วิกฤติ สถาบันอุดมศึกษา วิทยาลัย มหาวิทยาลัย


สถาบันอุดมศึกษา วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ประเทศไทย วิกฤต ครู อาจารย์

เมื่อตัวจริงลงสนามการศึกษา ในที่นี้ตัวจริงคือซีพี ผู้ประกอบการที่อยู่ธุรกิจไทยแถบทุกส่วน วันนี้ซีพี
สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PIT) ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ให้การเรียนรู้ควบคู่
ไปกับทักษะการฝึกงานภายในร้าน ขึ้นเมื่อปี 2548 และในปีถัดมาได้เปิดศูนย์การศึกษาปัญญาภิวัฒน์ขึ้นอีก 20 แห่ง
 ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด 

เมื่อซีพี ลงทุนทางด้านทรัพยากรบุคคลขนาดนี้ เหล่าสถาบันการศึกษาที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาคงจะร้อน ๆ หนาว ๆ
เพราะว่า ซีพีมีทั้งทุน มีทั้งทรัพยากร และเครือข่ายทางธุรกิจ เช่นเดียวกับสถานบันเทคโนโลยี ไทย ญี่ปุ่น เป็นที่รู้กันดีว่า
จัดตั้งขึ้นเพื่อผลิตทรัพยากรบุคคลสนับสนุน อุตสาหกรรมรถยนต์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีทั้งทุนและเครือข่ายทางธุรกิจเช่นเดียว
กับซีพี

การแข่งขันนี้ มีผลกระทบโดยตรงในระยะเวลา 5 ปีจากนี้ไป แน่นอน หากสถาบันอุดมศึกษา  วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ไม่ร่วมกับภาคธุรกิจ
เพื่อผลิตคนตามที่ภาคธุรกิจต้องการ ถ้าสถาบันอุดมศึกษา  วิทยาลัย มหาวิทยาลัย จะอยู่รอดต้องปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับภาค
ธุรกิจ เพื่อให้นักศึกษาเห็นทั้งภาควิชาการ และภาคปฏิบัติไปพร้อม ๆ กัน ๆ ไม่อย่างนั้น สถาบันอุดมศึกษา  วิทยาลัย มหาวิทยาลัย
แม้ว่าจะเปิดมานาน อาจจะต้องปิดตัวไป เนื่องจากผลิตทรัพยากรบุคคลไม่ตรงความต้องการของตลาด เพราะนักศึกษาในอนาคตจะ
พิจารณาว่าจะเรียนอะไร เรียนแล้วมีงานทำหรือไม่  มีบริษัทรองรับเลยรึเปล่า   ที่บอกอย่างนี้เพราะว่า แนวโน้มอัตราค่าของชีพจะสูงขึ้น
ไปเรื่อย ๆ การลงทุนทางด้านการศึกษาต้องพิจารณาด้วยเหตุด้วยผล ให้คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะการศึกษาคือ อนาคต ไม่ใช่ย่ำอยู่กับที่
แล้วได้ใบอะไรมาสักใบหนึ่ง (เป็นค่านิยมผิด ๆ ที่การศึกษาไทยต้องแก้ไขให้รู้จริง ปฏิบัติจริง ในการทำงาน)

โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โปรดเห็นแก่ประเทศชาติ อย่าเห็นแก่เงินรายได้นักศึกษาที่ได้จากยอดคนเข้าศึกษา แล้วละทิ้งคุณภาพ
ประเทศไทยจะไม่เหลืออะไร

อ้างอิง
http://www.tpa.or.th/tni/
http://www.bangkokbiznews.com/2008/02/23/WW71_7104_news.php?newsid=229847
http://www.pit.ac.th/

หมายเลขบันทึก: 166871เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2008 08:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 13:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ลุงเอกขอแจมด้วยเพราะเพิ่งไปเปิดเวทีประชาคมที่สงขลามาเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว  ตัวสร้างปัญหาตัวจริงเขาบอกว่าเป็นระบบการศึกษาไทยครับยิ่งแก้ยิ่งมัดคอทั้งๆที่แต่เดิมดีแล้ว  ระยะหลังลอกแต่ตำราฝรั่งเลยไปไม่รอด  ก็ฝรั่งเองที่เวลาเราเชิญมาพูดค่าตัวนับสิบล้าน  ก็ยังแก้ปัญหาตัวเอง  วิกฤตในอเมริกาไม่ได้  นับประสาอะไรประเทศไทยไกลกับตำราฝรั่งมากๆ

เห็นด้วยกับการสอนอย่าง  สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PIT) ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ให้การเรียามาเรียนในพื้นที่เลย  ลองไปดูซิครับนักสอนเก่งๆไม่เคยปฎิบัติเลย  ท่านคณบดีมหาวิทยาลัยดังแห่งหนึ่งเล่าให้ลุงเอกฟังว่า  ขึ้นเวทีพูดถึงการปลูกพื้ชเลี้ยงสัตว์  คิดว่าแน่เหราะเรียน ดร.มาทางจุลชีวะ  ถูกสบประมาทจากชาวบ้านว่าให้อาจารย์มาปลูกผักแข่งกับเขาใหม  ท่านยังยอมรับว่าจริงด้วยสู้เขาไม่ได้

เมื่อสามปีผ่านมาลุงเอกไปเขียนยุทธศาสตร์การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมแห่งชาติให้เขา  ได้เสนอให้โรงงานต่างๆเป็นโรงเรียนที่สถาบันส่งเข้ามาเรียนหนึ่งถึงสองปี  เพราะอาจารย์สอนเก่งๆยังไม่เคยปฏิบัติเลย  ผมจำเพื่อนผมจบปริญญาโทจากต่างประเทศสอน  แมคคานิคส์  การทำงานของเครื่องยนตร์  ขอโทษทีไอ้เพื่อนผมคนนี้ขับรถไม่เป็นแล้วมันรู้แต่ทฤษฏีจะไปสอนเขาอย่างไร

ซีพี ลงทุนทางด้านทรัพยากรบุคคล  เหล่าสถาบันการศึกษาอุดมศึกษาเขาก็มีทุนทรัพย์และทรัพยากรเยอะครับ  ขาดแต่เพียงปัญญาของตัวเองเท่านั้น  เพราะปัญญาที่ใช้ๆอยู่ทุกวันไม่ใช่ปัญญาจากการสร้างขึ้นมาเอง  แต่เป็นปัญญาตามตำรานอกครับ  ที่ต้องมาปรับและทดลองใช้ในภูมิสังคมไทยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท