการเก็บค่าใช้จ่ายจากนักศึกษา ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการเรียนสูงขึ้นไปจนทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างกลุ่มนักศึกษาที่เรียนแบบทั่วไปกับนักเรียนในโครงการนานาชาติ

87. สกุลรัตน์ โรจนพรพิรักษ์

เมื่อ อ. 11 มี.ค. 2551 @ 10:15

571600 [ลบ]

ส่งงานเก่าวันที่ 25 ธันวาคม เรื่อง การบริหารความเสี่ยงทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์

การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) เป็นกระบวนการจัดการกับความไม่แน่นอนที่อาจจะส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ด้วยการประเมินความเสี่ยง การควบคุม การเฝ้าติดตามและทบทวนการบริหารงาน เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจัดการความเสี่ยงนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

กระบวนการบริหารคความเสี่ยงมาจากเหตุปัจจัย 2 ด้าน คือ

ความเสี่ยงจากปัจจัยภายใน

ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk)

ความเสี่ยงทางการปฏิบัติงาน (Operational Risk)

ความเสี่ยงทางนโยบายและกลยุทธ์ (Policy/Strategic Risk)

ความเสี่ยงจาก ปัจจัยภายนอก

ความเสี่ยงทางกฎหมายและกฎระเบียบ (Regulatory risk)

ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและการเมือง (Economic and political risk)

ความเสี่ยงทางการแข่งขัน (Competitive risk)

ความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางธรรมชาติ (Natural events risk)

กระบวนการความเสี่ยง (Risk management process)

การชี้บ่งความเสี่ยง (Risk identification)

บางตำรา จะบอกว่าเริ่มแรกจะต้องตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการบริหารความเสี่ยงก่อน เป็นลำดับแรก ซึ่งผู้เขียนขออนุญาตข้ามขั้นตอนนี้ไป เพราะเรารู้กันอยู่แล้วว่าจะ “กำจัด” หรือ “ควบคุม” ความเสี่ยง ดังนั้น ผู้เขียนจึงกระโดดข้ามไปเริ่มต้นที่การชี้บ่งความเสี่ยงเลย

การประเมินความเสี่ยง (Risk assessment)

การประเมินความเสี่ยงจะเป็นการจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง บางตำราไม่มีการจัดลำดับความเสี่ยง ด้วยการเอาความเสี่ยงทุกรายการมาควบคุมให้หมด ซึ่งก็ไม่ผิดครับ แต่ความเห็นของผู้เขียนคิดว่า ถ้าเราจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงได้ เราก็สามารถจัดสรรทรีพยากรทีมีอยู่จำกัด ทั้งเรื่องคน และเงินงบประมาณอย่างประหยัดและคุ้มค่า

โดยทั่วไปการประเมินความเสี่ยงจะพิจารณาจากโอกาส (Likelihood) และความรุนแรง (Severity)

สรุป ได้ว่า การพิจารณาความเสี่ยงในการบริหารทรัพยากรมุนษย์เป็นการเตรียมการล่วงหน้าในกระบวนการจัดการบริการทรัพยากรมนุษย์ ในขั้นตอน การสรรหา การบรรจุตำแหน่ง การพัฒนา การให้ออกจากงาน เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นว่าเป็นปัญหาที่รุนแรงมมากน้อยเพียงใด และจำกำหนดแนวทางแก้ไขไว้อย่างไรบ้าง

88. แมชีฉวีวรรณ อ่อนน้อม

เมื่อ อ. 11 มี.ค. 2551 @ 12:53

571713 [ลบ]

ส่งงานย้อนหลัง วัน อังคาร ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๑

ถ้าเป็นผู้บริหารควรที่จะมีหลักการบริหารให้มีประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้

1. การบริหารที่มีผู้บริหารเพียงคนเดียวในองค์การ (Division Of Labor)

2. มีการกำหนดมาตรฐานทำงานที่ชัดเจน (Srandardization)

3. มีเอกภภาพในการบังคับบัญชา (Untity of command)

4. มีการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบให้แก่ผู้ร่วมงาน (Delegation of Authority and Responsibility)

5. มีการแบ่งฝ่ายงานและบุคลากรผู้รับผิดชอบให้แก่ผู้ร่วมงานให้เฉพาะเจาะจงขึ้น (Division of Labor)

6. มีการกำหนดมาตรฐานการทำงาน ที่ชัดเจน (Span of control)

7. มีการมอบหมายการควบคุมดูแลที่เหมาะสม (Stability)

8. เปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ในองค์การได้ (Flexibility)

9. สามารถทำให้คนในองค์การเกิดความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย (Security)

10. มีการยอมรับนโยบายส่วนบุคคลที่มีความสามารถ (Personnel Policy)

11. มีการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งส่วนบุคคลและองค์การ (Evaluation)

ทำไมรุ่นน้องเก่งกันจังเลยค่ะ อ.กีรติ

อยากทราบว่าหากเราใช้ทฤษฎีความเสมอภาค ในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา

ควรจะนำไปใช้อย่างไร แล้วจะเป็นประโยชน์ได้อย่างไร และการใช้ทฤษฎีนี้จะมีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง

รบกวนช่วยตอบกลับมาที่ อีเมล์ [email protected] ด้วยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท