แนวทางสู่การเข้าถึงผู้สูงวัยที่ยังเข้าไม่ถึงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต


ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนทางวิชาการและแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์จากนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มผู้สูงวัยโดยตรง อันจะนำไปสู่การจัดทำนโยบายสาธารณะเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี สารสนเทศและความรู้ในกลุ่มผู้สูงวัย เพื่อยกระดับ Information Literacy และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยให้เพิ่มสูงขึ้น

ICT for All-Symposium on “Reach The Unreached And Bridge The Digital Divide for Elderly People October 24, 2009, at OPS Training Center, Open Serve (Thailand) Co.,Ltd. 11 (Between Shinawatra Tower2 and Phahonyothin Place building), 600 m. from ARI  BTS Station, Phaholyothin rd. Soi 8, Phayathai district, Bangkok Metro, Kingdom of Thailand, www.ictforall.org

การประชุมทางวิชาการ
เรื่อง “แนวทางสู่การเข้าถึงผู้สูงวัยที่ยังเข้าไม่ถึงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

ICT for All Symposium on “Reach The Unreached And Bridge

The Digital Divide for Elderly People

วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม 2552 เวลา 12.30 -17.30 น.

สถานที่ ณ ห้องบรรยาย 1 หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร

เลขที่ 979/42-46 อาคาร SM Tower ชั้น 19  ถนนพหลโยธิน  เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

................................ 

 

1. หลักการและเหตุผล 

โครงสร้างประชากรของประเทศไทย ได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุเช่นเดียวกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ประชากรผู้สูงอายุไทยเพิ่มในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ที่ผ่านมา ผู้สูงอายุไทยเพิ่มจากร้อยละ 5.0 ในปี พ.ศ.2493 เป็นร้อยละ 10.1 ในปี พ.ศ.2543 เป็นการเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า ในปี พ.ศ. 2552 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ระบุว่าประชากรไทย 63.4 ล้านคนเป็นประชากรสูงอายุประมาณ 7.2 ล้านคน หรือร้อยละ 11.3 ของประชากรทั้งประเทศ และประมาณการณ์ว่าในพ.ศ. 2558 จะมีสัดส่วนผู้สูงอายุร้อยละ 15.6 พ.ศ. 2568 มีร้อยละ 21.5 และ พ.ศ. 2576 มีร้อยละ 25

ในหลายประเทศที่ก้าวสู่ หรือกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ได้วางนโยบายสำคัญเพื่อดูแลผู้สูงอายุ รวมทั้งการส่งเสริมการให้บริการด้านการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อันมีส่วนลดโรคสมองเสื่อมและภาวะโรคซึมเศร้า ตัวอย่างมาตรการและโครงการสำหรับผู้สูงอายุในต่างประเทศที่น่าสนใจ ได้แก่ จัดการศึกษาพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ไปกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งเป็นการลดอาการซึมเศร้าและโรคที่เกี่ยวกับสมอง เช่น อัลไซเมอร์ เป็นต้น ในต่างประเทศจึงมีนโยบายและโครงการด้านการศึกษาแก่ผู้สูงอายุ อาทิ ประเทศเกาหลีใต้ กระทรวงสารสนเทศและการสื่อสารของเกาหลีใต้ (Ministry of Information and Communication: MIC) จัดโครงการการศึกษาไอซีทีเพื่อผู้สูงอายุ (ICT Education for the Elderly) โดยร่วมกับสถาบันส่งเสริมการใช้ไอซีทีของเกาหลี (Korea Agency for Digital Opportunity and Promotion: KADO) และขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน วิทยาลัย ศูนย์สวัสดิการสังคม และศูนย์สวัสดิการผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณ เพื่ออบรมทักษะ ICT แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นเวลา 20-30 ชั่วโมง (ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์,2551)

United Nations Development Program (UNDP) ได้กำหนดให้การเข้าถึงความรู้และการศึกษาของประชากร เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีชี้วัดการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยเฉพาะเว็บไซต์ได้ทำให้พรมแดนในการเข้าถึงความรู้และการศึกษาหายไป การส่งเสริมให้ประชากรเข้าถึงความรู้และการศึกษาจึงเป็นหนึ่งในความจำเป็นของภาครัฐที่จะต้องดำเนินการ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการ Information Literacy ที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) (2008, Towards Information Literacy Indicators: Conceptual Framework Paper) ได้นิยามว่าเป็นความสามารถของปัจเจกชนในการ (1) ตระหนักรู้ถึงความต้องการสารสนเทศของตนเอง (2) รู้ถึงวิธีการในการสืบค้นเพื่อหาข้อมูล/สารสนเทศที่ต้องการ รวมถึงต้องสามารถประเมินคุณภาพของสารสนเทศที่สามารถหามาได้ (3) รู้จักวิธีการจัดเก็บและเรียกข้อมูล/สารสนเทศมาใช้เมื่อต้องการ (4) สามารถใช้ข้อมูล/สารสนเทศอย่างมีประสิทธิผลและมีจริยธรรม (5) สามารถประยุกต์ใช้สารสนเทศเพื่อสร้างและสื่อสารความรู้

 สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้เห็นชอบแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ของประเทศไทย (พ.ศ.2552-2556) โดยกำหนดหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของแผนแม่บทดังกล่าว คือ การพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน ภายใต้มาตรการพัฒนาการเรียนรู้ ICT แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ สร้างความร่วมมือกับสภาผู้สูงอายุฯ ซึ่งมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ ในการจัดทำหลักสูตรและจัดอบรมความรู้ ด้าน ICT แก่ผู้สูงอายุที่สนใจโดยอาจใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัยและ/หรือสถาบันการศึกษาที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

แต่อย่างไรก็ตาม จากรายงานสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2551 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าประชากรกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป มีการใช้คอมพิวเตอร์เพียงร้อยละ 5 ส่วนที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพียงร้อยละ 3.4 จากประชากรทั้งหมด 60,345,271 คน โดยแยกเป็นกลุ่มอายุ 50-59 ปี (จำนวน 7,313,843 คน) มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 626,246 คน (คิดเป็นร้อยละ 8.6) มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 438,041 คน (คิดเป็นร้อยละ 6.0) ส่วนกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป (จำนวน 7,244,133 คน) มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 106,972 คน (คิดเป็นร้อยละ 1.5) มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 60,283 คน (คิดเป็นร้อยละ 0.8) แสดงให้เห็นว่ายังมีประชากรกลุ่มผู้สูงวัยจำนวนมากที่ควรได้รับโอกาสในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อเปิดโลกการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

ดังนั้น เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนทางวิชาการและแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์จากนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มผู้สูงวัยโดยตรง อันจะนำไปสู่การจัดทำนโยบายสาธารณะเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี สารสนเทศและความรู้ในกลุ่มผู้สูงวัย เพื่อยกระดับ Information Literacy และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยให้เพิ่มสูงขึ้น  ชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน (Information and Communication Technology for All Club) จึงได้จัดประชุมทางวิชาการเรื่อง “แนวทางสู่การเข้าถึงผู้สูงวัยที่ยังเข้าไม่ถึงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต | ICT for All Symposium on “Reach The Unreached And Bridge The Digital Divide for Elderly People” ขึ้น

2. วัตถุประสงค์ 

2.1  เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงเป็นแรงบันดาลใจในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย

2.2  เพื่อขับเคลื่อนทางวิชาการและแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์จากนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มผู้สูงวัย ในการลดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี สารสนเทศและความรู้ในกลุ่มผู้สูงวัย

2.3  เพื่อให้สังคมตระหนักถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยในสังคมให้เพิ่มสูงขึ้น

2.4  เพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนและองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะในการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี สารสนเทศและความรู้

3. เป้าหมาย

            3.1  มีผู้สูงวัย (อายุ 50 ปีขึ้นไป) และนักวิชาการ เข้าร่วมการสัมมนา ไม่น้อยกว่า 50 คน

          3.2  มีการสรุปความเห็นของการประชุมในรูปบทความทางวิชาการ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ หนังสือพิมพ์ ทางเว็บไซต์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

3.3 มีการสรุปความเห็นของการสัมมนาฯ เสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ในหน่วยงานต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย  

(1) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 

(2) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

(3) กระทรวงสาธารณะสุข

(4) กระทรวงศึกษาธิการ

(5) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

(6) คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา

(7) คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการ สภาผู้แทนราษฎร

(8) องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Ministers of Education Organization: SEAMEO)

(9) องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)

4.  รูปแบบการสัมมนา

4.1 การบรรยายทางวิชาการโดยนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ

(1) ศาสตราจารย์ ดร. ศรีศักดิ์  จามรมาน      นายกนายกสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  และผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาอินเทอร์เน็ตไทย” (Father of the Internet in Thailand)

(2) ผู้แทนจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

4.2 การนำเสนอบทความทางวิชาการ (Paper) ของนักวิชาการ

4.3 การอภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ “แนวทางสู่การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี สารสนเทศและความรู้ในประชากรผู้สูงวัย และการข้อเสนอแนะในการจัดทำนโยบายสาธารณะด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต การเรียนรู้ของผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ”

 5.  การดำเนินงาน

ลำดับที่

 

กิจกรรม

ระเวลาดำเนินการ (2552)

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

1

จัดทำโครงการ

 

 

 

 

2

เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนในการจัดประชุม

 

 

 

 

3

รับลงทะเบียนผู้สนใจเข้าร่วมประชุม

 

 

 

 

4

จัดประชุม (24 ตุลาคม 2552)

 

«

 

 

5

สรุปผลการประชุมจัดทำข่าว/บทความ เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

 

 

 

 

6

ติดตามและประเมินผลโครงการ

 

 

 

 

 6.  วัน เวลา และสถานที่

          วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม 2552 ระหว่างเวลา 12.30 -17.30 น. ณ ห้องบรรยาย 1 หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร  เลขที่ 979/42-46 อาคาร SM Tower ชั้น 19  ถนนพหลโยธิน  เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

 7.  จำนวนผู้เข้าร่วมการสัมมนา

7.1 ผู้สูงวัย (อายุ 50 ปีขึ้นไป)และนักวิชาการ และผู้ที่สนใจ   จำนวน   40      คน

7.2 วิทยากร/เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง                           จำนวน           10      คน  

8.  งบประมาณดำเนินการ

            งบประมาณจากค่าลงทะเบียนและผู้ให้การสนับสนุนโครงการ (Sponsors) จำนวน 8,000 บาท

ลำดับที่

รายการ

จำนวนเงิน (บาท)

หมายเหตุ

1

ค่าจัดทำเอกสารประกอบการสัมมนา (45 คน x 25 บาท)

1,125.00

 

3

ค่าจัดทำของที่ระลึกวิทยากร และผู้ให้การสนับสนุนโครงการ (3 องค์กร/คน x 200 บาท)

600.00

 

4

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อ (45 คน x 30 บาท)

1,350.00

 

5

ค่าบันทึกภาพนิ่ง

1,000.00

 

6

ค่าสถานที่จัดประชุม (ห้อง ขนาด 45 ที่นั่ง)

3,000.00

 

7

ค่าเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลห้องประชุม (เนื่องจากตรงกับวันหยุด)

300.00

 

8

ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด

625.00

 

 

รวมทั้งสิ้น

8,000.00

 

หมายเหตุ  สามารถถัวจ่ายระหว่างรายการได้

 

9.  การติดตามและประเมินผลโครงการ

            9.1 การใช้แบบสอบถามประเมินผลผู้เข้าร่วมประชุม

          9.2 การสังเกต

          9.3 ผลสะท้อนกลับจากการส่งความเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้จากการสัมมนา และบทความทางวิชาการไปเผยแพร่ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

10.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10.1 ได้ความเห็นและข้อเสนอแนะทางวิชาการเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัยที่ยังเข้าไม่ถึงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

10.2 เกิดความร่วมมือทางวิชาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนและองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อร่วมขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะในการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี สารสนเทศและความรู้ในประชากรผู้สูงอายุ

 11.  ผู้ประสานงานโครงการ 

นายทศพนธ์ นรทัศน์

ชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน

ตู้ ปณ. 2 ปณฝ.ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10401

โทร. 08-1261-0726    e-Mail: [email protected]       

Website : www.ictforall.org

 

   ***************************

(ร่าง) กำหนดการประชุมทางวิชาการ
เรื่อง “แนวทางสู่การเข้าถึงผู้สูงวัยที่ยังเข้าไม่ถึงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

ICT for All Symposium on “Reach The Unreached And Bridge

The Digital Divide for Elderly People

วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม 2552 เวลา 12.30 -17.30 น.

สถานที่ ณ ห้องบรรยาย 1 หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร

เลขที่ 979/42-46 อาคาร SM Tower ชั้น 19  ถนนพหลโยธิน  เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

เวลา 12.30 น.    ลงทะเบียนรับเอกสาร

เวลา 13.00 น.    กล่าวต้อนรับประธานพิธีเปิด /วิทยากร/ผู้เข้าประชุม และชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดงาน

โดย นายทศพนธ์  นรทัศน์  ผู้ประสานงานชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน (ICT for All Club)

เวลา 13.10 น.    กล่าวเปิดการประชุม โดย ศาสตราจารย์ ดร. ศรีศักดิ์  จามรมาน       ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาอินเทอร์เน็ตไทย” (Father of the Internet in Thailand)

และบรรยายพิเศษ เรื่อง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงเป็นแรงบันดาลใจในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย

เวลา 13.45 น.    มอบของที่ระลึกแก่ ศาสตราจารย์ ดร. ศรีศักดิ์  จามรมาน  และบันทึกภาพเป็นที่ระลึก

เวลา 13.50 น.    บรรยายพิเศษ เรื่อง “การพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมกันด้วย ICT สำหรับผู้สูงวัย

                       โดย ผู้แทน จากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (MICT)

เวลา 14.20 น.    - มอบของที่ระลึกแก่ผู้แทนจากกระทรวงไอซีที และบันทึกภาพเป็นที่ระลึก

                        - พักรับประทานอาหารว่าง

เวลา 14.35 น.    การนำเสนอ เรื่อง “สื่ออินเทอร์เน็ตกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย

                       โดย รองศาสตราจารย์จันทนา ทองประยูร  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เวลา 14.55 น.    การนำเสนอ เรื่อง “ช่องว่างทางดิจิตัลในการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้สูงอายุ

                       โดย ผศ. พ.ต.ท.หญิง ดร. ศิริวรรณ อนันต์โท สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เวลา 15.10 น.    การนำเสนอ เรื่อง “มารู้จัก 3G เทคโนโลยีเปลี่ยนชีวิต

                       โดย สุจิตร สุวภาพ รองผู้อำนวยการส่วนเครือข่ายความรู้  ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ลงทุน

                       ตลาดทรัพย์แห่งประเทศไทย

เวลา 15.25 น.    การนำเสนอ เรื่อง “Bridging the Digital Divide from a Buddhist Perspective with Implications for Public Policy

                       โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษณา กิติยาดิศัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เวลา 15.40 น.    การนำเสนอ เรื่อง “การเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงวัย

                       โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรนุช  สูงสว่าง  คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เวลา 15.55 น.    การนำเสนอ เรื่อง “การจัดการความรู้กับผู้สูงวัย

                       โดย ดร.จิรัชฌา  วิเชียรปัญญา  คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยรังสิต

เวลา 16.10 น.    การนำเสนอ เรื่อง “การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยด้วยคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

                       โดย ทศพนธ์ นรทัศน์  ผู้ประสานงาน ชมรม ICT for All

เวลา 16.25 น.    การอภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ “แนวทางสู่การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี สารสนเทศและความรู้ในประชากรผู้สูงวัย และการข้อเสนอแนะในการจัดทำนโยบายสาธารณะด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต การเรียนรู้ของผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ

วิทยากรโดย คุณศิริวรรณ เจนการ  ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์

เวลา 16.50 น.    - ประเมินผลการจัดสัมมนา

                       - มอบของที่ระลึกแก่ผู้นำเสนอและวิทยากร

                       - บันทึกภาพหมู่เป็นที่ระลึก

เวลา 17.00 น.    - ปิดการสัมมนา

                       - เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

 

_________________________________________

 

บทความที่น่าสนใจ (ซึ่งผู้นำเสนอไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้)

  • การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2550 (Use of Information and Communications Technology by Elderly Thais in 2007)  โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัจฉรา เอ๊นซ์   วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 หมายเหตุ: 1. วิทยากรอยู่ระหว่างติดต่อประสานงาน

                2. กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

 

 ****************************************

ชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน
(
ICT for All Club)
ขอเชิญผู้สูงวัย นักวิชาการและผู้ที่สนใจเข้าร่วมการประชุมทางวิชาการ
การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
และความรู้ในประชากรผู้สูงวัย

ICT for All Symposium on “แนวทางสู่การเข้าถึงผู้สูงวัย
ที่ยังเข้าไม่ถึงคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

Reach The Unreached And Bridge

The Digital Divide for Elderly People

วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม 2552 เวลา 12.30-17.30 น.

สถานที่ ณ ห้องบรรยาย 1 หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร

เลขที่ 979/42-46 อาคาร SM Tower ชั้น 19  ถนนพหลโยธิน  เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

แจ้งความประสงค์เข้าร่วมงานได้ที่ นายทศพนธ์  นรทัศน์
โทร. 0812610726 หรือ [email protected]

หรือตู้ ปณ.2 ปณฝ.ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10401
(ค่าลงทะเบียนชำระที่หน้างาน 50 บาท (สำหรับผู้สูงวัยอายุ 50 ปีขึ้นไป),  100 บาท (สำหรับนักวิชาการและผู้สนใจทั่วไป)

รับจำนวนจำกัดเพียง 40 ท่าน
(สงวนไว้สำหรับวิทยากรและผู้นำเสนอ 10
ท่าน)

รวมทั้งสิ้น 50 ท่าน

ดู (ร่าง) กำหนดการและแผนที่เดินทาง/ลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ http://www.ictforall.org

 

หมายเลขบันทึก: 303679เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2009 17:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2012 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท