ผู้หญิงอินเดีย:มุมมองในปัจจุบัน .


ผู้หญิงอินเดีย:มุมมองในปัจจุบัน .



 

“ผู้หญิง” คือ “เพศแม่” เป็นผู้ให้กำเนิดชีวิตบนโลกมนุษย์ หากไม่มีแม่ผู้ให้กำเนิดโลกคงไม่มี ดังนั้นทรรศนะของฮินดู จึงถือว่าเพศหญิง คือ ศักติ ผู้มีอำนาจเหนือเพศชาย คือศิวะ, พระเจ้า ตรงกับแนวความคิดเรื่องปุรุษ และปรากฤต ทั้งสองความเห็นให้ความสำคัญกับศักติหรือปรากฤต ว่ามีอำนาจกระตุ้นให้พระเจ้ามีพลังสร้างขึ้นมาได้

เรื่องสิทธิสตรี เป็นเรื่องที่กล่าวขานกันทุกประเทศ ทุกมุมโลก บทความนี้กล่าวเฉพาะผู้หญิงอินเดีย ก็เพื่อศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้านไทยเรา โดยศึกษาบางประเด็น เท่าที่โอกาสจะเอื้ออำนวย

หนังสือCulture Shock! India คือที่มาของบทความนี้ มีเนื้อหาที่พูดถึงผู้หญิงในอินเดียค่อนข้างจะตรง เพราะมองจากเหตุการณ์ วิกฤติการณ์ของระบบ Dowry ในปัจจุบัน แม้ระบบ Purdahนั้นก็เป็นเรื่องเฉพาะของศาสนาอิสลาม เป็นประเพณีดั้งเดิม นิยมปฏิบัติกันมากโดยเฉพาะในเมืองราชสถาน (Rajasthan)ส่วนSatiนั้นก็เป็นเรื่องสำคัญของศาสนาฮินดูเพราะปฏิบัติตามคำสอนในพระเวทที่ว่า

“หญิงที่ปฏิบัติสามีจนตัวตายนั้นจะช่วยชำระบาปของญาติทั้ง ๓ฝ่าย คือของบิดา ของมารดา และครอบครัวสามีตนเอง” ประมาณปี พ.ศ.๒๓๔๓(ค.ศ.๑๘๐๐) ได้มีการต่อต้านรุนแรงต่อประเพณีนี้ โดยกลุ่มนักสอนศาสนา(Missionary)และประชาชนทั่วไปไม่เห็นด้วย จนเป็นเหตุให้รัฐบาลในสมัยนั้นต้องตรากฎหมายขึ้นเรียกว่า “Sati Regulation Act of1829” (พ.ศ. ๒๓๗๒)อนึ่งเพราะการถือปฏิบัติผิดหลักประเพณีของระบบ Dowry ดั้งเดิม จึงเกิดกฎหมายเพื่อปกป้องฝ่ายหญิง เรียกว่า“Dowry Prohibition Act 1961”(พ.ศ. ๒๐๔๐)ขึ้นมา

สภาพที่เป็นจริงในปัจจุบัน

ถ้าใครคิดที่จะมองภาพตัวอย่างที่ชัดเจนของความเป็นหญิงชาวอินเดีย ละก็คงหาภาพที่สวยงามพร้อมปรากฏรอยยิ้มอันอ่อนหวาน เหมือนแผ่นโฆษณาท่องเที่ยวนั้นคงมิได้แน่ เพราะคงเห็นแต่ภาพของหญิงเหล็กที่ทูนวัสดุที่มีน้ำหนัก เช่น ก้อนอิฐ, หม้อน้ำ, ฟืน หรือไม่ก็หญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ ไว้บนศีรษะกำลังเดินหลังแข็งทื่อไป






ทั้งนี้เพราะว่า หญิงยากจนต้องทำงานหนักด้วยความจำเป็นอย่างสุดๆ โดยเฉลี่ยต้องทำงานหนักมากกว่าหญิงวัยทำงานวัยเดียวกัน เมื่อเทียบกับหญิงในประเทศอื่น อาชีพที่หญิงต้องลงไปทุบหินในบ่อ ขุดแร่ ทำการจักสาน ปั้นหม้อดิน หว่านข้าวกล้า พรวนดินและเก็บเกี่ยวพืชผลในไร่ เป็นงานที่เพิ่มจากงานในบ้านตามปกติ คือ ไปตักน้ำ เก็บฟืนและหญ้าเพื่อเลี้ยงสัตว์ ทำกับข้าว ทำความสะอาดบ้าน และเลี้ยงลูก

ตามเขตเมืองต่างๆ เราจะเห็นผู้หญิงวรรณะต่ำ ทำงานก่อสร้าง ใช้ศีรษะทูนอิฐ พร้อมอุ้มลูกไว้ที่สะเอวข้างหนึ่ง เดินไต่ขึ้นลงบันไดที่ล่อแหลมต่ออันตรายอย่างยิ่ง ผู้หญิงต้องทำงานที่ไม่ถนัด เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่มีค่าจ้าเพียงเล็กน้อย ทั้งๆที่บางครั้งมีครรภ์ หรือแม้แต่ต้องเลี้ยงลูกไปพลางทำงานไปพลางก็ตาม จะพบเห็นผู้หญิงเหล่านี้ตามที่สาธารณะได้ยาก เพราะผู้หญิงมิได้ถูกจัดไว้ในกลุ่มที่ทัดเทียมระดับเดียวกันเลย ดังนั้นจึงมีความแตกต่างมากมาย หลายระดับตามชั้น วรรณะ และฐานความคิดความเชื่อของแต่ละรัฐ 

ในสังคมยุคใหม่ ตามเขตเมือง เช่น เมืองเดลี มีเจ้าสาวถูกเผาโดยปราศจากเหตุผลที่จะรักษาประเพณีดั่งเดิม เพื่อทีวีหรือตู้เย็นตัวใหม่เท่านั้น อัตราเฉลี่ยมากกว่าหนึ่งรายต่อวัน ตามภาคเหนือของอินเดีย ซึ่งในอดีตตกเป็นของชนชั้นปกครองมุสลิม ปัจจุบันยังมีการถือระบบศักดินา และเชื้อพระวงศ์อยู่ ส่วนทางภาคใต้จะรักษาระบบความเสมอภาคมากกว่า ในสังคมของชนเผ่าต่างๆ บางเผ่า จะปรากฏเรื่องอิทธิพลของการแบ่งเพศ แบ่งวรรณะ รุนแรงมากกว่าภาคตะวันตกของอินเดีย เช่นที่เมืองราชสถาน เมื่อไม่นานมีผู้หญิงท่านหนึ่งถูกเผาบนกองเพลิงที่กำลังลุกไหม้ ในพิธีเผาศพสามีของเธอ คาดว่าเป็นไปตามความเชื่ออย่างเคร่งครัดของประเพณีโบราณ

ผู้หญิงวรรณะต่ำ อาจจะมีอำนาจในการตัดสินเพิ่มมากขึ้นก็ได้ หากว่าเธอได้สมาคมกับผู้หญิงในวรรณะสูง เพราะว่าสถานภาพทางสังคม ทางครอบครัวนั้น มักจะถือเอาตามเหตุการณ์ที่พวกตนจะรักษาผลประโยชน์ด้านแรงงาน หรือการไม่ต้องทำงาน หรือแม้แต่การกักกันไว้เพื่อใช้งานเป็นต้น

การสูญเสียอิสรภาพอีกอย่างก็คือ ผู้หญิงต้องทนลำบากเพื่อแลกกับความสุขสบาย แม้ผู้หญิงวรรณะสูงก็ตาม ต้องทุกข์ทรมานเพราะข้อปฏิบัติทางประเพณีที่กดดันสตรีเพศ เช่น ประเพณี Purdah และSati หรือแม้แต่การแต่งงานตั้งแต่เป็นเด็ก การไม่ยอมรับความเป็นหญิงหม้ายในสังคม

การฆ่าทารกเพศหญิง และการทำแท้งในกรณีที่ตั้งครรภ์เพราะขาดความรู้ในการมีเพศสัมพันธ์ ก็เป็นแรงกดดันผู้หญิงในอินเดีย ให้มีแต่ทารกเพศชายเท่านั้น เพราะว่าลูกชายเท่านั้นที่จะสืบทอดมรดก หรือประกอบพิธีเผาศพบิดามารดาได้ เพราะมีความเชื่อว่า เขาจะช่วยให้วิญญาณมีความปลอดภัย เดินทางไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ อีกอย่าง ลุกชายเท่านั้นที่จะนำค่าDowry มาได้ เพราะครอบครัวฝ่ายหญิงต้องจ่ายให้เท่าราคาที่อาจจะทำให้ครอบครัวฝ่ายหญิงล่มจมก็ได้ แม้ในสังคมของชนเผ่าต่างๆบางเผ่า จะถือประเพณีที่ฝ่ายชายต้องจ่ายค่าสินสอดให้ฝ่ายหญิงก็ตาม แต่ก็ยังมีปะเพณีเก็บค่าDowry อยู่เหมือนเดิม แต่ภาคใต้ของอินเดีย ผู้หญิงและผู้ชายค่อนข้างมีเสรีภาพในการพบปะสังสรรค์มากกว่าทางภาคเหนือ ในเขตเมืองใหญ่ๆ เช่นเดลี บอมเบย์(มุมไบ) กัลกัตต้า(โกลกาต้า) มาทราส(เซียนไน) เป็นต้น ผู้หญิงมีการศึกษาแล้ว นักแสดง นักกฎหมาย เป็นต้น จะมีเสรีภาพมากขึ้น ไม่ต้องตรากตรำทำงานหนัก ไม่ต้องใช้ผ้าคลุมหน้าตัวเองอีกต่อไป

ผู้หญิงในอินเดีย สามารถทำงานในตำแหน่งสำคัญๆได้ แต่ต้องมีเงื่อนไขว่า เธอ ต้องมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญมาก่อน เช่น นางอินธิรา คานธี ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของอินเดีย เพราะเธอเป็นลูกสาวของท่านอดีตนายกรัฐมนตรี ศรีเยาวหราล เนหรู, นางมเนกา คานธี ได้เป็นรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม เพราะว่าเธอเป็นภรรยาหม้ายของนายสัญชัย คานธี บุตรของนางอินธิรา คานธี ดังนั้นในปัจจุบันหากผู้หญิงไม่มีบุคคลสำคัญหนุนหลังอยู่ ก็อาจถูกทอดทิ้งไป

ในยุคพระเวท ผู้หญิงมีบทบาททัดเทียมผู้ชาย คือสามารถเป็นนักบวชได้ และถ้าเป็นหม้ายก็จะสามารถกลับแต่งงานใหม่ได้ แต่ปัจจุบันความสำคัญได้ลดลงไป จนเหลือแต่เพียงว่า เธอต้องนั่งใกล้สามีในเวลาทำพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น

ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู ผู้หญิงเป็นทั้งผู้ควรแก่การบูชา และเป็นอันตรายต่อพิธีการบูชา ข้อห้ามสำหรับผู้หญิงมีประจำเดือน(ระดู)ในสมัยก่อน ก็คือ เธอจะถูกให้ออกไปอยู่นอกบ้านประมาณ ๓ วัน แต่ปัจจุบันในครอบครัวที่เคร่งศาสนามากๆ จะห้ามผู้หญิงมีระดูเข้าครัว ห้ามจับต้องเกลือ ห้ามไปวัด ห้ามเข้าร่วมในพิธีกรรมทางศาสนาด้วย ตามความเชื่อเรื่องเทพเจ้าและสิ่งลึกลับ ถือว่าพระเจ้าต้องเพศชาย และไร้อำนาจ หากแต่ได้อาศัยอิทธิพลของศักติ ต้องอาศัยเพศหญิงจึงจะมีพลังสร้างที่สมบูรณ์

ความเห็นเพิ่มเติม เกี่ยวกับระบบ Dowry, PurdahและSati

จากข้อความที่กล่าวข้างต้น มีนัยว่าสังคมอินเดียไม่น่าอยู่เสียเลย ดังนั้นเพื่อให้เกิดมุมมองที่เป็นธรรมกับครอบครัวชาวฮินดูอื่นๆ ที่รักษาประเพณีถูกต้อง ทำให้สังคมอินเดียน่าอยู่ จึงต้องขยายความในตอนนี้

คำว่าDowry ไม่ได้หมายถึง สินสอด หรือ สินสมรส เพราะความหมายเดิมเกิดจากตระกูลราชบุตร ที่เป็นนักรบ ในเมืองราชสถาน(Rajasthan) เมื่อรบชนะข้าศึก ก็จะได้เครื่องบรรณาการต่างๆ พร้อมทั้งได้หญิงสาวจากเมืองขึ้นมาครอบครอง ปัจจุบันแต่ละครอบครัวต้องแบ่งสมบัติให้ลูกๆ โดยเฉพาะลูกสาวที่จะต้องไปอยู่บ้านฝ่ายชายหลังจากแต่งงานแล้ว สมบัติก้อนนี้ถือเป็นหน้าเป็นตาของครอบครัวฝ่ายหญิง เพื่อที่ลูกสาวตนจะได้ไม่เป็นภาระของครอบครัวฝ่ายชายมากเกินไป ที่สำคัญคล้ายจะบอกว่า ลูกสาวตนมิได้มาอาศัยฝ่ายชายถ่ายเดียวนะ จากความหมายที่ดีนี้ Dowry คือสมบัติฝ่ายหญิงที่ได้มาจากครอบครัวของตนเพื่อจะไปมีครอบครัว มิได้หมายถึง “ค่าตัวเพื่อซื้อฝ่ายชาย” แต่อย่างใดเลย

อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ครอบครัวอินเดีย บางครอบครัวของฝ่ายชาย ได้เรียกร้องค่าDowry มากมายตามที่ตนอยากจะได้ บ่อยครั้งที่ทำให้ครอบครัวฝ่ายหญิงต้องล่มจมเป็นหนี้ก็มี(บางครั้งเมื่อทำการสู่ขอ ตกลงเรื่องDowryไว้แล้ว แต่เมื่อถึงวันแต่งงานฝ่ายชายเรียกร้องเพิ่มอีกก็มี ซึ่งฝ่ายหญิงก็ต้องจำยอม)

คำDowryนี้ สอ เสถบุตร แปลว่า “สินเดิมของฝ่ายหญิงที่นำติดตัวมาเพื่อสมรส” นี่คือความหมายที่แท้และดั้งเดิม แต่หลายท่านแปลว่า “ค่าสินสอด” นี่ผิดทั้งในความหมายประเพณีดั้งเดิม และการนำคำว่า “สินสอด” มาใช้ผิดความหมาย เพราะคำนี้ หมายความว่า ฝายชายต้องมอบให้ฝ่ายหญิง

ระบบPurdah

Purdah หมายถึง ผ้าม่าน คือผ้าที่ต้องใช้คลุมหน้า และความหมายหนึ่งคือการปิดกั้นสิทธิของผู้หญิงในสังคมเดิมที่เป็นประเพณีของผู้หญิงชาวมุสลิมในเมืองราชสถาน(Rajasthan)มาจนถึงทุกวันนี้ การคลุมหน้าด้วยผ้าม่านนั้นปฎิบัติกันทั่วไปไม่ว่าจะเป็นชาวมุสลิมในรัฐใดก็ตาม สามารถพบเห็นภาพเช่นนี้อยู่เสมอ ตามร้านค้า บนรถที่วิ่งไปตามท้องถนน นั่นคือผู้หญิงมุสลิมจะแต่งกายด้วยผ้าสีดำเข้มและคลุมศีรษะทั้งหมดจนไม่สามารถเห็นใบหน้าและรอยยิ้มเลย ประเพณีผู้หญิงฮินดูไม่นิยมปฏิบัติ

ผู้หญิงฮินดูนิยมใส่แต่สาหรีและชุด Salwar ไม่ได้คลุมหน้า ชุดนี้จะมีผ้าชิ้นยาวเรียกว่าDupatta เหมือนสะใบสำหรับพาดบนไหล่ ให้ปลายทั้งสองห้อยลงมาด้านหลัง ให้ช่วงกลางปกปิดตรงคอและหน้าอกพอดี สำหรับผ้าสาหรีนั้น ผู้นุ่งต้องจำด้านบนสุดและด้านล่างไว้ให้ดี เพราะด้านบนต้องให้อยู่ช่วงลำตัวขึ้นไปถึงศีรษะ ส่วนด้านล่างที่เรียกว่า Phalใช้นุ่งอย่านุ่งสับล่างสับบน

ระบบSati

Satiหมายถึงผู้หญิงที่มีความเชื่อมั่นต่อประเพณี คือผู้หญิงในวรรณะสูงต้องทำอัตวินิบาตกรรม ในพิธีเผาศพของสามีตัวเอง เพื่อที่จะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาประเพณีอย่างเคร่งครัด ผู้หญิงวรรณะสูงต้องแต่งงานเมื่ออายุยังเยาว์ และน้อยคนที่จะได้กลับมาแต่งงานใหม่ หากเธอเป็นหม้าย

ระบบSatiเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๑(ค.ศ.๑๙๘๘)หรือราว๑๒ปีที่ผ่านมา ที่เมืองราชสถาน มีผู้หญิงชื่อRoop Kanwas ถูกเผาเพื่อรักษาระบบนี้ อนึ่งในราว พ.ศ.๒๑๕๘-๒๑๖๑(ค.ศ.๑๘๑๕-๑๘๑๘) เป็นสมัยที่ผู้หญิงปฎิบัติตามประเพณีSati กันมาก ในหลายๆเมือง โดยเฉพาะในเมืองโกลกาต้า(Kolkata)นิยมมากที่สุด แต่ทุกวันนี้ไม่มีใครปฏิบัติตามพิธีนี้อีก


 


***********************************************************************

 

หมายเลขบันทึก: 233435เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2009 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

Sati Stigma Within the Indian culture, the highest ideal for a woman are virtue, purity, and allegiance to her husband. From this tradition stems the custom in which a wife immolates herself on the funeral pyre of her deceased husband as proof of her loyalty. This custom in which a woman burns herself either on the funeral pyre of her deceased husband or by herself with a momento after his death is now referred to as sati or, in England, as suttee. In the original meaning, "Sati" was defined as a woman who was "true to her ideals". A pious and virtuous woman would receive the title of "Sati." Sati was derived from the ancient Indic language term, sat, which means truth. Sati has come to signify both the act of immolation of a widow and the victim herself, rather than its original meaning of "a virtuous woman". The term"sati" is associated with the Hindu goddess Sati.

In the Hindu mythology, Sati who was the wife of Lord Shiva, consumed herself in a holy pyre. She did this in response to her father's refusal to invite Shiva to the assembly of the Gods. She was so mortified that she invoked a yogic fire and was reduced to ashes. Self-sacrifice, like that of the original Sati, became a "divine example of wifely devotion". The act of Sati propagated the belief that if a widow gives up her life for her husband, she will be honored. Socially, the act of sati played a major role in determining the true nature of a woman. Self-sacrifice is considered the best measure of judging the woman's virtue as well as her loyalty to her husband. The following applies to the ideal wife: "if her husband is happy, she should be happy; if he is sad, she should be sad, and if he is dead, she should also die. Such a wife is called a Patrivrata". The upbringing of many Indian girls emphasized the concept of Patrivrata as the only way for a woman to merit heaven. This concept of meriting heaven through self-sacrifice became embedded within the minds of many as the only assurance for a female to gain salvation. A female's life must be lived in full devotion to her husband; otherwise she will be doomed for eternity and will live a cruel existence as a widow. According to Ananda Coomaraswamy: "Women were socially dead after the death of their husbands and were thought to be polluting". Only a woman who is sexually and legally possessed by a husband is respected within the Indian society. By sacrificing herself a widow saves herself from the cruel existence of widowhood and ends the threat she possesses for society. She is considered a member of society who has unrestrained sexual vigor, and thus may harm society with immoral acts. A widow was seen as having irrepressible sexual powers and could be a danger to her society. Remarriage in India was not favored. A widow was not allowed to remarry, nor was she able to turn to religious learning, and hence lived a bleak and barren life. The pain that a sati endures on the pyre was less painful of an experience than the torture she must endure physically and emotionally as a widow. If a widow decided not to join her husband, she was separated from the social world of the living and considered to be a "cold sati". She was only allowed to wear rags and was treated by her family and members of society as an impure, polluted being. The prohibition, in which she is unable to adorn herself, was considered justifiable, done for the widow's "own interest". The British government in 1829 prohibited the custom of sati. British India declared the practice of sati as illegal and punishable by criminal courts. Such a law revealed much about the British thought and opinion of India and its customs.

อืม

ได้ความรู้มากเลยค่ะ อาจารย์ขอบคุณมากเลยค่ะ

สวัสดีครับ กุ๊ก

อินเดียมีเรื่องที่น่าสนใจอีกมากมายครับผม

ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้ดีๆ ให้ค่ะ ชอบอินเดียมากค่เ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท