มัลติมิเดียเทคโนโลยี


มัลติมิเดียเทคโนโลยี

เทคโนโลยีปฏิสัมพันธ์

                                                                               

             การนำเอาคอมพิวเตอร์มัลติมิเดียมาประยุกต์ใช้ในยุคแรกๆนั้น อยู่ในรูปของเกมเพื่อความสนุกสนาน ชื่อที่เรียกว่า นินเทนโด (Nintendo) หรือ เซกา (Zega) หรือ แฟมมิลี (Family) นั้น เป็นชื่อเรียกตามชื่อเครื่องเล่นเกมที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เด็กๆคุ้นเคยกับตลับเกมเล็กๆ เสียบลงบนอุปกรณ์เล่นเกม แล้วต่อภาพออกทางจอทีวี ภาพและสีที่มองเห็นบนหน้าจอนั้น มีความเร้าใจ ท้าทายให้เอาชนะ บางครั้งเต็มไปด้วยความดุเดือดรุนแรงด้วยการขายความมัน ความมัน เหล่านี้ จึงทำให้เกมเหล่านี้ครองตลาดบันเทิงสำหรับเด็กๆ นับตั้งแต่      ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา การศึกษาในท่ามกลางเทคโนโลยี   ในขณะที่สังคมถูกรุกรานด้วยเทคโนโลยีและสื่อสมัยใหม่ต่างๆจนไม่ทันตั้งตัวนั้น การศึกษาต้องตกเป็นฝ่ายรับ  ก่อนอื่นต้องต่อกรโดยตรงกับอิทธิพลของสื่อที่รังแต่จะโน้มน้าวหันเหผู้คนออกไปจากระบบระเบียบแบบแผนเดิม  ถัดมาต้องตกเป็นฝ่ายรับในฐานะที่เป็นความคาดหวังของผู้คนว่าระบบการศึกษาควรจะทำหน้าที่อะไรบางอย่างเพื่อเตรียมคนเตรียมเยาวชนเข้าสู่โลกใหม่ที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ การศึกษาในยุคใหม่เริ่มกลับหันมาทบทวนตัวเอง และบทบาทของตัวเอง  อย่างน้อยที่สุดเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงสำคัญ 3 สิ่ง คือ เนื้อหา สื่อ และวิธีจัดการเรียนรู้   

               แต่ก่อนนั้น นอกจากประสบการณ์ตรงของมนุษย์แล้ว ก็มีเพียงหนังสือที่เป็นสื่อชนิดเดียว ที่เป็นแหล่งความรู้ต่างๆ  ต่อมาเทคโนโลยีก็ทำให้เกิดมี วิทยุ โปรเจคเตอร์ สไลด์ โทรทัศน์ ฟิล์ม เทป วีดีโอ และในที่สุดก็มี สื่อประสม หรือ มัลติมิเดีย (multimedia) ซึ่งเป็นสื่อสมัยใหม่ หนึ่งในสื่อดิจิตอลแห่งยุคเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ 

มัลติมิเดียเทคโนโลยีของสื่อแห่งศตวรรษ

                                    

                มัลติมิเดียได้อาศัยคอมพิวเตอร์นำเอาข้อความ ภาพ และเสียงในรูปแบบต่างมาบันทึกไว้ในรูปข้อมูลดิจิตอล แล้วนำข้อมูลนั้นมาแปลกลับแสดงผลเป็นข้อความและภาพทางจอภาพ เสียงทางลำโพง ผสมผสานกัน พร้อมกับควบคุมการแสดงผลของสื่อเหล่านั้น โดยซอฟต์แว (solfware) หรือโปรแกรมสั่งในคอมพิวเตอร์ (program) ทำให้สื่อเหล่านั้นมีลักษณะพิเศษขึ้น มีพลังในการสื่อสารอย่างมีชีวิตชีวามากกว่าการใช้อุปกรณ์อื่นๆ

 

 

                คำว่า สื่อประสม หรือ มัลติมิเดียนี้แต่เดิมใช้ในความหมายตามคำแปล โดยใช้หมายถึงสื่อที่เกิดจากการแสดงผลของข้อความ ภาพ และเสียง พร้อมๆกันในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ประกอบเสียง หรือการใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆในการสาธิตหรือการสอน แต่การใช้สื่อและอุปกรณ์ดังกล่าว มีคำเฉพาะอื่นใช้แทนได้  หรือมีวิธีอธิบายแบบอื่นที่ให้ความหมายชัดเจนเข้าใจดีกว่า การใช้คำว่า สือประสม หรือ มัลติมิเดียจึงมักถูกจำกัดใช้ในความหมายของสื่อที่มีลักษณะพิเศษเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 

ซีดีรอม

                                    ข้อมูลดิจิตอลที่คอมพิวเตอร์ใช้แปลงเป็นภาพและเสียงนั้น จะถูกบันทึกไว้บนอุปกรณ์ที่เรียกว่าหน่วยบันทึกข้อมูลหรือหน่วยเก็บข้อมูล  ในยุคที่มัลติมิเดียเริ่มเกิดขึ้นใหม่ๆนั้น นิยมใช้หน่วยจัดเก็บข้อมูลที่เรียกว่า แผ่นซีดีรอม  แผ่นซีดีรอมนี้ถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง เพราะราคาไม่แพง ใช้สะดวกกว่าหน่วยเก็บข้อมูลอื่น และบรรจุข้อมูลได้มาก นับเป็นตัวอักษรก็จะได้เป็นข้อมูลถึง 300,000 หน้ากระดาษถ่ายเอกสาร (A4) เหมาะสำหรับใช้เก็บบันทึกข้อมูลของสื่อมัลติมิเดีย   แผ่นซีดีรอมนี้บางครั้งเรียกสั้นๆว่า แผ่นซีดี คำว่าแผ่นซีดี นี้ยังใช้เรียกแผ่นพลาสติกที่ใช้บันทึกเสียงเพลงแบบดิจิตอลซึ่งมีมาก่อนแผ่นซีดีรอม เรียกเต็มชื่อ ว่า แผ่นซีดีออดิโอ  หรือ ซีดีเพลง  แผ่นซีดีออดิโอนี้มีขนาดและรูปร่างเหมือนกับแผ่นซีดีรอมนี้ แต่ระบบบันทึกสัญญาณดิจิตอลบนแผ่นทั้งสองนี้ต่างกัน  อย่างไรก็ดีคอมพิวเตอร์สามารถอ่านข้อมูลทั้งบนแผ่นซีดีรอมและแผ่นซีดีออดิโอนี้ได้โดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องอ่านซีดีรอม หรือซีดีรอมไดรว์  ปริมาณการมีเครื่องอ่านซีดีรอมใช้นั้นแสดงให้เห็นว่ามีการใช้สื่อมัลติมิเดียอย่างกว้างขวาง ใน ค.ศ. 1994 มีเครื่องอ่านซีดีรอมใช้ประมาณ 11 ล้านชุดทั่วโลก ปัจจุบัน เมื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ จะมีเครื่องซีดีรอมติดมาด้วยทุกเครื่อง     แผ่นพลาสติกขนาดเท่าแผ่นซีดีรอมนี้ ยังถูกนำไปใช้ในการเก็บข้อมูลในระบบอื่น และมีชื่อเรียกไปตามระบบเก็บข้อมูลนั้นๆได้แก่ แผ่นวีซีดี หรือแผ่นวีดีโอซีดี (VideoCD) ซึ่งบันทึกข้อมูลดิจิตอล ใช้เล่นกับเครื่องเพื่อดูภาพยนตร์  แผ่นดีวีดี  (DVD-Digital Versatile Disc) ใช้บันทึกข้อมูลได้มากกว่าแผ่นซีดีรอม ในปัจจุบันแผ่นดีวีดีใช้นำมาบันทึกข้อมูลดิจิตอลเพื่อใช้เล่นกับเครื่องเล่นดีวีดี หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นภาพยนตร์ที่ให้ภาพและเสียงมากกว่าแผ่นซีดี 

 

เทคโนโลยีปฏิสัมพันธ์

                                                       

               มัลติมิเดีย (multimedia) พัฒนามาพร้อมกับการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ ให้มีปฏิสัมพันธ์หรือโต้ตอบ (interactive response) กับผู้ใช้ได้  ผู้ใช้ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าเมาส์ (mouse) ชี้ตำแหน่งบนจอภาพ ใช้แป้นพิมพ์ (keyboard) ป้อนข้อมูล หรือใช้จอยสติก (joystick) หรือเกมแพด (gamepad) ควบคุมการเคลื่อนไหวของภาพในขณะเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ส่วนคอมพิวเตอร์จะส่งข้อมูลโต้ตอบเป็นข้อความและภาพทางจอภาพ และเป็นเสียงออกทางลำโพง สื่อมัลติมิเดียเช่นนี้เรียกว่า สื่อมัลติมิเดียที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ (interactive multimedia)

หนังสืออ้างอิง                พรวิไล    เลิศวิชา.  มัลติมิเดียเทคโนโลยีกับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21.  กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2544.

หมายเลขบันทึก: 36124เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2006 20:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 18:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ดีมากกรุณาไปเยี่ยมลิงค์ของเพื่อนให้ความเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันด้วย

เรียนมัลติมิเดียจบแล้วจะไปทำงานอะไรได้ครับ

 

DDDDDDDDมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท