พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ... ผ่านสภาแล้ว


วันนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช) ได้ลงมติผ่าน "(ร่าง) พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ...." ในวาระสาม ด้วยคำแนนเสียงเห็นด้วย:119 ไม่เห็นด้วย:1 และงดออกเสียง:1 ในขณะนี้พยายามหาข่าว breaking news ตามเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์/สำนักข่าวต่างๆ แต่ไม่พบ

กระบวนการแปรญัตติของ (ร่าง) พรบ.นี้ เป็นสิ่งที่ "คนนอก" สามารถติดตามความคืบหน้าได้ตลอดจากวิกิที่เนคเทค ซึ่งผมเห็นว่า กระบวนการแบบนี้ไม่เคยปรากฏมาก่อนในสังคมไทย มีการเชื่อมโยงไปยังเว็บที่เสนอความเห็นเกี่ยวกับกฏหมายฉบับนี้ทั้งด้านสนับสนุนและคัดค้าน มีข้อมูลการเปรียบเทียบกับกฏหมายในประเทศอื่น (มีการขอแปรญัตติเกือบทุกมาตรา ยกเว้นมาตรา ๑ ชื่อ พรบ.)

ในขณะนี้ ยังไม่สามารถหา พรบ.ฉบับที่ผ่าน สนช.มาได้ จำเป็นต้องรอ official version; พรบ.จะมีผล 30 วัน นับจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา กระทรวงไอซีทีเป็นผู้รักษาอำนาจตามกฏหมาย

คำสำคัญ (Tags): #กฏหมาย
หมายเลขบันทึก: 95260เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2007 19:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะคุณ Conductor  

แปลกนะคะที่คะแนนเสียงเห็นด้วยเกือบร้อยเปอร์เซนต์แต่มีผู้ขอแปรญัตติเกือบทุกมาตรา ยกเว้นชื่อพรบ. ไม่รู้จะขำดีหรือเศร้าดี แต่ไม่ค่อยรู้รายละเอียดใน พรบ. หรอกนะคะ ยังไม่ได้ click เข้าไปดูในวิกิเลยค่ะ

ขอบคุณที่นำข่าวมาเล่าสู่กันฟังนะคะ..

ผมอธิบายไม่ชัดครับอาจารย์

เป็นกรรมาธิการแปรญัตติที่ สนช.แต่งตั้งให้ไปพิจารณา (ร่าง) พรบ.นี้ครับ ที่เป็นผู้แปรญัตติเกือบทุกมาตราครับ

ร่างดั้งเดิมที่เสนอเข้าสภาน่ากลัวมากครับ แค่สงสัียก็จับได้ (โทษ) พอผ่านวาระรับหลักการ ก็สะเทือนกันไปทั้งวงการอินเทอร์เน็ต

แต่เท่าที่ดูสรุปการแปรญัตติ ก็มีระบบ check & balance ที่ดีครับ เข้าใจว่ามีการจับกุมสามชนิดที่ไม่ต้องขออำนาจศาล จากที่เดิมทีกระทรวงไอซีทีทำได้เองทั้งหมด มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะสองครั้ง (ครั้งแรก, ครั้งที่สอง) ในเวลา 7 เดือน

ผมไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการแปรญัตตินะครับ แต่มีคนรู้จักโทรมาเล่าให้ฟังเมื่อตอนบ่าย

คุณ Conductor คะ มีค่ะ breaking-news ในประชาธุรกิจ-มติชน

 


สนช.ผ่านกฎหมายการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
วันที่ 09 พ.ค. 2550




ที่รัฐสภา วันนี้ (9 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ประชุมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งนายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ นำร่างที่แก้ไขเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา 3 วาระรวด ซึ่งในชั้นแปรญัตติ คณะกรรมาธิการชี้แจงถึงการกำหนดโทษขั้นต่ำของผู้กระทำความผิด ที่ให้ศาลเป็นผู้พิจารณาจากความเสียหายที่เกิดขึ้น ว่าเป็นความผิดเกี่ยวกับส่วนรวม ประชาชน หรือความมั่นคง ส่วนกรณีการส่งข้อมูล หรืออีเมล์ถึงผู้อื่น ที่มีการปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มานั้น หมายถึงการปลอมแปลงไอพีแอดเดรสของเครื่องที่ทำการส่ง โดยหลักการทั่วไป หากผลที่เกิดขึ้นมีความมุ่งหมายให้เกิดความเสียหายในราชอาณาจักรไทย ตามหลักประมวลกฎหมายอาญา ที่ดูจากผลของการกระทำ สามารถดำเนินการเอาผิดได้ แม้ตัวผู้กระทำผิดจะอยู่ต่างประเทศก็ตาม โดยเฉพาะหากเป็นเรื่องความมั่นคง ตามมาตรา 7 ของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เช่นเดียวกับกรณีของเว็บไซต์ยูทูบ ซึ่งรัฐบาลโดยกระทรวงไอซีทีเตรียมยื่นฟ้องบริษัทกูเกิล ประเทศไทย ต่อศาลอาญา กรณีลงภาพหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ในวันที่ 11 พฤษภาคม นี้ด้วย

 

ขอให้ข้อมูลนะคะว่าทำไมจึงเห็นว่ามีแปรญัตติเกือบทุกมาตรา ประการแรกเพราะในวาระแรก มีสนช.ขอแปรญัตติหลายท่าน และบางท่านก็ขอแปรหลายข้อมาก  ประการที่สองคือ บางมาตรา กรรมาธิการจัดเรียงใหม่เพื่อให้สอดคล้องกันเรื่องการกระทำความผิด เรื่องลำดับโทษ เรืองอำนาจของเจ้าหน้าที่ และเรื่องการสอบสวน จึงดูเหมือนแก้เยอะมาก 

อย่างไรก็ตาม เท่าที่สัมผัส คิดว่ากรรมาธิการชุดนี้มีความขยันมากในการทำงาน พิจารณาแต่ละมาตราด้วยความรอบด้าน ถามความเห็นทั้งทางเทคนิค ข้อกฎหมาย ผู้ประกอบการ และผู้ที่ต้องเป็นเจ้าหน้าที่ จึงคิดว่าค่อนข้างประทับใจค่ะ สรุปว่ามีการประชุมกรรมาธิการทั้งหมด 27 ครั้ง เริ่มตั้งแต่ 23 พ.ย. 49 จนถึง 9 พ.ค. 50 

ขอให้ทราบตามที่คุณ kapook ผู้ซึ่งสัมผัสงานของคณะกรรมาธิการชุดนี้มาชี้แจง ขอบคุณมากครับ

ผมไม่คิดว่าการแก้ไขเยอะมากจะเป็นปัญหานะครับ ประเด็นคือแก้แล้วดี/ยุติธรรมหรือไม่ ซึ่งเมื่อผ่านสภาได้ มีผู้เห็นด้วยเกือบทั้งหมด ก็คงจะอนุมาณไว้ก่อนว่าใช้ได้ แต่จะรอดูฉบับจริงครับ

เพิ่งเขียนเพิ่มเกี่ยวกับเรื่อง ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ค่ะ พร้อมมีไฟล์ให้ download ไปอ่านค่ะ เป็น version ล่าสุดแล้วค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท