เกลอ: เกริ่นนำ


ต้องการทราบว่าเกลอเขาเป็นกันได้อย่างไร มีวิธีการปฏิบัติอย่างไรเมื่อเป็นเกลอกันแล้ว และเกลอในอดีตกับเกลอในปัจจุบันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ทำไมในอดีตจึงยังคบค้าสมาคมกันอยู่ แต่เกลอในปัจจุบันเป็นเกลอกันแต่ไม่ค่อยได้เจอกัน

     "เกลอ" ในภาคใต้ความหมายอาจเปรียบได้ว่าเป็นเพื่อนรักกัน แบ่งปันกัน คอยช่วยเหลือกัน ไปมาหาสู่กัน และเป็นคนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันก็ว่าได้ และจากที่ได้ไปร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ “สรุปสังเคราะห์บทเรียนการพัฒนางานเครือข่ายเรียนรู้ ” จัดโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.) ที่กรุงเทพฯ ก้็ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพี่ที่อยู่ภาคอีสานว่า "เกลอ" ความหมายก็เหมือนกับ "เสี่ยว" นั่นเอง ซึ่งพอสรุปได้ว่าการที่คนสองคนมีความสัมพัธ์ที่ดีต่อกันอย่างจริงใจ คอยช่วยเหลือกัน ดูแลกัน ทั้งนี้ก็ต้องมีคนอื่นคอยรับรู้ความเป็นไปของทั้งสองด้วย

     อาจารย์อนุชาได้มอบหมายงานให้ทำ ซึ่งงานที่ได้รับมอบหมายนี้เป็นหน้าที่หลักอีกอย่างหนึ่งของของศูนย์ประสานงานเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น (ศวพถ.)  นั่นก็คืองานวิจัยหวังว่าจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานวิจัยของอาจารย์ และพัฒนาตัวเองให้เป็นผู้ช่วยวิจัยที่ดีได้ต่อไป

     งานที่อาจารย์มอบหมายให้ก็จะมีงานวิจัย 2 เรื่องที่จะให้ไปทำคือ เรื่องบทเรียนจากเกลอสู่ความเป็นเครือข่ายงานและภูมิปัญญาในการคบหาสมาคมกันของคนใต้ ไม่นาเชื่อเลยว่าเรื่องแบบนี้ก็สามารถเป็นงานวิจัยได้ ปกติแล้วจากที่เรียนมาส่วนใหญ่จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับงานวิจัยเชิงปริมาณ และนี่ก็เป็นโอกาสดีที่จะได้เรียนรู้การทำงานวิจัยเชิงคุณภาพ (ต้องขอขอบคุณอาจารย์มา ณ โอกาสนี้ด้วยนะคะ)

     จากงานที่อาจารย์มอบหมายในวันนี้ อาจารย์ให้น้องไก่ทำเรื่องบทเรียนจากเกลอสู่ความเป็นเครือข่าย ส่วนน้องเยาะได้รับมอบหมายให้ทำเรื่องภูมิปัญญาในการคบหาสมาคมกันของคนใต้ ทำให้รู้ว่าการที่จะทำวิจัยคุณภาพให้ได้ประสิทธิภาพอย่างแท้จริงนั้น ต้องมีคำถามที่ใช้ในการวิจัยและคำถามที่ใช้คือต้องการทราบว่าเกลอเขาเป็นกันได้อย่างไร มีวิธีการปฏิบัติอย่างไรเมื่อเป็นเกลอกันแล้ว และเกลอในอดีตกับเกลอในปัจจุบันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ทำไมในอดีตจึงยังคบค้าสมาคมกันอยู่ แต่เกลอในปัจจุบันเป็นเกลอกันแต่ไม่ค่อยได้เจอกัน ซึ่งเป็นคำถามที่น่าค้นหาคำตอบเป็นอย่างมาก อย่างน้อยก็ทำให้รู้ว่าความสัมพันธ์อันดีของคนในอดีตนั้นเริ่มต้นอย่างไรและดำเนินต่อไปอย่างไร เพื่อจะได้นำมาสะท้อนให้คนในปัจจุบันได้รับรู้เรื่องราวนั้น…ต่อไป

     เมื่อได้โจทย์ที่ค่อนข้างยากอย่างนี้แล้ว ก็ต้องพยายามศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับงานวิจัยให้มากขึ้นรีบ ๆ หาข้อมูลแล้วนำมาปรึกษาอาจารย์ หากว่าใครมีข้อมูลเกี่ยวกับ “เกลอ” ก็ขอความกรุณาช่วยให้ข้อมูลด้วยนะคะ จะขอบพระคุณเป็นอย่างมาก

หมายเลขบันทึก: 172358เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2008 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ตอนอยู่ใต้มีเกลอหลายคน
  • ทั้งที่สงขลาและพัทลุง
  • ที่พัทลุงนี้มีมากกว่าที่อื่น
  • เช่น กงหลา ตะโหนด  ทะเลน้อย ควนขนุนฯลฯ
  • แต่ตอนนี้มีสหายด้วย คนที่น้องไก่ทำงานด้วยก็เป็นเกลอกันครับ
  • มาให้กำลังใจดูว่า จะหาเกลอได้อีกไหม

     น้องไก่ครับ มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมนะ อาจารย์ขจิตข้างต้นนะ เป็นคนที่มาเรียนทางใต้ และมีเพื่อนมีเกลอทางนี้ ไว้หลายคน ยังไงแล้วขอสัมภาษณ์ผ่านทาง E-mail เลยสิครับ พี่เขาใจดีครับ
     อ.พี่ขจิตครับ ว่าแต่ "กงหลา" คือ "กงหรา", "ตะโหนด" คือ "ตะโหมด" เป็นอำเภอในจังหวัดพัทลุง ควนขนุนนั้นถูกแล้วครับ

  • ฮ่าๆๆ
  • จำพลาดครับ
  • ขอโทษที
  • แต่จำได้แต่ควน Jackfruit อิอิๆๆ
  • อีกคนที่จำได้คือน้องเด็ม  อิอิๆๆ
  • ไปดีกว่า
  • มาก่อกวน

สวัสดีค่ะ อ.ขจิต ขอบคุณมากนะคะที่ตามมาให้กำลังใจ ถ้าจะขอสัมภาษณ์ เกลอ ของ อ.จะได้ไหมคะ

สวัสดีค่ะ พี่กวินทรากร

อ่านแล้วก็แสดงความคิดเห็นได้นะคะ ตอนนี้กำลังฝึกเขียน อยากให้ช่วยแนะนำบ้าง

ขอบคุณอาจารย์อนุชามากนะคะที่กรุณาแนะนำ

หวัดดีค่ะ .....

แค่แวะผ่านมา..

แล้วก้อเลยอ่านดู...

..สู้  สู้ ...นะค่ะ

                   จากเด็กพัทลุงค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท