อบรมพระธุดงค์ (๕) : ความดับทุกข์ของคนเรามันอยู่ที่ไหน...


ความดับทุกข์ของคนเรามันอยู่ที่ไหน เราก็ต้องพิจารณาดู ก็เค้ามาหากินเขาปลูกบ้านอยู่ก็เพื่อที่จะนอนสบายอะไรอย่างนั้น มีอาหารกินเพื่อบรรเราทุกข์สบายอะไรอะไร มันก็แค่นั้นแหละ มีผ้านุ่งห่มพอกันหนาวกันร้อน มียารักษาโรคพอที่จะบรรเราทุกข์พอทนอยู่ได้เท่านั้นแหละ ความสุขทางโลกนั่นนะ แล้วเราก็มาสร้างสรรค์ขึ้นต่ออีกให้มันเป็นเสียงดนตรี มีเสียงมีอะไรอีก ทำรูปให้สวย ๆ ขึ้นอะไรขึ้นให้ตัวเองหลงขึ้นมาอีกอะไรอย่างนี้ มันก็แค่นี้เอง ทางโลกมันก็ไม่มีอะไร เราไม่จำเป็นที่จะต้องไปคิดทางโลกทางอะไร มันไม่ใช่สาระของชีวิตที่แท้จริง

ความดับทุกข์เราก็พอมีสุขภาพร่างกายพอทนอยู่ได้ พอได้ภาวนาได้ จิตใจของเรามันก็จะเป็นพระไปเรื่อย ๆ สบายไปเรื่อย ยิ่งคิดถูก ยิ่งคิดสงบ ยิ่งคิดมีปัญญาเท่าไหร่มันยิ่งสบาย มันก็จะสบายทุกเมื่อ มันก็ไม่มีอะไรทางโลก ทุกวันนี้ก็มีรถคันสวย ๆ ที่อวดกันเท่านั้นเอง แต่จุดมุ่งหมายของรถนั้นก็คือไปสู่จุดหมายปลายทางให้เร็วขึ้น แต่มันก็เพิ่มขึ้นอีกนะ มีไว้สำหรับเกียรติ สำหรับยศ สำหรับอวดกันอะไรอย่างนี้ ใครไม่มีก็น้อยหน้า คิดหนัก ต้องดิ้นรน ตามสังคม ตามสิ่งแวดล้อมอะไรไป


การอ่อนน้อมถ่อมตนนั้นเป็นอาการกิริยาที่เราแสดงออก คือเป็นเครื่องหมายทางจิตใจ เป็นเครื่องหมายของคนที่ไม่มีทิฏฐิมานะ เป็นเครื่องหมายของที่มีคุณธรรม
บางคนก็จะมีความรู้สึกเหมือนตัวเองตัวเล็กนิดเดียว บางคนได้เป็นใหญ่เป็นโตก็รู้ว่าตัวเองเด่น ตัวใหญ่เบ้อเริ่อเลย อันนี้มันก็ไม่ใช่ มันเป็นอาการกิริยาเป็นหน้าที่ที่เราแสดงออกเฉย ๆ

เค้าเรียกว่าปฏิบัติให้มันถูกต้องตามอริยมรรคมีองค์แปด เพราะว่าการปล่อยวางนั้นปล่อยวางที่จิตที่ใจ เราจะเอาแต่ใจอย่างเดียวมันก็ไม่ได้ เพราะว่าเรามีสุขภาพร่างกาย เราต้องมีรูปแปดที่จะแสดงออกเพื่อกุลบุตรลูกหลานเพื่อทรัพยากรของชาติของโลกต่อไป

เราอาจจะเดินตัวตรงสง่าผ่าเผยตามปกติก็ได้ เรานั่งสมาธิอย่างนี้เป็นต้นไม่ใช่ว่านั่งสมาธิแล้วก็ยังอ่อนน้อมอยู่ นั่งสวัสดีอยู่นั่นแหละ เพราะว่าเรามาจากญาติโยมมาจากฆราวาสนะ ความเคยชิน ระบบความคิดมันก็เคยชิน ระบบการกระทำภายนอกก็เคยชิน เราต้องฟอร์มตัวเองถ้าอย่างนั้นมันก็ไม่เกิดประโยชน์ในศาสนาอีกหลายปีข้างหน้านะ

เพราะว่ากุลบุตรลูกหลานนี้ก็อาศัยเรานี่นะ ถ้าเราไม่วางแบบแผนไว้ดี ระเบียบไว้ดี อย่างพระพุทธเจ้าทรงวางธรรมวินัยไว้ “พระพุทธเจ้าท่านวางไว้ดีแล้วนะ แต่ว่าพวกเรามันปฏิบัติอ่อนลง ๆ”
เราต้องฟอร์มตัวเอง เราต้องเข้าใจความหมายในการกระทำสิ่งนั้นด้วย มันไม่ใช่ว่าทำให้สวยงามน่าดูน่าชมอย่างเดียว มันทั้งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดไปพร้อม ๆ กัน

ถ้าเราปฏิบัติไม่ดีแต่เดี๋ยวนี้มันอาจจะไม่เป็นไร แต่ว่าอีกหลายปีนั้นคนข้างหน้าที่เค้าจะรับถ่ายทอดมันจะมีผลนะ อย่างความคิดเรานี้แหละ ครั้งแรกเราคิดอย่างนี้มันก็เฉย ๆ ต่อไปมันยิ่งหนักไปอีกนะ ยิ่งแก่ขึ้น ๆ ทำชั่วไปเรื่อยแหละที่นี้ทางจิตใจ
แต่ถ้าเรามีความละอาย มีความเกรงกลัว มีอะไรไว้ตลอดหรือว่ายิ่ง ๆ ขึ้น มันก็จะเป็นฐานรองรับจิตใจของเราในภายภาคหน้าไปอีก


เราต้องรู้จัก เราจะพูดในบ้านนี้ ในถิ่นนี้ ในสังคมนี้อย่างไร การวางตัวอย่างนี้ เราก็ต้องรู้จักคิด เราจะทำอย่างไร เรามาพักอยู่อย่างนี้ ๆ เราก็ต้องคิดไว้ เราจะทำอย่างไรถึงจะให้มันเกิดความสงบ เกิดความเยือกเย็น มันก็ต้องคิดเหมือนกัน

ไม่ใช่ว่าเอาแต่ปล่อยวางอย่างเดียว เรื่องปล่อยวางมันเรื่องทางจิตทางใจนะ สิ่งภายนอกนี้เราต้องรักษาระเบียบรักษาแบบแผนให้เคร่งครัด
ถ้าเราปฏิบัติไม่เป็นนี่นะ อยู่กับครูบาอาจารย์ก็จะเคร่งครัดอะไรดีแต่ว่าหนีออกจากอาจารย์นี้ก็ค่อยจางไปเรื่อย แล้วก็ลืมไปหมด
เราต้องฝึกให้เรามันเป็นทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งจิตใจ อาศัยการปฏิบัติ อาศัยความเคยชิน อาศัยความอดทน อาศัยความเพียรไปเรื่อย ๆ พอใจที่จะทำในสิ่งที่ดี...

องค์พ่อแม่ครูบาอาจารย์...

หมายเลขบันทึก: 355686เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2010 07:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท