ธุรกิจเครือข่ายในอิสลาม(พีระมิด+mlm) التسويق الشبكي


ตามคำเรียกร้อง

หลังจากที่ผมได้นำเสนอบทความเรื่องธุรกิจเครือข่ายในมุมมองนักกฎหมายอิสลามก็มีหลายถามถึง เพื่อให้ข้อมูลโดยสรุปแก่หลายท่านที่ถามมา ก็ขอนำเข้า Go to know ก่อนก็แล้วกัน  รายละเอียดคอยดูในวารสารของมหาลัยอีกที

 

          ทัศนะของนักกฎหมายอิสลามต่อการประกอบธุรกิจแบบเครือข่ายนักกฎหมายอิสลามได้ให้คำวินิจฉัยเกี่ยวกับการทำธุรกิจแบบเครือข่ายจากกรณีของบริษัทบิสเนสและอื่นๆ โดยเป็นการตอบคำถามทั้งในรูปของทัศนะส่วนบุคคลและสภาหรือที่ประชุมนักนิติศาสตร์อิสลาม ซึ่งส่วนหนึ่งของทัศนะดังกล่าวมีดังต่อไปนี้

1-มัจมะอฺ อัลฟิกฮฺ อัลอิสลามี (สภานิติศาสตร์อิสลาม)ได้ให้คำวินิจฉัยว่า-การเข้าร่วมกับบริษัทบิสเนสและอื่นๆที่เป็นบริษัทธุรกิจแบบเครือข่ายไม่เป็นที่อนุญาตในศาสนาอิสลามเพราะถือว่าเป็นการพนัน-ระบบของบริษัทบิสเนสและบริษัทอื่นที่คลายกันไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อตกลงนายหน้าตามที่บริษัทอ้างด้วยเหตุนี้ทางสภาจึงขอเสนอให้ฝ่ายต่างๆที่รับผิดชอบให้ใบอนุญาตในประเทศมุสลิมทำการยึดใบอนุญาตคืนจากบริษัทที่ดำเนินการในรูปเครือข่ายดังกล่าว.และควรสอบถามสภานิติศาสตร์อิสลามก่อนที่จะดำเนินการอนุญาตในเรื่องดังกล่าว.(12)

2- คำวินิจฉัยของคณะกรรมการถาวรแห่งที่ประชุมนักหะดีษ (  لملتقى أهل الحديث اللجنة الدائمة)ได้กล่าวถึงธุรกิจระบบเครือข่ายว่า แท้จริงแล้วการทำธุรกิจประเภทนี้เป็นที่ต้องห้าม ทั้งนี้เพราะเป้าหมายหลักของธุรกิจนี้คือเม็ดเงินไม่ใช่สินค้า เม็ดเงินอาจจะเป็นล้านในขณะที่ราคาสินค้าไม่เกินร้อย คนมีสติทุกคนหากมีการเสนอระหว่างสองสิ่งดังกล่าว แน่นอนเขาจะต้องเลือกเม็ดเงิน ด้วยเหตุนี้บริษัทจะใช้วิธีโฆษณาสินค้าโดยการบอกถึงจำนวนเม็ดเงินที่ใหญ่ที่ผู้เข้าร่วมจะได้รับและจูงใจด้วยกำไรที่เกินคาดเทียบกับราคาสินค้าที่เล็กน้อย ดังนั้นสินค้าที่ขายจึงเป็นเพียงฉากและทางที่จะไปสู่เม็ดเงินและกำไร. (13)         

 3- ศูนย์ฟัตวาภายใต้การดูแลของ ดร.อับดุลลอฮฺ อัลฟะกีฮฺ ได้ตอบคำถามของผู้ถามว่า        หลังจากที่เราได้ศึกษาระบบของบริษัท(ที่ท่านถาม)พบว่าไม่เป็นที่อนุญาตให้ทำธุรกรรมกับบริษัทนี้เพื่อหากำไรผ่านการโฆษณาและค้าขายสินค้าของบริษัท เพราะว่าคนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมไม่ได้มีเป้าหมายในสินค้า แต่มีเป้าหมายในเม็ดเงินที่จะได้จากการหาสมาชิกใหม่ และพวกเขาอาจสำเร็จได้เงินที่เท่าหรือมากกว่าที่ลงทุนไป หรืออาจไม่ได้อะไรเลยและนี้ก็คือการพนันนั้นเอง ธุรกรรมนี้อยู่ระหว่างการได้และเสีย และสินค้าเป็นเพียงตัวกลางจึงไม่มีผลใดๆเลย(14).      

    4- คำประกาศของที่ประชุมสมัชชาคณะกฎหมายอิสลามมหาวิทยาลัย อัซซัรกออฺครั้งที่6 ซึ่งมีการจัดประชุมเมื่อวันที่23-25 เดือนญุมาดิลอาคิเราะฮฺ 1425 ฮิจเราะฮฺ ตรงกับวันที่ 12/8/2004 ได้มีการพูดคุยเรื่องปัญหาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินในปัจจุบัน ซึ่งในหัวข้อที่8 ที่ประชุมมีมติดังนี้                สมัชชามีความเห็นว่า การทำธุรกรรมกับบริษัทที่ทำธุรกิจแบบเครือข่ายต่างๆที่มีการดำเนินการในรูปแบบพีระมิดไม่เป็นที่อนุญาตเพราะธุรกิจรูปแบบนี้ประกอบด้วยธุรกรรมที่มีการพนัน(มุกอมะเราะฮฺ) ความไม่ชัดเจน (ญะหาละฮฺ) หลอกลวง (ตัฆรีร) และทำให้แรงงานเยาวชนสูญสินไปกับสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อตัวเขาและสังคมอย่างแท้จริง และเพราะเหตุว่ามันนำมาซึ่งกำไรอันน้อยนิดแต่การขาดทุนที่มากมาย. พร้อมกันนี้ทางสมัชชาได้ประกาศจุดยืนให้ฝ่ายที่มีอำนาจรับผิดชอบทบทวนการอนุญาตให้บริษัทประเภทนี้ได้ประกอบการเพราะมีผลเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศ(15).           

     5-  ดร.สามี สุวัยลิม ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐศาสตร์อิสลาม ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับบริษัทควิสท์(Quest)ของฮองกง ซึ่งมีรูปแบบคือเมื่อบุคคลพอใจกับบริษัทหรือสินค้าของบริษัท เขาก็จะลงทะเบียนในเว็บไซท์ของบริษัท โดยกรอบรายละเอียดของตัวเองและหมายเลขของผู้แนะนำ พร้อมกับจ่ายค่าลงทะเบียนสิบดอลลาร์และรับหมายเลขรหัสของตัวเองโดยถูกบรรจุภายใต้สายของผู้แนะนำ การลงทะเบียนเพียงอย่างเดียวจะยังไม่มีแต้ม เมื่อบุคคลนั้นซื้อสินค้าจะถูกบันทึกแต้มให้แก่ผู้แนะนำโดยที่สินค้าแต่ชนิดจะมีแต้มต่างกันเมื่อสะสมแต้มถึงหกแต้มผู้แนะนำก็จะได้เงิน250ดอลลาร์ เป็นเช่นนี้เรื่อยไปเป็นชั้นๆซึ่งดร.สามีได้ตอบว่าธุรกิจรูปแบบนี้ก็คือธุรกิจแบบเครือข่ายซึ่งถือเป็นสิ่งต้องห้าม(หะรอม) (16)                นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำวินิจฉัยที่เกี่ยวกับธุรกิจแบบเครือข่ายโดยยังมีคำวินิจฉัยจากอีกหลายท่านหลายเว็บไซท์ซึ่งล้วนแล้วแต่เห็นว่าการดำเนินธุรกิจแบบเครือข่ายนั้นเป็นที่ต้องห้ามในศาสนาอิสลาม.        

  สาเหตุของการห้าม        เหตุผลหรืออิลละฮฺที่บรรดานักกฎหมายอิสลามต่างมองว่าการทำธุรกิจรูปแบบนี้เป็นที่ต้องห้าม(หะรอม)นั้นอาจสรุปเป็นข้อๆได้ดังนี้    

   1- เป็นธุรกิจที่มีองค์ประกอบในเรื่องดอกเบี้ยทั้งนี้เพราะสมาชิกใช้เงินเพียงเล็กน้อยในการสมัครเป็นสมาชิกแต่ผลที่ได้รับเป็นการแลกเปลี่ยนด้วยเงินที่เพิ่มมากขึ้น โดยมีลักษณะการขายแบบซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินกับเงินหรือแลกกับสินค้าบวกเงินซึ่งหากเงินที่มาพร้อมกับสินค้ามีมากกว่าหรือเท่ากับกับเงินที่ใช้ซื้อนักปราชญ์ทั้งสี่มัซฮับเห็นตรงกันว่าเป็นริบาและต้องห้ามและหากน้อยกว่าทัศนะส่วนใหญ่ก็ยังมองว่าเป็นที่ต้องห้ามเช่นเดียวกัน โดยเป็นปัญหา(มัสอะละฮฺ)ที่มีชื่อเรียกในทางฟิกฮฺว่า มัดดุ อัจวะ(17).ในอัลกุรอานอัลลอฮฺตะอาลาได้ตรัสไว้ความว่า แท้จริงพระองค์ทรงอนุญาตการซื้อขายและทรงห้ามริบา. (18)   

        2 ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่มีการหลอกลวง คลุมเครือและเป็นการพนัน เพราะมีการใช้กลยุทธ์ต่างๆในการดึงสมาชิก มีการโฆษณาชวนเชื่อและหลายบริษัทก็มีการโกงสมาชิก ผู้อยู่ส่วนบนของเครือข่ายก็มีการใช้แรงและผลงานของคนที่อยู่ด้านล่างของสายทั้งที่บางครั้งคนที่อยู่ด้านล่างสายอาจขายได้มากกว่าหรือมีผลงานมากกว่า นอกจากนี้ยังเป็นการพนันหรือการเสียงโชคเพราะผู้เข้าร่วมอาจหาสมาชิกใหม่ได้ก็จะได้แต้มหรืออาจจะหาไม่ได้ก็จะขาดทุน อัลลอฮฺได้ตรัสในอัลกุรอานว่า  ) يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ إِنَّمَا الْخَمْرُ وَالْمَيْسِرُ وَالأَنصَابُ وَالأَزْلاَمُ رِجْسٌ مِّنْ عَمَلِ الشَّيْطَانِ فَاجْتَنِبُوهُ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ(ความว่า โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย แท้จริงเหล้า การพนัน หินที่เชือดสัตว์เพื่อบูชา และไม้เสี่ยงทาย เป็นส่วนหนึ่งของการงานของซัยตอน พวกเจ้าจงหลีกห่าง(19)      อัลมาอิดะฮฺ   อายะฮฺที่ 9 ท่านนบีมุฮำหมัด(ศล)ก็ได้กล่าวว่า قال عليه الصلاة والسلام : "من غش فليس مني  ความว่า ใครที่ฉ้อโกงเขาก็ไม่ใช่ประชาชาติของฉัน.(20)   

   3- เป็นธุรกิจเกี่ยวกับการบริโภคทรัพย์ของผู้อื่นโดยมิชอบ เพราะมีเก็บค่าสมาชิกโดยมิได้มีสิ่งแลกเปลี่ยน บางบริษัทอาจมีค่าสมัครที่มากโดยที่สมาชิกไม่ได้อะไรเลยโดยเฉพาะหากสมาชิกดังกล่าวไม่อาจหาสมาชิกเพิ่มหรือขายสินค้าได้ และคนที่ได้กำไรที่แท้จริงก็คือบริษัทนั้นเองอัลลอฮฺได้ตรัสว่า (  قوله تعالى: يا أيها الذين آمنوا لا تأكلوا أموالكم بينكم بالباطل )          ความว่า โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย พวกเจ้าจงอย่ากินทรัพย์ระหว่างพวกเจ้าโดยไม่ชอบธรรม. (21)

                4- ผลิตภัณฑ์ไม่ได้เป็นเป้าหมายหลักของการเข้าร่วมซื้อสินค้าหรือเป็นสมาชิกแต่เป้าหมายหลักคือเม็ดเงินและรายได้ที่อาจเป็นจริงหรือเลื่อนลอยก็ได้ หลักของฟิกฮฺ กล่าวว่า  (العبرة في العقود بالمقاصد والمعاني لا الالفاظ والمباني ) ความว่า การทำข้อตกลงต่างๆนั้นต้องดูที่เจตนาและความหมายไม่ใช่คำพูดหรือ รูปแบบโครงสร้างภายนอก.

....................................................................................................................

        (12) www.mishkat .net       

 (13) http://ahlalhdeeth.com/vb/showthread.php?p=167266   

  (14)http://webcache.dmz.islamweb.net.qa/ver2/Fatwa/ShowFatwa.php?lang=A&Option=FatwaId&Id=19359

(15)www.zpu.edu.jo/services/conferences/financial_in_islamic_view.htm - 8k -

(16) www.islamtoday.net/questions/show_question_content.cfm?id=22445 - 36k-

(17)หนังสือ อัลมุฆนี แต่งโดยอิบนุ กุดามะฮฺ  โรงพิมพ์  ฮัจร์  ไคโร พมพ์ครั้งที่สอง ปี 1992             เล่มที่ 6หน้า 92-95มัดดุ อัจวะห์ คือการซื้อขายแลกเปลี่ยน สิ่งที่มีสาเหตุริบาเดียวกัน เช่นทองกับทอง หรือเงินแลกเงิน โดยที่อีกฝ่ายหนึ่งมีสิ่งอื่นร่วมด้วย เช่น การซื้อขายทองหนึ่งบาทแลกกับทองหนึ่งบาทบวกกับผลอินทผาลัมหนึ่งลิตรเป็นต้น

(18) อัล- บะกอเราะห์    อายะฮฺที่ 275

(19) อัลมาอิดะฮฺ   อายะฮฺที่ 9

(20) รายงานโดยมุสลิม หมายเลข เศาะฮีฮฺมุสลิม .......

(21)    อันนิสาอฺ  อายะห์ที่29

 

หมายเลขบันทึก: 115265เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2007 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2012 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

ผมพยายามสรุปประเด็นจากที่อ่านได้ว่า เหตุที่ห้าม คือ

  • เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย
  • ไม่ได้ค้าขายสินค้า แต่เป็นการค้าขายเงินต่อเงิน
  • สินค้าไม่ไ้ด้มีคุณภาพเหมาะสมกับราคา
  • มีลักษณะเข้าข่ายการพนัน หรือเสี่ยงโชค

และเท่าที่เห็นนั้น บ่งบอกได้ประการหนึ่งว่า มิได้ห้ามการขายตรงทั้งหมด เพราะการขายตรงมีหลายรูปแบบ ที่ห้ามชัดๆ ตอนนี้ก็คือธุรกิจที่เข้าข่ายในสี่ประการข้างต้น

ดังนั้นถ้าการขายตรงใดที่ไม่ส่อไปยังสี่องค์ประกอบข้างต้น ก็ถือว่าอนุมัติ (ใช่หรือไม่?) 

ไม่ทราบผมเข้าใจถูกต้องหรือเปล่าครับ? 

2- คำวินิจฉัยของคณะกรรมการถาวรแห่งที่ประชุมนักหะดีษ (  لملتقى أهل الحديث اللجنة الدائمة)

-------------------------------------

แบมัง...ขอทำความเข้าใจต่อแหล่งที่มาของข้อมูลข้างต้นว่า

1. Multaqa Ahl al-Hadeeth เป็นเพียงบอร์ดแลกเปลี่ยนความคิดเห็นธรรมดา (Ahl al-Hadeeth Forum) ไม่ด้เกี่ยวข้องกับคำฟัตวาดังกล่าว แต่อย่างใด

2. คำว่า "อัลลัจญ์นะฮฺอัดดาอิมะฮฺ" ที่อ้างถึง คือ "อัลลัจญ์นะฮฺอัดดาอิมะฮฺ ลิลบุหูษอัลอิลมิยะฮฺงัลอิฟตาอ์" (คณะกรรมการภาวรเพื่อการวิจัยเชิงวิชาการและการฟัตวา) แห่งประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีการวินิจฉัยเมื่อวันที่ 14/3/1425 ฮ.ศ. และลงลายมือชื่อโดย 1. เชคอับดุลอะซีซ อาละเชค มุฟตีใหญ่แห่งซาอุดีอาระเบีย ประธานคณะการรมการ 2. เชคศอลิหฺ บิน เฟาซาน อัลเฟาซาน 3. เชคอับดุลลอฮฺ บิน อับดุลเราะหฺมาน อัลฆุดัยยาน 4. เชคอับดุลลอฮฺ บิน มุหัมมัด อัลมุฏลัก 5. เชคอับดุลลอฮฺ บิน อาลี อัลร็อกบาน. วัลลอฮุอะอฺลัม

อัสสลามุอาลัยกุม อาจารย์

กำลังสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่พอดีเลย

พอดีวันนี้มีคนมาแนะนำผมเกียวกับธุรกิจเครือข่ายที่เรียกว่า ธุรกิจกึ่งสหกรณ์รูปแบบใหม่  ชื่อบริษัท อีซี่ เน็ตเวิร์ค มาเก็ตติ้ง จำกัด  ความจริงผมไม่ค่อยสนใจกับธุรกิจขายตรงเท่าไรเคยมีหลายราย หลายสินค้ามานำเสนอ คุยไปคุยมา พอผมบอกว่าเป็นนักจิตวิทยา เขาก็ขอตัวกลับไปเลยก็มี

แต่วันนี้บังเอิญภรรยาเขารู้จักกับภรรยาผม และผมก็เจอเขาบ่อยๆที่มัสยิด ก็เลยต้องนั่งคุยไปตามมารยาท ทราบมาว่ามุสลิมเรามสมัครเป็นสมาชิกกันมาแล้วหลายราย บางคนชวนกันทั้งพ่อ แม่และลูกๆ บางคนยอมลาออกจากราชการ(ครู)ที่เป็นมาเป็นสิบๆปี นำเงินที่ได้จากการลาออกมาทุ่มซื้อหุ้นเป็นหลักแสนบาทเลย นอกจากนั้นก็ยังมีอุสตาส ครูร.ร.เอกชนก็มี เพราะผลกำไรที่เขาโฆษณานั้นล่อตาล่อใจมาก และยังอ้างว่ามีผู้ที่เรียนจบเศณษศาสตร์อิสลามจากต่างประเทศมาบอกว่าไม่ผิดหลักศาสนาด้วย

ผมตรวจสอบข้อมูลเรื่องนี้คร่าวๆทางอินเทอเน็ตพบว่า กำลังเป็นประเด็นที่ฮ็อตประเด็นหนึ่งที่กำลังถกเถียงกันว่าผิดพ.ร.บ.การค้าหรือไม่ แต่ย้งไม่มีข้อสรุป

แต่อย่างไรก็แล้วแต่ เห็นว่ามีมุสลิมเราเข้าไปร่วมธุรกิจกันมากด้วย เหตุผลสองข้อหลักที่กล่าวมา(ดูเหมือนเหตุผลข้อแรกจะทำให้ผู้สมัครไม่ค่อยสนใจเหตุผลข้อที่สอง) จึงอยากจะให้อาจารย์หรือสาขาเศรษฐศาษตร์ช่วยเป็นธุระ ในการพูดถึงประเด็นนี้สักหน่อยครับว่าผิดถูก ได้หรือไม่ได้อย่างไร

ถ้าอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม เขาจะจัดประชุมแนะนำธุรกิจขึ้นในวันเสาร์ที่ ๔ สิงหาคมนี้ เวลา ๑๐.๐๐ น.เป็นต้นไป ที่สำนักงานตะกาฟุล ซ.๖ ตลาดเก่า ยะลานี่เอง หรือที่ผมก็มีเอกสารแนะนำของเขาที่ให้ยืมศึกษา ๑ สัปดาห์ครับ

ยังไงก็ขอให้อาจารย์แสดงความเห็นเรื่องนี้หน่อยนะครับ

ญะซากุมุลลอฮุคัยรฺครับ 

ขออัลลอฮฺ ตอบแทนทุกท่านที่ร่วมแสดงความเห็น

 ครับ เราคงไม่ไปตัดสินว่าบรษัทไหนบ้างที่ผิด แต่เราช่วยกันตักเตือนและบอกกล่าวให้ระมัดระวังจากสิ่งที่บรรดาอุลามาอฺเขาได้วินิจฉัยไว้  ถ้ารู้สึกว่ามันมีสิ่งที่ส่อไปในทางที่กล่าวมา ก็ออกห่างไว้ก่อนจะดีกว่าครับ เพื่อความปลอดภัย วัลลอฮุอะลัม. 

ใครก็ได้ที่อยากรู้

ต้องการทราบว่าตกลงเราทำงานผ่านระบบเครื่อข่ายได้หรือไม่ เช่นการทำงานผ่านระบบเน็ตเวิก แต่เป็นในลักษณะผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพไม่ทราบว่าได้หรือไม่ที่เราจะทำ เกี่ยวกับธุรกิจนี้

MLM - โยนลิสต์รายชื่อ 100 คนของคนรู้จักทิ้งไป เพราะใน 5 นาทีต่อไปนี้ คุณกำลังจะได้พบว่าคุณสามารถสร้างรายชื่อผู้มุ่งหวังที่พร้อมจะวิ่งมาขอสมัครกับคุณเองถึงหน้าบ้าน 100 รายชื่อภายใน 7 วันแบบฟรีๆ

ธุรกิจเครือข่าย - โยนลิสต์รายชื่อ 100 คนของคนรู้จักทิ้งไป เพราะใน 5 นาทีต่อไปนี้ คุณกำลังจะได้พบว่าคุณสามารถสร้างรายชื่อผู้มุ่งหวังที่พร้อมจะวิ่งมาขอสมัครกับคุณเองถึงหน้าบ้าน 100 รายชื่อภายใน 7 วันแบบฟรีๆ

ธุรกิจบางบริษัท ตั้งอยู่บนความยุติธรรม และมีกฎจรรยาบรรณที่เข้มงวด ดังนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายอย่าได้เหมารวมความผิดเป็นของบริษัทธุรกิจเครือข่ายทุกบริษัท นะครับ

ถ้ามีสิ่งทีกล่าวมาก็ถือว่าต้องห้ามครับ

สลามทุกๆท่าน

มีคำถามครับ

1.ขายตรงชั้นเดียวกับหลายชั้นต่างกันอย่างไร

2.ธุรกิจเครือข่ายกับแช่ลูกโซ่ต่างกันหรือไม่อย่างไร

3ทำไมต้องทำธุรกิจข่าย

4ทำธุรกิจเครือข่ายรายได้มาจากการข่ายหรือเอารายได้ของคนที่เราแนะนำหรือบริษัทเป็นผู้จ้างเรา

5ถ้าจะทำธุรกิจเครื่อข่ายต้องทำอย่างไร ต้องขาย หรือ ต้องขยายเครือข่าย ถ้าขยายเครือข่ายโดยไม่ข่ายได้ไมเพราะขายไม่เป็นอายเพื่อน ถ้าขยายเครือข่ายอย่างเดียวฮาลาลไม

ขอบคุณเพื่อนๆที่ตอบด้วย

โอ้... ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ฮะ

---------------------------------------

My Blog : http://Natdanai.net

๑/คนที่เข้าร่วมมีมากมายแต่คนที่ได้รถ ได้ตำแหน่งขั้นนั้นขั้นนี้ มีกี่คน หลายคนที่ทำแต้มไม่ถึง ก็เสียแรงฟรีไม่มีค่าจ้างใด คนที่รวยก็คือบริษัทเพราะไม่ต้องมีลูกจ้าง มีแต่รางวัลให้คนที่ทำเงินสูงๆให้

๒/การปลุกเร้าให้คนซื้อ ด้วยวิธีการทดลองทางเคมีบ้าง บอกสรรพคุณมากมาย อย่างนั้นอย่างนี้(ความเป็นจริงไม่มีใครรู้) ทั้งที่คนซื้อไม่ได้อยากซื้อ แต่หลงคารม เกรงใจคนขาย และอื่น วิธีการเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่ถูกหลักการ

๓/สมาชิกจะมีการรวมตัวกันในงานปาตี้ที่โรงแรมบ้าง ชายหาดบ้าง มีการร้องรำทำเพลงต่างๆนานา ก็เป็นอีกประเด็นที่ควรพิจารณา

ตอบ คุณสมาน

๑/ขายตรงชั้นเดียวคุณรับสินค้าไปขายให้ลูกค้าเลยโดยไม่ต้องหาสมาชิกเป็นเครือข่ายภายใต้คุณ ส่วนหลายชั้นมีการหาสมาชิกใหม่มาอยู่ภายใต้พร้อมกับการทำแต้มด้วยตัวของคุณเองด้วย

๒/แชลูกโซ่จะไม่มีสินค้าจะเล่นกันด้วยเงิน หรือไม่ก็ใช้สินค้าเป็นตัวหลอกเท่านั้น

๓/ประหยัดค่าโฆษณา ประหยัดค่าลูกจ้าง มีคนเข้าหาเอง ด้วยแรงจูงใจต่างและอาศัยความโลภของคน เป็นต้น

๔/ไม่มีค่าจ้าง แต่เป็นลักษณะคล้ายรางให้คนที่ขายได้ตามยอดที่บริษัทกำหนด ถ้าไม่ถึงก็เหมือนช่วยขายให้เขาฟรีๆ

๕/ถ้ามันต้องห้ามจะอยู่ส่วนไหนก็ต้องห้ามหมดละครับ

วัลลอฮุอะอ์ลัม วัสสลาม

ไหงโปสแล้วมันไม่ขึ้นครับ

เกี่ยวกับธุรกิจเครือข่าย นอกจากทัศนะที่บอกว่าฮะรอมอย่างชัดเจนแล้ว ยังมีทัศนะอื่น คือ

ทัศนะที่ 2. ไม่ฟันธงว่าฮะรอม ไม่ได้สั่งห้าม แต่ไม่ได้ส่งเสริม

ทัศนะของเชคริฎอ อะหมัด สมะดี ให้ความเห็นว่า

“ไม่สามารถให้ฮุก่มธุรกิจเครือข่ายแบบเหมารวมทั้งหมดได้ ต้องพิจารณากันเป็นบริษัทๆไป แต่มีข้อควรระวัง คือ

1. บริษัทส่วนมากมักมีข้อแม้หรือเงื่อนไขที่ไม่สอดคล้องกับหลักการของอิสลาม

2. บริษัทส่วนใหญ่มักไม่มีความจริงใจ”

ทัศนะของอาจารย์สุนทร วงศ์หมัดทอง ที่ปรึกษาของเมืองไทยตะกะฟุล ให้ความเห็นว่า

“จะทำได้หรือไม่ให้พิจารณาจาก 4 ข้อนี้ คือ

1.ไม่เป็นสิ่งที่หลอกลวง 2. ชัดเจนตรวจสอบได้ 3. ไม่ใช่การพนัน 4.ไม่เกี่ยวกับดอกเบี้ย”

ทัศนะที่ 3. มองว่าทำธุรกิจนี้ได้ โดยมีเงื่อนไง ซึ่งเงื่อนไขที่ว่านั้นต้องดูจากหลายองค์ประกอบ คือ

- บริษัท มีอยู่จริงหรือไม่ มั่นคงหรือไม่

- สินค้า คุณภาพดีหรือไม่ สมราคา วัตถุดิบ/ขั้นตอนการผลิตฮาลาลหรือไม่

- เจ้าของบริษัท เป็นคนดีแค่ไหน มีแนวคิดอย่างไรในการทำธุรกิจ คิดถึงแต่ตัวเองหรือสมาชิกด้วย

- แผนการตลาด เป็นแผนที่เอาเปรียบผู้อื่นหรือไม่ ส่งเสริมให้เกิดความไม่เป็นธรรมหรือไม่

- ระบบในการอบรมพัฒนาสมาชิก มีการสร้างแนวคิด หรือมีวิธีการที่ฮะรอมหรือไม่

นอก จากบริษัท แล้ว สิ่งที่เราต้องพิจารณาด้วยตนเองอีกข้อคือ ผู้นำทีม(รวมถึงผู้ที่มาแนะนำเรา) ถ้าเป็นคนที่ชอบพูดเกินจริง หลอกลวง ชอบเอาเปรียบ ยักยอก ตื้อตาม

ถึงแม้ได้อยู่ในบริษัทที่ดีแล้ว แต่การทำธุรกิจร่วมกับคนแบบนี้ก็จะฮาลาลได้ยาก

คนที่ทำธุรกิจนี้จึงต้องเลือกผู้นำที่ดี มีแนวคิดที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดี สร้างวัฒนธรรมที่ดีแก่สมาชิกในองค์กร

นี่เป็นเงื่อนไขคร่าวๆ รายละเอียดลึกๆอยู่ในหนังสือ SOAL JAWAB MLM SYARIAH HPA

ส่วนผู้รู้ในทัศนะนี้ได้แก่

1. Ustaz Ahmad bin Ali (M.A. Usul Fiqh Universiti al-Azhar,bekas Pensyarah UM,UIA dan Universiti Brunei); Pengerud\si Panel.

2. Y.B.Ustaz Hashim bin Jasin (B.A. Pengajian Islam Universiti Baghdad)

3. Dr. Mohd Nasir bin Hj Hamid (PHD Pengajian Islam UKM, Pensyarah UITM Arau)

4. Prof.Madya Dr.Ishak bin Sulaiman (PHD Hadith dan Muamalah University of Wales U.K, Pensyarah UM)

5. Ustaz Basri bin Abdul Ghani (M.A. Ekonomi Islam UM, Pensyarah Ekonomi Islam UIMT Arau)

6. Ustaz Nidho bin Abdurrahman (B.A. university Al-Azhar,M.A. Al-Quran dan Sunnah UKM,Pensyarah UUM Sintok)

7. Ustaz Khadafi bin Hj Rofie (B.A. Al-Azhar, M.A. Hadis UKM,Pensyarah UUM Sintok)

8. Ustaz Hasan Zaid bin Ramli (B.A. Al-Azhar, M.A. Syariah UKM., Pensyarah Kolej MANHAL)

9. Ustaz Hasbullah bin Ali (B.A. Al-Azhar, M.A.Syariah UKM., Pensyarah Kolej MANHAL)

10. Ustaz Ya Ali bin Dahaman (B.A. Al-Quran As-Sunnah UKM, M.A. Perundangan Islam UM, bekas Pensyarah UITM)

11. Ustaz Ahmad Adnan bin Fadzil (B.A. Syariah Al-Azhar,Dip. Dirasat Ulya (Pra M.A.) Insaniah-Al-Azhar,Pengurus Pentadbiran HPA);Setiausaha Panel.

ข้อมูลจาก : http://www.annisaa.com/forum/index.php?topic=1888.0

(ในความเห็นที่ 8 ของกระทู้นั้น "ธุรกิจของอัลลอฮฺ...ต้นแบบของธุรกิจเครือข่าย")

ผมเป็นแพทย์เปิดคลีนิคส่วนตัวท่านหนึ่ง อยากถามว่าถ้าผมเน้นที่ตัวผลิตภัณท์โดยที่ผลิตณ์สุขภาพตัวนั้นผมศึกษามาแล้วว่าดี แต่ผลิตภัณท์ตัวนั้นดันไปอยู่ในธุรกิจเครือข่าย ผมจ่ายให้คนไข้เป็นทางเลือกเสริม ซึ่งขายถูกกว่าราคาขายปลีก แต่ถ้าคนไข้สมัครสมาชิก(สมัครฟรี)ก็จะได้ราคาถูกกว่าที่ผมขายไปตรงนี้ถือว่าผมทำธุรกิจเครือข่ายแล้วยัง. 2.คนไข้คนนั้นนำไปบอกต่อ แล้วหาสมาชิกมากมายทำให้ มีเงินเข้ามาทีบัญชีของผมเนื่องจากการซื้อของสมาชิก ตรงนี้ผมจะทำอย่างไรกับรายได้เหล่านั้น ถ้าผมตามทรรศนของmirrorim คงจะไม่ฮาราม แต่ถ้าตามทรรศนที่โพสต์ไว้ ฮารามทุกกรณี ไม่รู้ผมเข้าใจถูกต้องหรือไม่

ต่อนะครับ มีผลิตภัณสุขภาพตัวหนึ่งผมศึกษาแล้วว่าดี ยี่ห้อหนึ่งมีขายตามท้องตลาดแต่ไม่มีฮาลาล อีกยี่ห้อหนึ่งดันไปอยู่ในบริษัทเครือข่ายแต่มีฮาลาลซึ่งมีราคาแพงกว่าประมาณ200บาท ผมจึงตัดสินใจเลือกยี่ห้อที่อยู่ในบริษัทเครือข่ายแต่มีฮาลาลไปขายให้คนไข้ แต่ผลิตภัณนี้ผมไม่ได้ให้คนไข้สมัครเพราะต้องเสียค่าสมัคร300บาท และการจัดข้อมูลก็ยุ่งยากจึงไม่เกิดเครือข่าย ผมก็หลุดจากระบบเครือข่ายไป ประเด็นคือผมทำถูกต้องหรือไม่ แล้วมันจะเข้าข่ายกำไรเกินควรหรือไม่ เพราะมันแพงกว่าของท้องตลาด200บาทแล้ว ผมก็ต้องบวกกำไรของผมเพ่ิมอีกนิดหน่อย ยังไงอาจารย์ช่วยตอบผมหน่อยน่ะครับ ปล.ปัจจุบันผลิตภัณสุขภาพดีดี มักจะอยู่ในรูปแบบเครือข่าย หรือไม่ก็ห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ

คือ ผมอยากทราบว่า ธุรกิจ เครื่อข่าย ที่ มีชื่อ ว่า aimstarnetwork นี้ จะผิดหลักการหรือไหม?

ลองเปิดอ่านแผนธุรกิจ จาก เว็บนี้ดูครับ http://aimstarnetwork.com/TH/Starmatching/default.htm ขอบคุณมากๆๆ

ผมก้ออยากรู้ครับ ว่า ธุรกิจ เครื่อข่าย ที่ มีชื่อ ว่า aimstarnetwork นี้ จะผิดหลักการหรือไหม? สามารถทำได้หรือป่าวววคับ

อยากรู้มากๆเลยคับ....ต้องการคำตอบบ อย่างด่วนครับ

ถ้าหาก สมัครสมาชิกเพื่อที่จะซื้อสินค้าในลักษณะลดราคา 25% โดยไม่หวังที่จะทำธุรกิจเครือข่าย จะเป็นที่ต้องห้าน หรือ เป็นที่อนุญาติ หรือไม่อย่างไรครับ ช่วยตอบด้วยน่ะครับ جزاك الله خيرا

 ผมอยากรู้ว่าการทำธุรกิจเครือข่าย อย่าบริษัท เอสเนเจอร์ ทำได้หรือไม่

อยากทราบว่าธุรกิจ topup2rich ผิดหลักศาสนาอิสลามหรือไม่ ช่วยตอบด้วยครับ http://topup2rich.net/

ถึงผู้รู้และอาจาร์ด้านกฎหมาย.   ท่านใดมีความรู้เกี่่่ยวกับธุรกิจเครือข่าย.  แอมเวย์.    เอาแบบสรุปตรงประเด็นเลยนะคะ.  ว่าผิดหลักศาสนาหรือเปล่า.   เพราะฟังมาหลายอาจาร หลายท่านที่อธิบายไว้การค้าขาย ที่มีดอกเบี้ย.  และเป็นการพนัน. ผิด.  แต่ดิฉันทำแอมเวยมา.  5.  ปีแล้ว.  อ่านในคู่มือการทำธุรกิจไม่เห็นว่าเป็นเหมือน. ว่ามีการพนัน. และดอกเบี้ย.  ช่วยตอบให้ด้วยนะคะ. ท่านผู้มีความรู้ทั้งหลาย.     เพราะถามอาจารท่านหนึ่งท่านตอบแบบคลุมเครือท่าน. บอกว่าให้ออกห่างจากการสงสัย.  แต่ดิฉันก็ยังเชื่อในคัมภีกุรอ่าน.   เพราะเป็นคู่มือของการใช้ชีวิติของมนุษย์.  ที่พระเจ้าทรงประทานลงมาพระองค์ทรงเป็นผู้รอบรู้และสิ่งที่พระองค์ห้ามนั้นต้องไม่ดีแน่นอน.   วอนท่านทั้งหลายช่วยมาศึกษาธุรกิจแอมเวย์.  เอาเฉพาะหลักการและข้อปฎิบัติที่แอมเวยกำหนดไว้นะคะ.   เพราะถ้าไปดูคนที่ำทำแอมเวย. ก็มีทั้งคนที่ทำถูกต้อง. และคนที่ทำผิดข้อกำหนด.   ดูอย่างดิฉันนะคะมารับอิสลามพระเจ้าทรงเมตาให้เข้าใจศาสนาเพราะระหว่าง.  อิสลาม.   กับมุสลิม.    เพราะเราอาจจะเจอมุสลิมกินเหล้า.    แต่ในศาสนาอิสลามไม่มีแน่นอนคะ.    ขอขอบคุณท่านที่จะมาตอบให้ความกระจ่างไว้ล่วงหน้านะคะ

ธุรกิจขายตรงหรือธุรกิจที่เป็นเครือข่าย พวกคุณน่าจะคิดได้แล้ว ผมคิดว่าการอ่านทุกข้อความข้างบน ไม่เป็นการเสียเวลา มันทำให้เห็นมุมมองว่า บางคน ยังต้องการในธุรกิจนี้ คิดสิครับคิด ว่า เป็นที่โปรดปราน ของอัลเลาะหรือปล่าว ท่านนบี ปฏิบัติหรือปล่าว อัลกรุอาน สอนอย่างไร สิ่งที่ไม่ชัดเจนก็ไม่ต้องทำ ทุกอย่างอยู่ที่ใจคุณคิดทั้งนั้น บางคน พูดซะดีบดี ว่าอยากค้าขาย แต่ในในไม่ได้คิดอย่างนั้น 

อินชาอัลเลาะ ขอให้อัลเลาะมอบทางสว่าง ให้กับพวกเราทั้งหลาย 

อย่าหลองลวงคนอื่นด้วยธุรกิจขายตรง อย่าหลงเชื่อคนอื่นด้วยธุรกิจขายตรง คุณโกหกอัลเลาะห์ไม่ได้ 

เป็นสิ่งหนึ่งที่บอกว่า ใกล้วันสิ้นโลก หรือปล่าว สิ่งที่ฮะรอม ทำเป็นฮะลาล ได้  

อย่าคิดว่ามีเงิน รวยแล้วจะสบาย สิ่งที่ต้องการบนโลกในคืออะไร ตอบโจทย์ในถูกก็พอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท