ประกาย~natachoei ที่~natadee
นาง ประกาย ประกาย~natachoei ที่~natadee พิทักษ์

การป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในโรงพยาบาล


                มีหน้าที่ต้องติดตามอ่านข่าวและการปฏิบัติเรื่องไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ แล้วนำมาเผยแพร่ ส่งต่อข้อมูลให้กับทีม SRRT และคณะกรรมการWaroom ไข้หวัดใหญ่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ซึ่งเมื่อวานประชุมกันแบบเข้มข้นมากนะคะ พูดถึงปัญหาในอนาคตที่จะเกิดขึ้นด้วย โดยเฉพาะหน้ากากอนามัยที่กำลังขาดแคลน 
               การเตรียมการจัดหาทรัพยการที่เกี่ยวข้อง หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ การจัดเตรียมอัตรากำลัง การทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญจะดูแลบุคลากรอย่างไร ป้องกัน การติดเชื้อ ผู้ที่ป่วยมีสวัสดิการถ้าตรวจพบ มีอาการให้หยุดพักโดยไม่ถือเป็นวันลา และเรียกเคลมค่าชดชยให้ด้วยนะคะ
              เมื่อวานดูข้อกำหนดของกระทรวงใหม่ล่าสุด ซึ่งโรงพยาบาลศรีนครินทร์ดำเนินการอยู่แล้วตั้งแต่เริ่มแรก  ไม่ต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไร อ่านทบทวนดูนะคะ


การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1

ในสถานพยาบาล

 

กระทรวงสาธารณสุข   

ณ วันที่  4  สิงหาคม 2552

 

การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ขยายไปในหลายประเทศทั่วโลกจนได้รับรายงานผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน  สำหรับประเทศไทยปัจจุบันพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในสถานศึกษา ค่ายทหาร เรือนจำ และในครอบครัวและมีการแพร่ระบาดไปทุกจังหวัดภายในเดือนกรกฎาคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   

การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและการติดเชื้อในสถานพยาบาลจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข  รวมทั้งประชาชนที่มารับบริการในโรงพยาบาลด้วย  โดยมีการปฏิบัติที่สำคัญตามหลักการของ Isolation Precautions, Standard Precautions, Droplet Precautions และ Respiratory Hygiene and Cough Etiquette ดังนี้

 

สถานที่ตรวจผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

1.                              ควรแยก Influenza OPD ออกจาก OPD สำหรับผู้ป่วยอื่น ควรเป็นพื้นที่ซึ่งไม่มีผู้คนพลุกพล่าน  สะดวกในการขนส่งผู้ป่วยและสามารถเคลื่อนย้ายเอกซเรย์เคลื่อนที่เข้ามาถึงได้โดยง่าย โดยจัดระบบเป็น One Stop Service ในพื้นที่เดียวกัน ตั้งแต่การทำบัตร คัดกรอง ตรวจรักษา  เอกซเรย์ ให้สุขศึกษา จ่ายเงินและรับยา รวมทั้งสถานที่ดูแลผู้ป่วยก่อน admit เป็นผู้ป่วยใน เป็นต้น

2.                        เป็นห้องที่โล่งที่มีการระบายอากาศตามธรรมชาติได้  จัดให้มีทิศทางลมให้พัดจากบุคลากรสู่ผู้ป่วยและระบายออกภายนอกหรือให้มีพัดลมระบายอากาศช่วย มีอ่างล้างมือ และน้ำยาล้างมือแห้งอย่างเพียงพอ ในกรณีที่ไม่สามารถจัดสถานที่ตรวจบริเวณห้องโล่งได้ (ระบายอากาศตามธรรมชาติ) มีความจำเป็นต้องจัดในห้องปรับอากาศควรดูทิศทางลมของเครื่องปรับอากาศและมีการแยกส่วนสถานที่อย่างชัดเจนจากผู้ป่วยโรคอื่น ๆ

3.   จัดระบบการตรวจรักษาผู้ป่วยโดยคำนึงถึงความรุนแรงของอาการ ควรจัดแยกพื้นที่ สำหรับผู้ป่วยอาการหนักแยกจากผู้ป่วยอาการน้อย ผู้ป่วยที่มีอาการมากหรือรุนแรงต้องให้ได้รับการดูแลรักษาก่อน

4.   ผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการตรวจทุกราย ควรได้รับหน้ากากอนามัย และน้ำยาล้างมือแห้ง (เจลล์ล้างมือ) นอกเหนือจากยาที่จำเป็นอื่นๆ ตามอาการ โดยสั่งเป็น Standing Order


หอผู้ป่วยในสำหรับผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

1.   จัดหอผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ เอช1เอ็น1 แยกจากหอผู้ป่วยอื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อผลแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่

2.      ในกรณีมีผู้ป่วยจำนวนน้อย ควรจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยกเดี่ยวที่มีห้องน้ำในตัว และ ปิดประตู

3.   ในกรณีมีผู้ป่วยจำนวนมาก ให้ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยทางคลินิกแล้วว่าเป็นผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ อยู่รวมกันในหอผู้ป่วยรวมแยกโรค  (Cohort Ward)

คุณลักษณะของหอผู้ป่วยรวมแยกโรค (Cohort Ward)

3.1  มีการระบายอากาศที่ดี พื้นผิวเรียบทำความสะอาดง่าย มีอ่างล้างมือและห้องน้ำแยก

3.2  มีถังขยะติดเชื้อสำหรับผู้ป่วยทุกคน และเจลล์ล้างมือไว้ท้ายเตียงทุกเตียง

3.3 จัดระยะห่างระหว่างเตียง 1-2 เมตร  อาจมีม่านกั้นระหว่างเตียงซึ่งทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย หรือผ้าม่านซึ่งซักล้างได้ง่าย

3.4  มีพื้นที่และอุปกรณ์เพียงพอในการดูแลผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจและผู้ป่วยวิกฤต

3.5  มีพื้นที่สำหรับถอดเครื่องป้องกันร่างกายที่ปนเปื้อนแล้วซึ่งควรอยู่ใกล้หรือหน้าประตูห้องผู้ป่วย

3.6 Nurse Station ควรอยู่นอกห้องผู้ป่วย แต่ต้องสังเกตอาการผู้ป่วยได้โดยง่าย เช่น มีบานกระจกใสหรือโทรทัศน์วงจรปิด

 

เครื่องป้องกันร่างกาย (Personal Protective Equipment  : PPE)

1               PPE ประกอบด้วย mask (N 95 หรือ Medical/ surgical mask) , ถุงมือ ,  เสื้อกาวน์ , แว่นป้องกันตา (goggles) โดยมีจุดเน้นในระยะการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ดังนี้

                                        1. ใช้ Medical/ Surgical Mask ในการดูแลผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจทุกคน  กรณีต้องทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝอยละออง เช่น ใช้เครื่องช่วยหายใจ ดูดเสมหะ พ่นยา ฟื้นชีพ หรือการดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยที่ไอมาก ควรใช้ N 95

ถุ             2. ถุงมือ ใช้เฉพาะเมื่อต้องแตะสัมผัสเลือด สารคัดหลั่งหรือเนื้อเยื่อของผู้ป่วย/ศพ  และต้องเปลี่ยนถุงมือทุกครั้งที่จะดูแลผู้ป่วยรายอื่น

    เสื้อกาวน์ และ แว่นป้องกันตา (goggles)  ให้ใช้กรณีที่ทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการฟุ้งกระจายของเสมหะหรือสารคัดหลั่ง

2               การใช้PPE ใน Cohort Ward ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน PPEในการดูแลผู้ป่วยแต่ละราย ยกเว้นถุงมือซึ่งต้องเปลี่ยนเสมอเมื่อต้องเปลี่ยนไปดูแลผู้ป่วยรายอื่น

3                ใช้ N-95 Mask และ Goggle เสมอในการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝอยละออง  ในห้อง/หอผู้ป่วยแยกโรค  ห้องฉุกเฉิน และหอผู้ป่วยวิกฤต

4                    ควรฝึกซ้อมการใช้ PPE  ทั้งการใส่และถอด PPE ให้ถูกต้อง


การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

1.      จำกัดการเคลื่อนย้ายเท่าที่จำเป็น เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ

2.      จัดเส้นทางที่จะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไม่ให้ผ่านฝูงชน โดยมีผู้รับผิดชอบดูแลเส้นทางและต้องแจ้งบุคลากรปลายทางที่จะรับผู้ป่วยเพื่อสวมใส่เครื่องป้องกันร่างกายตามความเหมาะสม และกับบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากบริเวณนั้น

3.      บุคลากรที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายผู้ป่วย สวมใส่เครื่องป้องกันร่างกายตามความเหมาะสมของลักษณะการสัมผัส ได้แก่ mask , ถุงมือ

4.      สวมหน้ากากอนามัย (Medical/ surgical mask) ให้ผู้ป่วยเสมอ (หากผู้ป่วยไม่มีอาการเหนื่อยหอบ) เมื่อจะต้องเคลื่อนย้าย

5.      หากต้องมีการเคลื่อนย้ายโดยรถพยาบาล  บุคลากรที่นำส่งจะต้องสวมใส่เครื่องป้องกันร่างกายอย่างเหมาะสม และปฏิบัติ Infection Control Practice อย่างเคร่งครัด

6.      การทำความสะอาดรถพยาบาลหลังจากส่งผู้ป่วยแล้ว ให้เช็ดพื้นผิวห้องโดยสารผู้ป่วยด้วยน้ำยาทำความสะอาดตามปกติ  หากบริเวณใดเปรอะเปื้อนเลือดหรือสารคัดหลั่งให้เช็ดออกให้มากที่สุด ด้วยกระดาษชำระแล้วทำความสะอาดด้วยน้ำผงซักฟอกหรือน้ำยาทำความสะอาดตามปกติ  จากนั้นเช็ดบริเวณนั้นด้วย 0.05% Sodium hypochlorite ทิ้งไว้ 15 นาที หรือเช็ดด้วย 70% Alcohol  

 

ผ้าที่ใช้กับผู้ป่วย

1.      เก็บผ้าที่ใช้แล้วภายในห้องผู้ป่วย ระมัดระวังการฟุ้งกระจาย ให้ใส่ในถุงขยะติดเชื้อแล้วส่งห้องบริการผ้า

2.      บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับผ้า ต้องสวมใส่เครื่องป้องกันร่างกาย เช่น เสื้อกาวน์ , mask (Medical/ surgical mask) และ ถุงมือ

3.      ซักผ้าด้วยน้ำร้อน > 71  องศาเซลเซียส หรือใส่ผงฟอกขาว

4.      อบผ้าให้แห้งก่อนนำกลับมาใช้อีก

 

เครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับผู้ป่วย

-    เครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยควรแยกออกจากผู้ป่วยอื่นๆ และควรเป็นชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง  สำหรับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ต้องใช้ซ้ำให้พิจารณาทำความสะอาดและทำให้ปราศจากเชื้อตามลักษณะของอุปกรณ์นั้น ซึ่งแบ่งเป็น Critical items , semi-critical items และ non-critical items

กรณีใช้เครื่องช่วยหายใจ

-          มี Filter ที่ Expiratory Port

-          ควรใช้ Closed circuit suction


อุปกรณ์รับประทานอาหาร

1.   ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับประทานอาหารในเครื่องล้างจาน ซึ่งใช้น้ำร้อนและน้ำยาล้างจาน  หากไม่มีเครื่องล้างจานบุคลากรต้องสวมถุงมือยางในการทำความสะอาดอุปกรณ์

2.      หากมีญาติเฝ้าผู้ป่วย  ไม่ควรให้ญาติรับประทานอาหารในห้องผู้ป่วย

3.      อาจใช้อุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง

 

ขยะ

     -  ขยะในห้องแยกหรือหอผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ให้ถือว่าเป็นขยะติดเชื้อ ซึ่งให้ดำเนินการทำลายตามมาตรการสำหรับขยะติดเชื้อ

 

บุคลากรในสถานพยาบาล

     ควรได้รับการเตรียมความพร้อม ดังนี้

1.      ได้รับการอบรมความรู้ เรื่องไข้หวัดใหญ่มาแล้ว  และมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ  ทั้งในระยะก่อนและระยะวิกฤตได้ดี

2.      ได้รับการอบรม และฝึกปฏิบัติในเรื่อง Infection Control Practices มาแล้ว

3.      พิจารณาให้ได้รับ หรือมีภูมิคุ้มกันโรคไข้หวัดใหญ่

4.      สร้างขวัญและกำลังใจ โดยจัดสวัสดิการต่างๆ  เช่น ค่าตอบแทน จัดอาหารให้ระหว่างปฏิบัติงาน

5.      ห้ามบุคลากรที่มีลักษณะต่อไปนี้ปฏิบัติงานกับผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่  ได้แก่

1) ป่วยด้วยระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันและเรื้อรัง

2) ผู้กำลังตั้งครรภ์

3) มี Cardiovascular disease ได้แก่ congenital valvular disease , rheumatic valvular disease , ischemic heart disease , congestive heart failure

4) Malignancy

5) Renal failure

6)  มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ได้แก่ ป่วยเป็น HIV/ AIDS , ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

ทั้งนี้ควรจัดให้บุคลากรดังกล่าวปฏิบัติงานที่ไม่สัมผัสกับผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 

               การจำแนกและหมุนเวียนบุคลากร

1.   ควรแยกบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยใน Influenza area และ non-influenza area เพื่อลดความเครียดของบุคลากร ควรมีการหมุนเวียนการปฏิบัติหน้าที่เป็นช่วงๆ ประมาณ 1 เดือน หากบุคลากรดังกล่าวไม่มีข้อห้าม ในการปฏิบัติงานกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่

2.   ก่อนย้ายบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยใน Influenza area ไปปฏิบัติงานใน non-influenza area  ควรให้พัก 3 วัน เพื่อรอดูอาการป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่เนื่องจากอาจอยู่ในระยะฟักตัวของโรคทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

3.   จัดเตรียมทีมบุคลากรเสริมจากแผนกอื่น โดยให้การอบรมเรื่องความรู้พื้นฐาน และ การป้องกันการแพร่เชื้อก่อนปฏิบัติงาน

§       การเฝ้าระวังบุคลากร

1.  จัดให้มีการลงนาม วัน เวลา ลักษณะการสัมผัสของบุคลากรทุกคนที่เข้าปฏิบัติงานกับผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 

2.  จัดให้มีระบบเฝ้าระวังอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในสถานพยาบาล  โดยบุคลากรทุกคนต้องวัดอุณหภูมิและสังเกตอาการของตนเอง  (จัดทำแบบฟอร์มบันทึกตนเอง) หากมีอาการไข้หรืออาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ต้องหยุดงาน และ แยกตนเองจากผู้อื่น  รวมทั้งไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาต่อไป

3.  จัดให้มีระบบการคัดกรอง  มิให

หมายเลขบันทึก: 283264เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2009 06:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ธันวาคม 2012 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ผมยังพูดขำๆ ในที่ประชุมว่า...
วิกฤต คือโอกาส...
ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่...ช่วยให้เราลดพลังได้เยอะเลย  ไม่ใช้ลิฟท์ 
ไม่เข้าเธค..ร้านเกมส์...งดเหล้าเข้าพรรษาได้ประปรายเหมือนกัน นะครับ

ขอเป็นกำลังใจให้ครับ

อ่านแล้ว อยากให้ทุกโรงพยาบาล ทำแบบนี้ค่ะ

มาติดตามข่าวดีดี ถ้าเรื่องไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ต้องที่นี้ ทันโรค ทันเหตุการณ์ เชื่อถือได้  ขอบพระคุณที่เป็นที่พึ่งพาให้กับพวกเรา

สวัสดีค่ะ มาเยี่ยม และเก็บเรื่องราวดีดีค่ะ คิดถึงนะคะ สบายดีนะ

P 1. แผ่นดิน
 
สวัสดีคะอาจารย์พนัส

งานนี้เรียนรู้นอกห้องเรียนจริง ๆคะ ทำงานไปเรียนรู้ไป ปรับเปลี่ยนตามเวลา วิกฤตที่เกิดขึ้น คาดการณ์ล่วงหน้า

  • วันนี้มีเหตุการณ์ให้คิดและเกิดขึ้นอีก วันจันทร์ คิดว่าถ้าคนท้องป่วยจะเตรียมการณ์อย่างไร คลอดที่ไหน ทำอย่างไร วันนี้ มีคนท้องป่วยแล้วมาแบบอาการหนักด้วย

P 2. small man
 
สวัสดีคะรองผอ.

ขอบคุณนะคะที่ติดตามข่าวคราวและงานที่ทำ

 นักเรียนป่วยมากขึ้นนะคะ

P 3. Sasinand
 
สวัสดีคะ

ทุกโรงพยาบาลน่าจะทำตามาตรฐานนะคะ ถ้าไม่ปฏิบัติตามโอกาสที่บุคลากรจะป่วย จะมีมากคะ และขึ้นกับทรัพยากรของโรงพยาบาล การสนับสนุนด้วยคะ

P 4. นายประจักษ์~natadee
 
สวัสดีคะน้องม่อน ท่านผอ.ประจักษ์

น้องม่อนหายหวัดแล้วคะ เปิดหน้าออกได้แล้ว สุดหล่อนะคะ

ยินมากที่ได้เป็นแหล่งข่าวที่ทันเหตุการณ์นะคะ

P 5. KRUPOM
สวัสดีคะครูป้อม คิดถึงครูป้อมนะคะ ติดตามข่าวไปบอกนักเรียนต่อนะคะ สบายดีไหมคะ ไปเดินสายอบรม พักผ่อนบ้างนะคะ

สวัสดีค่ะ  มีความสุขอย่างพอเพียงค่ะ  คิดถึงนะคะ  ติดตามข่าวสารอยู่นะคะ

วันนี้วันศุกร์

มาชม

มาเชียร์

ช่วงนี้เริ่มเห็นคนมีอาการเป็นหวัดบ้างแล้วละ...

สวัสดีคะครูป้อม

เหนื่อยนะคะ ข้อมูลทำรายงานออกยากมากนะคะ

P 12. umi
สวัสดีคะอาจารย์ยูมิ

 ระมัดระวังป้องกัน นะคะ

ถ้าเกิดระบาดในมอ.จะควบคุมยากนะคะ

มข.ระบาดมาแล้ว เหนื่อย สุด ๆคะ

มีน้องสาวมาเยี่ยและสอนกันใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกวิธีด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท