เปิดโลกการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


ยุคปฏิรูปการเรียนรู้

เปิดโลกการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในยุคปฏิรูปการเรียนรู้

เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในยุคปฏิรูปการเรียนรู้

รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

 

CIPPA Model

                C -  Construct       การให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยความรู้ด้วยตนเอง โดยการศึกษาค้นคว้า หาข้อมูล ทำความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ แปลความ ตีความ สร้างความหมาย สังเคราะห์ข้อมูล และสรุปเป็นข้อความรู้

                I  -  Interaction  การให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน แลกเปลี่ยน และเรียนรู้ ข้อมูล ความคิด ประสบการณ์ ซึ่งกันและกัน

                P  -  Participation  คือ การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ ปัญญาและสังคม ในการเรียนรู้ให้มากที่สุด

                P  -  Process and  Product  การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการ และมีผลงานจากการเรียนรู้

                A  -  Application   การให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์หรือใช้ในชีวิตประจำวัน

 

การศึกษาเป็นรายบุคคล (Individual Study)

ครูหรือผู้เรียน เป็นผู้กำหนดหัวข้อปัญหา หรือโครงงานตามสาระการเรียนรู้ที่กำหนด โดยผู้เรียนต้องศึกษา วิเคราะห์ สรุปอ้างอิงและสรุปข้อความรู้บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ และประเมินผลกระบวนการ

ครูต้องใช้เทคนิคการประเมินในด้านการให้ข้อมูลป้อนกลับ และการตรวจแก้งาน โดยใส่ไว้ในสื่อที่ผู้เรียนใช้ หรือใช้ร่วมกันไปกับกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ครูมีบทบาทช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะและนิสัยการเรียนรู้อย่างอิสระ โดยจัดสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนให้ส่งเสริมความเป็นอิสระ ให้ผู้เรียนมั่นใจในตนเอง อยากรู้อยากเห็นและปรารถนาที่จะเรียนรู้ โดยครูอาจจัดชั้นเรียนเป็นศูนย์การเรียน จัดชุดกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activity Packages)

การศึกษาเป็นรายบุคคล สามารถปรับใช้ได้ในหลาย ๆ สถานการณ์ ตั้งแต่การเรียนในชั้นเรียนที่มีครูคอยควบคุม จนถึงการฝึกทักษะการศึกษาค้นคว้าในห้องสมุดที่ผู้เรียนต้องกำกับการเรียนรู้ของตน โดยหัวข้อที่ศึกษาจะเป็นไปตามข้อกำหนดของรายวิชาหรือไม่ก็ได้ ครูอาจใช้วิธีนี้กับผู้เรียนทั้งห้องเรียน กับกลุ่ม หรือกับผู้เรียนแต่ละคนก็ได้

กิจกรรมที่ครูสามารถเลือกใช้ให้ผู้เรียนปฏิบัติในการศึกษาเป็นรายบุคคล มีดังนี้

        รายงาน  การระดมพลังสมอง การค้นคว้าอย่างอิสระ  เรียงความ  การแก้ปัญหา  การเรียนเสริม โครงงาน  การตัดสินใจ  ศูนย์การเรียน  แบบจำลอง  คู่สัญญา  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้

 การทำนิตยสาร  การสืบค้น  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุดการสอน เกม การมอบหมายงานเป็นรายบุคคล

 การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นการปฏิสัมพันธ์ (Interactive Instruction)

เน้นการอภิปราย การแบ่งปันความรู้ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การถาม-ตอบ และการทำงานกลุ่มย่อยแบบร่วมมือกัน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีปฏิกิริยา และตอบสนองต่อความรู้ประสบการณ์ และความคิดเห็นของครูและเพื่อนๆ  ผู้เรียนจะได้ฝึกการจัดระบบความคิด การโต้แย้งอย่างมีเหตุผล และการพัฒนาทักษะทางสังคม

กิจกรรมที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นการปฏิสัมพันธ์

        การโต้วาที   กลุ่ม Buzz    การอภิปราย   การระดมพลังสมอง  การเรียนแบบร่วมมือ

       การประชุมแบบต่าง ๆ   กลุ่มแก้ปัญหา  กลุ่มติดบทบาทสมมต

การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ (Experiental Instruction)

เป็นวิธีการส่งเสริมการรับความรู้จากประสบการณ์ และการสะท้อน (Reflection) ความคิดเห็นที่มีต่อสิ่งต่างๆ ทั้งด้านเทคนิควิธีการปฏิบัติของผู้เรียนแต่ละบุคคล และกระบวนการเรียนรู้ ผู้เรียนจะได้ตรวจสอบการเรียนรู้ของตน และได้รับประสบการณ์ด้านอารมณ์ความรู้สึกที่จะนำมาปรับความรู้สึก เจตคติ และค่านิยมของตน

ประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียน

        เกม (Game)ละคร (Action or Dramatization) บทบาทสมมุติ (Role-Play)สัมภาษณ์
  (
Interviewing

การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)

เน้นการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ

แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความรู้  ความสามารถแตกต่างกัน แต่ละคนมีส่วนร่วมอย่าง แท้จริงในการเรียนรู้ และใน ความสำเร็จของกลุ่ม ทั้งโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแบ่งบันทรัพยากรการเรียนรู้ รวมทั้งการเป็นกำลังใจแก่กันและกัน คนที่เรียนเก่งจะช่วยเหลือคนที่อ่อนกว่า สมาชิกในกลุ่มไม่เพียงแต่รับผิดชอบต่อการเรียนของตนเองเท่านั้น หากแต่จะต้องร่วมรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของเพื่อนสมาชิกทุกคนในกลุ่ม  ความสำเร็จของแต่ละบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม

องค์ประกอบหลักของการเรียนแบบร่วมมือ

1.        การพึ่งพาอาศัยกันในทางที่ดี (Positive Interdependence)

2.        การสร้างทีมในการทำงาน (Team formation)

3.        ความรับผิดชอบ (Accountability)

4.        ทักษะทางสังคม (Social Skills)

5.        โครงสร้างและการจัดโครงสร้างการเรียนรู้ (Structures and Structuring of Learning)

ประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ (Advantages of Cooperative Learning)

        นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีกว่าการเรียนแบบอื่น

         สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง

         สมาชิกทุกคนมีโอกาสคิด พูด  แสดงออกแสดงความคิดเห็น ลงมือกระทำอย่างเท่าเทียมกัน

         เสริมให้นักเรียนรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

         ทำให้รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นการร่วมคิด การระดมความคิด

         ส่งเสริมทักษะทางสังคม

         เสริมทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม สามารถทำงานร่วมกับ
  ผู้อื่นได้

การเรียนแบบร่วมมือสามารถนำมาใช้ได้กับการเรียนทุกวิชาและทุกระดับชั้น และจะมีประสิทธิผลยิ่งกับกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนในด้านการแก้ปัญหา การกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ การคิดแบบหลากหลาย การปฏิบัติภารกิจที่ซับซ้อน การเน้นคุณธรรม จริยธรรม การเสริมสร้างประชาธิปไตยในชั้นเรียน ทักษะทางสังคม การสร้างนิสัยความรับผิดชอบร่วมกัน และความร่วมมือภายในกลุ่ม

การเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนพัฒนาการเรียนรู้(Friends help Friends)

กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นโอกาสให้นักเรียนเรียนเก่ง เกิดความภูมิใจในตนเอง มีเมตตา รู้จักมีน้ำใจช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่า หรือผู้ที่เรียนรู้ได้ช้ากว่าและนักเรียนเรียนอ่อนได้รับความช่วยเหลือให้บรรลุเป้าหมายพร้อมเพื่อนในเวลาที่กำหนด 

วิธีจัดกิจกรรม

1.        สมาชิกในกลุ่มมี 4 – 6 คน กำหนดหน้าที่ของแต่ละคนในกลุ่มให้ชัดเจน

2.        นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย โดยมีการช่วยเหลือระหว่างเด็กเก่งและเด็กอ่อนหรือเด็กที่เก็บตัว ไม่ชอบพูดหรือแสดงออก โดยกำหนดเกณฑ์การทำงานร่วมกัน เช่น ศึกษาใบความรู้ อภิปราย ซักถาม และนำเสนอความรู้

3.        สมาชิกแต่ละกลุ่มแข่งขันกันทำงานให้มีประสิทธิภาพ และรวดเร็วเพื่อ เป็นกลุ่มตัวแทนของห้องในการรับการตรวจสอบ แก้ไข และรับรองความถูกต้องจากครูผู้สอน

4.        สมาชิกที่ได้รับการรับรองความถูกต้องของชิ้นงานแล้ว แยกย้ายกันไป ดูแล ตรวจสอบ แก้ไข และรับรองความถูกต้องแก่กลุ่มอื่น ๆต่อไป

ประโยชน์

1.        ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสช่วยเหลื่อซึ่งกันและกัน

2.        นักเรียนที่เก่งได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเอง

3.        นักเรียนที่เรียนอ่อนหรือนักเรียนที่ไม่กล้าแสดงออกได้รับความช่วยเหลือ ดูแลอย่างใกล้ชิดจากสมาชิกในกลุ่ม

4.        นักเรียนทุกคนมีความรับผิดชอบ

5.        นักเรียนได้ฝึกความเป็นผู้นำ

6.        มีบรรยากาศการเรียนที่สนุกสนาน

การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

บูรณาการ หมายถึง การนำศาสตร์ต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน มาผสมผสานกันเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการ การจัดเรียนการสอนแบบบูรณาการ จึงเป็นการนำเอาความรู้สาขาวิชาต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันมาผสมผสานกัน เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเกิดประโยชน์สูงสุด  การเรียนการสอนแบบบูรณาการจะเน้นองค์รวมของเนื้อหา มากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชา และเน้นที่การสร้างความรู้ของผู้เรียนมากกว่าการให้เนื้อหาโดยตัวครู

ลักษณะสำคัญของการบูรณาการ

1.        เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้

2.        เป็นการบูรณาการระหว่างพัฒนาการทางด้านความรู้และทางด้านจิตใจ

3.        เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้และการปฏิบัติ

4.        เป็นบูรณาการระหว่างสิ่งที่อยู่ในห้องเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตจริง

5.        เป็นบูรณาการระหว่างวิชาต่าง ๆ

ประเภทของบูรณาการ

แบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary

กำหนดหัวข้อ (Theme) ขึ้นมานำความรู้จากวิชาต่าง ๆ มาเชื่อมโยงให้สัมพันธ์กับหัวเรื่องนั้น บางครั้งเรียกการบูรณาการแบบนี้ว่า สหวิทยาการแบบมีหัวข้อ(Thematic Interdisciplinary Studies) หรือ สหวิทยาการแบบเน้นการประยุกต์ใช้ (Application-First Approach)

แบบพหุวิทยาการ  (Multidisciplinary)

เป็นการนำเรื่องที่ต้องการจะบูรณาการไปสอดแทรก (Infusion) ในวิชาต่าง ๆ บางครั้งเรียกการบูรณาการแบบนี้ว่า การบูรณาการแบบเน้นเนื้อหา (Discipline-First Approach)

 

 

 

 

 

 

 

 

           

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 207612เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2008 20:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 06:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท