ปัดฝุ่นระบบประเมินอาจารย์ออนไลน์ มมส.


อยากเล่าความเป็นมาเป็นไป เรื่อง ระบบประเมินการสอนของอาจารย์ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งผมถือว่าเป็นคนดูแลมาตั้งแต่แรกๆ เมื่อปลายปีการศึกษา 2548 ตั้งแต่ที่ทำงานกับท่าน ผศ.ดร.จินดา งามสุทธิ รองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา (ครูผู้สอนงานให้ผม)

 

     ณ ปัจจุบันวันนี้ มหาวิทยาลัยมอบหมายต่อให้ฝ่ายวิชาการฯ โดยกองทะเบียนและประมวลผล ผู้ดูแลระบบ รับผิดชอบอย่างเต็มตัว ซึ่งน่าจะออกมาดี

 

     วันนี้ร่วมประชุมกับฝ่ายวิชาการฯ และรองคณบดีคณะต่างๆ กับก้าวต่อไปในการพัฒนาระบบและสร้างกลไกเรื่องของการประเมินการสอนของอาจารย์ ผ่านระบบออนไลน์

 

     มีคำถาม หรือ ความขัดข้องใจจากคณะ ว่า การดำเนินการที่ผ่านมาทำไมจึงมีปัญหา หรือ พูดง่ายๆ คือ ไม่เวิกค์คันปากเช่นกันอย่างระบาย บ่น เล่าให้ฟัง ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แต่ผมก็ไม่เอ่ยปาก เพราะเรากำลังพูดคุย หาแนวทางเพื่อการพัฒนาในอนาคต

 

     อยากเล่าความหลังครั้งก่อนครับ ว่าเราทำอะไร ให้ความสำคัญ และคาดหวังกับระบบนี้อย่างไร?

 

     เริ่มครั้งแรกๆเมื่อปลายปีการศึกษา 48 กรรมการบริหารมหาวิทยาลัยก็เห็นชอบให้ลองใช้ระบบนี้ดู ซึ่งจริงๆมันมีอยู่แล้ว ความมุ่งหมายก็คือ

 

     1.อยากให้แบบสอบถาม วิธีการ ผลสรุปออกมาเหมือนกัน ตอบโจทย์ สมศ.

     2.ประหยัดงบประมาณ ลองคิดดูว่าตอนนั้นนิสิตประมาณ 20,000 คน สมมุติว่า แต่ละคนลงทะเบียนคนละ 5 รายวิชา/ภาคเรียน พอจะคำนวณได้ว่าจะต้องใช้กระดาษสำหรับแบบสอบถามHard Copy จำนวน 100,000 แผ่น และ 3 ภาคเรียน ก็ 300,000 แผ่น ถ้าตีราคากระดาษร่วมค่าโรเนียวก็ 50 สตางค์ ก็สรุปได้ว่า ปีการศึกษาหนึ่งต้องเสียงบประมาณในการนี้ 150,000 บาท

     3.ลดการใช้กำลังจากบุคลากร ส่วนนี้ต่อเนื่องจากเหตุผลข้อ 2 คือ กับแบบสอบถามที่เก็บมา 300,000 แผ่น ต้องใช้คนกี่คน ต้องใช้เวลาในการคีย์เท่าไหร่ ถ้าคิดเป็นเงินที่ตลาดรับคีย์ข้อมูลทั่วไป ก็ประมาณฉบับละ 1 บาท ก็สรุปตกเป็นเงิน 300,000 บาท

 

     ด้วยเหตุดังกล่าวในขณะนั้นมหาวิทยาลัยจึงมอบให้กลุ่มงานประกันคุณภาพการศึกษา หรือ ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพ ในปัจจุบัน ลองไปดำเนินการดู

 

     เริ่มแรก จากการตั้งกรรมการออกแบบสอบถามเพื่อใช้ในระบบ ตามกรอบของ ตัวชี้วัดของ สมศ. ในขณะนั้น 4 กรอบประเด็น 18 ข้อคำถาม กับ 5 Rating Scale

 

     และก็ลองเริ่มใช้กับภาคเรียน 3/48 1/49 2/49 3/49 1/50 ผลออกมานิสิตที่เข้าประเมินไม่ถึงร้อยละ 10

 

     ผมก็มานั่งคิดๆว่า Why จึงเป็นเช่นนั้น

 

     พยามนั่งคิด ว่าจะทำอย่างไร ความคิดแรกคือ ล็อกระบบ เลย หมายถึง ถ้านิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ไม่ทำการประเมินผ่านระบบฯ จะไม่สามารถดูเกรดได้ สำหรับความคิดนี้ ก็ตกไปในการพิจารณาเห็นชอบจากกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย

 

     คิดต่อว่าคงต้องใช้การประชาสัมพันธ์น่าจะWork เลยดำเนินการต่อ ผ่านช่องทางมากมาย อาทิ โปสเตอร์ขนาดใหญ่เชิญชวน สปอร์ตวิทยุผ่านMSU_Raio ส่งอีเมลเชิญชวนถึงอาจารย์และนิสิต ส่งหนังสือขอความอนุเคราะห์คณะ

 

     แต่แล้วผลก็ออกมานิสิตที่เข้าประเมินก็เพิ่มอีกเล็กน้อยจากร้อยละ 10 เป็นประมาณร้อยละ 20

 

     ด้วยความคาดหวังจากคณะว่าทางฝ่ายประกันคุณภาพต้องมีข้อมูลเหล่านี้ไปประกอบรายงานการประเมินตนเอง แต่ทั้งๆที่รู้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลนั้น ไม่สามารถเป็นตัวแทนได้

 

     เมื่อซักปีก่อนผมเลยมานั่งถอดบทเรียนตัวเอง ว่า ไม่ว่าจะประชาสัมพันธ์อย่างไรให้กับนิสิต ก็ไม่มีความหมาย ถ้าไม่เริ่มจากการสร้างทัศนคติ หรือ หน้าที่ของนิสิต ว่านอกจากเรียนแล้วต้องทำอะไรบ้าง ระบบการประเมินอาจารย์นี้ก็จะไม่สะท้อนข้อมูลที่แท้จริง

 

     จากที่ได้ดูผลประเมิน และได้สรุปให้คณะนั้น มีนิสิตอยู่ 2 กลุ่ม ที่เข้าประเมินอาจารย์ผ่านระบบออนไลน์นี้ คือ กลุ่มที่ชอบอาจารย์ และ กลุ่มที่ไม่ชอบอาจารย์ ส่วนกลุ่มเฉยๆ คือ ร้อยละ80 ไม่สนใจที่เข้าประเมิน

 

     หรือส่วนเล็กๆน้อย เช่น ช่วงที่อนุญาตให้นิสิตประเมินก็มีผลทางจิตวิทยาคือ ถ้าให้ประเมินก่อนเกรดออก ผลก็เป็นอีกแบบหนึ่ง หรือ ถ้าให้ประเมินหลังเกรดออก ผลก็เป็นอีกแบบหนึ่ง

 

     เรื่องพวกนี้ตั้งแต่ผมได้ดูแลระบบนี้ เราคุยกันมาเยอะ คุยกันมามาก

 

     ผมได้ไปร่วมกิจกรรม Mini_UKM3 เมื่อต้นเดือนกุมภา52 มหาวิทยาลัยพายัพเป็นเจ้าภาพ โดยมีหนึ่งในประเด็นคือ การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผมก็ทำหน้าที่เป็น fa ในกลุ่มนี้ มีสิ่งที่ได้เรียนรู้หลากหลายจากหลายสถาบัน เช่น

 

     ม...ใช้ระบบประเมินออนไลน์ โดยให้อาจารย์ได้ทราบผลทันที คะแนนเต็ม 4 ถ้าอาจารย์ท่านใด ต่ำกว่า 3 ต้องเข้าห้องรอพินิจ หรือ ต้องเข้าอบรมหลักสูตรที่ยังขาด

 

     ม...ใส่รูปอาจารย์ให้นิสิตนักศึกษาได้เห็น จะได้ประเมินไม่ผิดตัว

 

     เป็นต้น

 

     วันนี้ก็ถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดี เป็นการปัดเงาระบบนี้ที่ผมคาดหวังมาโดยตลอด แต่ทำไม่ประสบความสำเร็จ แม้จะมีผู้รับผิดชอบใหม่ แต่ก็มีโอกาสได้เชิญเข้าร่วมให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่ผ่านมา และจะได้พัฒนาร่วมกันต่อไปครับ

 

     บันทึกนี้แค่อยากจะเล่าภูมิหลัง ความหลังในการดำเนินงาน ที่ตั้งใจทำและคิดหาทางมาโดยตลอดในการพัฒนา มมส.

    

     การดำเนินงานต่อไปผมคิดว่าต้องสร้างกลไก คือ การสร้างจิตสำนึกให้กับนิสิต ให้รู้ว่าหน้าที่สำคัญอันดับสองนอกจากการเรียน คือ การพัฒนาการเรียนการสอน ผ่านกระบวนการกล่ม ให้รู้ว่านี้ คือ หน้าที่หนึ่งของนิสิต อย่างน้อยก็ทำเพื่อน้องๆที่จะต้องมาเรียนรายวิชานี้ หรือ กับอาจารย์คนนี้ต่อไป นอกจากจะติดF ที่จะต้องกลับมาเรียนอีกครั้ง 555  

 

     บันทึกที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานที่ผ่านมา (คลิ๊ก)

หมายเลขบันทึก: 246334เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2009 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน ท่านกัมปนาท

  • ช่วงนี้เราปรับปรุงเพื่อพัฒนาครับ
  • น่าจะได้รับความร่วมมือ และ นำไปใช้ในการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน อันจะนำไปสู่นิสิตที่พึงประสงค์ จริงๆ
  • มากกว่า นำไปให้ "ความดีความชอบ(สองขั้น)ครับ"

บันทึกไว้ที่นี่ ครับ

เรียน ท่านอาจารย์จิตเจริญ

ประเมินเพื่อพัฒนาระบบเป็นสำคัญครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท