จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

อิสลาม สมัยใหม่และโลกาภิวัฒน์


ช่วงบ่ายของการสัมมนาวันนี้ที่ วอศ. ผมรู้สึกรำคาญตัวเองมากครับ รำคาญว่าทำไมผมมองต่างในประเด็นที่มีการนำเสนอในเรื่องอิสลามกับความทันสมัย (แอ๊ะหรือว่า สมัยใหม่) ซึ่งเป็นผลงานของ อ.มัสลัน มะหะมะ และ ดร.มูหัมมัดซากีย์ เจ๊ะหะ ตำแหน่งคือ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและรองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ตามลำดับ (เขียนแนววิจัยเชิงปริมาณ) แล้วก็ อิสลามกับยุคโลกภิวัฒน์ ซึ่งเป็นผลงานของ อ.สุกรี หลังปูเต๊ะ คณบดีศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ แต่ครั้นจะลุกขึ้นนำเสนอความเห็นในเวที สมองมันตื้อจนลุกไม่ขึ้นครับ และคิดว่าถ้าจะพูดคงสร้างความเข้าใจในระยะเวลาสั้นลำบากว่าผมมองต่างอย่างไร และด้วยเหตุผลอะไร

สองบทความนี้ผมฟังแล้ว ผมรู้สึกว่า ท่านวางโจทย์ว่า มีความเข้าใจเดิมว่า อิสลามเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการปฏิเสธความสมัยใหม่และโลกาภิวัฒน์ และบทความของท่านพยายามจะบอกว่า มันไม่ใช่ความจริง โดยบทความแรกพยายามนำเสนอเนื้อหาของอิสลามในหลากหลายบริบททั้งทางด้านการเมือง กฏหมาย เศรษศาสตร์ ฯลฯ ว่า เนื้อหาที่มีในอิสลามมันทันสมัย อยู่ได้กับยุคปัจจุบัน ส่วนบทความที่สองก็มองในมุมว่า มุสลิมมีสามกลุ่ม กลุ่มที่รับ กลุ่มที่ปฏิเสธ กลุ่ม ฮือ ลืมแล้วครับ และท่านบอกว่า ถึงแม้ว่าจะมีนักวิชาการมุสลิมปฏิเสธโลกาภิวัฒน์ แต่ก็ยังจะต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือของโลกาภิวัฒน์ในการทำงานอิสลามเช่นกัน

ซึงมามองในมุมผมบ้าง ผมว่าการตั้งฐานคิดสำหรับบทความในมุมนี้มันไม่ใช่ครับ เห็นมัยละ ผมมองต่างจากชาวบ้านอีกแล้ว (ลำบากจริงๆ คนที่ชื่อนายชาฟีอีย์) ผมไม่ได้บอกว่า อิสลามล้าสมัย ผมไม่ได้บอกว่า อิสลามไม่รับความเป็นโลกาภิวัฒน์ แต่ผมมองจากฐานที่ต่างจากบทความทั้งสองนี้ครับ ฐานคิดผมคงไม่ต่างจากสองบทความ ต่างที่การนำมาใช้ ผมเชื่อว่าทั้งสองบทความนี้ยึดแนวคิดจากหลักการที่ว่า อิสลามสมบูรณ์และครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิต เพียงแต่การนำเอาหลักการนี้มาพยายามอธิบายในมุมของความทันสมัยและยุคโลกาภิวัฒน์ ผมว่าผิดที่ครับ ผมมีคำอธิบายดังนี้ครับ

ก่อนอื่น ผมมองว่า คำว่า สมัยใหม่ กับโลกาภิวัฒน์ เป็นเรื่องเดียวกับ คือ โลกาภิวัฒน์เป็นเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นว่า นี่คือยุคสมัยใหม่ ทันสมัย ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าผมแต่งกายตามแฟชั่น หมายถึงผมทันสมัยใช่มัยครับ ถ้าใช่ ต้องถามต่อว่า ทำไมผมจึงแต่งกายอย่างนั้น ง่ายๆ คือ ผมรับข้อมูล รับข่าวมา ว่าชุดนี้มีขายและได้รับความนิยม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็คือผลพวงของโลกาภิวัฒน์ ฮือ แล้วจะแยกกันตรงไหน ซึ่งในเบื้องต้นผมว่า บทความสองเรื่องนี้พยายามจะบอกเรื่องเดียวกันแต่คนละแนว คนละมิติและคนละคำศัพท์เท่านั้นเอง

จุดต่อไปคือ จำเป็นหรือที่จะต้องพยายามยกเนื้อหาสาระในอิสลามแล้วพยายามจะบอกว่า นี่คือความทันสมัยในอิสลาม ประเด็นอยู่ที่ คำว่าความทันสมัย มันเป็นสิ่งที่จะต้องมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาครับ อะไรที่ไม่เปลี่ยนหมายถึงสิ่งที่ตกยุค ถ้าดูความทันสมัยในวงการแฟชั่น วงการบันเทิงจะพบว่า ความเปลี่ยนแปลงไม่ได้ไปข้างหน้าอย่างเดียวนะครับ บางทีมันวกกลับไปนิยมของที่เคยนิยมในยุคก่อนก็ได้ นี่คือความทันสมัย ความเป็นสมัยใหม่ครับ การพยายามยกเนื้อหาในอิสลามมาบอกว่านี่คือความทันสมัย จึงเป็นการยกมาผิดที่ครับ และต่างจากที่ท่านอธิการบดีกล่าวในตอนเช้าที่ว่า อิสลามมีหลากหลายมิติ มิติที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และมิติที่เปลี่ยนแปลงได้ นี่งัยครับที่เป็นข้อยืนยันว่า อิสลามล้ำสมัย อยู่ได้ในทุกยุคทุกสมัย แม้กระทั่งในหลักฟิกฮ์เอง ก็ระบุกระบวนการพิจารณาว่าจะต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดเป็นหลัก

สรุปโดยย่อๆ ในประเด็นนี้คือ ความทันสมัย เป็นเรื่องของคนหมู่มาก แต่หลักคำสอนของอิสลามมิได้ยึดคนหมู่มากนะครับ แล้วจะพยายามบอกทำไมว่าเราทันสมัย (ซึ่งไม่ได้หมายความว่า เราตกยุคแล้ว หรือเราล้าสมัยนะครับ คนละประเด็นกัน แล้วจะอธิบายต่อ)

 ที่นี่ถ้าจะคุยเรื่องอิสลามกับความทันสมัย หรืออิสลามในยุคโลกาภิวัฒน์ จะคุยยังงัย ผมว่ามีหลายมิติครับ แต่ในมุมมองผมมีอย่างนี้ครับ

ท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาพูดตอนเช้าว่า อิสลามท้าทายโลก ในมุมหนึ่ง โลกก็ท้าทายอิสลามด้วยเช่นกัน แต่สุดท้ายในปัจจุบันอิสลามก็ยังเป็นสิ่งที่ท้าทายโลกอยู่ วัจนะของท่านศาสนทูต (ซ.ล) กล่าวว่า อิสลามมาอย่างคนแปลกหน้า และจะจากไปอย่างคนแปลกหน้าเช่นกัน อันนี้แหละที่เรียกว่าความท้าทายโลก

เอาเป็นว่าในมุมมองที่โลกท้าทายอิสลาม ท่านอธิการบดีอธิบายไปชัดเจนมากในตอนเช้าครับ ส่วนการท้าทายของอิสลามต่อโลก ในมุมมองผมมีในคำถามที่ว่า อิสลามสร้างความทันสมัยให้กับโลกบ้างมัย?

ง่ายๆ ครับ อิสลามสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับโลกนี้ และเป็นฐานของความเจริญในศาสตร์สาขาวิชาต่างๆ ในปัจจุบัน ซึ่งความเจริญนั้นเกิดขึ้นในขณะที่ยูโรปอยู่ในยุคมืดครับ นี้เป็นตัวชี้แรกที่พบได้ สัมผัสได้ว่า อิสลามคือตัวสร้างความทันสมัย

ปัจจุบันมีองค์ความรู้ใหม่ๆ เยอะแยะครับที่โลกวิชาการเพิ่งค้นพบ แต่พอพบแล้วก็กลับไปเจอว่า มีบอกไว้ตั้งนานแล้วในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ อย่างนี้ที่ผมเรียกว่า อิสลามทำให้เกิดความทันสมัย ไม่ใช่พยายามนำเสนอว่า อิสลามอยู่ในยุคสมัยใหม่ได้นะครับ

อ้าวแล้วประเด็นว่า มุสลิมล้าหลังในปัจจุบันละ เป็นเพราะอะไร ไม่ใช่เพราะหลักคำสอนของศาสนาอิสลามหรือ?

อันนี้ขออ้างสิ่งที่ รศ.ดร. ชัยวัฒน์ สถาอนันต์ ยกมาอ้างครับ คือ human development index ค่าการพัฒนาในกลุ่มประเทศ ออกมาเป็นแบบนี้ครับ (อาจารย์ชัยวัฒน์นำเสนอค่านี้ ทำให้ผมอดที่จะค้นเพิ่มไม่ได้เลยครับ ว่าพิจารณาจากหลักเกณฑ์อะไรบ้าง ต้องขออภัยรูปที่ต้องการไม่มา เอารูปนี้มาแทน)

HDI trends between 1975 and 2004
     OECD      Central and eastern Europe, and the CIS      Latin America and the Caribbean      East Asia      Arab States      South Asia      Sub-Saharan Africa

(เรื่องนี้ดูรายละเอียดต่อได้ที่นี้ครับ http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_Human_Development_Index และ http://en.wikipedia.org/wiki/Developing_countries)

ซึ่งอันนี้ต้องถามต่อครับว่า คำว่า มนุษย์พัฒนาแล้ว คืออะไร จากการสืบค้นในอินเตอร์เน็ท ได้คำตอบว่าอย่างนี้ครับ

The HDI combines three basic dimensions:

(เกณฑ์อยู่ตรงไหน ใช้ไม้บรรทัดหวัด หรือตาชั่งวัด คิดเองแล้วกัน ฮิฮิ แซวเล่น)

แก่นหลักคำสอนของอิสลามไม่เปลี่ยนแปลง แต่ข้อปฏิบัติในอิสลามเปลี่ยนแปลงได้ (ไม่ได้เปลี่ยนหลักการ) แต่การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดจากกระแสนิยม และในขณะเดียวกันหลักคำสอนและการเรียนรู้ใหม่อันเนื่องมาจากคำสอนของศาสนาทำให้เกิดกระแสนิยมใหม่ๆ ได้

มองตัวอย่างในอดีตก่อนนะครับ หลังจากที่การศึกษาในอิสลามรุ่งเรืองมากมาได้ระยะหนึ่ง กระแสแนวคิดของคนยุคต่อมากลับคิดว่า พอแล้ว มุสลิมหยุดคิดได้แล้ว จำเป็นต้องปิดประตูของการพัฒนาแล้ว ซึ่งกระแสนั้นสร้างผลกระทบให้กับสังคมในยุคต่อๆ มา ถามว่า ความล้าหลังนั้น เกิดจากหลักคำสอนของศาสนาหรือว่ากระแสสังคมที่ตีความหมายหลักคำสอนไปอีกแนวทางหนึ่ง

ตัวอย่างนี้ชี้ให้เห็นว่า การสร้างความทันสมัยมีได้ด้วยหลายปัจจัยครับ และศาสนาก็เป็นปัจจัยหนึ่ง และคิดว่าเป็นปัจจัยที่ยั่งยืนที่สุดครับ และที่สำคัญผมว่า หลักการศาสนามิได้ปรับความทันสมัยตามกระแสนิยม

ตัวอย่างที่อยากจะยกมาอ้างอิงแนวคิดคือ ที่บ้านเราครับ คนมุสลิมบ้านเรายึดมั่นถือมั่นในแนวคิดตามสำนักคิดของอีหมามชาฟีอีย์ จนกระทั่งเมื่อมีนักวิชาการที่จบจากตะวันออกกลางมานำเสนอใหม่ๆ สังคมที่นี่รับได้หรือไม่ คำตอบต่อ มีแรงต่อต้านเยอะมากครับ เป็นกระแสที่รุนแรงด้วย

ถามว่า เป็นการสร้างความทันสมัยหรือเปล่า? แล้วคนโดยรวมรับหรือเปล่า? ขอนำภาพมาประกอบอีกนิดหนึ่งครับ

ภาพนี้แสดงให้เห็นเรื่องของการยอมรับความทันสมัยได้ดีครับ จะเห็นว่า คนในกลุ่ม innovators มีไม่เยอะครับ คนที่สร้างสิ่งใหม่ๆ นำความทันสมัยมาสู่สังคม อันนี้ปกติ ถามว่า ในอดีต คนสร้างความทันสมัยคือใคร ไม่ใช่ผู้นำ นักการวิชาการนักการศาสนาหรือครับ? ออ.ในมุมกลับกันในปัจจุบัน (เรามักจะมองว่า นักการศาสนาคือตัวปฏิเสธสิ่งใหม่ อันนี้เป็นอีกประเด็นที่ต้องสังเคราะห์ แต่ผมขอไม่คุยต่อประเด็นนี้ครับ)

ผมไม่ค่อยแปลกใจครับสำหรับคำถามว่า ทำไมมุสลิมหลายต่อหลายกลุ่ม (ไม่ได้บอกว่าส่วนใหญ่นะครับ) ปฏิเสธความทันสมัย อันที่หนึ่ง ผมคิดว่ามันเป็นปรากฏการณ์ปกติของสังคม (ตามภาพประกอบข้างต้น) อันที่สองคือ กลุ่ม innovators ที่สร้างความทันสมัยจากหลักคำสอนของอิสลามก็ไม่ค่อยจะทำงานครับ วิ่งอยู่จุดเดิมๆ

ผมจบเพียงเท่านี้แล้วกันครับ เชิญวิจารณ์ผมต่อได้ครับ

والله أعلم

คำสำคัญ (Tags): #สมัยใหม่#อิสลาม
หมายเลขบันทึก: 270171เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2009 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • โห ดร.เล่นเรื่องหนักๆเลยนะวันนี้
  • อ่าน คิดไป เวียนหัวไป ก็กระจ่างดีครับ
  • ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ แบบนี้ทำไงดีให้หลายๆคนได้อ่าน โดยเฉพาะในกลุ่มพวกเรา อย่างน้อยจะได้คิดร่วมกัน แม้จะแตกต่างกันบ้างแต่เป้าหมายเดียวกัน
  • อย่างบล็อกแบบนี้ น่าจะมีคนอ่านอยู่เหมือนกัน แต่รู้สึกว่ามันน้อย
  • ผมมีคิดว่า น่าจะเซท บราวเซอร์ของบุคลากรของมหาวิทยาลัยเรา เปิดแล้วก็เจอบันทึกลักษณะนี้
  • والله مستعان

อาจารย์ครับ ผมติดตั้ง Skype และออนไลน์ทุกวัน

ชื่อเก่าผมเข้าไม่ได้ เลยใช้ชื่อใหม่ almutofa

ว่างๆ อาจารย์ลองเข้ามาทักหน่อย จะได้พูดคุย

ขอบคุณครับอาจารย์ Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق

-แหม่จะให้เซทมาที่บันทึกเลยก็กลัวคนจะหาว่า ผูกขาดและยัดเยียดไปนิดหนึ่งหรือเปล่าครับ ฮิฮิ

-แต่ประเด็นคือ ทำอย่างไรให้เรื่องแบบนี้มีเวทีถกกันเยอะ

- ช่วงหลังทั้ง msn, skype ผมไม่ค่อยได้เปิดใช้ครับ ถ้าไม่เสร็จงานในแต่ละคืนก่อนก็ไม่ค่อยจะเปิด เนื่องจากโปรแกรมกลุ่มนี้ทำผมเสียสมาธิ

 

วันนี้มาแปลกนะครับ(ว่าที่) ดร.เนื้อหาในการเขียนบล๊อกวันนี้มีความเป็นวิชาการที่น่าขบคิดมากครับ และที่สำคัญประเด็นที่อาจารย์กำลังนำเสนอมันสะท้อนภาพมุมคิดบางอย่างถึงความชัดเจนที่ควรจะเป็นจุดยืนของทั้งสองบทความในรอบบ่ายคือฐานคิดของอธิการที่เราควรจะนำมาเป็นแนวางในการมองสองสิ่งอย่างที่อาจารย์นำสนอ เพราะคนที่กำลังพูดถึงเรื่องความเป็นสมัยใหม่ หรือจะใช้คำใดก็แล้วแต่อย่าลืมว่า ก็ยังมีคนอีกกลุ่มนึงที่เขาก้าวข้ามและกำลังพูดถึงเรื่องความคิดหลังสมัยใหม่ (Postmodern)และความคิดลักษณะนี้ก็มีมานานเกือบ ๒๐ ปีแล้ว และคำตอบหนึ่งที่เมื่อมองงานหรือความคิดของคนกลุ่มนี้ที่มองก้าวข้ามความคิดสมัยใหม่ ก็จะพบว่าคำตอบเดียวไม่ว่าคนกลุ่มนักคิดแบบสมัยใหม่หรือหลังสมัยใหม่ ก็ไม่ปฏิเสธความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นแะย้อนกลับได้ อย่างที่อาจารย์พูดถึงเรื่องแฟชั่น เพราะฉะนั้นผมมองว่าอิสลามมีความครอบคลุมทุกกระบวนการคิดของคนทุกยุคทุกสมัยครับ (วัลลอฮฺอะลัม)

             เมื่อวานท่านคณบดี ก็ถามว่าทำไมไม่นำเสนอมุมคิด ผมบอกว่า ตัวเราอาจเล็กเกินสำหรับการที่จะลุกขึ้นยืนในหลายมุมคิดเมื่อวาน ขอเวลาเก็บเกี่ยวความรู้อีกสักหน่อยครับ อิอิ

ขอบคุณครับอาจารย์ เสียงเล็กๆ 

อ่านข้อเสนอแนะของอาจารย์แล้ว ทำให้ผมนึกได้ว่า ผมลืมไปเขียนในอีกประเด็นหนึ่งซึ่งตั้งใจไว้ตอนต้นคือ อิสลามสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยใช้คนในสังคมเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนครับ จากโองการในอัลกุรอานที่ว่า "อัลลอฮ์จะทรงไม่เปลี่ยนแปลงกลุ่มชนใด จนกว่ากลุ่มชนนั้นจะเปลี่ยนแปลงตัวเขา" (ความหมายประมาณนี้ครับ) แสดงให้เห็นอะไร? มองในมุมหนึ่งคือ คนในสังคมเป็นกลไกสำคัญที่ในการกำหนดทิศทางและการเคลื่อนไหวสังคม ซึ่งทุกความเคลื่อนไหวนั้นอัลลอฮ์ทรงรอบรู้ และหลักการของพระองค์สอดคล้องกับทุกความเคลื่อนไหว

ปล.1 หากจะใส่ ดร. ก็ต้องให้อยู่ในวงเล็บทั้งสองเลยครับ (ว่าที่ ดร.) อย่าให้ ดร.อยู่นอกวงเล็บเดี๋ยวคนจะเข้าใจผิดครับ ฮิฮิ

ปล. 2 ตอนนี้อาจารย์ดูเหมือนตัวจะไม่ค่อยเล็กแล้วนะครับ คิดว่าหากปล่อยไว้อย่างนี้ ไม่ช้าไม่นานคงเข้าร่วมโครงการลดพุงกับผมได้แน่ ฮิฮิ (แซวครับ)

หรือต้องใช้คำว่า "ร่วมสมัย" ?

ขอบคุณครับ ดร.sk

ผมใช้ว่า "ล้ำสมัย" ครับ

แวะมาอ่าน ตามประสาคนไม่ได้เข้าร่วมงาน

อาการไม่ได้ไปร่วมงานนี้ อาการน่าเห็นใจครับ คนตานี

  • ขอคอมเมนต์เพิ่มเติม
  • เมื่อวานนั่งคุยกับ อ.ฟูอาด เล่าเรื่องเข้าร่วมงานที่ มอ. คุยเรื่องคำบรรยายของอธิการ ผมว่า อ.สรุปรวบรวม แล้วโพสลงในบล็อก จะได้อ่านและรับรู้กันหลายคน
  • ผมเห็นด้วยกับคำที่ อ.ใช้ "ล้ำสมัย" แต่...
  • พวกเราอาจจะเป็นคนขี้เกียจที่ท่านอธิการเปรียบเทียบหลังละหมาซูฮรฺเมื่อวานก็ได้ เลยทำให้ ล้าหลังเขา..
  • อย่างที่ผมกำลังศึกษาอยู่ ทั้งจิตวิทยา ทั้งการศึกษา ล้ำสมัยเขามาก  อิสลามเริ่มมาพันกว่าปีแล้ว ตะวันตกแค่สองสามร้อยปีนี้เอง
  • แต่ที่ผมศึกษา ผมพบ ก็พบว่าอิสลามล้ำสมัยจริงๆ ศึกษาเมื่อตะวันตกได้ค้นพบของเขาแล้ว ... หมายความว่าเราก็ตามหลังเขา..
  • หลายอย่างที่เราทำตามอิสลาม โลกไม่สนเลยและอาจมองว่าเป็นโบราณคร่ำครึ.. ผมว่าบางทีวันหนึ่งข้างหน้า เขาอาจมารับรองว่าการที่เราทำแบบนั้นมันทันสมัยก็ได้   

 

ขอบคุณครับ อาจารย์ Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق

คำว่า "ล้ำสมัย" ผมใช้สำหรับหลักคำสอนของอิสลาม ส่วนความล้าหลังเป็นเรื่องของมุสลิมครับ มุสลิมไม่นำหลักคำสอนมาใช้ เราเลยเดินไปสู่ยกตกต่ำ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท