บทความแปล....การปรับการเรียนรู้แบบผสมผสานให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน


ก่อนที่จะศึกษารายละเอียดของการเรียนรู้แบบผสมผสานให้ลึกยิ่งไปกว่านี้ มันเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรทำความเข้าใจก่อนว่าการเรียนรู้แบบผสมผสานคืออะไร

การปรับการเรียนรู้แบบผสมผสานให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน 

โดย จ่าเอกหญิงวัชรี  โชติรัตน์

บทนำ

                จากการแพร่หลายของการใช้เทคโนโลยีทางการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว  โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารผ่านทางเว็บไซต์  ซึ่งนับว่าเป็นการเปิดโอกาสสำหรับครูทั้งหลายที่จะค้นหาและเลือกใช้การผสมผสานกันระหว่างวิธีการสอนและรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสม

                ในปัจจุบันนี้  รัฐบาลมีการส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีทางการศึกษาใหม่ๆมาปรับใช้  โดยเฉพาะเทคโนโลยีเครือข่าย  ซึ่งรัฐบาลได้พยายามที่จะเผยแพร่และกระตุ้นให้ผู้คนยอมรับและนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนรู้ตลอดชีวิต  แน่นอนที่สุด Ufi / Learndirect เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากข้อผูกมัดของทางรัฐบาล แต่ในขณะเดียวกันการศึกษาก็ได้รับผลประโยชน์ใหญ่หลวงจากการลงทุนเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ระบบเครือข่าย

                การลงทุนเหล่านี้ส่งผลประโยชน์ในหลายด้านต่อการเรียนของนักเรียนทั้งหลาย  ได้แก่

-                   ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลศูนย์การเรียน  เช่น  มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย

-                   ผู้เรียนที่พิการหรือมีภาวะการเรียนรู้ยาก   และผู้เรียนที่ได้รับความช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยี

-                   ผู้เรียนที่อยู่ในวัยทำงาน  ผู้เรียนที่มีครอบครัวและมีลูก

การเรียนรู้แบบผสมผสานคืออะไร

                ก่อนที่จะศึกษารายละเอียดของการเรียนรู้แบบผสมผสานให้ลึกยิ่งไปกว่านี้  มันเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรทำความเข้าใจก่อนว่าการเรียนรู้แบบผสมผสานคืออะไร  จากการศึกษาค้นคว้าและสรุปผลของสถาบันการศึกษาขั้นสูง  Sharpe  et  al (2006) ได้ข้อสรุปว่า  การเรียนรู้แบบผสมผสานเริ่มขึ้นในปี 1980 ในมหาวิทยาลัยเปิดโดยเป็นรูปแบบผสมผสานกันระหว่างการศึกษาทางไกลและการศึกษาแบบเผชิญหน้ากัน  แต่ในปัจจุบันนี้มีผู้ให้ความหมายของการเรียนรู้แบบผสมผสานนั้นแตกต่างกัน  ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้คน,สถาบันและองค์กรที่แตกต่างกันไป

                หน่วยงานการเรียนรู้แบบผสมผสาน (BLU) CETL ของมหาวิทยาลัย Hertfordshire ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของหน่วยงานว่า  จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนา  ส่งเสริมและประเมินผลวิธีการเรียนการสอนแบบผสมผสาน  และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียนและเพิ่มความยืดหยุ่นในการเรียนทางด้านวิธีการเรียน  เวลาเรียนและสถานที่เรียน

                สถาบัน British  Educational  Communications  and  Technology (BECTa) ได้จำกัดความหมายของการเรียนรู้แบบผสมผสาน  ว่าเป็นการเรียนแบบผสมผสานระหว่างการศึกษาแบบเผชิญหน้าและการศึกษาแบบออนไลน์  ซึ่งทางสถาบันเชื่อว่าเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะกับการศึกษาทางไกล

                จากการผสมผสานกันระหว่างการเรียนรู้แบบ e – learning และการเรียนรู้แบบเรียนในห้อง  ส่งผลให้เกิดข้อดีในด้านเวลาและสถานที่ที่จะใช้วัสดุอุปกรณ์ออนไลน์ผ่านทางการผสมผสานของสื่อ  ซึ่งนับเป็นการส่งเสริมและเปิดโอกาสในการพัฒนาการสอนของครูผู้สอน

                การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด  ย่อมต้องเกิดจากการใช้กลวิธีและเทคนิคในการหาความรู้เพิ่มเติมที่แตกต่างกัน  รวมทั้งต้องมีการพัฒนาทักษะต่างๆ  ตัวอย่างเช่น  โปรแกรมการเรียนของมหาวิทยาลัยมักจะผสมผสานวิธีการเรียนหลายแบบ  เช่น  การจดแล็กเชอร์  การสัมมนา  โครงการกลุ่ม  การไปดูงานและการฝึกงาน  ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสื่อและวิธีการเรียนที่หลากหลายและแตกต่างกัน

                นักครุศาสตร์ทั้งหลายยอมรับว่าการเรียนรู้แบบผสมผสานนั้นเป็นการพัฒนาทักษะและความรู้โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและเป็นการท้าทายความสามารถของผู้เรียนในหลายๆด้าน

 

 

 

                จากรูปภาพที่ 1 การเรียนแบบดั้งเดิมนั้นต้องมีการลงทุนในด้านอาคารและห้องเรียน  แต่จะเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พบปะสื่อสารเผชิญหน้ากันและกัน  จากภาพในด้านปลายสุด  จะพบการเรียนแบบออนไลน์  ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่  ทุกเวลา  ตัวอย่างเช่น  เรียนที่บ้านหรือที่ทำงาน  ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนในเวลาที่ว่างหรือในเวลาที่พร้อมได้  ถึงแม้ว่าการเรียนรู้แบบออนไลน์อาจจะสิ้นเปลืองน้อยกว่าสำหรับผู้จัดทำโปรแกรมออนไลน์  แต่ผู้เรียนจะรู้สึกโดดเดี่ยว  ซึ่งจากเหตุนี้จะส่งผลกระทบต่อแรงจูงใจและการจดจำของนักเรียน

                การเรียนรู้แบบผสมผสานยังมีผลดีต่อทั้งผู้สอนและผู้เรียน  ผู้สอนจะได้พบและได้ติดต่อกับผู้ร่วมงานพร้อมๆกับสามารถทำงานไปในเวลาเดียวกันได้  ตัวอย่างเช่น  สามารถส่งงานทางเมล์ได้

                กล่าวโดยสรุป  ถ้าเราต้องการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้แบบผสมผสาน  เราจะต้องนำรูปแบบการเรียนรู้ด้านบนทั้ง 3 แบบมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนและสถานการณ์  ในทางตรงกันข้าม  การเรียนรู้แบบผสมผสานนั้นจะต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูงในการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา  ยิ่งไปกว่านั้นจะต้องมีการวางแผนและเตรียมการอย่างรอบคอบเพื่อให้การเรียนรู้แบบผสมผสานนั้นเกิดผลสำเร็จ

งานที่ท้าทายในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน

                ในฐานะของนักการศึกษา  เราได้รับงานที่ท้าทายจาก  DfES และคณะกรรมการกองทุน มอบหมายให้คิดโปรแกรมที่มีวิธีวิธีบูรณาการการใช้เทคโนโลยีทางการเรียนรู้ในการพัฒนาประสบการณ์ในการเรียนรู้แบบผสมผสาน  ซึ่งทั้งกลวิธีการเรียนรู้แบบ  DfES และ e-learning ของ HEFCE นั้นก็อ้างถึงการเรียนรู้แบบผสมผสาน

                “การผสมผสานกับการเรียนแบบดั้งเดิม  โดยการนำ e-learning มาใช้แทน  ซึ่งจะเป็นการพัฒนาสัมพันธภาพกับผู้เรียน  และเป็นการลดข้อจำกัดของการเรียนแบบดั้งเดิม  อีกทั้งเป็นการขยายความร่วมมือและทำให้ครูสามารถนำทรัพยากรใหม่ๆมาใช้ในการสอน  ซึ่งครูสามารถเลือกสรรทรัพยากรเหล่านี้จากโลกดิจิตอลได้ ”

                “วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยได้ทำการทดลองวิธีการเรียนแบบใหม่โดยการผสมผสานระหว่างการเรียนที่มหาวิทยาลัยกับการเรียนแบบทางไกล  และการผสมผสานกันระหว่างการเรียนแบบออนไลน์กับการเรียนแบบเผชิญหน้ากัน  เพื่อเป็นการสร้างให้การเรียนรู้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้นและเป็นการเปิดโอกาสในการเรียนรู้”  DfES (2005)

ทำไมจึงต้องมีการเรียนรู้แบบผสมผสาน

                เหตุผลที่ครูทั้งหลายนิยมจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน  ก็เพราะเป็นวิธีการเรียนการสอนที่ดี  ที่ครูสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนของผู้เรียนแต่ละคน  ซึ่งแสดงถึงการใส่ใจของผู้สอนที่จะจัดหาโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าถึงเนื้อหาการเรียนได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  และยังเป็นวิธีการที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้โดยปราศจากประสบการณ์ที่ยุ่งยากซับซ้อน  ผู้เรียนมักจะไม่ชอบเรียนรู้ด้วยวิธีการเดียว  ดังนั้นเราควรจัดหาวิธีการเรียนหลายๆวิธี  เพื่อตอบสนองโปรแกรมการเรียนของผู้เรียนให้ได้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้  ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นเหตุผลที่ทำให้การเรียนรู้แบบผสมผสานเข้ามามีบทบาทในการศึกษามากขึ้น

                พวกเราสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลาที่มีโอกาสเมื่อเราพร้อม  พวกเราสามารถเรียนที่บ้าน  ที่ทำงานและแม้แต่ในเวลาที่เดินทาง  โปรแกรมการเรียนสามารถดัดแปลงให้อยู่ในรูปแบบของสื่อการเรียนที่มีประโยชน์และสะดวกต่อการเรียนเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน  Tech D เป็นบริการของ JISC ที่ทำให้อนาคตของผู้เรียนที่พิการนั้นดีขึ้น  โดยการนำเทคโนโลยีมาช่วย  การเรียนรู้แบบผสมผสานเป็นการเสนอวิธีการนำเสนอที่หลากหลายและมีการใช้สื่ออุปกรณ์ที่สามารถดัดแปลงให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน  ตัวอย่างเช่น  การใช้อีเมล์ในการสัมมนางานกลุ่มซึ่งเป็นการขจัดอุปสรรคในการสื่อสารของผู้เรียน (TechDis 2003)  ผู้เรียนที่พิการยังได้รับผลประโยชน์อันใหญ่หลวงจากการใช้อีเมล์  ไม่เพียงแต่ได้เรียนโดยวิธีการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น  แต่ยังสามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้เพื่อสืบค้นข้อมูลความรู้ด้วย

ประโยชน์ของการเรียนรู้แบบผสมผสาน : การกระจายอำนาจให้ผู้เรียนและครู

                การเรียนรู้แบบผสมผสานสามารถปรับปรุงคุณภาพของประสบการณ์การเรียนรู้และเป็นการขยายขอบข่ายของผู้สอน

- ประสบการณ์ทางการเรียนรู้เฉพาะตัวบุคคลสำหรับผู้เรียนทุกคน  รวมถึงผู้เรียนที่พิการหรือผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษซึ่งเป็นบุคคลที่ต้องการหลักสูตรการเรียนรู้ที่พิเศษแตกต่างจากบุคคลทั่วไป

-  การสนับสนุนการเรียนรู้รายบุคคล  ข้อมูลรายละเอียดส่วนตัว  คำแนะนำและการบริการให้คำแนะนำซึ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาที่เหมาะสมกับตนเองเพื่อเป็นการเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้ในขั้นถัดไป  ซึ่งรวมไปถึงการลงทะเบียนข้อมูลส่วนตัวแบบออนไลน์ ( e-portfolio)

-  การเรียนรู้ตามความร่วมมือ  เป็นการเรียนรู้ที่จัดสภาพแวดล้อมแบบออนไลน์ให้เอื้อต่อการทำงานและเรียนรู้จากบุคคลหรือกลุ่มผู้เรียนอื่นๆเสมือนเรียนรู้กับครูผู้สอน  ซึ่งยังเป็นการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดและทักษะทางสังคมของการสื่อสารและการเรียนรู้แบบร่วมมือ

-  สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ (VLEs) ผู้เรียนสามารถเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ร่วมกับผู้อื่นโดยวิธีการต่างๆ เช่น  การเลียนแบบ  การแสดงบทบาทสมมุติ  การเรียนแบบออนไลน์หรือการเรียนรู้ตามความร่วมมือกับโรงเรียนหรือองค์กรอื่นๆ

-  การเรียนแบบยืดหยุ่น  การเรียนตามความต้องการ  ในทุกเวลาและทุกๆที่  เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน

-  การเข้าถึงแหล่งข้อมูลดิจิตอล  เครื่องมือและระบบข้อมูลต่างๆ

  จากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมของ Sharpe  et  al (2006) พบว่ามหาวิทยาลัยบางแห่งได้พบประโยชน์ของการเรียนรู้แบบผสมผสาน  ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติมจากข้อมูลข้างต้นดังนี้

-  ความสามารถในการสนับสนุนการดำเนินการในบริบททั่วโลก

-  การเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เรียนและการเพิ่มขนาดของกลุ่มผู้เรียน

-  การพัฒนาทางด้านทักษะการทำงาน

การนำการเรียนรู้แบบผสมผสานมาใช้อย่างถูกต้อง

                การเรียนรู้แบบผสมผสานเป็นการเสนอรูปแบบการสอนและรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย  วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการเรียนรู้ต่างๆ  เช่น

-  การเรียนในห้องเรียน / การเรียนแบบจดแลกเชอร์ / การใช้ห้องปฏิบัติการต่างๆ

-  CD-ROM / DVD

-  E - mail / SMS

-  E – books

-  VLEs , message  boards , chat  rooms

-  wikis , blogs

-  instant  message

                วิธีการพัฒนาการเรียนรู้แบบผสมผสานที่ดีที่สุด  คือจะต้องมีการประเมินวัสดุอุปกรณ์และแบบฝึกที่ได้นำไปใช้กับผู้เรียนแล้ว  รวมทั้งต้องพิจารณาว่าควรจะปรับปรุงโปรแกรมโดยใช้เทคโนโลยีเข้าไปช่วยได้อย่างไร

                การแก้ปัญหาในแต่ละโปรแกรมและในผู้เรียนแต่ละคน  ขึ้นอยู่กับความสมดุลของการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบของการเรียนรู้แบบผสมผสาน  ซึ่งการประสบความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับการเรียนรู้แบบผสมผสาน  ซึ่งการทบทวนโปรแกรมการเรียนทำให้โปรแกรมแยกย่อยลงเป็นหน่วยเล็กๆ  และเมื่อผู้สอนพบจุดที่เหมาะสมในแต่ละหน่วยที่เหมาะกับผู้เรียนแต่ละคน

                เมื่อต้องการพัฒนาการเรียนรู้แบบผสมผสาน  ก็ควรจะต้องรู้และเข้าใจระดับและธรรมชาติของผู้เรียน  ถ้าคุณต้องการให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง  รู้จักเลือกว่าจะเรียนเมื่อไรและเรียนที่ไหน  พวกเขาจะต้องมีความรับผิดชอบ  มีทักษะและต้องกล้าตัดสินใจ

                การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานจะต้องสร้างขึ้นในทิศทางที่ผู้เรียนเรียน  ผู้เรียนแต่ละคนจะได้รับความรู้และทักษะต่างๆผ่านทางการผสมผสานของประสบการณ์ที่แตกต่างมากมาย  เช่น  การอ่าน  การสังเกต  การเรียนรู้แบบร่วมมือ  การทดลอง  แบบฝึกหัด  การประยุกต์และการทำการทดลอง  หลักเกณฑ์ในการเรียนควรตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน  ผู้เรียนคนหนึ่งอาจจะชอบหนังสือ  และในขณะที่ผู้เรียนคนอื่นอาจจะชอบกิจกรรมที่มีการปฏิสัมพันธ์  เช่น  การอภิปราย  การประชุมปฏิบัติงานและการทดลองในห้องปฏิบัติการในการเรียนเนื้อหาเดียวกัน  กลวิธีแบบองค์รวมถูกนำมาใช้ในการพัฒนาโปรแกรมการเรียนแบบผสมผสาน  ส่วนประกอบของการเรียนที่หลากหลายควรจะมีการพิจารณาในองค์รวม  ไม่ใช่พิจารณาเป็นปัจจัยแต่ละปัจจัย  การเชื่อมโยงอย่างมีความหมาย  การสอนและเนื้อหาe-learning  จะทำให้โปรแกรมมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

การประเมินการเรียนรู้แบบผสมผสาน

                เป็นเรื่องยากที่จะทำให้การเรียนรู้แบบผสมผสานนั้นมีความสมดุลและมีประสิทธิภาพ  แต่โดยการตรวจสอบและปรับปรุงวิธีการสอนให้มีความสมดุล  คุณจะเห็นคุณค่าของกลวิธีนี้  โปรแกรมการเรียนที่มีประสิทธิภาพต้องเกิดจากการผสมผสานของกลวิธีและรูปแบบการเรียนที่หลากหลาย  ซึ่งจะแสดงถึงวิธีการสอนที่ดีและเป็นแบบอย่างในอนาคต  อย่างไรก็ตาม  ครูผู้สอนยังต้องตระหนักถึงความจำเป็นของการพัฒนาโปรแกรม  การเน้นการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมในภาพรวมต้องการผู้ประกอบวิชาชีพที่เข้าใจศาสตร์ของการเรียนรู้

บทสรุป

                กล่าวโดยสรุป  การเรียนรู้แบบผสมผสานที่ดีจะต้องเกิดจากการฝึกฝนการใช้วิธีการสอนแบบผสมผสานเพื่อผลประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้เรียน  ครูผู้สอนที่เลือกนำวิธีการสอนที่หลากหลายมาใช้สอนผู้เรียนมีจุดประสงค์เพื่อสร้างประสบการณ์ทางการศึกษาที่ประสบความสำเร็จให้แก่ผู้เรียน  ดังเช่น  การผสมผสานกันระหว่าง e-learning และการเรียนแบบออนไลน์  ศักยภาพของเทคโนโลยีสมัยใหม่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น  เมื่อพบว่าการนำ e-learning มาใช้ผสมผสานกับโปรแกรมการเรียนแล้วทำให้ผู้เรียนได้รับผลประโยชน์มากขึ้น

                e-learning  เป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าที่ใช้ในการควบคุมและแสดงโปรแกรมทางการศึกษา  ซึ่งพวกเราควรจะใช้ e-learning ในสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อผลักดันให้การเรียนรู้นั้นสนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียน

                สิ่งที่ท้าทายอย่างหนึ่งสำหรับในอนาคตข้างหน้า คือเราจะเพิ่มการนำเครื่องมือทางสังคม(web2.0)ละเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนรู้แบบผสมผสานได้อย่างไร  เราอาจนำ smart  phone  และ  iPods มาใช้ผสมผสานกันในการเรียนการสอน  อย่างไรก็ตามอาจจะมีคำถามตามมาว่า  แล้วผู้เรียนจะละเลยไม่ใส่ใจครูผู้สอนหรือไม่  ซึ่งสาเหตุก็เกิดจากการนำเทคโนโลยีที่ให้ความเป็นส่วนตัวมาใช้ 

อ้างอิง

British Educational Communications and Technology Agency www.becta.org.uk

DfES (2005) Harnessing Technology: Transforming learning and children's services' www.dfes.gov.uk/publications/e-strategy/

HEFCE (2005) HEFCE strategy for e-learning

www.hefce.ac.uk/pubs/HEFCE/2005/05_12/

Sharpe, R et al (2006) The undergraduate experience of blended e-learning: A review of UK literature and practice undertaken for the Higher Education Academy, http://www.heacademy.ac.uk/research.htm

TechDis, JISC, Ferl (2003) Inclusive Learning and Teaching: ILT and Disabled Learners

หมายเลขบันทึก: 401288เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2010 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะ พี่ครูอ้อยเล็ก

  • จองงง ^^"
  • ขอมาประเดิมบันทึกใหม่ เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ของพี่ครูอ้อยเล็กเป็นคนแรกคะ ^^

สวัสดีค่ะ

  • อ่านแล้วได้ความรู้  เสริมสมองมากมาย
  • การเรียนการสอนที่ใช้วิธีอย่างหลากหลายผสมผสานให้สอดคล้องกับเป้าหมายของหลักสูตร   ย่อมก่อให้เกิดประสิทธิภาพ  และประสิทธิผลแก่ผู้เรียน
  • วิชาการจังเลยน้องสาวเรา  คดถึงงนะว่างแล้วยัง?  คอยอยู่
  • นำดอกไม้กลางสายฝนมาฝากค่ะ

Ico32..เป็นเกียรติอย่างยิ่งเลยค่ะน้อง....ดีใจๆๆๆ

Ico32..ขอบคุณพี่สาวมากๆจ้า...ให้กำลังใจเสมอเลย...

  • มาร่วมขึ้นบ้านใหม่
  • หัวข้อใหม่ เฉลิมฉลองมหาบัณฑิตใหม่นะครับ
  • คึกคักน่าครึ้มอกครึ้มใจ
Ico32...ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะพี่อาจารย์....
  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาทักทายพี่อ้อยเล็ก กับวันทำงานดี ๆ ค่ะ
  • ได้ข่าวว่างานเข้าช่วงนี้ เป็นกำลังใจให้กันนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                     

Ico32...คิดถึงที่ไม่มีแพ้...คิดถึงที่ไม่มีชนะ...คือ..คิดถึงเธอเสมอไง.....คริๆๆๆๆ

ดีค่ะ

เป็นบทความที่มีความรู้มากมายเลยค่ะ  ขอบคุณผู้เขียนและผู้สร้างค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท