beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

บทนำเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสัตว์ (Animal Evolution)


      สิ่งมีชีวิตพวกสัตว์ เกิดในทะเลยุค precambrian..เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่ดำรงชีวิตด้วยการกินสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น...

      มีคำถามว่า "สัตว์นั้นเป็นไฉน"

      วิสัชนาว่า "สัตว์" ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ที่กิน (eat=ingestion) สิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร
  2. สัตว์ไม่มี ผนังเซลล์ (cell wall) ด้งนั้น ร่างกายของสัตว์จึงต้องมีโปรตีนโครงสร้าง (structural protein) ซึ่งส่วนมากได้แก่ collagen มาทำให้โครงสร้างของร่างกายคงรูปอยู่ได้...
  3. ร่างกายของสัตว์ มีเนื้อเยื่อพิเศษ 2 ชนิด คือ เนื้อเยื่อประสาท (nervous tissue) และ เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ (muscular tissue) เกี่ยวข้องกับการนำกระแสประสาทและการเคลื่อนไหวของร่างกาย
  4. ลักษณะที่ทำให้สัตว์แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น...คือ สัตว์ส่วนใหญ่ ใน วงจรชีวิต (Life Cycle) จะดำรงชีวิตเป็น diploid stage (2n) ... กล่าวได้ว่าสัตว์ส่วนใหญ่ sperm หรือ spermatozoa (n)จะว่ายเข้าไปปฏิสนธิกับ egg (n)...ผลของการปฏิสนธิจะได้ fertilized egg (ไข่ที่รับการปฏิสนธิแล้ว) เรียกว่า Zygote ซึ่งมีโครโมโซมเป็น diploid หรือ 2 n..ซึ่งจะได้อธิบายด้วยภาพ (depict) ต่อไป (early embryonic development)

    Embryonic development
    depict 1 : Early Embryonic Development (คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขยาย)

       อธิบายภาพ

  1. เมื่อไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว nucleus ของ sperm และ ไข่จะรวมกัน ได้ Zygote (2n) ซึ่งจะแบ่งเซลล์แบบไมโตซิส จาก 1 cell -->2 cell -->4 cell -->8 cell...ไปเรื่อยๆ จนได้ embryo หลายเซลล์เป็นลูกทรงกลมตัน ระยะ Morula (ไม่ได้แสดงในภาพ) เราเรียกกระบวนการแบ่งเซลล์จากเซลล์เดียวจนได้หลายเซลล์แบบนี้ว่า Cleavage (คลีเวจ) 
  2. Embryo ระยะ Morula ในตอนแรกจะมีลักษณะเป็นลูกทรงกลมตันเหมือนลูกน้อยหน่า และต่อมากลุ่มเซลล์จะเคลื่อนตัวไปอยู่ด้านนอก ทำให้ด้านในตรงกลางกลวงคล้ายลูกฟุตบอล เราเรียกกระบวนการเคลื่อนตัวของกลุ่มเซลล์แบบนี้ว่า blastulation และเรียก embryo ระยะนี้ว่า blastula.. ส่วนบริเวณช่องว่างตรงกลางเราจะเรียกว่า "blastocoel"
  3. ต่อมากลุ่มเซลล์ที่อยู่ด้านนอก (กลุ่มเซลล์ blastomere) ทางด้านล่างของ embryo จะม้วนตัวเข้าไปด้านใน เบียดช่อง blastocoel และเกิดช่องใหม่ เรียกว่า Gastrocoel หรือ Archenteron (ซึ่งไม่มี Label ในภาพ) ซึ่งต่อไปจะเจริญไปเป็นทางเดินอาหาร (digestive tract) เราเรียกกระบวนการที่กลุ่มเซลล์ด้านนอกเคลื่อนตัวเข้าไปด้านในว่า Gastrulation และเรียกตัวอ่อน (embryo) ระยะนี้ว่า Gastrula..
  4. Gastrulation..เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดเยื่อคัพภะหรือ Germ layer เป็น 2 ชั้น ชั้นนอก (ในภาพเป็นสีฟ้า)เรียกว่า "ectoderm" (ecto_ภายนอก, _derma ผิวหนัง) และ เยื่อคัพภะชั้นใน (ในภาพเป็นสีเหลืองเรียกว่า "endoderm" (endo_ภายใน) สำหรับสัตว์ที่มีเยื่อคัพภะ 2 ชั้น (diploblastica) ส่วนสัตว์ที่มีเยื่อคัพภะ 3 ชั้น จะมีเยื่อคัพภะ Mesoderm เพิ่มขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง
  5. ช่องเปิด ของทางเดินอาหาร ในตัวอ่อนระยะ Gastrula..เรียกว่า blastopore ซึ่งในสัตว์ส่วนใหญ่ blastopore จะเจริญไปเป็น ปาก (mouth) แต่ในสัตว์บางกลุ่มจะเจริญไปเป็น ทวารหนัก (Anus)

 

หมายเลขบันทึก: 208850เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2008 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

โห ท่านอาจารย์ BeeMan บรรยายทาง Blog เลยนะนี่

  • ขอบคุณ น้องแนน (สงสัยต้องพยายามเขียนตอนต่อไปแล้ว..)

เรียน ท่านอาจารย์ JJ

  • สอนนิสิตมากหน่อย เคยสอน ๓-๗๐๐ คน
  • ต้องใช้ Blog เป็นตัวช่วย..อิอิ

ขอบคุณสำหรับเนื้อหานะครับ

51316xxx นิสิตวิทยาศาสตร์

อาจารย์ค่ะ อยากได้ slide กลุ่มที่เรียนชีวะเบื้องต้นวันอังคารที่ 11 สิงหา เวลา 10.00-12.00 ค่ะ

บทที่ 9 บทนำเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสัตว์ (Animal Evolution) ที่อาจารย์นำมาประกอบการสอนนะคะ หากไม่รบกวนเกินไป กรุณาโพสหรือส่งอีเมลล์ให้ได้ไหมค่ะ อยากได้นำไปประกอบกับการอ่านหนังสือเรียนช่วงปิดเรียนค่ะ กรุณาด้วยนะคะ

E mail: [email protected] ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

...นิสิตคณะวิทย์เอก IT

ขอบคุณสำหรับเนื้อหาค่ะ

  • ขอบคุณสำหรับนิสิต ท่านที่ 5 และ 7
  • สำหรับนิสิตวิทยาศาสตร์ 6 41316...คงต้องรอเอกสารในบันทึกถัดๆ ไปครับ...ไม่สามารถส่งทางเมล์ได้

เนื้อหาที่อาจารย์สอนในห้อง มันมากกว่าด้านบนนี้ค่ะ มันหายไปไหนค่ะ รึ่อาจารย์ยังไม่ได้ลงค่ะ คืออยากได้มากค่ะ แต่ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไรค่ะ ขอบคุณค่ะ

เนื้อหาข้างบนนี้ อาจารย์สรุปแล้วใช่ใหมครับ

หรือว่ายังต้องใช้ที่จดในห้องด้วย

คือผมจดไม่ทันอ่ะครับ

  1. เนื้อหาให้ไปหาอ่านที่ powerpoint
  2. powerpoint จะทยอยลงเมื่อสอนเสร็จ
  3. เนื้อหาในบันทึกนี้ก็ละเอียดพอสมควร ถ้าทำความเข้าใจได้ก็เพียงพอสำหรับประเด็น
  4. แนะนำให้อ่านหนังสือชีววิทยาสสวท.ม.ปลายหรือหนังสือสอวน.เล่ม ๓ ประกอบด้วยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท