PCU Corner : ผลควบคุมไข้เลือดออก ไม่สำคัญว่าเราจะมาอย่างไร แต่สำคัญว่าเรากำลังจะไปทางไหน


ความจริง บันทึกนี้ต้องการแสดง ผลจากการลงไปควบคุมไข้เลือดออก เมื่อ  2 เดืนก่อน ว่าได้ผลอย่างไรบ้าง  ลองอ่าน  Holistic Corner : ไข้เลือกอก บูรณาการ   ดูก่อนนะครับ   แต่มันมีเรื่องน่าสนใจในการทำงานพ่วงมาด้วย เลยเอามารวมกันเล่าเป็นเรื่องเดียวกันให้ฟัง

ก่อนบันทึกนี้ ผมไปโลตัส ทุกครั้งก็จะเข้า SE-ED วันนี้ได้หนังสือ The Intelligent Investor  ของ Benjamin graham ซึ่งเป็นความรู้ เรื่องการลงทุนที่ดีที่สุด และรออ่านมานาน  ข้าง ๆ มีหนังสือ เล่าเรื่อง ความสำเร็จ ของ โรเบิร์ต คิโยซากิ คนที่เขียนพ่อรวยสอนลูก  เวลาเดินดูหนังสือ   ผมมักจะอ่านสารบัญ ก่อนเสมอ มีหัวข้อที่รู้สึกชอบ ประมาณว่า

"  ไม่สำคัญว่าเราจะมาอย่างไร แต่สำคัญว่าเรากำลังจะไปทางไหน "


เวลาเล่า เรื่องว่าไปทำอะไรมา ที่ผมอยากฟังต่อก็คือ แล้วเป็นยังไงบ้าง ( ตามนิสัยอยากรู้อยากเห็น )  ดีก็เล่ามา ไม่ดี ไม่ได้ผล ก็เล่ามา มีประโยชน์ทั้งดีและไม่ดี  ไม่ได้ผล ก็น่าจะมาเล่าให้ฟังด้วย

เมื่อ 4 เดือนก่อน ที่ ตำบลห้วยขะยุง มีไข้เลือดออก เป็น case แรก แล้วก็มีต่อ ๆ มา ผมไปทำงาน ด้วยความไม่คุ้นเคยแล้วก็ยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรบ้าง  เพราะเคยแต่รักษา แต่คนไข้ เฉพาะตอนอยู่โรงพยาบาล   ( อันนี้เราต้องยอมรับความจริงนะครับ ว่าเราไม่ได้เก่งเลย  หลายเรื่องที่ต้องมาเรียนรู้กันใหม่ แต่เราสามารถเรียนรู้ได้ )    เจ้าหน้าที่ก็ มีเรื่องอื่น ๆ มาดึงความสนใจ  จนเนิ่นนาน  เกิด case ที่ 2 ..........12,13,14  จน อัตราเกิดโรค 240 ต่อ แสนประชากร ( ปรกติเขาอยากให้ < 50 ต่อแสน )

ผมมาฉุกใจคิดก็ ตอนที่ มี case ดช. เกรียงไกร ซึ่งน่าจะติดจาก คนข้างบ้าน ซึ่งเป็นมาก่อนหน้านี้ ประมาณ 3 สัปดาห์  แม่ของเกรียงไกรก็เป็นด้วย แสดงว่าเราไม่สามารถหยุดการ  แพร่ไข้เลือดออกได้เลย  เหตุการณ์อย่างนี้เกิดอีก 2 กลุ่มในเวลาใกล้เคียงกัน   หนึ่งในนั้นคือ สุรเจษฐ์    ( ซึ่งก็สมควรจะเป็นเช่นนั้น เพราะเราก็ไม่ได้ทำอะไร มากกว่าประชาสัมพันธ์ )  ในใจก็คิดว่า  case แรกเนี่ยก็ ไม่เป็นไร แต่ รายต่อ ๆ มานี่สิ ไม่น่าเกิดเล้ย

  ในวันต่อมา ก็เลยเกิด สงครามย่อยประจำตำบล ระหว่าง ผม+เจ้าหน้าที่ อสม อบต เทศบาล    กับ เจ้ายุงลาย+ไข้เลือดออก  ประจำหมู่บ้าน

เมื่อวาน ประชุมเจ้าหน้าที่ ศูนย์แพทย์ชุมชนห้วยขะยุง  เพื่อวางแผนจัดระบบบริการ ศูนย์แพทย์  ช่วงหนึ่งผมถามเจ้าหน้าที่ว่า เรารู้ไหมว่าเมื่อ2 เดือนก่อนที่เราไป ทำงาน ควบคุมไข้เลือดออก ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง  เจ้าหน้าที่ยิ้ม ๆ ( เพราะตอนนี้เขาให้สรุปผลงาน จังหวัดจะมานิเทศ เอกสาร หลายสิบหน้ายังไม่เสร็จ )   เห็นดังนั้น ( รูสึกออกจะลิเกเล็กน้อย )

ผมถามต่อว่า  วันที่เราไปลุยที่บ้าน สุรเจษ์ เกรียงไกร ตอนนั้นคิดอย่างไร เราไปทำไม   มีเสียงตอบหลายเสียง   " ไปสร้างความตระหนัก " , "ไปสอนกำจัดลูกน้ำ " , "ไปสำรวจ CI HI ." ,"ไปสอบสวนโรค สรุปรายงาน ส่งอำเภอ" , "ไปพ่นยา" .............

ผมบอกว่า วันที่ไปบ้านเกรียงไกร สุรเจษฐ์ ผม คิดอย่างเดียว " ไม่อยากให้เกิดอีก " ไม่สนใจว่าตัวเลขอะไร มากน้อยแค่ไหน จะเกิน 50 ต่อแสนยังไง CUP หรือ อำเภอจะทำไม่ทำ จะสั่งการหรือไม่สั่ง  แต่ " ไม่อยากให้เกิดอีก ไม่มีการติดต่อจากคนหนึ่ง ไปอีกคนหนึ่งอีก "   

 ถ้าเราคิดว่า ลด HI ถ้า HI ลดเราก็ว่าพอใจ ถ้า เราคิดสอบสวนโรค พอได้สอบสวนโรคตามรายการที่ให้ถาม ครบ เราก็พอใจ ถ้าเรากลัวถูกเจ้านายต่อว่า ถ้ามีวิธีทำให้ตัวเลขลดลงได้ เราก็พอใจกับตัวเลขที่ลดลง     เราคิดอย่างไร เราก็พอใจอย่างนั้น

 ถ้า HI ลด ถ้า เจ้านายไม่ต่อว่า ถ้าสอบสวนโรคครบทุกราย  แต่มีการติดต่อ จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ก็ไม่ควรพอใจ  ผมเลยเอากราฟให้ดูว่าเกิดอะไรบ้าง

รูปแรกเป็น จำนวนผู้ป่วย เทียบค่ามัธยฐาน 5 ปี  ปีนี้ ผู้ป่วยมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน ประมาณปลาย พฤษภาคม ผมก็รู้สึกไม่ดีแล้ว  ที่มี รายที่ 2 ,3,4,5,6 แล้วก็ น่าจะติดต่อจาก คนที่เป็นมาแล้วเสียด้วย

รูปที่ 2 ผมเอา การเกิดโรคมาปรับสัดส่วน ให้รูปกราฟ พอเทียบเคียงกัน     เพื่อดูแนวโน้ม เทียบกับภาพรวมอำเภอวาริน ฯ เดือนที่ 4 5 6 ตำบลห้วยขะยุงสูงอย่างมาก เป็นอันดับ 2 ของอำเภอ จนเป็นตัวฉุดให้อำเภอวาริน มีสถิติสูงขึ้น


  <p>เดือนกรกฎาคม จำนวนผู้ป่วยที่ห้วยขะยุงก็ลดลงอย่างมาก   case สุดท้ายประมาณ ต้นเดือน กรกฎาคม  จนถึงวันนี้ เดือน 8    สัปดาห์ที่ 5 แล้ว ยังไม่มีรายใหม่อีกเลย  ขณะที่ อำเภอดูจะลดลงแต่ยังมีรายใหม่เกิดขึ้น ผมกะว่าอีก 2 เดือน โรคก็คงซา ไป ตามวัฏฐจักรของมัน</p><p>บอกตรง ๆ นะครับ ผมไม่สามารถการันตีได้เลยว่า วันนี้จะไม่มี DHF อีก แต่พอจะบอกได้ว่า ไข้เลือดออกที่เกิดขึ้น ในงวดก่อน ตอนนี้น่าจะพอพ้นระยะ การแพร่เชื้อแล้ว พอจะคุมมันได้บ้างดีกว่า ไม่ตั้งใจคุม</p><p>ผมบอกเจ้าหน้าที่ว่า ขึ้นอยู่กับเรา คิดอะไรตอนออกไปทำ  คิดอย่างไรก็ได้อย่างนั้น  วิธีให้ได้ตัวเลขสักตัว มีหลายวิธี  มีครั้งหนึ่ง เมื่อปีก่อน ผมได้ยินกับหู เลยว่า ถ้าเจอ case มีไข้ สงสัยไข้เลือดออก แต่ดูดี ยังไม่ส่งโรงพยาบาล เพราะเดี๊ยว case ไข้เลือดออกขึ้น > 50 ต่อ แสน   ผมเห็นมีการมาแก้จำนวนผู้ป่วยที่วินิจฉัยแล้ว สงสัย ว่าน่าจะเป็น แต่ไม่ยืนยัน เพื่อลดจำนวน   เวลานิเทศน์จะได้ดูดี   มันเป็นวิธีง่ายที่สุด แต่แย่ที่สุด เพราะไม่มีใครได้ประโยชน์เลย จากตัวเลขนั้น ( ที่ดีที่สุดคือยอมรับความจริง )  แล้วคนเรามักจะเลือกที่ง่ายที่สุดเสียด้วย</p><p>ตอนแรกที่เราทำไม่ได้ดี มีการระบาดเกิดขึ้น ทั้ง ๆ ที่เราน่าจะเอาใจใส่  แต่กลับไม่ได้ทำ ก็ต้องยอมรับความจริง แก้ไข ตามที่ควรจะเป็น  ด้วยความรู้สึกที่ควรจะเป็น</p><p></p><table border="1"><tbody><tr><td><h4> "  ไม่สำคัญว่าเราจะมาอย่างไร แต่สำคัญว่าเรากำลังจะไปทางไหน "</h4></td></tr></tbody></table><hr><p>เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง</p><p>1. การควบคุมโรคที่มีความตั้งใจ เรียนรู้  และรู้ว่าเรากำลังจะไปทางไหน น่าจะมีผลที่ดีเกิดขึ้น ( ได้ผล )  เรื่องนี้จะไม่สามารถสรุปว่าการป้องกันการเกิดโรคได้ผลนะครับ แต่ถ้าเกิดแล้ว เราน่าจะสามารถ ควบคุมการติดต่อได้ในระดับหนึ่ง ถ้าเราตั้งใจจริง และจริงใจในงาน</p><p>2.   ไม่สำคัญว่าเราจะมาอย่างไร แต่สำคัญว่าเรากำลังจะไปทางไหน </p><p>- การตั้งโจทย์ กับเหตุการณืที่เกิดขึ้น เป็นตัวกำหนดการกระทำ ถ้าเรา มีโจทย์ว่าจะลด หรือเพิ่มตัวเลข  ให้ดูดี เราก็จะสรรหาวิธีทำให้ ตัวเลข เพิ่ม หรือ ลด  และมักจะหาวิธีที่ง่ายที่สุดอยู่บ่อย ๆ    คำตอบที่ได้ไม่มีคุณค่าไม่มีประโยชน์  สุดทางแล้ว แม้มันจะดูดีก็ตาม     แต่ถ้าโจทย์ของเรา อยู่ที่คุณค่า และความหมายของงาน  คำตอบที่ได้ถึงแม้ยังไม่ดี  แต่ก็น่าพอใจ และเดินหน้าให้ดีขึ้น ต่อได้ </p><p></p>

หมายเลขบันทึก: 118917เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2007 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

     ผมเห็นด้วยที่คุณหมอจิ้นพยายามกระตุ้นทีมงานให้เห็นจุดมุ่งหมายที่แท้จริง คือต้องควบคุม หรือหยุดการระบาดให้ได้

              แต่ที่ต้องชัดลงไปอีกคือต้องทำตรงไหนกันแน่  ฆ่ายุงที่บินได้  ฆ่าลูกน้ำ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ประชาสัมพันธ์  ประชุมประชาคมหมู่บ้าน เดินรณรงค์ ฯลฯ 

              หลายคนตอบว่าเราต้องทำไปทุกอย่างผสมผสานประกอบกันไป  แต่ก็ต้องตอบอีกว่า แล้วเรามีแรง มีคน มีงบประมาณ มีเวลาสำหรับการทำทุกกิจกรรมได้ขนาดไหน  ควรจะมีอะไรที่จะต้องเน้นไปเป็นพิเศษหรือไม่

             ผมขอแลกเปลี่ยนนะครับ  สำหรับพื้นที่ที่ผมทำอยู่  ผมจะชัดไปเลย

             1. ในเรื่องกำจัดลูกน้ำให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  ผมไม่แนะนำให้พ่นหมอกควัน เพราะไม่ใช่แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ และทำให้ค่านิยมการกำจัดลูกน้ำไม่เกิดขึ้น

             2. เน้นไปที่เจ้าของบ้าน เพราะเจ้าของบ้านเป็นผู้ดูแลบ้านเขาเอง และเขาเหล่านั้นต้องรับผิดชอบเองเมื่อเกิดโรคระบาด

              3. อสม.ต้องเป็นผู้ที่ช่วยปรับพฤติกรรม โดยเน้นบทบาทการตรวจสอบลูกน้ำและควบคุมการใช้ทรายเคมี  เพราะหากปล่อยให้ชาวบ้านนำไปใส่เอง จะสิ้นเปลืองและควบคุมปริมาณและขนาดการใช้ไม่ได้

              4. เมื่อเกิดโรคแล้ว รัศมีโดยรอบ 50 เมตร ต้องควบคุมเป็นพิเศษ และเน้นไปที่บ้านหลังที่มีเด็กในกลุ่มเสี่ยง 5 - 14 ปี เป็นการเฉพาะอีก

               5. วิธี Active case finding เป็นวิธีที่ผู้อำนวยการ รพ.มัญจาคีรีท่านแนะนำว่า  ไปดูเด็กหรือผู้ป่วยในเขตที่มีการระบาด หากมีอาการไข้ที่อาจจะเข้าได้กับ ไข้เลือดออก ก็ให้ขยายผลการควบคุมและดำเนินการไปได้เลย ไม่ต้องรอผลการตรวจรักษาและรายงานจากศูนย์ระบาด  วิธีนี้เป็นการเฝ้าระวังอย่างแท้จริงและควบคุมโรคได้เร็วขึ้น

                  ผมว่าต้องชัดเรื่องลูกน้ำครับ  ฆ่าลูกน้ำให้ได้มากที่สุด  ซึ่งไม่ใช่ทำแค่ครั้งเดียว  แต่ภายในอาทิตย์หนึ่งหลังจาก case แรก ต้องเคี่ยวกรำอยู่หลายรอบครับ บางทีเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องออกไปดูทุกวัน ครับ

สวัสดีครับ คุณ สุมิตรชัย 

เห็นด้วยทุกวิธีที่แนะนำมาครับ และคิดว่าถ้าทำจริง  ๆ ก็ น่าจะมีผลได้ดี ( ดีกว่าไม่พยายามทำ )

โดยเฉพาะ ข้อ 5

หมอจิ้นคะ ที่ ตำบลดอนทอง ของ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นเครือข่ายของเวชศาสตร์ครอบครัว ร.พ พุทธชินราช ใช้วิธีการประชาคมเรื่องโรคไข้เลือดออก โดยให้ชุมชนมาช่วยกันคิดหาวิธีการต่างๆด้วยชุมชนเอง และเราชาวสาธารณสุขเป็นผู้สนับสนุนและเติมในสิ่งที่ชุมชนยังขาดและต้องการความช่วยเหลือ...น่าจะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นค่ะ ให้ชุมชนช่วยเหลือกันเอง

เป็นสิ่งที่ต้องการเลยละครับ เพราะที่ผมเล่ามาทั้งหมดเป็น เฉพาะการควบคุม ช่วงที่เกิดแล้ว ( แบบวัวหายล้อมคอก )   ความยั่งยืนยังน้อย    ทำได้ง่ายกว่า  การป้องกันไม่ให้เกิดโดยชุมชนมาก   

 เป็นเรื่องที่ผมกับทีมงานยังต้องเรียนรู้ อีก  ว่าจะทำยังไงให้ได้เหมือน ต.ดอนทอง ครับ  ขอบคุณครับ

เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานสาธารณสุข

อยากทราบว่าการพ่นหมอกควันไม่ดียังไง และมีผลดีอย่างไร จะมีสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมหรือเปล่า ขอให้คุณหมอช่วยตอบหน่อยนะคะจะได้นำไปตอบคำถามจากชาวบ้าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท