น้ำมันมะพร้าว มีบทบาทในการป้องกัน โรคมะเร็ง


น้ำมันมะพร้าว

บทบาทของน้ำมันมะพร้าวในการป้องกันโรคมะเร็ง 

น้ำมันมะพร้าวมีบทบาททางสรีรวิทยาในการป้องกันโรคมะเร็งดังต่อไปนี้:

 

1.  ปลอดภัยจากการทำลายของอนุมูลอิสระ 

 

ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น อนุมูลอิสระ (free radicals) เป็นตัวการสำคัญอันหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง มีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงว่า แอนตีออกซิ-แดนต์ สามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งที่เกิดจากอนุมูลอิสสระได้  
น้ำมันมะพร้าว มีคุณสมบัติที่ดีเด่น ที่ช่วยให้ร่างกายปลอดภัยจากการทำลายของอนุมูลอิสระ  คุณสมบัติดังกล่าวนี้ ได้แก่:
 

1.1 ปราศจากอนุมูลอิสระ: 

 

เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวมีไขมันอิ่มตัวสูงถึง 92 % จึงมีความอยู่ตัวทางเคมีสูง แม้จะถูกกับอุณหภูมิสูง ก็ไม่เกิดการเติมออกซิเจน จึงไม่เกิดเป็นอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็ง

 

1.2 ช่วยเติมแอนตีออกซิแดนต์ที่ถูกทำลายในร่างกาย

 

  โดยปกติ  ร่างกายของเรามีแอนตีออกซิแดนต์ที่ได้จากอาหารต่าง ๆ ที่ช่วยทำลายอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดจากมลพิษในสิ่งแวดล้อม  อาหาร และเครื่องดื่ม  การสูบบุหรี่  รังสี  ความ เครียด ฯลฯ  แต่เมื่อบริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัว ซึ่งถูกเติมออกซิเจน (oxidized) ได้ง่าย ๆ ตั้งแต่เริ่มสกัด  ตลอดจนระหว่างการขนส่ง  การวางจำหน่าย และการเก็บรักษาก่อนบริโภค  จึงเกิดเป็นอนุมูลอิสระขึ้น และไปลบล้างประสิทธิภาพ (neutralize)  ของแอนตีออกซิแดนต์ที่มีอยู่ในร่างกาย  เนื่องจากน้ำมันมะพร้าว มีแอนตีออกซิแดนต์ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งช่วยเติมส่วนที่ถูกทำลายไปในร่างกาย จึงไปช่วยทำลายอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น


มีการศึกษาที่แสดงว่า น้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน เป็นตัวการที่ไปกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็ง เพราะมันถูกเติมออกซิเจนได้โดยง่าย ก่อให้เกิดอนุมูลอิสสระจำนวนมาก ที่ไปกระตุ้นให้เกิดสารก่อมะเร็ง (Hopkins 1981) แต่น้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ตรงกันข้ามกับน้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวทำหน้าที่เป็นแอนตีออกซิแดนต์ และลดการเกิดการเติมออกซิเจนของไขมัน มันจึงทำ  หน้าที่ป้องกันมะเร็งได้ 


น้ำมันมะพร้าวยังมีวิตามินอี ในรูป tocotrienol ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่า tocopherol ที่มีอยู่ในวิตาอีทั่วไป 40-60 เท่า วิตามินอี ทำหน้าที่ป้องกันการเติมออกซิเจน (oxidation) จึงป้องกันการเกิดอนุมูลอิสสระซึ่งเกิดขึ้นเพราะมีการเติมออกซิเจน  ดังนั้น จึงนับได้ว่าน้ำมันมะพร้าวมีสารต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นตัวการหนึ่งของการเกิดมะเร็ง หรือพูดอีกนัยหนึ่งได้ว่า น้ำมันมะพร้าวสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้
 

2.  ปลอดภัยจากการทำลายของไขมันทรานส์

 

จากการวิจัยพบว่า การเติมไฮโดรเจน เป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำมันไม่อิ่มตัวเปลี่ยนไปเป็นไขมันทรานส์ ทั้งนี้ ก็เพราะน้ำมันไม่อิ่มตัว เช่นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด น้ำมันคาโนลา แม้กระทั่งน้ำมันมะกอก มีโมเลกุลที่ประกอบด้วยแขนคู่ ที่เป็นจุดอ่อนของโมเลกุล ทำให้ไม่อยู่ตัว และถูกเปลี่ยนเป็นไขมันทรานส์ได้โดยง่าย ๆ โดยกระบวนการการเติมไฮโดรเจน มีผลงานวิจัยมากมายที่สรุปว่า ไขมันทรานส์เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (Enig 1999)  แต่น้ำมันมะพร้าว เป็นน้ำมันที่ปราศจากไขมันทรานส์ เพราะเป็นไขมันอิ่มตัว ที่โมเลกุลมีแขนเดี่ยวที่มีความอยู่ตัวสูง จึงไม่เกิดการเติมไฮโดรเจน ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดไขมันทรานส์  ที่เป็นสาเหตุของการเกิดเซลล์มะเร็ง
 

ไขมันทรานส์ เกิดได้ในอาหาร 2 ประเภท คือ:

 

2.1. อาหารที่ผลิตในระดับอุตสาหกรรม:

 

การเติมไฮโดรเจน เกิดในกระ- บวนการการผลิตอาหารระดับอุตสาหกรรม น้ำมันไม่อิ่มตัวที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ขนมปังกรอบ อาหารทอด โดนัท คุ๊กกี้ บิสกิต ขนม  กรุปกรอบ แครกเกอร์ ฯลฯ จำเป็นต้องนำไปผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน (hydrogenation) เสียก่อน เพื่อให้น้ำมันไม่หืน แต่ให้แข็งตัวเพื่อสะดวกต่อการจับต้องผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เพราะน้ำมันที่แข็งตัวที่ติดอยู่กับอาหาร จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาที่เกิดจากการเหนียวเหนอะหนะของอาหาร
 

2.2 อาหารที่หุงต้มโดยใช้อุณหภูมิสูง:

 

        น้ำมันไม่อิ่มตัวที่ใช้ในการหุงต้ม หาก ผ่านอุณหภูมิสูง เช่นในการทอดอาหารแบบน้ำมันท่วม จะเกิดกระบวนการการเติมไฮโดรเจนเช่นกัน  Bakker และคณะ (1997) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมกับกรดไลโนเลอิก (linoleic acid) ในประชากรในทวีปยุโรป ทั้งนี้เพราะมีการศึกษาในสัตว์ทดลอง และทางนิเวศวิทยา ที่ได้ชี้ถึงความสัมพันธ์ดังกล่าว  กรดไลโนเลอิกเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว มีมากในน้ำมันถั่วเหลือง  ผู้วิจัยได้พบว่า องค์ประกอบของกรดไขมันเฉลี่ยของชั้นไขมัน ไม่ได้แสดงความ สัมพันธ์ระหว่างกรดไลโนเลอิก ซึ่งมีโอเมกา-6 กับมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก 

       อย่างไรก็ตาม มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ มีความสัมพันธ์กับไขมันทรานส์  Kohlmeier และคณะ (1997) ได้รายงานถึงข้อมูลที่แสดงว่า มีความสัมพันธ์ในทางบวกระหว่างองค์ประกอบของไขมัน ทรานส์ในชั้นไขมัน กับการเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันอิ่มตัว จึงไม่เกิดการเติมไฮโดรเจนเมื่อถูกกับอุณหภูมิสูง  จึงไม่เปลี่ยนเป็นไขมันทรานส์ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง    ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวจึงปลอดภัยสำหรับใช้บริโภค โดยเฉพาะไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
 

3. ปลอดภัยจากอันตรายของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

 

  3.1 ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย:

 

 เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ต่อต้านมะเร็ง นักวิจัยบางคนจึงเชื่อว่าเป็นเพราะกรดไขมันขนาดกลางของน้ำมันมะพร้าว ไปส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย  ซึ่งเกิดขึ้นได้ 2 วิธี คือ:
 

  - การกระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดขาว:

 

  Witcher และคณะ (1996) พบว่า โมโนลอริน ซึ่งเป็นโมโนกลีเซอไรด์ของกรดลอริก   ไปกระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาว โดยเฉพาะ T เซลล์ และ T เซลล์นี้เอง ไปโจมตีและทำลายทุกสิ่งที่แปลกปลอมของร่างกาย รวมทั้งเซลล์มะเร็ง   ดังนั้น T เซลล์  จึงมีบทบาทอย่างสำคัญในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง     น้ำมันมะพร้าวมีกรดลอริกอยู่ในปริมาณที่สูงมาก (ประมาณ 48-53%) และเมื่อบริโภคเข้าไปในร่างกาย กรดลอริก ก็จะเปลี่ยนเป็นโมโนลอริน ซึ่งช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย


นอกจากนั้น น้ำมันมะพร้าวยังมีกรดคาโปรอิก กรดคาปริลิก และกรดคาปริกอยู่ด้วย  และเมื่อเข้าไปในร่างกาย  จะเปลี่ยนเป็นโมโนกลีเซอไรด์ ชนิด    โมโนคาโปรอิน (monocaproin) โมโนคาปริน (monocaprin) และ โมโนคาปริลิน (monocaprilin) ตามลำดับ  และต่างก็ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย 
 

   -  การแบ่งเบาภาระของเม็ดเลือดขาว:

 

 หน้าที่อันหนึ่งของเม็ดเลือดขาว คือการต่อสู้กับเชื้อโรค ซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปสู่ร่างกาย เมื่อมีเชื้อโรคเข้าไปมาก ๆ เม็ดเลือดขาวก็จะเข้าไปโจมตีเชื้อโรค และตายไป จึงเหลือเม็ดเลือดขาวที่มีประสิทธิภาพน้อย หรือร่างกายผลิตทดแทนได้ไม่เพียงพอ เป็นเหตุให้ไม่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เซลล์มะเร็งจึงเจริญ เติบโตและขยายพันธุ์เพิ่มมากขึ้นจนก่อให้เกิดโรคมะเร็งขึ้น แต่น้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคเหล่านี้  จึงช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายกลับคืนสู่สภาพปกติ กล่าวคือ เม็ดเลือดขาวสามารถทำลายเซลล์มะเร็งต่อไปได้ดังเดิม
 

 3.2  ฆ่าเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งโดยตรง

 

  เป็นที่รู้กันทั่วไปแล้วว่า เชื้อโรคประเภทไวรัส และแบคทีเรีย เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งบางชนิด นอกจากสร้างภูมิคุ้มกันแล้ว น้ำมันมะพร้าวยังสามารถฆ่าเชื้อโรคหล่านี้ได้ (Enig 1999, 2000, 2004; Dayrit 2000)   ดังในกรณีดังต่อไปนี้:
 

    -  เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง:

 

 ผลจากการวิจัย พบว่าไวรัสหลายชนิด เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง เช่น human papiloma virus (HPV) ซึ่งพบในคนที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกเกือบทุกคน (McIntosh 2003) ยังมีไวรัสอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุของมะเร็ง เช่น cytomegalovirus, adenovirus, Epstein-Barr virus  
 

- Epstein-Barr virus มีความสัมพันธ์กับมะเร็งโพรงหลังจมูก (naso-pharyngeal carcinoma) และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเบอรกิต (Burkitt’s lymphoma)

 

- Herpes simplex virus type 2 มีความสัมพันธ์กับมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด

 

- มะเร็งเต้านม ก็มีประจักษ์พยานว่าเกิดจากไวรัส เช่นกัน  

 
สรุปได้ว่า น้ำมันมะพร้าว ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เพราะผลในการต่อต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของมะเร็ง ดังนั้น การบริโภคน้ำมันมะพร้าวจึงเป็นอีกวิธีหนึ่ง ในการป้องกันโรคมะเร็ง (Fife 2005) 
 

 -  เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง:

 

เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีผลงาน วิจัยที่ระบุว่า สาเหตุหนึ่งที่คนเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ก็เพราะมีเชื้อแบคทีเรียชนิด Helicobacter pyroli  หากสามารถกำจัดเชื้อนี้ได้ ก็จะลดโอกาสเกิดเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้มาก  เป็นที่รู้กันแล้วว่า น้ำมันมะพร้าว สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ และชนิดอื่น ๆ ได้ จึงเท่ากับเป็นการป้องกันไม่ให้เกิด  โรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้
 

- ฆ่าเชื้อโรคที่สร้างสารก่อมะเร็ง:

 

 นอกจากจะเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อรวมทั้งโรคมะเร็งด้วยแล้ว เชื้อจุลินทรีย์หลายประเภท อันได้แก่แบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ และโปรโตซัว บางครั้ง ก็สร้างสารพิษที่เป็นสารก่อมะเร็ง เชื้อโรคเหล่านี้ต่างก็ถูกทำลายโดยน้ำมันมะพร้าว ซึ่งก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่ช่วยให้น้ำมันมะพร้าวสามารถป้องกันโรคมะเร็งได้  ตัวอย่างของสารพิษที่สร้างโดยเชื้อโรคที่เป็นสารก่อมะเร็ง คือสารแอฟลาทอกซิน (afla toxin) ซึ่งสร้างโดยเชื้อรา Aspergillus flava ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งตับ  เชื้อรานี้ ก็ถูกฆ่าโดยน้ำมันมะพร้าว
 

4.  ชะงักการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง 

 

นอกจากบทบาททั้ง 3 ข้อที่กล่าวมาแล้ว นักวิจัยบางคนได้เสนอสมมุติฐาน ว่า น้ำมันมะพร้าว ยังมีบทบาทในการป้องกันโรคมะเร็ง โดยการไปขัดขวางการเจริญ เติบโตของเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย ทั้งนี้โดยผ่านกรรมวิธีดังต่อไปนี้: 
-  เปลี่ยนแปลงการทำงานของโปรตีนเซลล์มะเร็ง:   มีการศึกษาพบว่า น้ำมันมะพร้าว มีอิทธิพลต่อองค์ประกอบของกรดไขมันของเซลล์มะเร็ง เช่นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับการทำงานของโปรตีนบางตัวของเซลล์มะเร็ง ซึ่งไปมีผลต่อการชะงักการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิด (Anon. 2006)

 

-  กระตุ้นการทำงานของต่อมธัยรอยด์:

 

  จากการที่น้ำมันมะพร้าว สามารถกระตุ้นให้ต่อมธัยรอยด์ทำงานได้ดีขึ้น ทำให้มีการเผาผลาญให้อาหารเปลี่ยนไปเป็นพลังงาน หรือ metabolism ในอัตราที่เร็วขึ้น ซึ่งนักวิจัยบางคนเชื่อว่าไปมีส่วนในการชะงักการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง  คุณสมบัติในการลดคอเลส-เตอรอลของน้ำมันมะพร้าว เป็นผลโดยตรงของความสามารถในการกระตุ้นให้ต่อมธัยรอยด์ทำงานได้ดีขึ้น

     ทั้งนี้เพราะคอเลสเตอรอล โดยเฉพาะ LDL เปลี่ยนไปเป็นสารสเตอรอยด์ ที่ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนเพศ ได้แก่ เปรกนีโนโลน (pregnenolone) โปรเจสเตอรอล (progesterone) และดีไฮโดรเอบปิแอนโดร- สเตอรอล (dehydroepiandrosteroneDHEA) สารเหล่านี้เองที่ไปช่วยป้องกัน ชราภาพอย่างรวดเร็วแบบที่เกิดในวัยทอง คงระดับการเผาผลาญอาหาร ทำให้ไม่อ้วนง่าย และชลอโรคทั้งหลายที่ก่อให้เกิดความเสื่อมของสุขภาพ รวมทั้งโรคมะเร็งหลายชนิด (Lee 2001)
 

 ขอสรุปบทบาทของน้ำมันมะพร้าว ในการป้องกันโรคมะเร็งจากประจักษ์พยานที่ได้กล่าวไปแล้วไว้ดังนี้ :

 

                น้ำมันมะพร้าว:

 

-    ทำหน้าที่เป็นแอนตีออกซิแดนต์ (antioxidant) ที่คอยปกป้องเซลล์จากการทำลายต่าง ๆ รวมทั้งการก่อมะเร็งของอนุมูลอิสสระ

-   เพิ่มพูนระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านเซลล์มะเร็ง 

-   ป้องกันการเกิดการเจริญเติบโตที่ควบคุมไม่ได้ของเซลล์มะเร็ง 

-   ป้องกันเซลล์จากผลของสารก่อมะเร็งที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์

 

 

        เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวไม่ได้ก่อให้เกิดผลร้ายแต่อย่างใดต่อร่างกาย จึงใช้ได้ ทั้งการบริโภคเข้าไปภายใน และการใช้ภายนอก เพื่อการป้องกันการเกิดมะเร็ง นอกจากนั้น เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวเป็นแหล่งของอาหารที่ร่างกายนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตผ่านกระบวนการเมตาบอลิสซึม ดังนั้น น้ำมันมะพร้าวที่บริโภคเข้าไปในร่างกาย จะไปช่วยเพิ่มอัตราเมตาบอลิสซึม ทำให้ร่างกายเพิ่มกลไกธรรมชาติในการล้างพิษ (detoxification) การซ่อมแซมส่วนสึกหรอ และการเจริญเติบโต  แม้กระทั่งระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ก็ถูกกระตุ้นให้เพิ่มระดับการทำงาน ร่างกายจึงมีภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง
 

ขอบคุณข้อมูล : น้ำมันมะพร้าว มีบทบาทป้องกันโรคมะเร็ง จาก ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ประธานชมรมอนุรักษ์ และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย  

ด้วยความปรารถนาดี     กานดา  แสนมณี

 

 

หมายเลขบันทึก: 447538เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2011 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ไม่ได้มาหาีพี่สาวเสียนานเลยครับ พี่กานดาสบายดีน่ะครับ ผมสบายดีนิดหน่อยฮ่าๆๆ ไม่สบายได้ยังไงล่ะครับ อ.ขจิดเอาทั้งพระ ทั้งขนม มาฝากบ่อยเลยครับ ช่วงนี้อ้วนเลยครับ

สวัสดีค่ะ อ.สามารถ

 พี่ดาสบายดี ขอบคุณมากค่ะ ทำไมสบายดีนิดๆหน่อยๆ อ้วนขึ้นเพราะอาหารอ.ขจิตอร่อย งั้นหรือ มีความสุขแล้วทานมากเองหรือเปล่า........

ทำอาหารสุขภาพที่พี่ดานำภาพไปฝาก 9 บันทึก ผอมแน่นอน ลองดูบ้างนะ

 

 น้ำผักปั่น

 โดยเฉพาะสูตรน้ำผักปั่น 1 ใน  9 นี้ พุงหายแน่ๆค่ะ  ฝากแนะนำคนอื่นๆด้วยนะคะ

 

http://gotoknow.org/blog/kandanalike/446425

  • สวัสดีค่ะ
  • ทานมาระยะหนึ่งแล้ว
  • ช่วงนี้ความดันสูง
  • เกี่ยวกันไหมคะ

ขอบคุณค่ะ..นอกจากประโยชน์ที่กล่าวแล้ว..พี่ใหญ่มารายงานว่า..น้ำมันมะพร้าวยังใช้สมานอาการอักเสบของกล้ามเบื้อและเส้นเอ็นได้ดีมาก..

เมื่อเย็นสองวันก่อน..พี่เดินซุ่มซ่ามไม่ระวัง..ข้อเท้าเคล็ดเพราะเดินพลาดพื้นต่างระดับ..ได้หยิบน้ำมันมะพร้าวใกล้ตัวมาทาถูบริเวณที่บวม..วันนี้หายบวมและเดินสะดวกขึ้นแล้วค่ะ..

สวัสดีค่ะ คุณลำดวน

ความดันขึ้น ไม่น่าจะใช้น้ำมันมะพร้าวนะคะ เพราะน้ำมันมะพร้าวสำหรับบางคน ช่วยลดความดันให้ปกติได้ค่ะ สังเกตว่าขึ้นทุกครั้งหรือเปล่าค่ะ หลังจากทานน้ำมันมะพร้าว หากใช่ก็ถือว่าไม่ปกตินะคะ  ความดันขึ้นที่ชัดเจน คือ อาหารเค็ม และความเครียด  ลองสังเกตอีกที่นะคะ

 

สวัสดีค่ะ คุณพี่ใหญ่   

    ค่ะน้ำมันมะพร้าวช่วยเรื่องเอ็นและกล้ามเนื้อรวมทั้งรอยช้ำเขียว หายได้ดีและเร็ว ยิ่งทานด้วยยิ่งดีในขณะที่มีอาการ เพราะ น้ำมันมะพร้าว ตามตำราโบราณดั้งเดิมนั้น บำรุงข้อและเอ็นค่ะ  ดาก็เคยเกิดเหตุ ช้ำบวมมาก ทาน้ำมันมะพร้าวบ่อยๆทั้งวัน หายเร็วมากๆค่ะ  แล้วตอนนี้หายสนิทดีแล้วหรือยังค่ะ ดาเก็บดอกอัญชันมาชงชาคิดถึงคุณพี่ใหญ่เสมอ จะส่งเมล็ดไปให้ คุณดาวเรือง ดาก็ยังไปถึงไปรษณีย์เลยค่ะ เลยได้คิดถึงคุณดาวเรืองทุกวัน เพราะยังไม่ได้ส่งสักที

 

ประโยชน์มากเหลือหลายเลยนะครับพี่กานดา สบายดีไหมครับ

สวัสดีค่ะคุณกานดา เคยได้ยินด้านลบของกะทิบ่อยๆ วันนี้ได้พบด้านบวกมากมายของมะพร้าว บล็อคนี้มีสาระความรู้ดีดีมากมายให้ติดตาม ขอบคุณนะคะ

หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับ น้ำหนักตัว, เบาหวาน, โคเลสเตอรอล, ครอบครัวเป็นมะเร็ง, ภูมิต้านทาน, โรคหัวใจ, กลิ่นปาก, ผิวพรรณ, ต่อมลูกหมาก, เส้นผมและหนังศีรษะ www.facebook/myioil

เมื่อ 20-30 ปีมาแล้ว เราถูกชักชวนให้เลิกบริโภคกะทิ และน้ำมันมะพร้าว แล้วหันไปบริโภคน้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีแทน ผลก็คืออุบัติการณ์ของผู้ป่วยโรคมะเร็งมีมากขึ้นทุกปี

สาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งก็คือ การบริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัว โดยผ่านกรรมวิธีทางเคมี และความร้อนสูง น้ำมันไม่อิ่มตัวที่เราบริโภคกันอยู่เวลานี้ ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด เป็นต้น

ข้อดีของน้ำมันเหล่านี้คือมีโคเลสตอรอลต่ำ ซึ่งเชื่อว่าช่วยลดความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง แต่ลืมนึกถึงข้อมูลอีกด้านหนึ่งว่า น้ำมันไม่อิ่มตัวเหล่านี้จะเกิดอนุมูลอิสระจำนวนมากเมื่อถูกควา มร้อนสูง โดยเฉพาะเมื่อใช้น้ำมันไม่อิ่มตัวในอุตสาหกรรมอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ขนมปังกรอบ คุกกี้ โดนัท ขนมกรุบกรอบเคี้ยวเพลินทั้งหลายจะต้องผ่านกะบวนการเติมไฮโดรเจน (Hydrogenation) เสียก่อน เพื่อทำให้น้ำมันแข็งตัวเหมาะสำหรับการบริโภค

ส่วนน้ำมันไม่อิ่มตัวที่เราใช้ทอดอาหารในครัวเรือนหรือร้านอาหาร ถ้าผ่านอุณหภูมิสูงมาก ๆ หรือใช้ทอดซ้ำก็จะเกิดขบวนการเติมไฮโดรเจนเช่นกัน ก่อให้เกิดกรดไขมันที่แปรสภาพ (trans fatty acids) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ทรานส์ แฟตส์ (trans fats) ซึ่งเป็นไขมันก่อมะเร็ง เวลานี้ในสหรัฐอเมริกา มีองค์กรผู้บริโภคของเอกชนรณรงค์ให้เลิกใช้น้ำมัน ทรานส์ แฟตส์ ในอุตสาหกรรมอาหารกันแล้ว

ตรงกันข้าม น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันอิ่มตัว จึงมีความคงตัวมากแม้ได้รับความร้อนสูงก็ไม่แปรสภาพไปเป็นทรานส ์ แฟตส์ ที่ก่อมะเร็ง และที่สำคัญ น้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการบีบโดยไม่ผ่านความร้อน จะอุดมด้วยวิตามินอีชนิดหนึ่ง ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการต้านการเกิดอนุมูลอิสระ กล่าวคือ วิตามินอีที่ต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งได้ ยิ่งไปกว่านั้น น้ำมันมะพร้าวยังอุดมด้วยกรดลอริก (Loric acid) สูงถึง 48-53 % เมื่อบริโภคเข้าสู่ร่างกายแล้วกรดลอริกจะเปลี่ยนเป็น โมโนลอริก (Mono Loric) ซึ่งป็นตัวสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะเม็ดโลหิตขาวที่มีชื่อว่า ที-เซลล์ (T-cell) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำลายเซลล์มะเร็ง

มีการค้นพบกันมานานแล้วว่า มีกรดลอริกอยู่ใน “น้ำนมเหลือง” ของมารดาที่เพิ่งคลอดบุตร แต่ก็ยังมีน้อยกว่าที่พบในน้ำมันมะพร้าวเสียอีก ดังนั้นเด็กทารกที่มีปัญหาเรื่องการย่อย และการดูดซึมอาหาร รวมทั้งผู้ป่วยที่ตับอ่อนไม่สามารถสร้างน้ำดีมาย่อยไขมันได้ เขาจึงให้บริโภคน้ำมันมะพร้าวที่อยู่ในรูปของนมผงเด็กอ่อน นี่แสดงให้เห็นว่าน้ำมันมะพร้าวย่อยง่าย เพราะไม่มีไขมันที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มิฉะนั้นวงการแพทย์คงไม่นำน้ำมันมะพร้าวมาผลิตนมเลี้ยงทารก และผู้ป่วย

ข้อมูลที่น่าสนใจคือ เจ้ากรดลอริกตัวนี้มีสารปฏิชีวนะที่ทำลายเชื้อโรคได้หลายชนิด ตั้งแต่เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไปจนถึงไวรัสซึ่งมีเกราะไขมันหุ้มเซลล์อยู่ กรดลอริกมีกลไกที่เข้าไปทำลายเกราะไขมันหุ้มเซลล์ไวรัส ทำให้เชื้อไวรัสหลายชนิดตาย เช่นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น

อย่างไรก็ตามกรดลอริกในน้ำมันมะพร้าวจะไม่ทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในลำไส้ ดังนั้นการที่กระทิ และน้ำมันมะพร้าวเคยตกเป็นจำเลยที่ถูกพิพากษาตัดสินว่า เป็นสาเหตุของโรคหัวใจเพราะมีโคเลสตอรอลสูง จึงเป็นเรื่องไม่จริงแต่อย่างใด ข้อมูลเก่าที่ว่าน้ำมันอิ่มตัวมีโคเลสเตอรอลสูงนั้นอาจถูกต้องสำหรับน้ำมันจากสัตว์ ที่มีสายโซ่โมเลกุลคาร์บอนยาว (Long Chain Triglyceride-LCT) แต่สำหรับน้ำมันอิ่มตัวจากพืชอย่างน้ำมันมะพร้าว

ข้อมูลที่น่าสนใจคือ น้ำมันมะพร้าวเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะถูกร่างกายใช้หมดไปไม่ได้เปลี่ยนเป็นโคเลสตอรอลในกระแสโลหิต จึงไม่ทำให้เกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือดเหมือน ทรานส์ แฟตส์ (Trans fat) ที่ได้จากน้ำมันไม่อิ่มตัว ซึ่งนิยมใช้ปรุงอาหารในครัวเรือนและในอุตสาหกรรมอาหาร

สรุปได้ว่าน้ำมันมะพร้าว เป็นอาหารทีมีสรรพคุณทางยาที่ฝรั่งเรียกว่า อาหารนูตราซูติคอล (Nutraceutical Food) คือ ช่วยลด

ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งหลายชนิด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดอุดตันในสมอง ซึ่งเป็นโรคสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในประเทศไทย

........ ข่าวดีสำหรับคนต้องการลดน้ำหนัก .............

ในน้ำมันมะพร้าว เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะแตกตัว ถูกย่อยสลายและดูดซึมไปใช้ได้ง่ายและรวดเร็วกว่ากรดไขมัน อย่างเช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน น้ำมันมะกอก เป็นต้น ทั้งนี้น้ำมันมะพร้าวไม่ต้องอาศัยน้ำดีจากตับมาช่วยย่อย แต่ไขมันสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานหมด ไม่เกิดการสะสมเป็นไขมันในหลอดเลือดและเนื้อเยื่อส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย ที่สำคัญน้ำมันสายยาวทั่วไปให้ 9 แคลอรี่ต่อกรัม แต่น้ำมันมะพร้าวให้เพียง 6 แคลอรี่ต่อกรัม ซึ่งถูกใช้หมดไปโดยไม่มีการสะสมในร่างกาย น้ำมันมะพร้าวจึงช่วยผลิตพลังงาน ไม่ใช่ผลิตไขมัน จึงเป็นเหตุผลอธิบายว่า ทำไมกินน้ำมันมะพร้าวแล้วจึงไม่อ้วนขึ้น ซ้ำยังช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญในร่างกายให้อยู่ในระดับสูงขึ้นกว่าเดิม ช่วยเผาผลาญแคลอรี่ส่วนเกินในปริมาณที่มากขึ้นด้วย ดังนั้นนอกจากไม่เพิ่มน้ำหนักแล้ว น้ำมันมะพร้าวยังช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย

วิธีใช้น้ำมันมะพร้าวเพื่อป้องกันโรคและลดน้ำหนักได้ดีที่สุดก็ คือ ใช้น้ำมันมะพร้าวปรุงอาหารแทนน้ำมันที่ใช้อยู่ จากการวิจัยพบว่า เพียงคุณใช้น้ำมันมะพร้าวปรุงอาหารจะสามารถลดน้ำหนักได้ถึง 15 กิโลกรัมในเวลา 1 ปี

" ข้อมูลเพียงบางส่วนเท่านั้นค่ะ สามารถ ดูได้ทั้งหมดตามลิ้งค์ ที่แนบมาน่ะค่ะ )

https://www.facebook.com/myioil

หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับ น้ำหนักตัว, เบาหวาน, โคเลสเตอรอล, ครอบครัวเป็นมะเร็ง, ภูมิต้านทาน, โรคหัวใจ, กลิ่นปาก, ผิวพรรณ, ต่อมลูกหมาก, เส้นผมและหนังศีรษะ https://www.facebook.com/myioil

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท