คำคมที่บันทึกมาจากการเข้าร่วมเรียนรู้เรื่องนพลักษณ์ - ความแตกต่าง ความขัดแย้ง และการเจรจา เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา


"I cannot change myself, If I cannot see it." - Joan Ryan

จะปฏิบัติต่อความขัดแย้งอย่างไรให้กลายเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย? - .สันติกโร และ อ.โจน ไรอัน

  • "มนุษย์มีความหลากหลาย แม้ในตัวเราเองก็หลากหลาย"

  • "อยู่กับความแตกต่างอย่างมีความสุข"

  • "ใช้พลังแห่งความชื่นชมมาเผชิญความขัดแย้ง"

  • "ปัญหามีจริง แต่เราไม่เริ่มแก้ที่ตัวปัญหา เราเริ่มที่การชื่นชม เอาการชื่นชมเป็นตัวตั้ง"

  • "เราไม่อาจแก้ปัญหาโดยสร้างปัญหาเพิ่มขึ้น"

  • "เราควรโปร่งใสและรับผิดชอบต่อทุกคำพูด"

  • "เราไม่ตำหนิใคร แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่มีข้อผิดพลาด"

  • "หากเราใส่ใจแต่ความผิดพลาดของอีกฝ่าย เราก็จะไม่เห็นความผิดพลาดของเรา"

  • "เรารับรู้ความรู้สึกของคนอื่น แต่ไม่เอาเป็นปัญหา"

  • "ถ้าเราใส่ใจในปัญหา ปัญหาก็ขยายและมีพลังขึ้น ถ้าเราใส่ใจในการชื่นชม อิทธิพลของความชื่นชมก็ขยายและมีพลังขึ้น"

  • "เราจะไม่ใช่คนที่ก่อปัญหาความขัดแย้งต่อไป"

  • "มีแนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ว่าเป็นสัตว์ที่มีเหตุผล ใช้เหตุผลนำหน้า แต่มีผู้วิจัยพบว่ามนุษย์ไม่ได้ตัดสินเรื่องต่างๆ จากเหตุผลอย่างเดียว เราใช้ความเชื่อและคุณค่าต่างๆ เข้ามาผสม จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว และบางครั้งก็ใช้คุณค่าในใจมาก่อน เหตุผลมาทีหลัง"

  • "ปัญหาจะคลี่คลาย ร่วมกัน อย่างไร ในเมื่อเรามีข้อสรุปล่วงหน้าแล้ว"

  • "เฝ้าระวังสภาพข้างในตัวเราโดยอาศัย ๓ ส.(สอาด สว่าง สงบ - พุทธทาส) หรือ 3C (clean, clear, calm)"

  • "ภาวะสะอาด คือ ภาวะที่ใจเป็นปกติ ไม่มีอะไรบิดเบือน" - สันติกโร

  • "Clean คือภาวะที่เราไม่มีปฏิกิริยาโดยอารมณ์ ไม่ยึดติดกับสิ่งที่จะเป็นผลตอบกลับมาหาเรา" - โจน ไรอัน

  • "แต่ละคนอาจมีความคิดรวบยอดต่อคำ สะอาด สว่าง สงบ แตกต่างกัน"

  • "ลักษณ์(อัตตาหรือตัวตนแห่งบุคลิกภาพ)คลายตัว (type soften or loosen) เมื่อเราสอาด สว่าง สงบ" - Joan Ryan

  • "ในช่วงที่สอาด สว่าง สงบ ความเป็นลักษณ์(อัตตา)จะถอยห่างออกไป เราจะมีความสุข ลดความหมกมุ่นกับตนเอง และมีประสิทธิผลมากขึ้น" - โจน ไรอัน

  • "Type is not bad but type has limited." - Joan Ryan

  • "เมื่อพัฒนาไป ความเป็นลักษณ์(อัตตา)จะอ่อนตัวลงจนจับลักษณ์(อัตตา)ได้ยาก แต่ต้องตระหนักเสมอว่า มันยังอยู่กับเรา" - โจน ไรอัน

  • "ลักษณ์ (อัตตา) ต้องการบอกเราว่าเรายังไม่เคยสอาด สว่าง สงบ ซึ่งไม่เป็นความจริง หากลองพิจารณาดีๆ เราทุกคนเคย แม้จะนานๆ ครั้ง ลองนึกถึงช่วงที่เราเล่นกีฬาหรือทำงานศิลป"

  • "เวลาที่เรานิ่ง เราจะเห็นแก่นของสถานการณ์ที่ซับซ้อน"

  • "ฉันเคยได้ยินคนหก (คนขี้กังวล) พูดว่า เมื่อใดที่เขาสงบ เขาจะเห็นความจริงชัดเจนกว่าใคร" - โจน ไรอัน

  • "ความกล้าหาญที่แท้จริงของคนแปด (คนใจร้อน ชอบควบคุม) หาใช่การใช้พลังเข้าใส่คนอื่น แต่คือการกล้าบอกเขาถึงความเสียใจในการกระทำของเราต่อเขา"

  • "คนเจ็ด (คนกลัวข้อจำกัด กลัวความเจ็บปวด) กับคนสี่ (คนขี้อิจฉา) จะใช้พลังแห่งจินตนาการในทางสร้างสรรค์เมื่อสะอาด สว่าง และสงบ"

  • "คนห้า (คนกลัวการสูญเสียพลัง) มักเงียบ ถอยห่าง ถอนตัว แต่เมื่อเราสำรวจตนเองพบว่าความเงียบของเราเกิดจากอะไร (น้อยใจ, โกรธ ฯลฯ) อาจทำให้รัศมีที่เราแผ่ออกไปทำให้คนอื่นไม่กล้าเข้าใกล้เบาบางลง ประตูของเราก็จะเปิดต้อนรับคนอื่น" (คำให้การของคนห้าคนหนึ่งบน panel)

  • "ความวางใจเป็น ความรู้สึก มากกว่า ความคิด" (.โจน ไรอัน พูดกับคนห้า)

  • "คนสี่ (คนขี้อิจฉา) มักไม่เอ่ยปากร้องขอ จะดีไหมหากเราร้องขอ บอกความต้องการของเรา โดยไม่คาดหวังว่าจะได้หรือไม่?" (.โจน ถามคนสี่คนหนึ่ง)

  • "ไม่ต้องเห็นด้วยกับฉัน ขอเพียงอย่าเข้าใจฉันผิดก็พอ" (คำร้องของน้องสี่คนหนึ่ง ประโยคนี้สะเทือนใจและประทับใจผมมาก ขณะเขียนบันทึกนี้ ภาพของเธอปรากฏขึ้นในหัวชัดมาก)

  • "รับรู้ความรู้สึกคนอื่น แต่ไม่เอามาเป็นปัญหา บางครั้ง(คนสี่)ทุกข์เพราะรับรู้แล้วอดไม่ไหวที่จะรู้สึกไปด้วย" (.สันติกโร พูดกับคนสี่)

  • "ฝึกรักษาอิสรภาพภายใน ด้วยการไม่จมตามความรู้สึกคนอื่น" (.สันติกโร พูดกับคนสี่)

  • "คนสาม (คนกลัวความล้มเหลว-ติดภาพลักษณ์) มีความสามารถในการทำงานพร้อมกันหลายอย่าง (multitasking) ถ้าทำทีละเรื่องจะทำให้ช้าลง"

  • "หากเราไม่ตัดสินตนเองว่าเราพลาดไปอีกแล้ว ต่อไปเราจะเห็นตนเองได้เร็วขึ้น" (.สันติกโรพูดกับคนสาม)

  • "คนหนึ่ง (คนเจ้าระเบียบ) มีธรรมชาติเข้าไปจับด้านผิดหรือด้านลบ แต่มี relax space อยู่ เวลาผ่อนคลายจะมีอารมณ์ขัน ขอให้จำช่วงเวลานั้นไว้" (.โจน พูดกับลักษณ์หนึ่งคนหนึ่ง)

  • "คนสอง (คนชอบตอบสนองความต้องการคนอื่นโดยหลงลืมความต้องการตนเอง) ถ้าไม่ต้องพยายาม ไม่คาดหวัง เป็นธรรมชาติ จะมีความสุข"

  • "ถ้าเขาพึ่งพาตนเองได้ เราจะพึ่งพาใคร?" (.โจน ถามคนสองบน panel หลังจากเล่าเหตุการณ์หนึ่ง ผมชอบคำถามนี้มาก)

  • "เราจะพึ่งพาคุณค่าอะไรในตัวเราได้บ้าง?" (อีกคำถามหนึ่งของอาจารย์โจนที่ผมถูกใจ)

  • "เมื่อเราปฏิบัติต่อกันโดยใช้ ๓ ส.ก็จะมีโอกาสร่วมมือกัน พบทางออกของปัญหา"

  • "วัตถุประสงค์หลักของการเรียนรู้นพลักษณ์(ลักษณะคนเก้าแบบ)ก็คือการเห็นตนเองอย่างแจ่มแจ้งขึ้น เพื่อมีทางเลือก" - โจนไรอัน

  • "I cannot change myself, If I cannot see it." - Joan Ryan

  • "โดยทั่วไป เป็นไปไม่ได้ที่เราจะเปลี่ยนคนอื่น แต่เราสามารถเปลี่ยนวิธีที่เราสัมพันธ์กับเขาได้ ท่าทีของเราในการสัมพันธ์กับเขามักมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงตัวเขาเอง"

  • "ให้โอกาสคนอื่นได้เปลี่ยนตนเอง"

  • "การพยายามให้คนอื่นเปลี่ยนเป็นความรุนแรง (ทางจิตใจ)"

  • "การสอน กับ การบังคับ เป็นสองทักษะที่ต่างกัน"

  • "การปล่อยวาง ไม่ใช่การเก็บกดไว้"

  • "ระหว่าง การฝึกฝนตนเอง เราอาจเป็นเหมือนลูกตุ้มที่แกว่ง แต่ในที่สุดจะสมดุลย์" อาจารย์ตอบคำถามคนเก้า (คนกลัวความขัดแย้ง) ที่รู้สึกว่าตนเห็นแก่ตัวเมื่อใส่ใจความต้องการของตนเอง

สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์

๒๔ พ..๕๓

หมายเลขบันทึก: 410086เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2010 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

คำพูดทุกคำที่กล่าวมานี้

ความคิดทุกความคิดที่ผู้รู้แสดงออกมา

ถ้าทุกคนนำมาปฏิบัติได้จริงอย่างต่อเนื่อง

คนๆนั้นย่อมเป็นผู้รู้จริงและมีความสุขที่ยั่งยืน

เห็นด้วยกับ คำคม ที่กล่าวมาทั้งหมด ครับ

ทรงกฏ ดีนาง

25 พ.ย. 53

"นพลักษณ์"ได้ยินครั้งแรกตอนไปอบรม SHA FA จัดโดยสรพ.(จ.นครปฐม)

เมื่อมาอ่านบันทึกนี้..ได้เรียนรู้ละเอียดมากขึ้น

ขอบคุณมากนะคะ"อาจารย์สุรเชษฐ"

ยินดีครับคุณระพี

ขอบคุณ อ.ทรงกฏ และ อ.Krit สำหรับความเห็น

ขอบพระคุณจากคำคมที่บันทึกมาจากการเข้าร่วมเรียนรู้เรื่องนพลักษณ์ - ความแตกต่าง ความขัดแย้ง และการเจรจา เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้เรียนรู้อะไรดี ๆ ครับ

ด.ต.ไพฑูรย์ ทะวะลัย

ผู้ประสานจังหวัดร้อยเอ็ด

"ปัญหาจะคลี่คลาย ร่วมกัน อย่างไร ในเมื่อเรามีข้อสรุปล่วงหน้าแล้ว"

  • เป็นข้อคิดที่เก็บเกี่ยวมาได้จากการอ่านรอบแรก
  • ช่วยย้ำเตือนแนวทางปฏิบัติว่า "อย่า ตั้งธง ไว้ก่อนว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เพราะเราจะหลงลืมตัว ทุ่มเท พยายามเอาชนะให้เป็นไปตาม ธง ที่ตั้งไว้"
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท