"ประสบการณ์" "ประสบการณ์ตกผลึก" และ "ทักษะ"...


เพราะเมื่อเรามีประสบการณ์ที่ตกผลึกมากขึ้นย่อมเกิดเป็นเป็นทักษะสำหรับตัวเรานะครับ...

           วันนี้มีโอกาสได้เข้าฟังการอบรมเรื่อง "การวิจัยเชิงคุณภาพ" ครับ ซึ่งบรรยายโดยท่านอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่านจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลครับ เป็นการเปิดโลกทัศน์และได้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมากมายสำหรับการทำวิจัยเชิงคุณภาพครับ ซึ่งสำหรับผมแล้วเป็นเรื่องใหม่เพราะโดยส่วนตัวแล้วคุ้นเคยกับงานวิจัยเชิงปริมาณมากกว่าครับ...

 

          และกับคำถามหนึ่งที่ผู้เข้าอบรมได้ซักถามท่านวิทยากรซึ่งคำถามประมาณนี้นะครับว่า เคยอ่านตำรามาว่าในการทำวิจัยในหลายขั้นตอนไม่ควรใช้ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย แล้วจะมีแนวทางในการปฏิบัติอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านวิทยากรก็ตอบไว้อย่างน่าสนใจเลยครับว่า หากเป็น "ประสบการณ์" แค่ครั้งหรือสองครั้งก็อาจมีปัญหา แต่ถ้าเป็น"ประสบการณ์ตกผลึก" แล้วย่อมสามารถนำมาใช้ได้...

 

 

          ผมฟังแล้วก็ได้คิดเลยครับว่า หากเป็นประสบการณ์ที่ตกผลึกแล้วนั่นย่อมหมายถึงได้ผ่านการฝึกปฏิบัติมาแล้วหลายครั้งจนตัวผู้วิจัยเองก็มีความลึกซึ้งกับเรื่องนั้น ๆ นะครับ และเมื่อท่านวิทยากรอีกท่านได้ตอบเสริมประเด็นนี้ว่าหลีกเลี่ยงที่จะใช้ประสบการณ์ส่วนตัว แต่มาใช้ "ทักษะ" ของผู้วิจัยยิ่งทำให้เห็นภาพมากขึ้นนะครับ เพราะเมื่อเรามีประสบการณ์ที่ตกผลึกมากขึ้นย่อมเกิดเป็นเป็นทักษะสำหรับตัวเรานะครับ...

 

          ยิ่งกับงานวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งมีตัวผู้วิจัยเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสะท้อนผลการวิจัยด้วยแล้ว ประเด็นนี้จึงเป็นประเด็นที่สำคัญมากนะครับ นอกจากนี้ยังมีอีกหลาย ๆ ประเด็นที่ท่านวิทยากรได้ฝากไว้สำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ ๆ ที่จะนำเสนอผลงานวิจัย โดยเฉพาะงานวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ครับ ซึ่งมีประเด็นหนึ่งที่สำคัญคืองานวิจัยต้องทำไปให้ถึงระดับการวิเคราะห์ (Analytic) เพราะไม่เช่นนั้นแล้วงานวิจัยก็จะมีลักษณะเป็น Descriptive ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากนัก...

 

         และในส่วนของการอธิบายผลการวิจัยท่านวิทยากรก็แนะนำให้ผู้วิจัยอธิบายให้ได้ในสามระดับคือ ระดับที่หนึ่งใช้ข้อมูลที่มีอยู่เป็นตัวอธิบาย ระดับที่สองใช้ทักษะของผู้วิจัยเป็นตัวอธิบาย และระดับที่สามใช้ทฤษฎีที่ผู้อื่นสร้างไว้เป็นตัวอธิบาย ซึ่งสิ่งที่มักจะขาดหายไปคือ การอธิบายในระดับที่สองคือการใช้ทักษะของผู้วิจัย ซึ่งเป็นระดับที่สำคัญเพราะนั่นจะเป็นแสดงตัวตนที่แท้จริงของงานวิจัยและตัวผู้วิจัยครับ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องฉายออกมาให้เห็น และสุดท้ายที่ท่านวิทยากรฝากไว้ก็คือสำหรับงานวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์ ผู้วิจัยอย่าแค่ทำวิจัยเพียงเพื่อให้ได้ปริญญามาแต่เมื่อทำแล้วต้องให้ได้อะไรมากกว่านั้นนะครับ...

 

หมายเลขบันทึก: 313526เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2009 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

ดีจัง..ได้ความรู้สำหรับการนำไปใช้ต่อไปของตัวเองด้วยค่ะ..ไม่ค่อยถนัดเหมือนกันกับเชิงคุณภาพเพราะส่วนใหญ่มักจะทำแบบเชิงปริมาณ.จริงๆด้วย.

..จะได้นำไปพัฒนาตนเองค่ะ..ขอบคุณนะคะคุณดิเรก..^^

อัลฮัมดุลิลละฮฺ...ได้ความรู้มากครับ มองเห็นภาพชัดเลยกับการเขียนรายงานการวิจัยเชิงคุณภาพ (โดยเฉพาะบทที่ ๕) ขอบคุณมากครับบัง

สวัสดีค่ะ

ได้เคล็ดความรู้การวิจัยเพิ่มขึ้น

อยากลองดูบ้างจังเลย วิจัยเชิงคุณภาพ

ขอปรึกษาบ้างนะคะ

"ประสบการณ์ที่ตกผลึก"...หากในทัศนะของการสร้างความรู้ กะปุ๋มก็มองว่า นี่น่ะ คือ Tacit Knowledge ที่ปรากฏขึ้นแห่งกระบวนการภายในของนักวิจัย... แต่ที่ว่า พยายามหลีกเลี่ยงประสบการณ์ของนักวิจัยนั้น นั่นน่ะอาจเป็นเพราะว่า บางครานักวิจัยอาจไปใช้การจดจำ การปรุงแต่งทางความคิด มากกว่าที่จะดึงเอา "ความรู้ที่ปรากฏอันลึกซึ้งผ่านประสบการณ์ที่แท้มาบอกมากล่าวกัน"...

ทำให้กะปุ๋มนึกถึงว่า...

"ความรู้"...ที่หลายๆ คนกำลังพูดถึงนั้น

เราลืมพูดถึง ความรู้ที่เราซึ้งลงไปในใจจริงๆ อันเป็นความรู้อันลุ่มลึก ซึ้งลงไปในใจบุคคล ดั่งเช่น กะปุ๋มได้รับการรับฟังจากน้องตาลว่า เป็นผู้ที่มีทักษะการทำอาหารที่รสชาติได้อร่อยมาก... ทั้งๆ ที่อาหารบางอย่างเธอเพียงแค่ได้ชิมหรือได้ทานครั้งหรือสองครั้ง หรือบางคราเป็นการทำอาหารเพียงแค่เห็นภาพและนำมาทดลองทำ และเมื่อเธอได้ลงมือทำแล้ว... คนใกล้ชิดบอกว่า อร่อย คล้ายถิ่นเจ้าตำหรับทำเลย"... ซึ่งเมื่อน้องตาลมาพูดคุยเรื่องการทำอาหาร เธอก็จะนำจากประสบการณ์ที่เธอได้ทำมาเล่าได้อย่างซึ้งใจ...

ขณะที่เธอเล่าถึงเรื่องนี้ ช่างเป็นเรื่องเล่าที่ส่งมาจากใจของเธอ มากกว่าการจดจำหรือความนึกคิด... หากแต่มันออกมาจากภาพแห่งประสบการณ์ที่ฝังและตกผลึกอยู่ในอณูแห่งความรู้ในเรื่องนี้ของเธอ ...

นี่น่ะ น่าจะเรียกได้ว่า "เป็นประสบกาณ์ที่ตกผลึก"...

ความตกผลึกนี้ จะฝังลงไปในรากเหง้าแห่งจิตวิญญาณของเธอ ...

ความเป็นนักวิจัยเชิงคุณภาพในทัศนะของกะปุ๋มเอง ก็ไม่ได้มองว่า พวกเขาเหล่านี้เป็นนักวิชาการนะ หากแต่เขาเป็น "นักชีวิต" ที่เข้าใจในเหตุแห่งความเป็นไปของความที่ปรากฏอยู่รอบด้าน รอบตัวและผ่านเข้ามาในผัสสะของเขา... ประสบการณ์ที่ผ่านมาจะช่วยเชื่อมโยงผัสสะที่กระทบแล้วเกิดการประมวลผล แบบงวดเข้า...งวดเข้าเรื่อยๆ... จนกลายเป็นตกผลึกในเรื่องนั้นๆ...

ทุกวันนี้นักวิจัยเฉกเช่นนี้...หายากนะ...

เพราะว่า...อะไรล่ะ ?

เพราะว่า ทุกวันนี้เรามีนักวิจัยที่เป็นนักวิชาการเยอะ แต่หานักวิจัยที่เป็นนักปฏิบัติไปในตัวนี่หายาก การเป็นนักวิจัยที่ดีนั้น ต้องเป็นผู้ปฏิบัติวิจัยในตนเองอยู่เนืองๆ...หากไม่ปฏิบัติวิจัยในตัวในตนแล้ว ก็อยากที่จะเกิดเป็นประสบการณ์ตกผลึก...

 

ครับ... P  คุณครูแอ๊ว

ดีใจครับที่อ่านแล้วได้ประโยชน์และนำไปปรับใช้ได้...

ขอบคุณเช่นกันนะครับผม...

ขอบคุณมากครับ...

ครับ... P เด๊ะ เสียงเล็กๆ فؤاد

เป็นกำลังใจให้สำหรับ thesis ที่กำลังทำและงานวิจัยชิ้นต่อ ๆ ไปนะครับ...

ขอบคุณครับผม...

ครับ... P คุณ เจษฎา

ยินดีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันนะครับ...

งานวิจัยเชิงคุณภาพสำหรับผมแล้วเพิ่งเริ่มนับหนึ่งครับผม...

ขอบคุณมากครับ...

เดี๋ยว...สักครู่จะเดินทางกลับบ้านที่ยโสธรค่ะ

ตอนบ่ายมี "สุนทรียโสเหร่" กันค่ะ แต่ตอนนี้แวะต่อ ที่นี่ก่อน

ดูๆ ความเห็นแต่ละท่าน ...จะเห็นว่าเราไม่คุ้นชินกับการทำวิจัยเชิงคุณภาพ ... เรามาลองพิจารณาดูก่อนไหมค่ะว่า เราจะเริ่มต้นอย่างไรดี...

ก่อนอื่น...เราอย่าไปเริ่มว่าเราจะทำวิจัย...

แต่เรามาทำความรู้ตัวก่อนว่า "มีปรากฏการณ์อะไรเกิดขึ้นต่อเราบ้าง"

ปรากฏการณ์ คือ อะไรล่ะ...?

ในทัศนะของกะปุ๋มก็ตีความได้ว่า "ปรากฏ + การณ์" ก็คือ เหตุที่ได้เกิดขึ้น และเรานั้นเป็นผู้สัมผัสสัมพันธ์ต่อเหตุที่เกิดขึ้นนั้น จากนั้นเราก็น้อมใจเราลงมาเรียนรู้ต่อเหตุที่เกิดขึ้นนั้นซะ ทำความรู้ ทำความเข้าใจ ... ใจเรานั้นรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร ต่อเหตุที่เกิดขึ้นนั้น แล้วเรามีการกระทำอะไรที่สนองตอบต่อเหตุเกิดนั้นบ้าง...

ง่ายๆ...ทำความรู้เช่นนี้ไปเรื่อยๆ...

แล้วเราจะเริ่มเกิดเป็นความเข้าใจ จากนั้นจะค่อยๆ เคลื่อนไปสู่ความเข้าใจนอกตัวเรา

อันเป็นการเคลื่อนไปอย่างอัตโนมัติ...

ชีวิต...แต่ละห้วงเวลา ก็ไม่มีอะไรวุ่นวายมากนัก... มีหน้าที่เพียงอย่างเดียวคือ การทำความเข้าใจห้วงเหตุที่มีสัมผัสสัมพันธ์กับเราทั้งเรา เมื่อสัมผัสสัมพันธ์แล้วเราก็ใช้ใจเรานี่แหละทำ "ความใคร่ครวญ" สิว่า บ่วงเหตุนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะอะไร และมาสัมพันธ์อะไรกับเรา แล้วตัวเราล่ะมีการตอบสนองต่อสิ่งนั้นอย่างไร ทั้งในขอบข่ายแห่งความคิด ความรู้สึก อารมณ์ และการกระทำ...

เมื่อเราฝึกฝนไปเช่นนี้...

เราจะสนุนกับการที่ได้พิจารณา...ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วเราได้ร่วมเข้าคลุกอยู่ในปรากฏการณ์นั้น และที่สำคัญการเข้าไปคลุกอยู่นั้น...เราต้องนำพาเราด้วย "ลมหายใจ...อันเป็นลมหายใจเข้าและออกอย่างรู้ตัว"....

หายใจเข้าสบาย และหายใจออกสบาย

การหายใจเช่นนี้จะทำให้เรา...คลุกอยู่ในปรากฏการณ์นั้นๆ อย่างไม่กดดันหรือไม่เคลิบเคลิ้ม...ใจเราจะเบาเบา นิ่งๆ เรียนรู้ปรากฏการณ์นั้นอย่างเบิกบาน

ครับ... P คุณ  Ka-Poom

ขอบคุณนะครับที่มาขยายความพร้อมเพิ่มเติมประเด็นที่สำคัญ ๆ นะครับ...

ผมก็มองอย่างนี้เหมือนกันครับที่สุดแล้วงานวิจัยก็คืองานวิจัยนะครับ ไม่สำคัญว่ามันจะเป็นงานวิจัยแบบไหน แต่สำคัญว่ามันสามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้มั้ย และมันสามารถตอบโจทย์สำหรับงานวิจัยชิ้นนั้นได้มั้ยนะครับ...

สำหรับการอบรมเมื่อวานวิทยากรสรุปปิดท้ายอีกอย่างที่น่าสนใจคือ ทำงานวิจัยให้เป็นเหมือนกระบี่ไร้เทียมทาน ไม่ต้องมีกระบวนท่า ไม่ต้องมีสำนัก แต่สามารถรับมือกับทุกสถานการณ์รอบตัวได้นะครับ...

ขอบคุณมากครับผม...

สวัสดีค่ะ

ดีจังค่ะ กำลังจะทำวิจัยกับเด็กๆในโรงเรียน

รับความรู้จากคุณดิเรก แถมด้วยของคุณกระปุ๋ม

ขอบคุณค่ะ

ครับ... P พี่นก NU 11

ดีใจครับที่อ่านแล้วได้ประโยชน์...

เป็นกำลังใจสำหรับการทำวิจัยเพื่อเด็ก ๆ นะครับ...

ขอบคุณเช่นกันครับผม...

ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อมูลความรู้ที่ให้มาเพื่อรอการตกผลึก เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์จริงๆค่ะ

ข้อมูลวิจัย เปรียบได้ สิ่งที่มองเห็นด้วยตา พร้อมให้สมองตัดสินใจ

ครับ... น้อง lukpla

ขอบคุณเช่นกันครับผม...

ครับ... P คุณ ตาหยู

ข้อมูลวิจัย เปรียบได้ สิ่งที่มองเห็นด้วย "ตา" พร้อมให้ "สมอง" ตัดสินใจ

ขอแถม "ใจ" เพิ่มไปอีกอย่างในการมองและการตัดสินนะครับผม...

ขอบคุณมากครับ...

สวัสดีค่ะ Vij มาอวยพรปีใหม่ 2553 ค่ะ

P
สวัสดีค่ะ Mr.Direct

ส่งความสุขปีใหม่ และคำอวยพรของครูใจดี กับลูก ๆ ให้กับ Mr.Direct และกัลยามิตร ชาว Gotoknow ด้วยความปรารถนาดี ขอให้มีความสุขความเจริญ คิดหวังสิ่งใด ขอให้สมปรารถนาทุกประการนะคะ

สวัสดีปีใหม่อุทัยรุ่ง 

ชีวิตมุ่งหมายสร้างทางสดใส 

จบพบสิ่งมิ่งมงคลดลโชคชัย  

ขอพรให้ทุกท่านสราญรมย์

 

ครับ... P คุณ @..สายธาร..@

สวัสดีปีใหม่เช่นกันนะครับ...

มีความสุขมาก ๆ ครับผม...

ขอบคุณมากครับ...

ครับ... P คุณ Vij

ขอบคุณมากนะครับสำหรับคำอวยพร...

มีความสุขมาก ๆ ในปีใหม่นี้นะครับ...

ขอบคุณครับผม...

ครับ... P คุณ ครูใจดี

ขอบคุณสำหรับพรดี ๆ จากคุณครูใจดีและลูก ๆ นะครับ...

ขอพรดี ๆ เหล่านี้ประสบแก่คุณครูใจดีและลูก ๆ เช่นกันนะครับ...

ขอบคุณมากครับ...

ครับ... P พี่คิม ครูคิม

สวัสดีปีใหม่ครับผม...

มีความสุขมาก ๆ นะครับ...

ขอบคุณมากครับ...

ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันนะคะ

ขอบคุณเช่นกันครับผม...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท