การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยด้วยคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต


ถึงเวลาแล้วที่เราจะหันมาให้ความสำคัญกับการสอนคอมพิวเตอร์ให้กับผู้สูงวัย การเริ่มต้นที่ง่ายที่สุดก็คือ การเริ่มต้นจากที่บ้าน โดยลูกหลานนั่นแหละ ที่จะช่วยสอนคอมพิวเตอร์ให้ผู้สูงวัยในครอบครัว นอกจากจะช่วยให้ผู้สูงวัยใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นแล้ว ยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวอีกด้วย

จากเวทีอบรมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยด้วยคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต” จัดโดย ชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน (ICT for All Club) ร่วมกับมหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม 2552 เวลา 09.30 -16.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 5 โรงแรมสวนดุสิต เพลส เฟส 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร

จากเวทีอบรมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยด้วยคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตจัดโดย ชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน (ICT for All Club) ร่วมกับมหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม 2552 เวลา 09.30 -16.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 5 โรงแรมสวนดุสิต เพลส เฟส 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผู้สูงวัย นักวิชาการและสื่อมวลชน เข้าร่วมประมาณ 110 คน พบว่ามีผู้สูงวัยจำนวนมากที่อยากเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การรับส่ง e-Mail ให้เป็น เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของยุคโลกภาวัตน์

กิจกรรมอบรมสัมมนา เริ่มต้นโดยในช่วงเช้า ดร.จิรัชฌา  วิเชียรปัญญา  ผู้แทน  ดร.อาทิตย์  อุไรรัตน์  อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ได้กล่าวสุนทรพจน์นำ โดยเน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุเป็นไปเพื่อดำรงคุณค่าให้กับตนเอง  ครอบครัว และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณค่ากับครอบครัว  ผมมองเห็นการสร้างความสัมพันธ์ทางการเรียนรู้ระหว่างคุณปู่คุณย่า  คุณตาคุณยาย  กับหลานๆ ในครอบครัว โดยมีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมโยงโดยมีกิจกรรมที่สำคัญคือ การถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างกัน  ซึ่งผมมองว่า เป็นการเรียนรู้ร่วมกันโดยผ่านตัวร่วมเดียวกันคือ กระบวนทัศน์แบบเด็ก  และมีเครื่องมือที่สำคัญคือ  คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต มันเป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างสัมพันธภาพ ความรัก  และความผูกพัน ให้เกิดขึ้นในครอบครัวภายใต้ความสนุก  ความสุขที่เกิดจากการแลก เปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน

จากนั้น คุณหญิงชัชนี จาติกวณิช  ประธานชมรมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อผู้สูงวัย (Old People Playing Young Club: OPPY Club) บุคคลแรกๆ ของประเทศไทย ที่ส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมาเรียนรู้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ได้กล่าวเปิดการสัมมนาและร่วมเสวนาในหัวข้อ คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อผู้สูงวัย และศาสตราจารย์ ดร. ศรีศักดิ์  จามรมาน ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาอินเทอร์เน็ตไทย (Father of the Internet in Thailand) ได้บรรยายพิเศษ เรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยด้วยคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจารย์ได้ยกตัวอย่างของคุณยายไอวี่ บีน (Ivy  Bean)ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่อายุมากที่สุดในโลก โดยในพ.ศ. 2550 เมื่อคุณยายอายุ 102 ปี ได้ใช้เฟซบุค (www.facebook.com) และ พ.ศ. 2552 อายุ 104 ปี ใช้ทวิตเทอร์ (http://twitter.com)

<<  

ผู้สูงวัยอบรมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

สำหรับในภาคบ่าย เป็นการทดลองใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อเปิดโลกการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย--การสืบค้นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงวัยทางเว็บไซต์ และการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail) วิทยากรโดย รศ. วัชราภรณ์  สุริยาภิวัฒน์  ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รศ.ดร. อนงค์นาฎ  ศรีวิหค  ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อจากนั้น ได้เปิดเวทีให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้อภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ โลกของคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในมุมมองผู้สูงวัย และการให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำนโยบายสาธารณะด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมี คุณศิริวรรณ เจนการ  ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไท ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ปิดท้ายด้วยการบรรยาย เรื่อง การใช้คอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธีเพื่อลดปัญหาโลกร้อนโดย นายทศพนธ์  นรทัศน์  ผู้ประสานงานชมรม ICT for All

            ผลของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ พบว่ามีผู้สูงวัยจำนวนมากต้องการที่จะเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เช่น การเข้าสืบค้นข้อมูลทางเว็บไซต์ การรับส่ง e-Mail แต่ส่วนใหญ่ขาดคนสอน หรือไม่มีเงินเพียงพอที่จะไปสมัครเรียนคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้สูงวัยโดยเฉพาะ แม้ว่าการสอนคอมพิวเตอร์แก่ผู้สูงวัยจะมีเนื้อหาที่ง่าย แต่ก็จำเป็นต้องใช้เทคนิคการสอนที่ช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป เริ่มต้นจากแนะนำให้รู้จักเครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีเปิด-ปิดเครื่อง ทำความรู้จักกับระบบปฏิบัติการของเครื่อง การเรียกดูเว็บไซต์ การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางเว็บไซต์ การรับ-ส่ง e-Mail การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์และแพ็คเกตเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่เหมาะสม ซึ่งจะใช้เวลาในการสอนประมาณ 1-2 วัน

          เหตุผลที่ผู้สูงวัยต้องการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตให้เป็นนั้น ก็มีหลากหลาย เช่น ต้องการรู้ว่าลูกหลานทำอะไรในคอมพิวเตอร์  ต้องการเปิดโลกทัศน์ เปิดโลกการเรียนรู้ ติดตามข้อมูลข่าวสารของบ้านเมือง ต้องการนำข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมาสนับสนุนการทำงานของตน  การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต  การมี e-Mail ไว้ติดต่อสื่อสารกับเพื่อนฝูงและลูกหลาน รวมถึงการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้ความบันเทิง (ดูหนัง ฟังเพลง)

          ถึงเวลาแล้วที่เราจะหันมาให้ความสำคัญกับการสอนคอมพิวเตอร์ให้กับผู้สูงวัย การเริ่มต้นที่ง่ายที่สุดก็คือ การเริ่มต้นจากที่บ้าน โดยลูกหลานนั่นแหละ ที่จะช่วยสอนคอมพิวเตอร์ให้ผู้สูงวัยในครอบครัว นอกจากจะช่วยให้ผู้สูงวัยใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นแล้ว ยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวอีกด้วย นอกจากนี้ องค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จะต้องจัดอบรมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตให้ผู้สูงวัยโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือคิดค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมากนักจากผู้สูงวัยที่เข้ารับการอบรม เพราะคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมีผลอย่างมากต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงวัยให้ดีขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์   

            ขอขอบคุณ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (www.mict.go.th) ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์เอกสารเพื่อมอบแก่ผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนา ได้แก่ หนังสือไอซีทีสานโลกกว้าง สร้างพลังมวลมนุษย์ (Connect the World Empowering People using ICT) คู่มือปฏิบัติและแนวทางการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  แผ่นพับแนะนำโครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT (www.equitable-society.com) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมที่สำคัญ เช่น ส่งเสริมการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ เป็นการปรับปรุงและพัฒนาตามข้อกำหนดเบื้องต้นของ World Wide Web Consortium (W3C) เพื่อให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์ ภาครัฐและเอกชน ได้ตระหนักถึงปัญหาในการเข้าถึงเว็บไซต์ของ ผู้ด้อยโอกาส ประเภทคนพิการทางสายตา ตาบอด สายตาเลือนลางและอื่นๆ พร้อมทั้งจัดอบรมให้รู้หลักการในการพัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นเว็บที่ทุกคน เข้าถึงเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้มีจำนวนเว็บไซต์ที่ผู้พิการ ดังกล่าว สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น รวมทั้ง กิจกรรมการฝึกอบรมความรู้ทางด้าน ICT ให้กับผู้ด้อย โอกาสในสังคม เช่น คนพิการ ผู้สูงอายุ เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า สตรี เป็นต้น ทำให้สามารถนำ ICT มาใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงองค์ความรู้ได้ทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง และสามารถนำไปต่อยอดความรู้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมถึง สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้  และขอขอบคุณสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ได้อนุเคราะห์หนังสือ 8 ทศวรรษแห่งการพัฒนา เพื่อมอบแก่ผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนา

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดการสัมมนา หรือ รวมเป็นส่วนหนึ่ง...ในการสร้างความเท่าเทียมกันในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | Reach The Unreached And Bridge The Digital Divideดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ictforall.org

------------------------------------------------------------------------------------------

ทศพนธ์ นรทัศน์ [email protected] , ผู้ประสานงานชมรม ICT for All

หมายเลขบันทึก: 268729เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2009 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดี ครับ

P HS4HNL

ผมชื่นชม บันทึกนี้ ครับ

มีสมาชิกที่นี่ หลาย ๆ ท่านเก่งในการใช้ เทคโนโลยี่ สมัยใหม่

การนำสิ่งนี้มาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันในคนสูงวัย

น่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่มีประโยชน์ เป็นอย่างยิ่ง

ขอบพระคุณ ครับ

 

โอ...วๆ ไม่คิดว่าจะมี AR ที่G2Kด้วย

น่ายินดีจริงๆนะครับ

QRU 73

ทำต่อไปเรื่อยๆอย่าหยุดนะคะ ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท