แบบฝึกทักษะการสังเกต2


แบบฝึกทักษะการสังเกต2

วันนี้นำตัวอย่างแบบฝึกทักษะการสังเกต แบบฝึกที่ 2 มาให้ดูอีกคะ  คลิกได้เลย คะ

หมายเลขบันทึก: 201906เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2008 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

เยี่ยมเลยค่ะ อาจารย์

ครูอ้อยมาตั้งใจอ่านแล้วค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะพี่อ้อย

  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมและอ่านบันทึกของน้อง
  •  และขอบคุณสำหรับคำติชม ที่เป็นกำลังใจอย่างดี
  • ขอให้สุขภาพแข็งแรงนะคะ

                             

เพิ่มเติมค่ะ

มีแบบฝึกที่ 1 ให้ดูด้วยคะhttp://gotoknow.org/blog/jibjib/197712

สวัสดีครับ

ผมตามเข้ามาอ่าน

มันเป็นแบบฝึกหัดที่น่าสนใจมากครับ

ต้องขออภัยที่ผมอ่านผ่าน ๆ นะครับ ไม่มีเวลาอ่านรายละเอียดทุกตัวอักษรและคิดให้ลึกซึ้ง

 

มีเรื่องขออนุญาตถามเกี่ยวกับ การลงความคิดเห็น ดังนี้ครับ

ในหน้า 8 ของแบบฝึกหัดที่สอง

"ไม่ควรบอกรายละเอียดของข้อมูลที่การสังเกตไปเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น เช่น มีรูปทรงกลมเหมือนลูกปิงปอง หรือมีสีเหลืองเหมือนเปลือกกล้วย เพราะจะเป็นการลงความคิดเห็นส่วนตัวลงไปในข้อมูล"

ผมคิดว่าการเทียบเคียงกับสิ่งอื่น เป็นการฝึกความคิดเชื่อมโยง และทำให้เกิดการสังเกตที่ดีขึ้น เพราะทำให้เก็บรายละเอียดได้มากขึ้นและเร็วขึ้นนะครับ บางครั้งมันเหมือนกับการเข้ารหัสในหัว ทำให้เราจดจำสิ่งที่สัังเกตได้ ได้ไวขึ้น บางทีคำว่าทรงกลมมันเป็นนามธรรมเกินไป ถ้าสังเกตเห็นว่า มันเหมือนลูกปิงปอง ซึ่งกลมแน่ ๆ ไม่เหมือนใช่กลมเหมือนจาน หรือกลมแบบลูกรักบี้ มันทำให้การบรรยายการสังเกตที่ได้ชัดเจนขึ้นนะครับ

ขอยกอีกตัวอย่างหนึ่งเรื่องการเก็บสังเกตและเก็บรายละเอียด
ถ้ามี ไพ่ข้าวหลามตัดมาวางต่อหน้า ห้าใบ (ขออภัยที่ยกตัวอย่างเรื่องไพ่ แต่มันเป็นตัวอย่างแพร่หลายในวิชาคณิตศาสตร์) โดยเรียงลำดับดังนี้
3,7,2,5,Jack

ผมจะให้รายละเอียดว่า ไพ่ที่ผมเห็นนี้ เป็นเลขจำนวนเฉพาะทั้งสิ้นแต่มีการสลับตำแหน่งบ้าง  นี่คือการเก็บรายละเอียดอย่างย่อ ๆ ของผม

ซึ่งพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นแทบจะทันที่ที่การสังเกตเกิดขึ้น

 

สำหรับผมแล้ว

คำว่า ความคิดเห็น น่าจะหมายถึงความคิดของนักเรียนที่มีต่อผลส้มมากกว่า เช่น ส้มลูกนี้ดูไม่สวยเลย หรือ เห็นส้มใบนี้แล้วฉันรู้สึกหิว
เพราะ ว่าสวยไ่ม่สวยเป็นความคิดเห็นของปัจเจกบุคคล ความไม่สวยของบุคคลหนึ่ง อีกบุคคลหนึ่งอาจจะว่าสวยก็ได้ หรือความรู้สึกเป็นความรู้สึกส่วนตัวจริง ๆ ไม่ได้จากการสังเกต

นี่คือความหมายของ ความคิดเห็น ของผมนะครับ

ผมไม่แน่ใจว่าความคิดเห็นผมถูกต้องหรือไม่ และผมอ่านแบบฝึกหัดอย่างคร่าว ๆ  ถ้าความคิดเห็นผมผิด ช่วยกรุณาท้วงติงด้วยครับ

ขอบคุณมากครับ

 

Pสวัสดีค่ะ

·     ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณสำหรับความคิดเห็นนะคะ

·     สำหรับทักษะการสังเกต เป็นหนึ่งในทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่นักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ พอสรุปได้ว่าเป็นทักษะพื้นฐานที่ต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้ารับรู้และรวบรวมข้อมูล เพื่อให้ได้รายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ ซึ่งเป็ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ไม่มีการใช้ประสบการณ์และความคิดเห็นของผู้สังเกต ซึ่งในการฝึกทักษะการสังเกตนี้ ต้องการฝึกให้นักเรียนได้รู้จักการพิจารณาสิ่งนั้นให้ได้ข้อมูลตามที่เขาสัมผัสตรงๆ มากที่สุด

 

ดังนั้น ตัวบ่งชี้ของทักษะนี้ก็คือ ต้องให้ใช้ประสาทสัมผัส(ทั้งห้า)ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  และสามารถให้ข้อมูลการสังเกตที่เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณโดยไม่ใช่ความคิดเห็นตีความ

 

ในการฝึก จึงต้องฝึกให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมดังตัวบ่งชี้ดังกล่าว และเมื่อนักเรียนฝึกบ่อยๆจึงจะทำให้นักเรียนเกิดทักษะการสังเกต ซึ่งจะเป็นทักษะพื้นฐานที่จะนำไปสู่ทักษะชั้นสูงต่อไป

·     ส่วนการลงความคิดเห็นนั้นก็เป็นอีกทักษะหนึ่งในทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์เหมือนกัน ที่ต้องฝึกโดยนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือทดลองมาลงความเห็น โดยที่แต่ละคนอาจลงความเห็นจากข้อมูลชุดเดียวกันต่างกัน เนื่องจากมีประสบการณ์และความรู้เดิมที่ต่างกัน แต่จะต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลกับข้อมูลที่สังเกตได้

·     ซึ่งถ้าตามความคิดเห็นของคุณ pc เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงที่ได้รับการบูรณาการมาแล้วโดยอัตโนมัติ  ผู้เขียนคิดว่าไม่ผิดหรอกคะ เราเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์มากกว่านักเรียนเราก็สามารถนำประสบการณ์มาคิดเชื่อมโยงเพื่อใช้เก็บรายละเอียดในการสังเกต

·     แต่สำหรับการฝึกนักเรียนที่มีประสบการณ์ และความรู้เดิมน้อย อีกทั้งมีความแตกต่างกันสูงด้วย จึงจำเป็นต้องฝึกตามหลักการ เพื่อให้เขาได้เริ่มที่จะรู้จักสังเกต พิจารณาว่า สิ่งนั้นมีอะไรปรากฏอยู่บ้างโดยใช้ประสาทสัมผัสให้มากที่สุด แล้วค่อยฝึกใส่ความคิดเห็นที่หลัง

·     ถ้าถามว่าทำไมไม่ฝึกโดยวิธีการบูรณาการกับการลงความคิดเห็น ขอตอบว่า สำหรับนักเรียนทำไม่ได้เลยเพราะนักเรียนมีความรู้เดิมไม่เท่ากัน และนักเรียนที่มีความรู้เดิมน้อยจะไม่ได้รายละเอียดมาก เพราะนักเรียนจะมองแค่จุดใหญ๋ที่นักเรียนเชื่อมโยงตามความรู้เดิมที่มีเท่านั้น  และจะไม่สังเกตต่อแล้ว

 

ขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่งคะ นับว่าเป็นความคิดเห็นดีๆ ที่ทำให้ได้มุมมองอีกมุมมองหนึ่ง และจะเก็บไว้เป็นแนวทางที่จะนำไปใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสม่ต่อไปคะ

 

ขอบคุณมาก ๆ ครับ ที่ให้ความรู้

เห็นด้วยอย่างไม่มีข้อต่อแย้งครับ

ผมจะคอยติดตามครับ

ว่าเมื่อนำแบบฝึกหัดไปให้นักเรียนใช้แล้วผลเป็นอย่างไร

น่าสนใจมากครับ

ขอขอบคุฒมากนะคะที่นำมาเผยแพร่

แบบฝึกทักษะการสังเกต2

ขอบคุณ คุณชิสาพัชร์ และคุณmaibori ที่แวะมาเยี่ยมชมคะ

                               

 

การบ้านเสร็จแล้ว...........เย้

ขอบคุณค่า

ขอบคุณมากค่ะสำหรับแบบฝึกที่นำมาเผยแพร่ ให้เพื่อนครูที่ยังไม่ชำนาญการได้รับเพิ่มเติมความรู้ทักษะใหม่ๆ

และวิธีการที่หลากหลาย เพื่อนำไปพัฒนาเด็กไทย

ขอบคุณมากคะ

สำหรับแบบฝึกดีดี

ที่นำมาเผยแพร่ให้กับคุณครูทุกท่าน

ตัวหนูเองพึ่งบรรจุใหม่

ยังเป็นครูผู้ช่วยอยู่เลยคะ

จะนำแบบฝึกดีดีนี้ไปใช้สอนเด็กนักเรียน ให้มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น

ขอบคุณค่ะที่เผยแพร่แบบเต็มพิกัด  ขอนำไห้นักเรียนใช้หน่อยนะคะ  ถ้ามีอะไรให้ช่วยเหลือก็ยินดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท