พืช ผัก ผลไม้ ลดน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน


สมุนไพรในปัจจุบันได้ใช้รักษาโรคมากมายให้ดีขึ้น และหายได้

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน  ในปัจจุบันมีมากๆ

ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ซึ่งในปีนี้คุณหมอได้เอ่ย ในรายการวิทยุวันเบาหวานโลก คนไทยเป็นถึง 3 ล้านคน ฟังแล้วน่าเป็นห่วงมากอาหารการกินในปัจจุบันเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากหากไม่ระวัง

  พืชผ้กผลไม้ที่จะกล่าวในบันทึกนี้เป็นข้อมูลที่ได้รับการวิจัยทดลองแล้วจากหลายประเทศ จะขอนำเฉพาะที่หาง่ายและปลอดภัย เพราะหากนำลงทั้งหมด 130 ชนิดตามหนังสือ จะไม่ปลอดภัยกับผู้ที่กำหนดปริมาณการกินไม่ได้โดยเฉพาะสมุนไพรที่ใช้ต้มดื่ม อาจารย์บอก อันตรายต่อผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน จะเป็นอันตรายต่อไตๆจะทำงานหนัก หากดื่มมากเกินไป

     จึงขอนำพืชที่ใช้ทำอาหารประจำวัน หาง่ายมาทำอาหารสล้บกันให้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทุกเมื่อจะได้ผลดี  สมุนไพร ลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชื่อ ส่วนที่ใช้ และประเทศที่ทดลองใน ปี คศ. ดังนี้  เช่น

 

1. กระเจี๊ยบ   ผลอ่อน   ลวก จิ้มน้ำพริก  หรือทำเป็นผลแห้ง

                      นำมาบดเป็นผง ชงดื่ม หรือใส่แคปซูล    

                      ทดลองที่ ญี่ปุ่น ปี 1989

2. กระถิน       เมล็ด       บดเป็นผง หรือคั่วเป็นอาหาร  

                           อินเดีย       ปี 1982และ 1972

3. กะเพรา   ใบกระเพรา ตากแห้งชงชาหรือทำอาหาร 

                          ปี อินเดีย 1968และ  1989

4. กานพลู    ดอก ปรุงในอาหาร  เกาหลี   ปี 1990

5. กาแฟ       เมล็ด  อินเดีย        ปี 1994

6. กล้วย       ปลี ดอก ทำอาหาร

7.  ข้าว         ราก และรำข้าว      ญี่ปุ่น  1986

8. ข้าวโพด    ดอก และฝอย หนวด  ต้มดื่ม    เยอรมัน   1943   

                       อิสราเอล 1963       ญี่ปุ่น 1996

9.   ขิง           เหง้า   ทำอาหาร        อินเดีย 1984

10.  คึ่นไฉ่     ต้นใบก้าน ทำอาหาร  อินเดีย 1986

11. แครอท    รากหรือหัว      ปี  1992 

12.  ชา        ใบ  จีน  1990, ญี่ปุ่น 1991,  อินเดีย 1995,  ญี่ปุ่น1997

13.  ดีปลี       ผล           อินเดีย   1973

14. ตำลึง      ใบสด        ปากีสถาน  พศ.2523

15.  ถั่วเขียว   เมล็ด      อินเดีย  1989  ,  ญี่ปุ่น 1991

16.  ถั่วแระต้น   เมล็ด     อินเดีย   1973

17. ถั่วเหลือง   เมล็ด     นิวเจอร์ซี ,สหรัฐอเมริกา 1978 ,

                        จีน 1984 ,     เยอรมัน,1977  , ญี่ปุ่น ,1993

18. ทับทิม          เมล็ด      ญี่ปุ่น 1974 , อินเดีย 2004

19. บวบเหลี่ยม    ผล      อินเดีย  1984

20.  ปอกระเจา     ใบ       ไทย พศ.  2530

21. ผักเชียงดา   ใบ ต้น    ญี่ปุ่น   อินเดีย

22.  ผักชี            เมล็ด      ญี่ปุ่น  1974  ,    อังกฤษ 1990

23.  ผักคะน้า       ใบ ต้น    เม็กซิโก 1995 ,อินเดีย 1967

24.  พริกขี้หนู       ผล      จาไมก้า 2001และ 2004 ,   อินเดีย 1982

25. พริกไทย      เมล็ด ดำ    จีน 1983 ,  อินเดีย 1979

26.  ฟักข้าว        ใบอ่อน  ผลอ่อน    บังคลาประเทศ 1986

27. มะกอก ฝรั่ง      ผล     อินเดีย 1982

28.  มะขามป้อม      ผล     อินเดีย 1967 และ 1979

29.  มะระ                 ผล เมล็ด    อังกฤษ 1981  อินเดีย พศ.2535

30.   มะระขี้นก       ผล   เยอรมัน 1993   1981 ,ญี่ปุ่น 1992,

                                          อินเดีย 2002 

31.  มะแว้ง ต้น       ผล    ไทย  (ติดต่อทุกมื้อๆละ10 ลูก จะดีมากนาน1 เดือน)

32. มะแว้งเครือ       ก้าน ใบ ผล  ไทย  (ติดต่อทุกมื้อดีมาก)

33. แมงลัก           เมล็ด (ครั้งละ 10 กรัมหลังอาหารวันละ 3 ครั้ง )

                              ไทย 1985

34.   สะเดา          ใบ     อินเดีย 1978 และ 1981  ,  ไทย 1988

35.  หอมหัวใหญ่    หัว ไทย  1984  และ 1986   อินเดีย พศ. 2517

 

     ขอบคุณ ข้อมูลจากหนังสือ   สมุนไพร บำบัดเบาหวาน

    โดย ภญ.จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก เภสัชกร 8 วช.ฝ่ายวิชาการ

             กอง เภสัชกรรม สำนักอนามัย กทม. ทุ่งสองห้อง

                     (จบเภสัช  จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)


                    


     หนังสือพิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุงใหม่ ที่อาจารย์จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก รวบรวม ข้อมูลจากผลการวิจัยสมุนไพรแต่ละชนิด หลายๆประเทศ  ไว้ในเล่มนี้ เพิ่มสมุนไพรขึ้นอีก 20 ชนิด จากเล่มแรก 130 ชนิดเป็น  150 ชนิด     มีประโยชน์มากค่ะ          

         ด้วยความปรารถนาดี  กานดา แสนมณี

หมายเลขบันทึก: 318983เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2009 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เพิ่มอบเชยเทศ และสำรองด้วยครับ

สวัสดีค่ะ

  • ล้วนเป็นผัก ผลไม้ที่คุ้นเคย จะนำไปบอกเล่าต่อ ๆนะคะ
  • ขอบคุณความรู้ดี ๆ ที่นำมาให้ทราบค่ะ

ไม่มีเบาหวานแน่ ผักพวกนี้กินได้หลายชนิด

ยกเว้นกะทิ มะพร้าว ยังพยายามกินนะคะ

สวัสดีค่ะคุณ ศุภรักษ์

 พืมพ์แล้วค่ะ แต่ลบออกเพราะ

      อบเชยมีข้อห้าม ผู้มี ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด โรคริดสีดวงทวาร อุจจาระแข็ง

 หญิงมีครรภ์ ห้ามรับประทานค่ะ  ทั้งๆที่อบเชย ดีมากต่อผู้ป่วยเบาหวาน มาก ควรจะบดเองดีที่สุด  ก็บอกเลยแล้วกันค่ะ พันธุ์ที่ดีที่สุดเป็นของศรีลังกา แต่หากหาไม่ได้ ก็ใช้พันธุ์อื่นๆที่มี ผู้ที่อ่านตรงนี้ ฝากบอกผู้ที่เป็นแล้วต้องบอกข้อห้ามด้วยนะคะ

     แล้วการใช้อบเชย ควรใช้ 1200 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ 1 ช้อนชาแบ่งเป็น 4 มื้อ คนที่ไม่เป็นเบาหวานก็ทานได้ หน้าจะใสปิ้ง   วันละ 500-600 มิลลิกรัม

สำหรับ สำรอง เล่มนี้อาจารย์จุไรรัตน์ไม่ได้เขียนไว้ ค่ะจะบอกที่เห็นว่าปลอดภัยค่ะเพราะไม่ได้ลงรายละเอียดทั้งหมดที่อาจารย์เขียน

    เลือกเฉพาะที่ทานได้ทุกวันในการทำอาหาร ในส่วนที่ใช้ไม่มีโทษค่ะ หากได้เล่ม 2 มา จะลงเพิ่มอีกบันทึกให้ทราบเล่ม 1 นี้อาจารย์เขียนไว้ 130 ชนิด

มะระขี้นก สตรีมีครรภ์ก็ห้ามรับประทานครับ

คุณ phayorm

 ค่ะไปทำหรือบอกคุณแม่ทานประจำนะคะ  แนะนำผู้ที่เป็นโรคเบาหวานด้วยนะคะ ระวังยาให้มาก ๆ จะเป็นอันตรายต่อได

สวัสดีค่ะ คุณพี่ ป.1

     ค่ะทานผักมากๆนะคะ วันละ 500 กร้มรวมกันทั้งวันทั้งผักและผลไม้

     ดีมากต่อร่างกายค่ะ

คุณศุภรักษ์

   ความรู้ใหม่เลยนะคะ ไม่ทราบมาก่อนเลย

     มะระขี้นก ห้ามคนมีครรภ์ทาน

     ดีค่ะไว้บอกคนมีครรภ์ ให้ทราบ

  การใช้สมุนไพร บางอย่างไม่บอกข้อห้ามนี้อันตรายเหมือนกัน เช่น หญ้าหนวดแมว คนเป็นโรคหัวใจ ไม่ควรใช้  บางคนนะคะเป็นเกาต์ และเป็นโรคหัวใจด้วย หญ้าหนวดแมว ช่วยโรคเกาต์ แต่เป็นอันตรายต่อหัวใจ ไม่ทราบก็ใช้ ก็มี  โดยเฉพาะการผสมหลายๆอย่างครอบจักรวาล 

 หนุมานประสานกายก็ห้ามคนเป็นโรคหัวใจใช้เช่นกัน

มาอ่านความรู้ ขอบคุณค่ะคุณกานดา

 

ค่ะคุณpoo

      ฝากแนะนำต่อให้กับผู้เป็นเบาหวานด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท