กำเนิดมนุษย์...(1)


ในสมัยที่วิทยาการทางตะวันตกอยู่ในยุคมืด แต่มุสลิมกลับมีความก้าวหน้าในเรื่องนี้โดยมีอัลกุรอานเป็นแหล่งความรู้ และความรู้เหล่านี้ได้แพร่ขยายเข้าไปยังตะวันตกเป็นพื้นฐานการเรียนรู้วิชาการด้านต่างๆของชาวตะวันตกในยุคปัจจุบัน

               การศึกษาเกี่ยวกับกำเนิดมนุษย์มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช อริสโตเติล (Aristotle B.E. 322-384)  นักปราชญ์กรีก ได้บันทึกการสังเกตพัฒนาการของตัวอ่อนในไก่และสัตว์อื่นๆด้วยตาเปล่า และนับได้ว่าท่านเป็นผู้วางรากฐานของวิชา Embryology  ก่อนที่วิทยาการสมัยใหม่ที่เริ่มเมื่อศตวรรษที่ 17 และปฏิเสธแนวคิดของท่าน ที่ว่าทารกมีการพัฒนามาจากการรวมของเลือดประจำเดือนกับนำอสุจิ

                ศาตราจารย์ Keith Moore หัวหน้าแผนกสรีรวิทยาและEmbryology มหาวิทยาลัยโทรอนโต ประเทศคานาแด ได้เขียนในหนังสือ “The Developing Human” ว่า ในช่วงทศศตวรรษก่อนหน้าหนี้ ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของทารกไม่ได้มีอะไรพัฒนาขึ้นเลย แต่ในช่วงศตวรรษที่ 7 อัลกุรอานซึ่งเป็นคัมภีร์ของมุสลิมได้บันทึกเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ ว่า มนุษย์ได้กำเนิดจากการปฏิสนธิกันระหว่างฝ่ายหญิงกับฝ่ายชาย และในคัมภีร์ได้กล่าวถึงพัฒนาการในขั้นต่างๆ เริ่มตั้งแต่ที่มีการปฏิสนธิจากหยดน้ำไปฝังตัวอยู่ในมดลูก แล้วเริ่มพัฒนาขั้นแรกเป็นก้อนเลือดที่ลักษณะเกาะแขวนอยู่(Leech)มีชีวิตจากเลือดอื่น จากนั้นก็จะพัฒนาเป็นก้อนเนื้อที่มีรูปร่างบงบอกอวัยวะบางอย่าง เช่น ฟัน  ซึ่งตรงกับขั้นตอนของการพัฒนาการของมนุษย์ในช่วงนั้นจริงๆ .. ถ้าท่านต้องการรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่อัลกุรอานได้กล่าวถึงพัฒนาการของมนุษย์ ผมได้เขียนในหนังสือของผม ฉบับปี ค.ศ. 1986...”[i]

อายุ 1 สัปดาห์มีลักษณะคล้ายปลิง(Leech)เกาะติดที่ผนังมดลูก

 

ทารกในครรภ์มารดา อายุ 4 สัปดาห์ความรู้เกี่ยวกับกำเนิดมนุษย์หรือพัฒนาการของมนุษย์นี้ นักสรีรวิทยาสมัยใหม่อย่างเช่น ศาสตราจารย์ Keith Moore ก็ยอมรับว่าแม้ในสมัยที่วิทยาการทางตะวันตกอยู่ในยุคมืด แต่มุสลิมกลับมีความก้าวหน้าในเรื่องนี้โดยมีอัลกุรอานเป็นแหล่งความรู้ และความรู้เหล่านี้ได้แพร่ขยายเข้าไปยังตะวันตกเป็นพื้นฐานการเรียนรู้วิชาการด้านต่างๆของชาวตะวันตกในยุคปัจจุบันอัลลอฮฺได้ตรัสในอัลกุรอาน ว่า

 فَلْيَنظُرِ الْإِنسَانُ مِمَّ خُلِقَ ، خُلِقَ مِن مَّاء دَافِقٍ ، يَخْرُجُ مِن بَيْنِ الصُّلْبِ وَالتَّرَائِبِ ،(سورة الطارق 5-7)

          ความว่า : ดังนั้นมนุษย์จงไตร่ตรองดูซิว่าเขาถูกบังเกิดมาจากอะไร ?   เขาถูกบังเกิดมาจากน้ำที่พุ่งออกมา มันออกมาระหว่างกระดูกสันหลังและกระดูกหน้าอก (อัลกุรอาน สูเราะห์อัฏ-ฏอริก 86/5-7)

                จากอายัตหรือโองการข้างต้น ทำให้เกิดความรู้ใหม่ซึ่งไม่ใช้ความรู้ที่ได้จากทดลองหรือพิสูจน์ตามหลักการวิทยาศาสตร์สมัยใหม่  เป็นความรู้ที่ได้จากผู้สร้างที่บอกเราผ่านศาสนทูต(รซูล)ของพระองค์ เป็นความจริง(Fact)ที่ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ แต่สามารถอธิบายตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้

                อายัตแรกเป็นการให้เราศึกษา ไตรตรองและตระหนักถึงความเป็นมาของมนุษย์ มนุษย์ถูกสร้างมาอย่างไรและสร้างมาจากสิ่งใด  

 มนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาจากดิน

                 มนุษย์คนแรกถูกสร้างมาจากดิน(طين) อัลลอฮฺได้ตรัสในสูเราะห์อัลมุมินูน อายัตที่ 12 ว่า

وَلَقَدْ خَلَقْنَا الْإِنسَانَ مِن سُلَالَةٍ مِّن طِينٍ

            ความว่า  : และขอสาบานว่า แน่นอนเราได้สร้างมนุษย์มาจากธาตุดินที่ถูกเลือก (อัลกุรอาน 23/12)ดิน(طين) คือส่วนผสมระหว่าง ทราย(تراب) กับ น้ำ(ماء)

          อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

                  وَمِنْ آيَاتِهِ أَنْ خَلَقَكُم مِّن تُرَابٍ ثُمَّ إِذَا أَنتُم بَشَرٌ تَنتَشِرُونَ

                 ความว่า : และหนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์คือ ทรงสร้างพวกเจ้าจากดินทราย แล้วพวกเจ้าเป็นมนุษย์แพร่กระจายออกไป (อัลกุรอาน สูเราะห์ อัร-รูม 30/20) 

               และ وَهُوَ الَّذِي خَلَقَ مِنَ الْمَاء بَشَراً فَجَعَلَهُ نَسَباً وَصِهْراً وَكَانَ رَبُّكَ قَدِيراًความว่า : และพระองค์คือผู้ทรงบังเกิดมนุษย์จากน้ำและทรงทำให้มีเชื้อสายและเครือญาติ  และพระเจ้าของเจ้านั้นเป็นผู้ทรงอานุภาพ (อัลกุรอาน สูเราะห์ อัล-ฟุรกอน  25/54)

             นอกจากน้ำคือส่วนผสมหนึ่งของดินแล้ว และน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะให้สิ่งมีชีวิตมีชีวิตขึ้นมาได้

             อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

وَجَعَلْنَا مِنَ الْمَاء كُلَّ شَيْءٍ حَيٍّ أَفَلَا يُؤْمِنُونَ

        ความว่า : และเราได้ทำให้ทุกสิ่งมีชีวิตมาจากน้ำ ดังนั้นพวกเขาจะยังไม่ศรัทธาอีกหรือ (อัลกุรอาน สูเราะห์ อัล-อันบิยาอ  21/30)

              อัลลอฮฺได้เปรียบเทียบคนที่ตายแล้ว และได้บังเกิดใหม่ในวันปรโลก เหมือนกับการงอกเงยของพืช

وَتَرَى الْأَرْضَ هَامِدَةً فَإِذَا أَنزَلْنَا عَلَيْهَا الْمَاء اهْتَزَّتْ وَرَبَتْ وَأَنبَتَتْ مِن كُلِّ زَوْجٍ بَهِيجٍ 

            ความว่า : และเจ้าจะเห็นแผ่นดินแห้งแล้ง ครั้นเมื่อเราได้หลั่งน้ำฝนลงมาบนมัน มันก็จะเคลื่อนไหวขยายตัวและพองตัวและงอกเงยออกมาเป็นพืช ทุกอย่างเป็นคู่ ๆ ดูสวยงาม (อัลกุรอาน สูเราะห์ อัล-หัจญ์  22/5)

 

ภาพแสดงองค์ประกอบของดิน จะประกอบด้วย หิน อากาศ น้ำ ดินเหนียว และสารอินทรีย์ 

                จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า ดินจะประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ มากกว่า 100 ชนิด และร่างกายของมนุษย์จะประกอบด้วยธาตุหลักๆ ประมาณ 23 ชนิด ซึ่งทุกธาตุที่มีพบในตัวมนุษย์ จะมีอยู่เป็นองค์ประกอบของดิน

                เช่นธาตุหลัก ได้แก่ ไฮโดรเจน(H)  ออกซิเจน(O
                สองธาตุนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของน้ำ(
H2O) ซึ่งน้ำจะมีอยู่ในตัวมนุษย์มากถึง 70
% 
                
คาร์บอน(
C)  ไนโตรเจน(N)
               ซึ่งธาตุทั้งสี่นี้จะพบในสารประกอบหลักที่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์
เช่น น้ำตาล(เช่น C6H12O6)  ไขมัน โปรตีน  วิตามิน

              เป็นต้นธาตุรอง ได้แก่ Cl , S , P , Mu , Ca , K

              ธาตุที่เป็นของแห้ง ได้แก่ I , Mg , Co , Zn , Mo

               ธาตุหายาก ได้แก่ F , Al , B , Se , Cd

               มนุษย์ที่หนัก 65 กิโลกรัม จะมีน้ำประมาณ 40 กิโลกรัม(61.6%) โปรตีน 11 กิโลกรัม(17.0%) ไขมัน 9 กิโลกรัม(13.8%) เกลือแร่ 4 กิโลกรม(6.1%) คาร์โบไฮเดรต 1 กิโลกรัม(1.5%)

 وَإِذْ قَالَ رَبُّكَ لِلْمَلاَئِكَةِ إِنِّي خَالِقٌ بَشَراً مِّن صَلْصَالٍ مِّنْ حَمَإٍ مَّسْنُونٍ فَإِذَا سَوَّيْتُهُ وَنَفَخْتُ فِيهِ مِن رُّوحِي فَقَعُواْ لَهُ سَاجِدِينَ

         ความว่า : และจงรำลึกเมื่อพระเจ้าของเจ้าตรัสแก่มะลาอิกะฮ์แก่แท้จริงข้าเป็นผู้สร้างมนุษย์จากดินแห้ง จากดินดำเป็นตม  ดังนั้น เมื่อข้าได้ทำให้เขามีรูปร่างสมส่วนและเป่าวิญญาณจากข้าเข้าไปในตัวเขา ฉะนั้นพวกเจ้า(มะลาอิกะฮและญิน)จงก้มลงสุญูด(กราบ)ต่อเขา(อาดัมที่สร้างจากดิน)(อัลกุรอาน สูเราะห์ อล-ฮิจร์ 15/28-29)

             มนุษย์ ประกอบด้วยธาตุต่างๆที่อยู่ในดิน และมีชีวิต จิต วิญญาณได้ โดยได้รับการเป่าวิญญาณจากอัลลอฮฺ  

           ร่างกายล่อเลี้ยงให้สมบูรณ์ได้โดยการรับธาตุต่างๆอย่างเพียงพอ 
           และล่อเลี้ยงจิตวิญญาณได้โดยเคร่งครัดในศาสนา  



[i] The Developing Human, Keith L. Moore, Fourth ed.,1988, Saunders Comp., Toronto, P: 7-11, 14.

 
หมายเลขบันทึก: 66173เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2006 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เป็นความรู้ที่น่าค้นหามากคะอาจารย์ เพราะสวนตัวก้เรียนมาด้านนี้แล้ว แต่หลักการอธิบายของวิทย์สากลไม่ค่อยจะลึกซึงเท่ากับการอธิบายด้วยหลักการของอัลกรุอ่าน....

ขอบคุณครับ

ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วๆไปสามารถหาได้จากหลายแห่งครับ แต่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์กับอิสลามหายาก

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท