อนาคตร้านยาในไทย


อ่านที่อาจารย์ P ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ เขียนถึง

ธุรกิจขนาดเล็กสิบประเภทที่จะต้องตายเพราะเทคโนโลยี

มาตั้งแต่หลายวันก่อน แล้วอยากเขียนบันทึกต่อ แต่ทำใจไม่ได้สักที เพราะเชื่อว่า น่าจะจริงอย่างเขาว่า เพราะผมเองก็มาถึงข้อสรุปเดียวกันนี้ก่อนจะเห็นคนมา "ตอกตะปูปิดฝา" อย่างเป็นทางการอย่างนี้ (แต่ตอนนั้น ปลอบใจว่าตัวเองคงมองผิด)

ในข้อเขียนนี้ ทำนายว่า ธุรกิจที่จะมีโอกาส ฝ่อตาย สูงมาสิบประเภท มีร้านยาอิสระ รวมเข้าไปเป็นหนึ่งในสิบนั้นด้วย

ไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนั้นเอง จับความที่ท่านอาจารย์ธวัชชัยเขียนถึง ดูเหมือนจะบอกว่า หนังสือเล่มนั้น เจาะจงว่า ฝ่อตายเพราะเทคโนโลยี

ที่ไม่อ่าน เพราะทำใจอ่านไม่ได้...

จริง ๆ แล้ว ผมมองว่า คงไม่ใช่เทคโนโลยี แต่เป็นกลไกทุนนิยมที่มีประสิทธิภาพสูงจากการใช้เทคโนโลยี 

คือเป็นปรากฎการณ์เดียวกับที่เขียนถึงไว้ใน ภูเขาน้ำแข็ง โชวห่วย และห้างยักษ์

คือร้านยาเชนจากเมืองนอกเข้ามา จะมีต้นทุนที่ถูกกว่าด้วยเหตุผลร้อยแปด ซึ่งเทคโนโลยีจะมีส่วนกระทบ ทำให้เกิดความ "ถูกกว่าอย่างมหาศาล" ตามสมการข้างล่างนี้

IT + logistics + economy of scale ~  zero cost

ผมมองว่า ร้านที่เหลือรอด น่าจะรอดด้วยเหตุผลข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

  • ทำเลเยี่ยมจริง ๆ
  • ทำตัวเป็นเชนสโตร์เสียเองด้วย หรืออย่างน้อย มีการเกาะกลุ่มเครือข่ายกันเองแบบหลวม ๆ โดยมี IT ที่ดีเลิศและระบบ logistics เป็นตัวกลาง
  • มีภาพพจน์ที่ดีเยี่ยมในสายตาลูกค้า เพราะบริการดี หรือเพราะมีชื่อเสียงเรื่องคุณภาพทางวิชาการ

ผมขอเรียงลำดับเหตุการณ์ที่จะเกิด โดยอิงจากบทเรียนของสิ่งที่เคยเกิดกับโชห่วยไทยมาแล้วเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง ขออิงแบบก้าวต่อก้าว เปลี่ยนแค่ตัวละคร

  • อ่านที่ผมเขียนนี้จบ คนที่ทำร้านยาหัวเราะกันฟันโยก
  • ผ่านไป 2-3 ปี เริ่มปรับทุกข์กันเอง ว่าช่วงนี้ ทำไมขายไม่ดี จะว่าเศรษฐกิจไม่ดีรึ ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะร้านเชนฝั่งตรงข้ามก็ยังเห็นคนเข้ากันตรึม
  • เริ่มมีการเปลี่ยนแนวโน้มว่า ร้านยาอิสระเลิกรับนักศึกษาฝึกงาน หรือรับน้อยลง สวนกับที่กระแสผลิตเภสัชกรเพิ่ม กำลังบูมสุดขีด
  • เชนสโตร์จากเมืองนอกรายใหม่ ๆ ก้าวเข้ามาในสังเวียน
  • เกิดสงครามราคาครั้งสุดท้าย (ไม่ต้องบอก ว่าตอนจบเป็นยังไงนะครับ)
  • อีก 2-3 ปีถัดมา บางคนเริ่ม diversified ไปทำธุรกิจอื่นควบคู่ บางคนก็เริ่มถอดใจ ไปทำอย่างอื่นเต็มตัว
  • เมื่อครบ 10 ปีจากนี้ไป ร้านที่เหลือ เร่ิมมีการควบรวมกิจการ โดยพฤตินัย หรือโดยนิตินัยกันถ้วนหน้า ร้านที่หยิ่งไม่สนใครที่ยังอยู่ดีมีสุข กลายเป็นเกาะแก่งเล็ก ๆ ของ niche market ให้เป็นที่กล่าวขาน โจษจัน

ทำไมผมจึงเชื่อว่าจะเกิดเช่นนั้น ?

  • เพราะร้านยาอิสระ ก็เป็นโชห่วยในรูปแบบหนึ่ง และเชนสโตร์ ก็เป็นห้างยักษ์ในรูปแบบหนึ่ง  อย่างน้อยก็ในมุมมองโครงสร้างทางธุรกิจ (ไม่ได้พูดถึงลักษณะที่ปรากฏทางกายภาพนะครับ)
  • รายใหญ่จะลิงโลด ถ้ารายย่อยเล่นเกมส์สงครามราคา  แต่จะเศร้าสลด ถ้ารายย่อยไม่ยอมเล่นเกมส์นี้
  • เพราะธรรมชาติของสงครามราคา เป็นเกมที่รายใหญ่ต้องชนะ ผลแพ้ชนะถูกตัดสินจากการที่รายย่อยยอมเล่นเกมนี้ ซึ่่งทันทีที่รายย่อยอยากเล่นเกมนี้  ก็เท่ากับเดินเข้าปากรายใหญ่ที่อ้าปากรออยู่ ให้เคี้ยวแบบไม่เปลืองแรง

เหตุผลว่าทำไม ขอความกรุณาไปอ่านในภูเขาน้ำแข็ง โชวห่วย และห้างยักษ์ นะครับ

คนทั่วไปอาจมองว่า ดีสิ ได้บริการที่ราคาถูกลงอีก ก็เป็นการมองแบบซาดิสต์ไปหน่อย เพราะไม่ใช่ว่าเราจะซื้อยามากินกันมากมายตลอดปี ยาที่ถูกกว่าแม้ดูว่าเปอร์เซนต์ต่างกันเยอะ แต่คิดเป็นตัวเงินจริง ก็ต่่างกันไม่กี่บาท

ร้านที่ดีที่เขาเอาใจใส่ลูกค้าอย่างลึกซึ้ง และอยากยืนหยัดเป็นตัวของตัวเอง ถ้าโดนบีบด้วยสงครามราคาหนัก ๆ เขาก็อยู่ไม่รอดเหมือนกัน

ผมยกตัวอย่างอย่างนี้ดีกว่า เป็นตัวอย่างเกี่ยวกับการซื้อฺาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ไม่ว่าการซื้อใหม่ หรือซื้อเพื่อซ่อมเวลาเกิดปัญหา

สมัยก่อน ผมจ่ายถูกตอนซื้อ และเจอกับบริการที่แย่ยิ่งกว่าเลว เคยยกไปซ่อมที่ร้านเดิมที่ซื้อ โดนโขกเงินหนัก ยกกลับมา ปัญหาเหมือนเดิมยังอยู่ครบ ทำให้ต้องเปลี่ยนร้านซ่อมคอมพ์เป็นว่าเล่น

สิบปีก่อน มาเจอร้านคอมพ์รายหนึ่ง ผมเห็นเขาฝีมือดี และจริงใจกับลูกค้า ก็เริ่มใช้บริการของเขามาตลอด จนถึงทุกวันนี้ แม้ซื้อของร้านนี้ราคาแพงกว่าค่าเฉลี่ยก็ตาม

แต่ไม่ใช่ว่าผมเป็นพวก มาโซคิสต์ ชอบซื้อแต่ของแพง

ผมเพียงแต่รอเวลาให้สุกงอมสักหน่อย เดี๋ยวราคาของสเป็คนั้นก็หล่นลงมาเอง

แต่ผมกลับคิดว่า นี่เป็นการลงทุน ซื้อของแพงที่ราคาถูกมากในระยะยาว เพราะมีปัญหาร้อนใจเรื่องคอมพ์ ดึกดื่นยังไง เขาก็ไม่ทิ้งลูกค้า และหาทางแก้ปัญหาให้เสมอ

ผมซื้อของจากเขา ผมไม่เคยต่อราคา บอกมาเท่าไหร่ ผมก็จ่าย ผมถือว่า นี่คือเส้นทางของการอยู่รอดร่วมกันในระยะยาว ซึ่งเหมือนกับแนวคิดของเดมมิง ที่สอนเราว่า รักษาคู่ค้าชั้นเลิศไว้ให้ดี ๆ อย่าเห็นแก่การกดราคาให้ได้แต่ของถูก เพราะถ้าเจอคู่ค้าชั้นเลว เราอาจจำใจต้องใช้ ของถูกราคาแพง

แม้จ่ายแพงกว่า แต่สุขภาพจิตเรื่องคอมพิวเตอร์ ผมดีเต็มร้อยมาตลอดสิบปีนี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 107226เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2007 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สงครามราคา ไม่ได้ให้อะไรกับใครครับ เพราะของที่ราคาถูกลงใช่ว่าจะดีเสมอไป คนขายก็แย่ คนซื้อก็แย่ แฮ่ๆๆ

   สู้ราคาไม่ไหว เอายาใส่แป้งเยอะๆมาขายสู้ (ล้อเล่นครับ) สงสัยงานนี้หนีไม่พ้นคนซื้อที่ต้องรับกรรมครับ

   ร้านผมก็ต้องสู้ แม้ไม่มีเทคโนโลยีใดๆ มีแต่เครื่องคิดเลขราคา 99 บาท ที่เป็นเครื่องมือทันสมัยที่สุดในร้าน แต่เรามีหัวใจบริการ และความจริงใจที่มีให้ลูกค้า ผมเชื่อว่าเราอยู่รอดครับ

   จากร้านยาเล็กๆข้างตลาดครับ

ถึง
 
P

นักลงทุนเงินน้อย

 

  • ผมเอาใจช่วยให้อยู่รอด เป็น niche market ในระยะยาวครับ
  • บริการดี ไม่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
  • แต่ต้นทุน เกี่ยวนะครับ เกี่ยวมากเสียด้วย
  • การอยู่รอดระยะยาวพึ่งทั้งการบริการ พึ่งทั้งต้นทุนครับ

ลืมไปนิดนึงครับ

"สงครามราคา ไม่ได้ให้อะไรกับใครครับ เพราะของที่ราคาถูกลงใช่ว่าจะดีเสมอไป คนขายก็แย่ คนซื้อก็แย่"

  • จริง ถ้าเป็นผู้เท่าเทียมกันมาสุ้สงครามราคากัน
  • แต่รายใหญ่ขนานแท้ เขาจะค้านหัวชนฝานะครับ
  • เขาจะบอกว่า...
"สงครามราคา ทำให้คู่แข่งเรามีน้อยคนลง"

ขอขอบคุณอาจารย์ wwibul...(โชคดีที่ไม่ใช่ 'Qui! bull' หรือ "ใช่เลย(ฝรั่งเศส) โค(อังกฤษ)"

  • จดหมายข่าวสุขภาพรอยเตอร์ ดูจะเป็นวันที่ 1 กรกฏาคม 2550 มีเรื่องร้านขายยาเชนเหมือนกันครับ

ร้านขายยา...

  • อาจารย์ท่านว่า ร้านขายยาเหล่านี้ใช้ "ผู้ช่วยแพทย์ (physician assistant)" มาช่วยส่งเสริมการขายยา เช่น อาหารเสริม วิตะมิน ฯลฯ อะไรทำนองนี้...

ผู้ช่วย...

  • ผู้ช่วยแพทย์ในอเมริกามี 2 กลุ่ม...
  • กลุ่มแรกเป็นพยาบาล ฝึกอบรมต่อคล้ายๆ กับพยาบาลเวชปฏิบัติ จบแล้วทำงานได้เลย
  • กลุ่มที่สองเป็นคนจบปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ ฝึกอบรมต่อเป็นผู้ช่วยแพทย์ จบแล้วต้องลงทะเบียนว่า ช่วยหมอคนไหน

ร้านขายยา... 

  • ทำท่าจะ "ถล่ม" หมอ(คลินิก)ด้วย เพราะเขาขายเก่งมาก
  • สงสัยต้องมองหางานใหม่(ที่ไม่ใช่หมอ)ทำให้มากขึ้นแล้ว...
สวัสดีครับคุณหมอ
P

นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์

  • ประวัติศาสตร์ธุรกิจค้าปลีก-ส่ง ของไทย มักเดินตามหลังสหรัฐอยู่หลายปี
  • อยากรู้ว่าธุรกิจบ้านเราเป็นยังไงในอนาคต แค่ถามว่าวันนี้บ้านเขาเป็นไง ก็พอจะเห็นภาพคร่าว ๆ
  • เรื่อง LTF, RMF นี่กี่ใช่ ถอด 401(k) มาเลย
  • บริการสุขภาพก็เช่นกัน
  • บางทีก็แยกไม่ออกว่า โดนสั่ง โดนสาป ลอกเขามา หรือเป็นวิถีของประวัติศาสตร์ ที่ต้องวิวัฒนาการไปถึงจุดนั้นเอง...
พงศธร เหล่าสกุล (boyd)

กราบสวัสดีท่านอาจารย์wwibul

กระผมขออนุญาตร่วมแสดงความเห็นเพื่อสะท้อนมุมมองของผู้ประกอบการคนหนึ่งครับ

+กระผมเห็นว่าประชากรเภสัชกรที่อยู่ในสายงานร้านยามีเป็นจำนวนมาก หากร้านยาอิสระส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ไม่ได้คนในวิชาชีพนี้ส่วนหนึ่งอาจอยู่ไม่สบายนัก

+ในระยะ5ปี กระผมคาดว่าร้านยาอิสระเล็กๆยังคงไม่ตายหายไปแต่อาจเพิ่มขึ้น หลายร้านอาจมีอัตราการเติบโตของกำไรคงที่หรือหดตัว บางร้านอาจมีกำไรคงที่หรือลดลง ปัจจัยหลักน่าจะมาจากการเพิ่มของจำนวนร้านยาอิสระด้วยกันอันเป็นผลมาจากจำนวนเภสัชกรที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็จะมีบางร้านที่มีกำไรมากขึ้นเช่น วิชาการดี การบริการดี การตลาดเลิศ เทคโนโลยี การประหยัดต้นทุนจากปริมาณ ทำเล การบริหารจัดการ โชคดี อื่นๆ

+ตลาดร้านยาแม้ชื่อร้านยาเหมือนกัน แต่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของแต่ละร้านต่างกันได้แม้อยู่ในทำเลเดียวกัน

+การสร้างความต้องการใหม่ๆของลูกค้าของบริษัทยา อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์สุขอนามัย มีส่วนเพิ่มฐานรายได้ของร้านยาหลายร้าน

+พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปที่มีผลมากต่อยอดขาย เช่น ความเร่งรีบของคน การต้องการหาความสุข การติดในกามตัณหา คุณภาพการบริการที่มากขึ้นและด้อยลงของราชการ การมองหาคุณภาพและความคุ้มค่าของบางกลุ่มคน ราคาและคุณภาพบริการที่คนเห็นว่าแพงหรือถูกของบางรพ.บางคลินิค การเพิ่มขึ้นมากของชาวต่างด้าวและนักท่องเที่ยว ความกลัวตายกลัวเจ็บของคน การไม่ค่อยได้คุยกันของบางครอบครัว คนโสดอยู่คนเดียวหรือมีคู่มากเกิน ความเชื่อปรัชญาศาสนา การออมที่ลดลง และอีกมากมาย

สวัสดีครับ

  • ผมมองว่า การเปลี่ยนแปลงช่วงแรก จะช้า
  • แต่ช่วงหลัง จะยิ่งมายิ่งเร็ว
  • คนที่อยู่รอดแบบรายเล็ก ต้องแตกแขนงตัวเอง มีความแตกต่างของสินค้า หรือบริการ ไม่งั้นอยู่ยากขึ้นมาก

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท