สำหรับผู้ที่เข้าไปดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์ของผู้เขียน (๑)


๒๘ เมษายน ๒๕๕๒ ขอเข้ามาเพิ่มเติมข้อมูลเพื่อประโยชน์ของการศึกษา เนื่องจากมีจำนวนผู้ให้ความสนใจมาดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของผู้เขียนในบันทึกนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  http://gotoknow.org/blog/k-creation/92695 

ส่วนใหญ่คงอยากได้ศึกษาแนวทางในการทำวิทยานิพนธ์ด้านการจัดการความรู้ แต่ก็มีผู้สนใจจำนวนหนึ่งแม้ไม่มาก กะว่าจะมาดูแนวทางการเขียนรูปเล่มวิทยานิพนธ์ ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของผู้เขียน

จึงอยากขอบอกกล่าวมายังผู้สนใจสาระของวิทยานิพนธ์ว่า การนำไปศึกษานั้นให้เน้นที่วิธีคิดและกระบวนการคิด กระบวนการปฏิบัติ อย่ามายึดรูปแบบการเขียนงานวิจัยไปใช้ เพราะแนวทางที่ผู้เขียนทำนี้อาจไม่เป็นที่ยอมรับของครูบาอาจารย์ที่เน้น Format งานวิจัย ว่าบทที่หนึ่งต้องเป็นอย่างนี้ บทที่สองต้องเป็นอย่างนั้น

คณาอาจารย์ของผู้เขียนส่วนใหญ่ไม่ใช่คนไทย และเป็นผู้มีใจกว้างมาก ที่ยอมให้ผู้เขียนทำในสิ่งที่คิดว่าเหมาะสม

ขอนำบันทึกที่อาจารย์ วิจารณ์ พานิช เขียนไว้นานแล้ว ท่านได้วิเคราะห์ ชี้แนะประเด็นต่างๆที่จะเป็นประโยชน์ในการไปต่อยอดงานวิจัยมาไว้ที่นี้และเพื่อความสะดวกของผู้เข้ามาอ่านด้วยค่ะ

Wednesday, May 18, 2005

วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เรื่องการจัดการความรู้
วิจารณ์ พานิช
18 พ.ค.48

วิทยานิพนธ์นี้เป็นของคุณยุวนุช ทินนะลักษณ์ ([email protected]) เสนอต่อมหาวิทยาลัยปอยเตียรส์ ประเทศฝรั่งเศส และกำลังจะสอบวิทยานิพนธ์ในปลายเดือน พ.ค. 48 นี้

ผมอ่านวิทยานิพนธ์นี้มาเป็นเวลาสัปดาห์เศษ ๆ ด้วยความอิ่มเอม และชื่นชมแกมขัดใจ ขัดใจตัวเองที่ไม่มีเวลาอ่านรวดเดียวจบ

ชื่อวิทยานิพนธ์นี้คือ Knowledge Creation and Sustainable Development : A Collaborative Process between Thai Local Wisdom and Modern Sciences โดยมีอาจาย์ที่ปรึกษาคือ ศาสตราจารย์ Pierre Fayard

วิทยานิพนธ์นี้เน้นที่การสร้างความรู้จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่น (LW – Local Wisdom) กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ (MST – Modern Science & Technology)

ศาสตราจารย์ฟายาร์ด อีเมล์มาด้วยความตื่นเต้นว่าวิทยานิพนธ์นี้ให้ความรู้ใหม่แก่วงการ KM อย่างน่าภาคภูมิใจ ซึ่งผมเห็นด้วย

และผมยังเห็นต่ออีกว่า นักศึกษาปริญญาเอกในประเทศไทยที่สนใจทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ KM น่าจะอ่านวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คนละอย่างน้อย 3 เที่ยว เพื่อค้นหาโจทย์วิจัยสำหรับทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีซุกซ่อนอยู่ในนั้นเต็มไปหมด ผมจะยกมาบางประเด็น และคงจะมีอีกมากประเด็นที่ผมมองไม่เห็น

ผมเข้าใจว่า เพราะวิทยานิพนธ์นี้เป็นเรื่องของสังคมไทยล้วน แต่เป็นวิทยานิพนธ์ที่นำเสนอต่อมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส ดังนั้นจึงต้องมีการนำเสนอสภาพสังคมไทยทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และเสนอสภาพปัจจุบัน สำหรับให้ผู้อ่านและผู้สอบวิทยานิพนธ์ได้เข้าใจ context ของการสร้างความรู้จากปฏิสัมพันธ์ระหว่าง LW กับ MST ในสังคมไทย ผมอ่านส่วนนี้อย่างเพลิดเพลินและได้ความรู้มาก พร้อมทั้งชื่นชมความรู้อันกว้างขวางของคุณยุวนุช

คุณยุวนุชไม่ได้บรรยายเฉพาะบริบทของสังคมไทยเท่านั้น ยังได้บรรยายบริบทของตัวเองไว้ด้วย ผมเข้าใจว่าเป็นการบอกผู้อ่านว่าที่เขียนมาทั้งหมดนี้ผ่านการตีความของคนที่จบปริญญาตรีด้านศิลปศาสตร์ (มช.) และปริญญาโทด้าน Science Communication (Illinois State U.) และมีประสบการณ์การทำงาน 20 ปี ในหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคือ 14 ปี ในตำแหน่งหัวหน้างานประชาสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย และ 6 ปีในตำแหน่งผู้จัดการประชาสัมพันธ์ของ สวทช. (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) จนถึงปี 2545 จึงลาออกมาศึกษาต่อปริญญาเอก

จากการทำงานนั้นเอง คุณยุวนุชสั่งสมความสงสัยหรือความอยากรู้มาเป็นโจทย์วิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ เป็นความพิศวงเพราะหลงใหลเรื่องผ้า การผสมผสานภูมิปัญญาเดิมกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ในการผลิตผ้าพื้นเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งของภาคอีสาน

ชีวิตทั้งชีวิตของคุณยุวนุช ทำงานด้าน PCST – Public Communication in Science and Technology และด้วยการเข้าร่วมประชุมนานาชาติด้านนี้แหละจึงได้พบ ศ. ฟายาร์ด นำไปสู่การเรียนต่อปริญญาเอกและทำวิทยานิพนธ์ในเรื่องนี้

ท่านเห็นแรงบันดาลใจในตัวคน นำไปสู่การสร้างสรรค์ทางวิชาการไหมครับ

แรงบันดาลใจที่ดีคือ ความอยากรู้ อยากตอบข้อสงสัย แรงบันดาลใจที่ไม่ค่อยดี คืออยากได้แค่แผ่นกระดาษ คือปริญญาเอก

Review
ที่ผมอ่านแล้วได้ความรู้มากและอีกมาก คือการ review MST และ PCST ในโลกและประเทศไทย สรุปสั้น ๆ คือมีการสร้างในโลกตะวันตก และประเทศไทยเป็นผู้รับถ่ายทอดมา พูดในถ้อยคำของผมก็คือโลกตะวันตกเป็นผู้สร้าง (producer) ไทยเป็นผู้เสพ (consumer) เอกสารส่วนนี้ยาวถึง 47 หน้า อ่านแล้วได้ความรู้มากจริง

review
เรื่อง LW ในสังคมไทยยิ่งมีความยาวมากถึง 73 หน้า นำเสนอให้รู้จักสังคมไทยด้านประวัติศาสตร์, ศาสนาและวัฒนธรรม, ลักษณะเฉพาะด้านพฤติกรรมของคนไทย, รัฐบาลและการเมือง, LW ยุคก่อน MST จะเข้ามาในประเทศไทย, LW ยุคที่ MST เข้ามาลงรากในสังคมไทย, การพัฒนา LW ในสังคมไทยในอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้ม

หมายเลขบันทึก: 257918เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2009 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 04:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)
  • ดีจังเลยครับ
  • ที่ได้ศึกษาเรื่องนี้
  • ขอบคุณพี่นุชมากๆๆครับ

ขอบคุณค่ะอาจารย์P  ขจิต ฝอยทอง พี่เห็นว่ายังมีคนทยอยไปดาวน์โหลดข้อมูลอยู่เรื่อยๆ อยากให้ผู้สนใจได้ประโยชน์จากข้อชี้แนะของอาจารย์วิจารณ์ซึ่งเขียนไว้นานมากแล้ว เกรงว่าส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่ามีข้อมูลนี้อยู่ค่ะ

เรียน อาจารย์นุชครับ

มีรุ่นพี่ปริญญาเอกของผม ท่านหนึ่ง ทำดุษฏีนิพนธ์ ประเด็น CBT. knowledge managment ครับ  กระผมเห็นว่างานของอาจารย์น่าจะเกิดประโยชน์สำหรับพี่เขามาก ผมเลยแนะนำ Link ของอาจารย์ไป

ผมก็ขอขอบคุณแทนพี่ของผมมา ณ โอกาสนี้ครับ

Dscf5216

อ้างอิงภาพจาก : http://picstation.multiply.com/photos/album/82/82

ขอบคุณค่ะคุณเอกP จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร และยินดีที่ข้อมูลจะเป็นประโยชน์มีชีวิตงอกงามต่อไปด้วยค่ะ

ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้ดีๆที่แบ่งปันให้ผู้อื่นครับ ที่ว่า มีหัวข้อดุษฏีนิพนธ์ที่น่าทำต่อซ่อนอยู่มากมาย ผมจะลองอ่านแล้วค้นคว้าดูนะครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับ

ยินดีค่ะคุณ สหายสามตา หากงานที่ดิฉันศึกษาไว้จะมีผู้ศึกษาในแง่มุมอื่นๆที่จะเป็นประโยชน์กับบ้านเมืองของเราโดยเฉพาะผู้คนที่อยู่เป็นชุมชนในต่างจังหวัดซึ่งมีภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่รอบตัวและมักถูกคนนอกเข้าไปช่วยใช้อย่างที่ประโยชน์มักตกอยู่แต่กับคนนอกเป็นส่วนใหญ่ ชาวบ้านได้แค่ค่าแรงกับสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมลงๆค่ะ

กำลังศึกษาปริญญาเอกค่ะ และหาหัวข้อทำวิจัยอยู่ค่ะ

ขออนุญาตดาวน์โหลดนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

เรียน อาจารย์ยุวนุช ที่เคารพ

ผมเริ่มศึกษาการทำดุษฎีนิพนธ์ครับ โชคดีมากที่พบกับผลงานของท่าน จะตั้งใจศึกษาครับเพราะผมสนใจเรื่องแหล่งการเรียนรู้และภูมิปีญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการ

จัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ด้วยครับ ขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ครับ

เรียน ท่านอาจารยนุช

ผมขออนุญาตดาวน์โหลดนะครับ ปัจจุบันกำลังเตรียมเรียนต่อป.เอก แม้จะคนละสายงานกันแต่คิดว่าน่าจะให้องค์ความรู้เพิ่มเติมในมุมมองของนักกฎหมายได้ครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณค่ะที่แบ่งปันความรู้

เรียน อาจารย์

ผมกำลังเตรียมตัว สอบเข้าศึกษาต่อในระดับ ป.เอก ในสาขา IT หรือ KM ผมขออนุญาติ load เพื่อเป็นข้อมูลด้วยครับ

ขอบคุณครับ

สุนทร หลั่นเจริญ

เรียน อาจารย์ยุวนุช

ดิฉันทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้าน โดยมีการพัฒนาต่อยอดด้วยวิทยาศาตร์ ชื่นชมงานของอาจารย์และขออนุญาติโหลดงานของอาจารย์เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน การวิจัย และการทำงานร่วมกับชุมชนค่ะ

ขอแสดงความนับถือ

ยุพิน สมคำพี่

เรียน อาจารย์ยุวนุช

ดิฉันทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้าน โดยมีการพัฒนาต่อยอดด้วยวิทยาศาตร์ ชื่นชมงานของอาจารย์และขออนุญาติโหลดงานของอาจารย์เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน การวิจัย และการทำงานร่วมกับชุมชนค่ะ

ขอแสดงความนับถือ

ยุพิน สมคำพี่

วันนี้นั่งหาข้อมูลที่จะทำวิทยานิพนธ์ทั้งวัน เพิ่งจะมาเจอข้อมูลของอาจารย์ มีประโยชน์มากครับ อยากขอคำแนะนำจากอาจารย์ด้วยครับ ว่าในการเขียนหัวข้อวิทยานิพนธ์นั่น เราจะเขียนอย่างไรดีให้สามารถต่อเนื่องจากปริญญาโท และเอก ไปด้วยกันได้ ขอบคุณความรู้ดี ๆที่มาแบ่งปัน

ยินดีมากค่ะที่งานที่ทำไว้มีประโยชน์ต่อไปกับผู้ที่กำลังแสวงหาความรู้บนเส้นทางสู่ปริญญาโท-เอก ทุกท่านที่แวะมา

ตอบคำถามคุณเอกพงษ์คลินิกเทคโนโลยี นะคะ ประเด็นที่ถามมาเรื่องการเขียนหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้ต่อเนื่องระดับโท-เอก นั้น ต้องคุยกันยาว อย่างแรกที่ต้องทำความเข้าใจก่อนก็คือ ในแต่ละระดับมีความคาดหวังทางวิชาการเพียงใด แล้วจึงมามองในภาพใหญ่ว่าเราจะจัดการทำในระดับปริญญาโทตรงส่วนไหน กว้าง ลึก เพียงใด และสิ่งที่ได้คำตอบมาจะนำไปสู่การศึกษาค้นคว้าที่ลึกซึ้ง มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร(originality) มีคุณค่าต่อสายวิชาการที่ศึกษาเพียงใดซึ่งสมควรแก่การได้รับการยอมรับในระดับปริญญาเอก

หากมีข้อสงสัยและคิดว่าสิ่งที่ตอบช่วยได้บ้างและอยากสนทนาต่อ อีเมลล์ถึงดิฉันเพื่อจะได้ให้เบอร์โทรศัพท์คุยกันได้ละเอียดขึ้นก็ได้ค่ะ 

เมื่อผมในฐานะนักศึกษา ป.เอก ได้อ่านแค่คำสอนของสังคมผู้รู้จริงYuwanuch TINNALUCK (2005) กล่าวเตือนสติและให้ข้อคิดกับผู้รู้ทางวิชาการที่เคารพตนเองมากที่สุดว่าเป็นสุดยอดแห่งความรู้ (ป.เอก) ได้โปรดฟังคำกล่าวที่เป็นประโยชน์อย่างมหาศาลกับการศึกษาไทยดังต่อไปนี้

"จึงอยากขอบอกกล่าวมายังผู้สนใจสาระของวิทยานิพนธ์ว่า การนำไปศึกษานั้นให้เน้นที่วิธีคิดและกระบวนการคิด กระบวนการปฏิบัติ อย่ามายึดรูปแบบการเขียนงานวิจัยไปใช้ เพราะแนวทางที่ผู้เขียนทำนี้อาจไม่เป็นที่ยอมรับของครูบาอาจารย์ที่เน้น Format งานวิจัย ว่าบทที่หนึ่งต้องเป็นอย่างนี้ บทที่สองต้องเป็นอย่างนั้น   คณาอาจารย์ของผู้เขียนส่วนใหญ่ไม่ใช่คนไทย และเป็นผู้มีใจกว้างมาก ที่ยอมให้ผู้เขียนทำในสิ่งที่คิดว่าเหมาะสม"

  จากครูตู่ 

เจษฎาภรณ์ วิริยนะสกุลธรณ์

อ.นุชครับ ไม่ทราบว่าจะสามารถไปหาดาวโหลดเล่มงานวิทยานิพนธ์ของท่านอาจารย์ได้ที่ไหนครับ

Dear ajarn

I'm interested to learn more knowledge in KM field ka. I'm planning to study PHd. Could I please download your dissertation.

Thank you very much ka

Bo.

Dear ajarn

I'm interested to learn more knowledge in KM field ka. I'm planning to study PHd. Could I please download your dissertation.

Thank you very much ka

Bo.

Dear ajarn

I'm interested to learn more knowledge in KM field ka. I'm planning to study PHd. Could I please download your dissertation.

Thank you very much ka

Bo.

ขออนุญาตศึกษาข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางการเขียนวิจัยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท