เด็กหัวใส...ฉลาดใช้ไอซีที ตอนที่ 1


สิ่งหนึ่งที่คนทำงานเว็บไซต์พบเจอบ่อยๆ คือเรื่องของการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การนำบทความมาโพสต์โดยไม่มีการอ้างอิงถึงเจ้าของเดิม

เล่าบรรยากาศงานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "เด็กหัวใส...ฉลาดใช้ไอซีที"

งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "เด็กหัวใส...ฉลาดใช้ไอซีที" หรือ ICT Youth Connect จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 7 ตุลาคม 2551 อันเกิดจากความร่วมมือของมูลนิธิสยามกัมมาจล สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันราชานุกูล และนิตยสารฟิ้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมแบ่งปันเรื่องราวดีๆ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เชิงประสบการณ์และความสำเร็จ ตลอดจนอุปสรรคที่หนักหน่วงในการทำงาน ทั้งนี้ก็เพื่อพัฒนาและสร้างเครือข่ายของผู้ที่ทำงานดีๆ เหล่านี้ให้กลายเป็น "ประชาคมคนทำงาน" ด้านสื่อเพื่อเด็กให้สามารถขยายวงได้กว้างมากขึ้น รวมถึงอาจได้ร่วมกันสร้างสรรค์งานดีๆ เพื่อสังคม เป็นการตอกย้ำนโยบายขยายสื่อดี ให้มีมากขึ้น


การเสวนาฯในครั้งนี้มีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน โดยแบ่งออกเป็น 5 ห้องคือ ห้องชุมชนคนทำเกม ห้องเว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้ ห้องพื้นที่เข้าถึงสื่อไอซีทีเชิงสร้างสรรค์ ห้องเด็กหัวใส...ฉลาดใช้ไอซีที ห้องเครือข่ายผู้ใหญ่...ใส่ใจไอซีที ซึ่งบรรยากาศการพูดคุยของแต่ละห้องได้แลกเปลี่ยนทั้งความคิดเห็น ประสบการณ์การทำงาน และความรู้อื่นๆ ที่ได้จากการลงมือทำกันอย่างสนุกสนาน จนมีเสียงเรียกร้องกันว่า ครั้งหน้าขอให้จัดเป็นแคมป์ 2 วัน 2 คืนกันไปเลยจะดีกว่า (จะได้ครบองค์ประชุม พ่อ แม่ ลูก)

บรรยากาศในห้องชุมชนคนทำเกม มีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเป็นกลุ่มผู้พัฒนาเกมและผู้นำเข้าเกม รวมถึงเด็กที่เริ่มทำเกมเอง หลังจากเล่นเกมที่คนอื่นทำมานาน อาทิ กลุ่มสวนหม่อน / กลุ่ม Dimension Plus Studio / กลุ่ม Thaitube ซึ่งเด็กๆ เหล่านี้มีแนวคิดในการสร้างเกมที่สร้างสรรค์สังคม โดยการเรียนรู้วิธีการพัฒนาเกมด้วยตนเองร่วมกับการศึกษาในมหาวิทยาลัย ที่สำคัญในกลุ่ม Dimension Plus Studio น้องๆ ที่ทำเกมล้วนศึกษาอยู่ในระดับมัธยม (สร้างสรรค์เกมชื่อ Confuse Way เป็นเกมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างงานภายใต้ชื่อกลุ่ม IGD)


ปัจจัยความสำเร็จของชุมชนคนทำเกมนี้อยู่ที่การมีความรู้ในเรื่องจิตวิทยา ความรู้เรื่องเกม เทคโนโลยี และเรื่องของการตลาด (Marketing Promote) และการบริหารจัดการที่ดี ที่สำคัญคือ ต้องทำงานเป็นทีม แบ่งงานตามความสามารถ และต้องนำเสนอสิ่งใหม่ๆ สิ่งที่น้องๆ รวมถึงพี่ๆ ที่ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันในห้องนี้เห็นว่าเป็นอุปสรรคในการทำเกมก็คือ เรื่องขององค์ความรู้ เครื่องมือ (Hardware / Software) และโอกาส ที่สำคัญคือเรื่องทัศนคติของคนทั่วไปที่มีต่อเกมที่มักมองในด้านลบ (โดยเฉพาะกลุ่มผู้ปกครอง หรือโรงเรียน) ทำให้ขาดการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาคนโยบาย


ส่วนบรรยากาศในห้องเว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้นั้น มีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนคิดเห็นประมาณ 16 คน จาก 8 โครงการ เช่น โครงการเว็บบล็อกสอนภาษาอังกฤษ ของ อ.ขจิต ฝอยทอง / โครงการศูนย์รวมสื่อกระทรวงศึกษาธิการ www.mediacenter.obec.go.th นำเสนอโดยคุณ อังสนา ม่วงปลอด สนง.เทคโนโลยีการเรียนการสอน (สพฐ)และคุณอัจฉรา / โครงการเยาวชนคนรักพระไตรปิฎก โดยคุณลิขิต และน้องขวัญ / โครงการทำงานแลกเปลี่ยน-แลกเปลี่ยนเรียนรู้ www.gotoknow.org นำเสนอโดย คุณสุนทรี แซ่ตัน และอีกหลากหลายโครงการล้วนแล้วแต่น่าสนใจไม่แพ้กัน


ปัจจัยความสำเร็จโดยรวมของห้องนี้คือ การทำงานด้วยใจรัก ด้วยแรงบันดาลใจ และผู้จัดทำโครงการมีความชัดเจนในสิ่งที่ทำ (มีจุดยืนที่แน่วแน่) ที่สำคัญคือการได้รับความสนับสนุนจากการมีทัศนคติที่ดี และใช้ต้นทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีทุนให้กับอุปกรณ์เครื่องมือ และมีงบประมาณ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและปรับให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ได้มากขึ้นตลอดเวลา

ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการสร้างสื่อไอซีทีอย่างสร้างสรรค์ก็คือ เรื่องวินัยของคนทำงาน เช่น การขาดวินัยในการทำงาน รวมถึงการหาทีมงานที่คิดเห็นในแนวทางเดียวกันและการหมั่นพัฒนาฝึกฝนทักษะของคนทำงาน (ซึ่งมักไม่ค่อยมีเวลาได้ไปอบรมเพิ่มเติมกัน) นอกจากนี้ยังมีเรื่องของทัศนคติของสังคมรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว โรงเรียนที่มักไม่ให้การสนับสนุนการใช้สื่อไอซีที เพราะมีทัศนคติด้านลบต่อสื่อประเภทนี้ และสิ่งหนึ่งที่คนทำงานเว็บไซต์พบเจอบ่อยๆ คือเรื่องของการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การนำบทความมาโพสต์โดยไม่มีการอ้างอิงถึงเจ้าของเดิม เป็นต้น


ส่วนบรรยากาศของอีก 3 ห้องที่เหลือ ผู้เขียนขอกลับมาเขียนเล่าให้ฟังถึงภาพรวมและบรรยากาศต่างๆ ภายในงานอีกครั้งนะคะ โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 217070เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2008 23:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ตั้งใจเข้ามาอ่าน นับว่าเป็นงานที่มีความร่วมมือจากเด็กรุ่นใหม่ ผสานกับผู้ทรงวุฒิ ขอบคุณที่นำมาแบ่งปัน คนรุ่นเก่าจะได้ปรับกระบวนคิด จะติดตามอ่านนะคะ

มาอ่านและลงชื่อไว้ครับ

กว่าจะหารูปเจอ เจอจนได้ครับ อิอิ

ขอบคุณค่ะ krutoi แนทมาเล่าตอนที่สองไว้แล้วนะคะ อย่าลืมไปติดตามกับอีกสามห้องที่เหลือกันค่ะ :)

สวัสดีค่ะคุณกวิน สบายดีนะคะ ^_^

น้องวรวิทย์กำลังติดตามรูปตัวเองอยู่ใช่ไหมคะ เดี๋ยวพี่จะลงให้หนำใจเลย 555 :P

  • มาแอบดูรุป
  • อ้าวมีรูปจับเก้าอี้ด้วย
  • ฮ่าๆๆๆๆๆ
  • ขอบคุณอาจารย์แนทมากครับ

รูปจับเก้าอี้นี่อ.ขจิตหมายมั่นมากเลย ช็อตนี้ไม่ควรพลาดค่ะ ^_^

(หาคนมาปีนเก้าอี้เขียนตั้งนาน 555 ในที่สุดก็ได้คุณแอนแห่งไบโอสโคปเป็นผู้กล้า(ตก)เก้าอี้แห่งปี)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท