Botany โบตานี มาจากคำอาหรับที่ว่าالبطار อัลไบฏอร์


Botany (หรือ Plant sciences, Plant Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววทยา (Biology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตของพืชโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร(Scientific Study) หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่า พฤกศาสตร์

การศึกษาเกี่ยวกับพืชและชีวิตพืชนี้มีมาตั้งแต่โบราณพร้อมๆกับการบังเกิดมนุษย์  อัลลอฮฺได้กล่าวแก่อาดัมครั้งที่ทรงสร้างอาดัมและคู่ชีวิตของอาดัมว่า

وَقُلْنَا يَا آدَمُ اسْكُنْ أَنتَ وَزَوْجُكَ الْجَنَّةَ وَكُلاَ مِنْهَا رَغَداً حَيْثُ شِئْتُمَا وَلاَ تَقْرَبَا هَـذِهِ الشَّجَرَةَ فَتَكُونَا مِنَ الْظَّالِمِينَ [البقرة : 35]

"และเรา(อัลลอฮฺ)ไก้กล่าวแก่อาดัมว่า "โอ้อาดัม เจ้าและภรรยาของเจ้าจงอยู่ในสวรรค์ และรับประทานในสิ่งที่เจ้าทั้งสองต้องการ และเจ้าทั้งสองจงอย่าเข้าใกล้ต้นไม้ต้นนี้ (เพราะ)จะทำให้เจ้าเป็นคนที่ทำร้ายตัวเอง" (อัลบุเกาะเราเฮฺ : 35)

ตามบันทึกของมนุษย์พอจะเป็นท่อ้างอิงได้ว่าได้มีการศึกษาเกี่ยวกับต้นไม้มาตั้งแต่โบราณแล้ว เช่น อินเดียโบราณ ในคัมภีร์ฤคเวทซึ่งแบ่งพืชออกเป็น ไม้ต้น ไม้ล้มลุกที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ และไม้เลื้อย เป็นต้น

จีนโบราณ บันทึกรายชื่อพืชและพืชที่นำมาปรุงยามีมาหลังสงครามระหว่างแคว้น (481-221 ก่อนคริสต์ศักราช) แพทย์จีนจำนวนมากตลอดศตวรรษได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับความรู้ทางด้านการปรุงยาสมุนไพร

กรีกโรมัน ผลงานทางด้านพฤกษศาสตร์ในแถบยุโรปมีมาราว 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทีโอฟราตัสมีงานเขียนสองเล่มที่สำคัญคือ On the History of Plants และ On the Causes of Plants หนังสือสองเล่มนี้ส่งผลให้เกิดการศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์มากขึ้น

ในสมัยกลาง อะบูหะนีฟะฮฺ อัลดีนาวาริ(828-896)(ابو حنيفة الدينوري) นักพฤกษศาสตร์ชาวเคอร์ดิช เป็นผู้ก่อตั้งพฤกษศาสตร์ในโลกอาหรับ ผลงานของเขาคือ หนังสือพืชศาสตร์(كتاب النبات) ท่านได้อธิบายถึงลักษณะพืชอย่างน้อย 637 ชนิดและได้อภิปรายเกี่ยวกับพัฒนาการของพืชตั้งแต่การงอกจนกระทั่งตาย จนเขาได้บฉายาว่าเป็ ชีคอุลามอฺทางพืช(شيخ علماء النبات) ท่านได้กล่าวถึงเรื่องราวทางพืชที่ท่านได้ศึกษามา มีทั้งที่เป็นสารและมีทั้งที่เป็นบทกลอน(شعر) แพร่หลายจนถึงศตวรรษที่ 3 ของปีฮิจเราะฮศักราช

ในต้นคริสศตวรรษที่ 13 นักชิววิทยาอาหรับอันดะลุส อะบูอับบาส อันนะบาตี(أبو العباس النباتي) เป็นผู้เริ่มแรกศึกษาทางพืชศาสตร์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และลูกศึษย์ของเขา อิบนุ อัลไบฏอร์(ابن البيطار) (1197-1248) ได้เขียนสารานุกรมพืชสมุนไพรมากกว่า 1400 ชนิด มีทั้งที่เป็นอาหารและยารักษาโรค หนังสือสารานุกรมนี้ถูกแปลเป็นภาษายุโรปซึ่งให้ประโยชน์แก่นักชิววิทยาและเภสัชกรยุโรปจนถึงศตวรรษที่ 19

Botany (พืชศาสตร์) เพี้ยนมาจากคำว่า Baytar (ไบฏอร์ بيطار)

รูปปั้นของ ibn Baytar
ที่เมืองมะละกา ประเทศสเปญ
(รูปจาก http://ar.wikipedia.org)

หมายเลขบันทึก: 335673เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010 19:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

มาเก็บเกี่ยวความรู้ครับ...ข้อมูลแบบนี้แหละครับที่เราคนเป็นครูต้องร่วมกันถ่ายทอดให้เด็กได้เข้าใจและรับรู้ครับ

ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนคุณความดีนี้ครับ

   ดูแลสุขภาพด้วยครับอาจารย์

ขอบคุณมากครับ อ.

P

ผมก็ว่ากัน แต่มันไม่ง่ายเลยกว่าจะได้มาแต่ละเรื่อง

อัสลามูอาลัยกุม คะ อาจารย์ ขอบคุณสำหรับความรู้คะ

วะอะลัยกุมุสสาลามครับ

P

ผมว่าถ้าเราชอบอ่าน ความรู้ลักษณะนี้ก็มีให้อ่านไม่น้อยเลย ถ้า คุณ ผุสดี มุหะหมัด เจออะไรก็นำเสนอแลกเปลี่ยนด้วยครับ

ผมก็รู้สึกว่าเป็นความใหม่เหมือนกันครับ อ.

P

ผมจึงตั้งชื่อหนังสือผมที่เขียนเกี่ยวเรื่องนี้ว่า "นักวิทยาศาสตร์ที่โลก(ทำเป็น)ลืม"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท