5. มาตรฐาน ISMF 7 (Information Security Management Framework)


5. มาตรฐาน ISMF 7 (Information Security Management Framework)

5. มาตรฐาน ISMF 7 (Information Security Management Framework)

ISMF 7   เป็นมาตรฐานตรวจสอบและประเมินความปลอดภัยระบบสารสนเทศที่พัฒนาโดยนักวิชาการคนไทย จุดประสงค์เพื่อให้เป็นแนวทางในการปริหารจัดการระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบันของการโจมตีระบบโดยแฮกเกอร์และมัลแวร์ต่างๆ

  นอกจาก CIO ยุคใหม่ต้องศึกษามาตรฐานสากลด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยแล้ว พวกเขายังมีหน้าที่ในการกำหนดยุทธศาสตร์ ทิศทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร ตลอดจนมาตรการในการรักษาความปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร เนื่องจากเป็นมีบุคลากรที่รับผิดชอบในเรื่องนี้โดยตรง

  ในกรณีที่ยังไม่มีตำแหน่ง CSO (Chief Security Office) หรือ CISO (Chief Information Security Officer) มารับผิดชอบด้านความปลอดภัยสารสนเทศโดยตรง CIO ก็ต้องรับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยไปด้วยในตัว ซึ่งนับว่าเป็นภาวะความรับผิดชอบที่ค่อนข้างสูง เพราะเรื่องความปลอดภัยเทคโนโลยีระบบสารสนเทศนั้น มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ CIO   ต้องคอยติดตามความเคลื่อนไหวและปรับปรุงความรู้ความสามารถให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และยังต้องตัดสินใจเรื่องการเลือกใช้เทคโนโลยีด้านความปลอดภัยที่เหมาะสมแก่องค์กรทั้งในเรื่องของ TCO (Total Cost of Ownership) และ ROI (Return On Investment)

  จากข้อมูลของ Gartner เรื่อง Hype Cycle for Information Security 2004 ปัญหาด้านความปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศยังเป็นประเด็นสำคัญที่ CIO ต้องให้ความสนใจและจัดการอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็น Spyware, Phishing, SPAM และ Peer-to-Peer Exploit

  ขณะเดียวกันเทคโนโลยีและบริการที่ CIO ใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าว บางเทคโนโลยี เช่น IDS นั้น ล้าสมัยไปแล้ว ทุกวันนี้ เทคโนโลยีใหม่เข้ามาแทนที่ เช่น IPS, Vulnerability Management และ Patch Management เป็นต้น ส่วนการให้บริการเฝ้าระวังระบบรักษาความปลอดภัยจากบริษัทที่รับดูแลด้านความปลอดภัยโดยตรง ที่เรียกตัวเองว่า MSSP (Managed Security Service Provider) ก็กำลังได้รับความนิยมจาก CIO เพิ่มขึ้นเช่นกัน

  ดังนั้น CIO ควรมีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีและเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และอนาคต โดยสรุปได้ 6 ข้อดังนี้

1. มีกลยุทธ์ในการรับผิดชอบดูแลเรื่องการประหยัดงบประมาณ

การใช้จ่ายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดซื้อจัดจ้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จำเป็นต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง การตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีใหม่จึงเป็นความท้าทายของ CIO เพราะหากตัดสินใจผิดก็อาจส่งผลเสียในระยะยาวให้แก่องค์กรได้

  ขณะที่งบประมาณด้านการรักษาความปลอดภัย มีแนวโน้มที่จะลดลงตามสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย แต่การโจมตีจากแฮกเกอร์ และไวรัสกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้น CIO จึงจำเป็นต้อง “Balance” ปรับสมดุล ระหว่างความปลอดภัยขั้นต่ำที่องค์กรควรมี และงบประมาณที่จะถูกใช้จ่ายออกไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ตลอดจนการบริการจาก IT Auditor, IT Consultant, System Integrator และ IT Outsourcer รวมถึงงบประมาณการฝึกอบรม Information Security Awareness Training และ Information Security Technical Training จาก IT Training Center ต่าง ๆ อีกด้วย

2. กำหนดแผนยุทธ์ศาสตร์ด้านความปลอดภัยระบบสารสนเทศให้ชัดเจนและนำไปปฏิบัติจริงได้

แผนยุทธ์ศาสตร์ในระยะยาวควรกำหนดออกมาให้ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการด้านสารสนเทศและการรักษาความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ จากนั้น แผนระยะกลางและแผนระยะสั้น ก็ควรถูกกำหนดออกมาเช่นกัน ยกตัวอย่าง เช่น องค์กรควรมีการจัดทำการประเมินความเสี่ยงระบบสารสนเทศเป็นประจำทุกปี และควรมีการจัดทำแผนฝึกอบรม Information Security Awareness Training ในทุกๆ 3 – 6 เดือน เป็นต้น

3. เพิ่มความรู้และมีความรอบรู้เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและไม่ล้าสมัย

  ยกตัวอย่างการเลือกใช้แพลตฟอร์มว่าจะใช้ Windows Server 2003 Platform หรือ UNIX/LINUX Platform การเลือกใช้เทคโนโลยี J2EE (Jave 2 Enterpirse Edition) หรือเลือกใช้เทคโนโลยี Dot NET ของ Microsoft เป็นต้น

  การหมั่นเข้าร่วมฟังงานสัมมนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็เป็นเรื่องจำเป็นของ CIO เช่นเดียวกัน ซึ่งก็คงต้องปลีกเวลาการทำงานบ้างเพื่อเพิ่มพูนความรู้ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจในอนาคต การเดินทางไปชมงาน ICT Expo ในต่างประเทศ ก็ควรอยู่ในโปรแกรมของ CIO ด้วย

4. นำองค์กรเข้าสู่มาตรฐานกำหนดความปลอดภัยสารสนเทศที่สากลให้การยอมรับและเตรียมพร้อมสำหรับการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศ

  การนำมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยระบบสารสนเทศ เช่น ISO/IEC17799 หรือ CobiT มาประยุกต์ใช้บางส่วน ถือเป็นเรื่องจำเป็น CIO ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน โดยองค์กรอาจจะไม่จำเป็นต้องได้รับใบรับรองมาตรฐาน BS7799-2 ในกรณีที่องค์กรมองว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการได้รับใบรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัยนั้นยังไม่ชัดเจน

แต่องค์กรก็ควรนำมาตรฐานสากลที่เป็น “Best Practice” ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ เพื่อความปลอดภัยขององค์กรเอง และ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคของไอทีภิบาล

การตรวจสอบระบบสารสนเทศโดยผู้ตรวจสอบภายนอกหรือผู้ตรวจสอบภายในเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำเป็นประจำทุกปีเพื่อให้แน่ใจถึงระดับของความเสี่ยงที่ผู้บริหารยอมรับได้ และไม่ส่งผลกระทบต่อองค์กร

5. รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานและพัฒนาการสื่อสารกับผู้ร่วมงานให้มีความชัดเจนและความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน

  ปัญหาของ CIO ในหลายองค์กร คือ ไม่สามารถอธิบายการทำงานด้านสารสนเทศต่าง ๆ ให้ผู้บริหารระดับสูง เช่น CEO หรือ CFO เข้าใจ และให้การสนับสนุนได้อย่างมากพอ ทำให้หลายโครงการด้านสารสนเทศ ไม่ประสบความสำเร็จ

  ดังนั้น CIO ควรต้องมีทักษะในการพูดคุย การติดต่อ ตลอดจนการนำเสนอในรูปแบบมืออาชีพ ที่มีความชัดเจน และ ง่ายต่อการเข้าใจของผู้บริหารระดับสูงที่ไม่ใช่ “คนไอที” ตลอดจน CIO ควรรักษาความสัมพันธ์กับ System Integrator, Consultant, Supplier และ Outsourcer เพื่อให้บริษัทเหล่านี้มาช่วยแบ่งเบาภาระของ CIO และ เป็นการ Transfer Risk ไปในตัว

ความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานต่าง ๆ ดังกล่าวจะส่งผลช่วย CIO ในทางอ้อมต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและภาพลักษณ์ของตัว CIO เอง

6. เตรียมรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความปลอดภัยสารสนเทศที่อาจเกิดขี้นได้

  แผน BCP (Business Continuity Planning) และ DRP (Disaster Recovery Planning) ควรถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้องค์กรพร้อมกับการเตรียมรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือ Incident Response Management ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อการทำงานโดยรวมขององค์กรได้ โดย CIO ต้องช่วยสนับสนุนและเป็นแกนหลักในการจัดทำแผนดังกล่าวด้วย

  กล่าวโดยสรุป ตำแหน่ง CIO นั้นเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อองค์กรอย่างสูงในยุคที่เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ และการสื่อสาร เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรในปัจจุบัน การกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการรักษาความปลอดภัยสารสนเทศเป็นเรื่องสำคัญที่ CIO ทุกท่านต้องจัดทำขึ้น และ CIO จะต้องมีความรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวโดยปริยาย ทั้งนี้ เนื่องจากในอนาคตกฏหมายต่าง ๆ ที่กำลังจะถูกประกาศใช้ เช่น กฏหมายการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือประกาศกฏข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรที่มีหน้าที่ในการควบคุม เช่น สตง. ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ กลต. มีแนวโน้มที่จะเข้มงวดเรื่องการรักษาความปลอดภัยข้อมูลระบบสารสนเทศมากขึ้น CIO ก็ควรจะปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยทศวรรษแห่งดิจิตอลเพื่อนำองค์กรเข้าสู่ “ไอทีภิบาล” เพื่อจุดมุ่งหมายปลายทาง คือ Corporate Governance หรือ “บรรษัทภิบาล” ในที่สุด

 

 

หมายเลขบันทึก: 334136เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2010 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท