ความซับซ้อนในการแก้ปัญหานักเรียนยุคดิจิตัล


การแก้ปัญหานักเรียนในยุคดิจิตัลต้องใช้วิธีแก้ที่หลากหลาย

   กระแสโลกาภิวัตน์ จนมาถึงยุคดิจิตัลได้แผ่ซ่านอิทธิพลเข้ามาในโรงเรียน ก่อให้เกิดปัญหาความถดถอยทางคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน  นับเป็นการบ้านข้อใหญ่ระดับประเทศ  โดยเฉพาะกระทรวงศึกษา ผู้บริหาร  ครูที่ต้องการแก้ปัญหาดังกล่าว   แต่ทว่าวิธีการต่างๆ ที่ครูซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติกลับไม่ค่อยได้ผล เพราะตัวแปรแทรกซ้อนมีมากเหลือเกินในสังคมปัจจุบัน  เช่น สื่อ เกมส์ สภาพครอบครัว เศรษฐกิจ เป็นต้น ดังนั้นการแก้ปัญหาหนึ่งปัญหาของนักเรียนหนึ่งคนจึงแก้ยาก เพราะมีสาเหตุที่มากกว่าหนึ่ง 

   เมื่อวานนี้ผมคิดว่าจะสามารถแก้ปัญหานักเรียนในที่ปรึกษาคนหนึ่งได้ แต่ตอนเช้าก็ผิดหวัง เพราะเขามาบอกว่าเขาเข้าใจที่ครูอธิบายทุกอย่าง แต่เขาปฏิบัติไม่ได้ ผมก็นิ่งและกลับมาคิดว่าเด็กเขามีปัญหาที่ซับซ้อนมากกว่าที่เราคิด และเราจะต้องหาวิธีการอื่นๆ มาช่วยแก้ไข เรื่องมีอยู่ว่า...

   นักเรียนหญิงคนหนึ่งจะไม่ยอมไปติวที่ในเมืองเพราะถูกครูตัดผมสั้น เขาเครียดมากถึงขนาดไม่ยอมถอดหมวกกันน๊อค ผมก็ได้เรียกเขามาพูดคุยเพื่อช่วยให้เขาเข้าใจ โดยเน้นเรื่องอีคิว ให้สามารถจัดการกับความคิดที่กลัวอายคนอื่น เพราะจริงๆ แล้วไม่มีใครมาสนใจเรา  แต่เราต่างหากที่คิดเอง เราจึงทุกข์  สอนและยกตัวอย่างนานพอสมควร  และเขาก็บอกว่าจะปฏิบัติตาม  ก่อนกลับบ้านผมก็บอกให้เพื่อนสนิทของเขาช่วยอธิบายให้เขาเข้าใจด้วย  ...แต่ตอนเช้าเขามบอกว่า อาจารย์ค่ะ หนูเข้าใจที่อาจารย์สอนทุกอย่าง...แต่หนูทำไม่ได้

   เมื่อวิเคราะห์ไปที่บริบทตัวเด็กคนนี้พบว่าพ่อแม่ไปทำงานกรุงเทพฯ อยู่กับตายาย และเขาเป็นผู้หญิงห้าวๆ อาจารย์บางท่านจะล้อว่าทอม  ซึ่งมีอารมณ์      อ่อนไหว ซึ่งเรามองเขาร่าเริงเข้มแข็งคงไม่เกิดเหตุการณ์นี้

    ผมมองว่าการแก้ปัญหาเด็กในยุคดิจิตัลสมัยนี้ต้องใช้วิธีแก้ที่หลากหลาย      ต่อกรณีนี้ผมคงต้องแก้ที่ตัวเด็กเอง โดยเฉพาะพัฒนาอีคิว การคิดเชิงสถานการณ์ ให้ทางบ้านมีส่วนร่วม โดยเฉพาะการพูดคุยกับพ่อแม่ ปกครอง   นอกจากนั้นใช้เพื่อนสนิทของเขา  เพราะปีที่แล้ว case ที่หนักที่สุด คือ เด็กในที่ปรึกษากินยาฆ่าตัวตาย (หมอช่วยไว้ทัน) เพราะปัญหาความรัก และครอบครัวที่ไม่ลงรอยกับพ่อ ผมก็ได้ให้แม่มีส่วนร่วมช่วยบอกคุณพ่อให้ปรับตัว ให้คุณแม่กอดเขาบ้าง และให้เพื่อนสนิทเขาคอยให้กำลังใจ จนเขากลับมาร่าเริงจากที่ซึมเศร้า 

     ผมว่าปัจจุบันปัญหาของเด็กยิ่งรุนแรงขึ้น คงเป็นหน้าที่ของครูที่ต้องคอยช่วยเหลือ  แต่ครูที่จะเข้าใจเด็กที่มีปัญหาซับซ้อนมากขึ้นนั้น อาจหายากเช่นกันเพราะสังคมยุคปัจจุบันได้กลืนกินจิตวิญญาณของครูไปมากเช่นกัน หากครูไม่มีภูมิต้านทานแล้วละก็อนาคตของชาติก็คงแย่ลงมากกว่าทุกวันนี้

    ทางเลือกหนึ่งคือการสร้างเครือข่ายครูจิตตปัญญาในโรงเรียนเพราะครูแนวจิตตปัญญาจะเข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาด้วยใจแก้ที่ใจ ให้เปลี่ยนแปลงที่ใจ โดยเฉพาะครูแนะแนว และครูปกครอง ตอนนี้ที่โรงเรียนของผมก็พยายามสร้างเครือข่ายจิตตปัญญากันประมาณ 3-4 คน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ค่อยๆ ซึมไปครับ                 

หมายเลขบันทึก: 283975เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2009 17:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

*  เคยเลี้ยงหลานวัยรุ่นค่ะ...เขาจะฟังเพื่อนมากกว่า...

 * ผู้ปกครองและครูจึงต้องพยายามเข้าใจโดยฟังเขามากกว่าจะไปสั่งสอน..และถามความคิดของเขาว่าอยากจะแก้ไขอย่างไร..จะให้เราช่วยอะไร...คงต้องมีขั้นตอน..ไม่ใจร้อน...

สวัสดีครับ

ให้กำลังคุณครูครับ ถึงแม้ผมไม่ใช่ครูโดยอาชีพแต่ผมถือว่าครูคือผู้ให้ผู้ยิ่งใหญ่ และผมได้ดีทุกวันนี้ก็เพราะอาชีพครูครับ

สวัสดีค่ะ

  • มาสมัครเป็นครูจิตตปัญญา  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันดีไหม
  • เราควรสร้างบล็อกไว้อย่างไร
  • ขอยืนยันค่ะว่า..แก้ได้หากครูอยากจะแก้ปัญหาให้เด็ก  แต่ต้องให้เวลาศึกษาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
  • พี่คิมก็มีเรื่องอยากจะอวดเหมือนกันค่ะ...แบบยิ้มได้อย่างชื่นใจ  ไม่มีใครเหมือน
  • เหตุการณ์ผ่านมาหมาด ๆ วันนี้เองค่ะ
  • ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ
  • ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกันค่ะ
    พื้นฐานจากสถาบันครอบครัวที่ล้มเหลว
    แก้ยากค่ะ   ถ้าไม่มีใจเมตตาคงลำบาก
  • มาเป็นกำลังใจให้เพื่อนร่วมอาชีพค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • สวัสดีคะ คุณครู
  • อ่านบันทึกของครูแล้วดีคะ
  • ขออนุญาติ นำไปใช้นะคะ
  • ขอบพระคุณสำหรับบทความดีๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท