เกณฑ์การตัดสินบอนไซ และประเภทไม้บอนไซ พืชสวนโลก 2554 ฯ


 

 ประเภท ไม้บอนไซ ที่จัดประกวด

 

งานราชพฤกษ์ 2554  พืชสวนโลกครั้งที่ 2 ที่เชียงใหม่

 ช่วง วันที่  25 ธค. 54   5 มค. 55  

 

หมายเหตุ ...............

งานเลื่อน เป็นวันที่ 14 ธค. 54 -14 มีค. 55  รวม 92 วัน

ช่วงประกวดไม้บอนไซ   46 ประเภท

          วันปิดรับสมัคร     วันที่ 28 ธค.54

 และ  วันส่งไม้บอนไซ   วันที่  4 มค.55

          วันตัดสิน            วันที่ 5 มค. 55

ช่วงเวลาจัดแสดง        วันที่ 6-12 มค. 55

ดร.ชิต ฝากมาบอกว่า วันรับไม้ออก เปลี่ยน มาเป็น

                                   วันที่ 12 มค.55

 

 

รหัส 801400  ไม้ดัด ไม้แคระ และไม้บอนไซ

 

801401    ไม้ซาก  สูงจากขอบกระถางไม่เกิน  25 ซม.   1
801402    ไม้ซาก  สูงจากขอบกระถางไม่เกิน 35 ซม.   1
801403    ไม้ซาก  สูงจากขอบกระถางไม่เกิน  50 ซม.  1
801404    ไม้ซาก  สูงจากขอบกระถางไม่เกิน 65 ซม.   1
801405    ไม้ซาก  สูงจากขอบกระถางไม่เกิน 120 ซม.  1
801406    ไม้ซาก  สูงจากขอบกระถางเกิน    120 ซม.    1

 

801407  ตั้งตรง  ขนาดเล็กที่สุด สูงจากขอบกระถางไม่เกิน 7 ซม.(มาแมะ)  1
801408   ตั้งตรง  เล็กมาก     สูงจากขอบกระถางไม่เกิน 15 ซม.     1
801409   ตั้งตรง  ขนาดเล็ก    สูงจากขอบกระถางไม่เกิน 20 ซม.    1
801410   ตั้งตรง  ขนาดกลาง    สูงจากขอบกระถางไม่เกิน  30 ซม.   1
801411   ตั้งตรง  ขนาดใหญ่    สูงจากขอบกระถางไม่เกิน 45 ซม.    1
801412   ตั้งตรง  ขนาดใหญ่มาก  สูงจากของกระถางไม่เกิน 60 ซม.   1
801413   ตั้งตรง  ขนาดใหญ่มาก   สูงเกิน 60 ซม.                         1

 

801414  ไม้ตอ    สูงจากขอบกระถางไม่เกิน 20 ซม.      1
801415  ไม้ตอ   สูงจากขอบกระถางไม่เกิน  30 ซม.      1
801416   ไม้ตอ  สูงจากขอบกระถางไม่เกิน 45 ซม.         1
801417  ไม้ตอ   สูงจากขอบกระถางไม่เกิน  60 ซม.        1
801418  ไม้ตอ  สูงจากขอบกระถางไม่เกิน 120 ซม.       1
801419   ไม้ตอ  สูงไม่เกินขอบกระถางเกิน 120 ซม       1

 

801420   ไม้ตกกระถาง ในภาชนะเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 15 ซม.   1
801421   ไม้ตกกระถาง ในภาชนะเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 30 ซม.    1
801422  ไม้ตกกระถาง ในภาชนะเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 30 ซม.       1
 
 
801423  ไม้เอนชาย         1
 
801424  ไม้เกาะหินแบบคร่อม       1
801425  ไม้เกาะหินแบบสอด        1
801426   ไม้เกาะข้างหิน               1

 

801427  ไม้กลุ่มกอ (อย่างน้อยมี 4 ลำต้นในช่อเดียวกัน)   1
 
801428   ไม้ป่ากลุ่มเล็ก ในภาชนะยาวไม่เกิน 65 ซม.      1
801429   ไม้ป่ากลุ่มใหญ่ ในภาชนะยาวเกิน  65 ซม.       1

 

801430  ไม้ป่ารากเดียว ขนาดเล็ก ในภาชนะยาวไม่เกิน 65 ซม. 1
801431  ไม้ป่ารากเดี่ยว ขนาดใหญ่ ในภาชนะยาวกว่า 65 ซม. 1
 
801432  ไม้โคนคู่ 1

 

801433  ไม้สามลำในต้นเดียว 1
 
801434  ไม้อักขระ หรือไม้บัณฑิต 1
 
801435   ไม้ลู่ลม    1
 
801436   ไม้ราก    1
 
801437   ไม้กึ่งตกกระถาง    1

 

801438  ไม้ทรงระย้า        1
        
801439  ไม้แพซุง     1
  
801440  ไม้บิดเกลียว     1
 
801441   ไม้ขดม้วน     1
 
801442   ไม้ทรงไม้กวาด    1

 

801443  ไซเคอิ ความยาวกระถางไม่เกิน  65 ซม.    1
801444  ไซเคอิ  ความยาวกระถางเกิน     65 ซม.    1
 
801445   ไม้ชุดศิลป์     1
 
 801446   ไม้อื่นๆ   1 ( บอนไซที่ไม่เข้าประเภทที่กำหนดข้างต้น )

 

 

หลักเกณฑ์ การตัดสิน

 

 

หมวด 8   ไม้ใบประดับ ไม้กระถาง

 

-    ความสวยงาม และความกลมกลืนของรูปลักษณ์ของลำต้น และสิ่งอื่นๆ
-    คุณภาพของใบ และส่วนอื่นๆ
-    ลักษณะตรงตามพันธุ์
-    ความสมบูรณ์ของพืชที่ส่งเข้าประกวด (พืชมีความเสียหาย
     ที่เกิดจากโรค หรือแมลง สัตว์ ศัตรูพืช หรือ มีวัชพืชติดมาหรือไม่ ฯลฯ )
-   ความสม่ำเสมอของต้นไม้ ที่นำมาประกวด
-    ความโดดเด่น
 

  หมวด 8 ไม้ประดับ: ไม้กระถาง

 

-  ประเภท การประกวด แบ่งเป็น 17 กลุ่ม  209 ประเภท
-  รางวัลการประกวดของแต่ละประเภท ประกอบด้วย
-  รางวัลที่ 1    1  รางวัล  เงินสด   2,000 บาท   พร้อมเกียรติบัตร
-  รางวัลที่ 2    1  รางวัล  เงินสด  1,500  บาท  พร้อมเกียรติบัตร
-   รางวัล ที่ 3   1 รางวัล   เงินสด  1,000 บาท    พร้อมเกียรติบัตร
 
-    รางวัลยอดเยี่ยมของกลุ่ม กลุ่มละ 1 รางวัล
     เป็นเงินสด 4,000 บาท พร้อมโล่เกียรติบัตร

 

ระเบียบและหลักปฏิบัติทั่วไปในการส่งไม้เข้าร่วมประกวด

 

หมวดที่ 8 ไม้ประดับ:ไม้กระถาง

 
1. การสมัครเข้าร่วมประกวดไม้ประดับไม้กระถาง
 
      บุคคลผู้สนใจสามารถสมัครเพื่อลงทะเบียนสิ่งประกวดตั้งแต่  วันอังคารที่ 1  พฤศจิกายน ถึง วันศุกร์ที่ 12  ธันวาคม 2554 โดยส่งใบสมัครเพื่อลงทะเบียนสิ่งประกวดไปยัง สำนักงานบริหารการจัดการ งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติ ราชพฤกษ์ 2554   2521/111 ถนนลาดพร้าว แขวงเจ้าคุณสิงห์ เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
    เมื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการประกวด ได้รับใบสมัครฯแล้ว จะจัดส่งบัตรผ่านประตูสำหรับรถยนต์แก่ผู้สมัครทางไปรษณีย์ เพื่อความสะดวกในการนำสิ่งประกวดเข้าบริเวณจัดประกวด
 
2. การส่งไม้ใบประดับกระถาง การตัดสิน การรับคืน

 

-  ไม้ใบประดับกระถางมีความสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลง และต้องเป็นต้นที่ปลูกและตั้งตัวดีแล้วในกระถางนั้น ต้นที่ย้ายปลูกลงกระถางใหม่ กรรมการตัดสินมีสิทธิ์พิจารณาไม่ให้เข้ารับการตัดสิน
-  ผู้เข้าร่วมการประกวด สามารถนำส่งสิ่งประกวดแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการประกวด ฯได้ในวันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม 2554 ตั้งแต่เวลา 9.00 ถึง 22.00  นาฬิกา ณ อาคารประกวด 2
-  คณะกรรมการการตัดสินเข้าพิจารณาตัดสินสิ่งประกวดในวันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม 2554 ตั้งแต่เวลา 9.00-17.00 นาฬิกา
-  ผู้เข้าร่วมการประกวด สามารถรับคืนสิ่งประกวดจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการประกวดได้ในวันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2555 ตั้งแต่เวลา 9.00 ถึง 17.000 นาฬิกา ณ อาคารประกวด 2
  
 หากไม่มารับสิ่งประกวดคืนในวันดังกล่าว ผู้จัดงานขอสงวนสิทธิ์ในการคืนสิ่งประกวด

 

3. การรับรางวัลการประกวดไม้ใบประดับกระถาง
     ผู้ได้รางวัลสิ่งประกวด สามารถเข้ารับรางวัลกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการประกวดในวันอังคารที่ 27 ธันวาคม 2554 ตั้งแต่เวลา 9.00 ถึง 16.30 นาฬิกา ณ อาคารประกวด 2 โดยให้ผู้ได้รับรางวัลฯ  นำหลักฐานการลงทะเบียนสิ่งประกวดที่ได้รางวัล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อใช้ประกอบเอกสารการขอรับเงินรางวัล
 
 ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการประกวด
กรุณาติดต่อ หัวหน้าคณะทำงานด้านการประกวด
ไม้บอนไซจัด อยู่หมวดที่ 8 ไม้ใบประดับ : ไม้กระถาง
 
ดร.ชิต   อินปรา สาขาพืชสวนประดับ
 คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัย แม่โจ้  อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290
 
 โทรศัพท์ + 66 53 873 377
 โทรสาร   + 66 53 873 373

E-mail:   [email protected]

 

 

 

 ตัวอย่าง การให้คะแนน การตัดสิน ฯ

 

 เกณฑ์การตัดสินไม้บอนไซ เมื่อ งานพืชสวนโลกครั้งที่ 1 

            Royal Flora Ratchaphruck  2006

 

ประเภท ไม้ลำต้นตรง  100 คะแนน

 

1กระถาง ขนาดและความหนาของกระถาง มีความเหมาะสมและสมดุลกับขนาดของลำต้น และความสูงของไม้         10   คะแนน
 
 2. วัสดุปลูกและวัสดุพื้นผิว เป็นวัสดุธรรมชาติ ไม่พูนดินจากขอบกระถางขึ้นสูง มีวัสดุพื้นผิว เช่น มอส หรือ อื่นๆ ปกคลุม สะอาดเป็นระเบียบ สวยงาม     คะแนน
 
3.  ราก ตำแหน่งและจังหวะของรากขึ้นรอบโคนเป็นระเบียบ สมดุลสวยงาม เป็นธรรมชาติ มีความแข็งแรง มั่นคง มองเห็นชัดเจน     10    คะแนน
 
4.  ลำต้น   ลำต้นจะตั้งตรงหรือคดงอก็ได้ ส่วนโคนและส่วนยอด จะตั้งฉากอยู่ในแนวเดียวกัน แผลที่เกิดจากการทด การตัดปิดเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีร่องรอยของแผล สมดุลเป็นธรรมชาติ มีความแข็งแรง สวยงาม     25 คะแนน
 
5.   กิ่ง ช่วงจังหวะของกิ่งขึ้นโดยรอบลำต้น ซ้าย ขวา หน้า หลัง เป็นระเบียบสวยงาม ตำแหน่งของกิ่งไม่ทับซ้อนกัน การพันลวดไม่เกิน 20%  10  คะแนน
 
6.  ใบ  ขนาดของใบเล็กสม่ำเสมอ ปราศจากโรค มีความสมบูรณ์ ขึ้นสวยงาม
         พุ่มใบมีช่องจังหวะที่สวยงามไม่แน่น หรอน้อยจนเกินไป  15  คะแนน
 
 7. ยอด  มีส่วนยอดที่เห็นได้ชัดเจน ตั้งตรงในแนวเดียวกับลำต้น
            ไม่แน่นหรือหนาเป็นพุ่ม  5 คะแนน
 
8.   ความเป็นไม้บอนไซ เป็นไม้ที่แคระแกรน บ่งบอกถึงความมีอายุ เหมือนไม้ใหญ่ทุกประการ เช่น มีดอก ผล ฯลฯ มีลักษณะเป็นการย่อส่วน หรือการจำลองไม้ใหญ่ ทรงพุ่ม มีความสวยงาม          20  คะแนน
 
 

ประเภท ไม้ตอ   100  คะแนน

 
1. กระถาง ขนาดและความหนาของกระถาง มีความเหมาะสม
   และสมดุลและ  ความสูงของไม้  10 คะแนน
 
2.  วัสดุปลูกและวัสดุพื้นผิว เป็นวัสดุธรรมชาติ ไม่พูนดินจากขอบกระถางขึ้นสูง
    มีวัสดุพื้นผิว เช่น มอส หรือ อื่นๆ ปกคลุม สะอาดเป็นระเบียบ สวยงาม  5 คะแนน
 
3.  ราก ตำแหน่งและจังหวะของรากขึ้นรอบโคนเป็นระเบียบ สมดุลสวยงาม
    เป็นธรรมชาติ มีความแข็งแรง มั่นคง มองเห็นชัดเจน     10  คะแนน
 
4. ลำต้น   ลำต้นจะตั้งตรงหรือคดงอก็ได้ ส่วนโคนและส่วนยอด จะตั้งฉากอยู่ในแนวเดียวกัน แผลที่เกิดจากการทด การตัดปิดเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีร่องรอยของแผล สมดุลเป็นธรรมชาติ มีความแข็งแรง สวยงาม     25  คะแนน
 
5.  กิ่ง ช่วงจังหวะของกิ่งขึ้นโดยรอบลำต้น ซ้าย ขวา หน้า หลัง เป็นระเบียบสวยงาม ตำแหน่งของกิ่งไม่ทับซ้อนกัน การพันลวดไม่เกิน 20%  10  คะแนน
 
6.  ใบ ขนาดของใบเล็กสม่ำเสมอ ปราศจากโรค มีความสมบูรณ์ ขึ้นสวยงาม
      พุ่มใบมีช่องจังหวะที่สวยงามไม่แน่น หรือน้อยจนเกินไป  15  คะแนน
 
7.   ยอด มีส่วนยอดที่เห็นได้ชัดเจน ตั้งตรงในแนวเดียวกับลำต้น
    ไม่แน่น หรือหนาเป็นพุ่ม    5 คะแนน
 
8.  ความเป็นไม้บอนไซ เป็นไม้ที่แคระแกรน บ่งบอกถึงความมีอายุ เหมือนไม้ใหญ่ทุกประการ เช่น มีดอก ผล ฯลฯ มีลักษณะเป็นการย่อส่วน หรือการจำลองไม้ใหญ่ ทรงพุ่ม มีความสวยงาม         20  คะแนน
  

ประเภท ไม้ซาก 100 คะแนน

 
 
1.    กระถาง ขนาดและความหนา ของกระถาง มีความเหมาะสมและสมดุล
      กับขนาดของลำต้นและความสูงของไม้    10 คะแนน
 
2.  วัสดุและพื้นผิว เป็นวัสดุธรรมชาติ ไม่พูนดิน จากขอบกระถางขึ้นสูง
     มีวัสดุพื้นผิว เช่น มอส หรืออื่นๆปกคลุม   5 คะแนน
 
3.    ราก ตำแหน่งและจังหวะของรากขึ้นรอบโคนเป็นระเบียบ สมดุลสวยงาม
    เป็นธรรมชาติ มีความแข็งแรง มั่นคง มองเห็นชัดเจน     10    คะแนน
 
4.    ลำต้น  ลำต้นจะเป็นประเภทซากในลำต้น หรือซากประกอบลำต้นก็ได้
     มีความแข็งแรง เป็นธรรมชาติ     10 คะแนน
 
5.  ซาก  เป็นธรรมชาติที่เกิดจาก ลำต้น กิ่ง หรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งของลำต้นเท่านั้น ไม่ใช่ซากประดิษฐ์ หรือนำซากอื่นมาประกอบ ไม่ทาสีอื่นใดที่ผิดไปจากธรรมชาติของประเภทไม้ชนิดนั้นๆ    20 คะแนน
 
6.  กิ่ง ช่วงจังหวะของกิ่งขึ้นโดยรอบลำต้น ซ้าย ขวา หน้า หลัง เป็นระเบียบ
   สวยงาม ตำแหน่งของกิ่งไม่ทับซ้อนกัน การพันลวดไม่เกิน 20%   10  คะแนน
 
7.   ใบ ขนาดของใบเล็กสม่ำเสมอ ปราศจากโรค มีความสมบูรณ์ ขึ้นสวยงาม
    พุ่มใบมีช่องจังหวะที่สวยงามไม่แน่น หรอน้อยจนเกินไป     10  คะแนน
 
8.  ยอด มีส่วนยอดที่เห็นได้ชัดเจน ตั้งตรงในแนวเดียวกับลำต้น
   ไม่แน่นหรือหนาเป็นพุ่ม     5 คะแนน
 
9.  ความเป็นไม้บอนไซ เป็นไม้ที่แคระแกรน บ่งบอกถึงความมีอายุ เหมือนไม้ใหญ่ทุกประการ เช่น มีดอก ผล ฯลฯ มีลักษณะเป็นการย่อส่วน หรือการจำลองไม้ใหญ่ ทรงพุ่ม มีความสวยงาม          20  คะแนน
 
 

ประเภท ไม้ทรง  100 คะแนน

 
1.  กระถาง ขนาดและความหนา ของกระถาง มีความเหมาะสมและสมดุล
     กับขนาดของลำต้นและความสูงของไม้    10 คะแนน
 
2.    วัสดุและพื้นผิว เป็นวัสดุธรรมชาติ ไม่พูนดิน จากขอบกระถางขึ้นสูง
     มีวัสดุพื้นผิว เช่น มอสหรืออื่นๆปกคลุม     5 คะแนน
 
3.   ราก ตำแหน่งและจังหวะของรากขึ้นรอบโคนเป็นระเบียบ สมดุลสวยงาม
     เป็นธรรมชาติ มีความแข็งแรง มั่นคง มองเห็นชัดเจน     10    คะแนน
 
4. ลำต้น   ลักษณะของลำต้น ตรงตามประเภทของทรงไม้ แต่ละประเภท เช่น
   จำนวนต้น โคนต้น และอื่นๆ ตามข้อกำหนดของสากลนิยมกำหนด   20 คะแนน
 
5.    กิ่ง ช่วงจังหวะของกิ่งขึ้นโดยรอบลำต้น ซ้าย ขวา หน้า หลัง เป็นระเบียบ
     สวยงาม ตำแหน่งของกิ่งไม่ทับซ้อนกัน การพันลวดไม่เกิน 20%   10  คะแนน
 
6.   ใบ ขนาดของใบเล็กสม่ำเสมอ ปราศจากโรค มีความสมบูรณ์ ขึ้นสวยงาม
     พุ่มใบมีช่องจังหวะที่สวยงามไม่แน่น หรือน้อยจนเกินไป     20  คะแนน
 
7.   ยอด มีส่วนยอดที่เห็นได้ชัดเจน ตั้งตรงในแนวเดียวกับลำต้น
    ไม่แน่นหรือหนาเป็นพุ่ม     5 คะแนน
 
8.   ความเป็นไม้บอนไซ เป็นไม้ที่แคระแกรน บ่งบอกถึงความมีอายุ เหมือนไม้ใหญ่ทุกประการ เช่น มีดอก ผล ฯลฯ มีลักษณะเป็นการย่อส่วน หรือการจำลองไม้ใหญ่ ทรงพุ่ม มีความสวยงาม          20  คะแนน
 

ประเภท ไม้เกาะหิน 100 คะแนน

 
1. กระถาง ขนาดและความหนา ของกระถาง มีความเหมาะสม
 และสมดุลกับขนาดของลำต้นและความสูงของไม้  10 คะแนน
 
2. วัสดุและพื้นผิว เป็นวัสดุธรรมชาติ ไม่พูนดิน จากขอบกระถางขึ้นสูง
    มีวัสดุพื้นผิว เช่น มอส หรืออื่นๆปกคลุม 5 คะแนน
 
3. หิน เป็นหินธรรมชาติ เป็นหินชิ้นเดียวที่ไม่ใช่เกิดจากการประกอบหรือจัดทำขึ้น มีความสวยงามตรงตามลักษณะประเภทของการเกาะของรากไม้ มองเห็นเนื้อหินได้อย่างเด่นชัด มีความสวยงามและสมดุลเป็นธรรมชาติ   20 คะแนน
 
4.  ราก  การเกาะของรากหนาแน่นกับหิน เป็นธรรมชาติ ขนาดของรากไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป การเกาะของรากเกาะเป็นระเบียบ ไม่ทับซ้อน รากมีความแข็งแรงสวยงาม  
  25 คะแนน
 
5.  ลำต้น    จะเป็นลักษณะ ลำต้นตั้งตรง หรือลำต้นตกก็ได้
   แคระแกรนมีอายุ มีความแข็งแรงสมบูรณ์ สวยงาม   10 คะแนน
 
6.   กิ่ง มีช่วงจังหวะของกิ่งขึ้นโดยรอบลำต้น ซ้าย ขวา หน้า หลัง เป็นระเบียบสวยงาม ตำแหน่งของกิ่งไม่ทับซ้อนกัน การพันลวดไม่เกิน 20%  10  คะแนน
 
7.  ใบ  มีความสมบูรณ์ปราศจากโรค ขนาดของใบเล็กสม่ำเสมอ
    ไม่แน่นหรือน้อยจนเกินไป มีจังหวะของพุ่มใบสวยงาม   10  คะแนน
 
8.  ทรงพุ่มและยอด ทรงพุ่มและยอดเหมาะสมกับลักษณะของลำต้น มีความเด่นชัดสมบูรณ์ ยอดไม้ไม่ทับซ้อนแน่นจนเกินไป มีความสวยงาม มีลักษณะของไม้ใหญ่       
 10 คะแนน
 

การประกวด ไซเคอิ  100 คะแนน

 
1. กระถาง เป็นกระถางที่มีขอบกระถางตื่น บาง เช่น กระถางถาด ฯลฯ
    ตามสากลนิยม มีความแข็งแรง สวยงาม   10 คะแนน
 
2.  หิน เป็นหินธรรมชาติชิ้นเดียว ส่วนใดส่วนหนึ่งของหิน เช่น ยอด แง่ง เหลี่ยม มุม ฯลฯ ไม่เกิดจากการนำมาประกอบขึ้น หรือแกะ หรือกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งของมนุษย์ หินทุกก้อนมีฐานที่ตั้งแข็งแรงมั่นคง    30 คะแนน
 
3.   พืช เป็นพืชธรรมชาติชนิดใดก็ได้ที่นำมาใช้ตามความเหมาะสมลงตัว
     มีความโดดเด่นสวยงาม แข็งแรงสมบูรณ์  15 คะแนน
 
4.   วัสดุส่วนประกอบ การใช้วัสดุส่วนประกอบเป็นไปตามสากลนิยม
     ไม่จำกัดจำนวน ขนาด รูปทรง ฯลฯ สวยงามเป็นธรรมชาติ  15 คะแนน
 
5.   ความงามด้านศิลปะ(ไซเคอิ)  เป็นการจำลองหรือย่อส่วนภูมิประเทศแหล่งใดแหล่งหนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งที่เป็นภูมิประเทศจริง หรือภูมิประเทศตามจินตนาการ เป็นการสร้างสรรค์บรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ มีความสมดุล ความสวยงามทางด้านศิลปะ 
   30 คะแนน
 

ประเภท ชุดศิลป์  100 คะแนน

 
1.   ชั้นโชว์จัดแสดง ทำด้วยวัสดุธรรมชาติ ตามรูปแบบสากลนิยม
    มีความแข็งแรง ประณีตสวยงาม  15 คะแนน
 
2.   สัดส่วนของชั้นโชว์ และขนาดของกระถาง  ชั้นโชว์มีความสมดุลลงตัว กระถางมีไม่มากหรือน้อยจนเสียสัดส่วน ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป   15 คะแนน
 
3.   การเลือกลักษณะรูปแบบของบอนไซ เลือกรูปแบบของบอนไซ จัดวางในตำแหน่งได้อย่างเหมาะสมกับรูปทรงของบอนไซมีความสวยงามทางด้านศิลปะและอย่างลงตัว
  25 คะแนน
 
4.   การจัดวางบอนไซ จัดวางรูปทรงของบอนไซลงในตำแหน่งของชั้นโชว์
    ได้อย่างเหมาะสมและสวยงาม 25 คะแนน
 
5.     ความสวยความงามทางด้านศิลปะ เป็นการวางบอนไซ รูปแบบต่างๆลงในตำแหน่งที่เหมาะสมที่มีความสวยงาม ทางด้านศิลปะ เหมือนการจัดวางที่ห้องรับแขกหรือห้องจัดโชว์    20 คะแนน
  

 

ประเภทและหลักเกณฑ์ ของการจัดประกวด บอนไซ

สามารถใช้เป็นแนวทางในการปลูกเลี้ยงต้นไม้บอนไซ

หมายเลขบันทึก: 463979เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2011 19:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • ขอบคุณสำหรับภาพและข้อมูลที่คุณกานดานำมาฝากนะคะ
  • ที่ฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้ ซึ่งมีโครงการรวบรวมพันธุ์ไม้ทุกประเภท มีบอนไซ (ไม้แคระ) น้อยมากค่ะ ทั้งที่ตนเองหลงเสน่ห์ไม้ประเภทนี้มาก (คงเป็นด้วยราคาแพงและการทำเองต้องใช้ทั้งเวลาและฝีมือ ตอนนี้ยังไม่ว่างมากพอที่จะศึกษาและฝึกฝนค่ะ)
  • ฝากภาพ "ชวนชมแคระ" จากการประกวดในวันที่ 6 สิงหาคม 2554 ในงานวันเกษตรแห่งชาติที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นครราชสีมา มาให้ชมด้วยนะคะ (มีโอกาสดูแค่ประเดี๋ยวประด๋าวเพราะพ่อใหญ่สอหิวข้าวกลางวันค่ะ) ส่วนน้องหนูในภาพเป็นนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีอาหารชั้นปีที่ 4 เธอน่ารักมากค่ะ มีน้ำใจเดินออกมาให้ถ่ายภาพเต็มตัว ทั้งที่เราไม่ต้องการบกวนเธอมากขนาดนั้น แค่จะขอถ่ายครึ่งตัวให้เธออยู่หลังเคาน์เตอร์ที่ขายหนังสือที่ระลึกในงาน ตอนที่เราไปอุดหนุนหนังสือเท่านั้น

 

ชื่นชมการเตรียมงานนี้มากค่ะ..ให้กำลังใจและคอยชมค่ะ..เก็บภาพไม้บอนไซ จากบันทึกนี้ที่คุณดาเคยไปเยี่ยมมาแล้วค่ะ =>>

http://www.gotoknow.org/blog/nongnarts2/293922

สวัสดีค่ะ    Ico48      Ico48

 

คุณ ผศ.วิไล  ถ้าได้ไปเที่ยวฟาร์ม ไอดิน-กลิ่นไม้ คงจะเพลินกับการชมต้นไม้หลากหลาย และที่สำคัญแอบมองโคนต้นและราก เพื่อดูว่าต้นไหนทำบอนไซได้ อนาคตอายุมากได้เตรียมตัวเองไว้แล้วว่าวัยชราจะมีต้นไม้เป็นเพื่อนที่ให้ความสุขได้แน่นอน ไม่ต้องเดินไกล บอนไซอยู่ใกล้ตัวได้ตลอดเวลา  ถึงตอนนั้นต้นบอนไซ ก็สวยได้แล้วค่ะ  ขอบคุณมากค่ะน้องน่ารักและชวนชม  ต้นไทรหรือเปล่า บอนไซสวยงามค่ะ

 

คุณพี่ใหญ่    ขอบคุณมากค่ะ ดาชมหลายรอบมากสวยประทับใจและนำไปเก็บรวมไว้หลายที่ค่ะ  งานพืชสวนโลก ดาจะนำภาพบอนไซสวยๆมาฝากอีกนะคะ

 

หอคำหลวง

 

อาจารย์ผศ.วิไล ขอโทษด้วยนะคะ ลบ comment ผิดค่ะ ลบของอาจารย์ไปด้วย

 

เนื่องจากงานพืชสวนโลก เลื่อนเป็นวันที่ 14 ธค. 54 ถึง 14 มีค.55 รวม 92 วัน

การส่งต้นไม้และอื่นๆจึงมีการเปลี่ยนวันที่

สำหรับ บอนไซ ได้มีการแจ้งมาจากกรมวิชาการเกษตร ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ แล้ว

ไม้บอนไซ จัดอยู่ที่หมวด 8 

มีการเปลี่ยนแปลงวันปิดรับสมัคร และวันส่งไม้เข้า คือวันที่ 4 มค.55

    ผู้เขียนจึงสอบถามไปอีกครั้งว่า แล้วบัตรผ่านเพื่อนำรถและต้นไม้ไปส่ง ไม่มีเข้าไปได้อย่างไร? ทางเจ้าหน้าที่ จึงได้มีการสอบถามกับดร.ชิต ว่าควรจะทำอย่างไรแน่อีกครั้ง ได้คำตอบมาว่า.......การยื่นใบสมัครยื่นที่เดิมที่กทม.

    หรือหากมีใครที่ไม่ทราบการเปลี่ยนแปลง จากที่ถามกับเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบและดร.ชิตฯวันนี้ ที่ขอเปลี่ยนวันปิดการสมัครเฉพาะบอนไซ เป็นวันที่ 28 ธค.54 จากเดิม 4 มค.55 จะได้ไม่ต้องรอการทำบัตรนานฯ และเพื่อความสะดวก ของเจ้าหน้าที่และผู้ส่งไม้ประกวด  ซึ่งควรจะสมัครล่วงหน้าเพื่อได้บัตรรถก่อนวันส่งไม้จะดีกว่า 

    กรณีไม่ทราบจริงๆ หากมีไปสมัครวันที่ 4 มค.54 ก็จะรับเช่นกัน แต่อาจจะต้องรอนาน  โดย นำรถกับต้นไม้ไปที่ทางเข้า จะต้องยื่นใบสมัครให้กับเจ้าหน้าที่  ถึงจะเข้าไปได้

 

หรือจะสอบถามโดยตรงได้นะคะที่ 

ส่วนประสานงานด้านการประกวดพืชสวนนานาชาติ

โทรศัพท์  053-111197 หรือ 085-9318666

โทรสาร 053-111197

E-mail :       [email protected]

 

 

ขออภัยเวลานี้......ยังไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดอะไรกับบันทึกนี้ แต่พออ่านได้นะคะ

ชมภาพสวยได้อยู่ค่ะ

มองแล้วก็ปกติดีค่ะพี่ดา ไม่มีขีดด้านล่างอย่างที่บอก

กานดา น้ำมันมะพร้าว

สวัสดีค่ะ น้องหนูรี

ค่ะเรียบร้อย สวยงามดีแล้วค่ะ พี่ดาไม่ได้ไปเยี่ยมที่บันทึกน้องนานแล้ว สบายดีนะคะ

แต่เวลาทำอาหารหลายๆอย่างคิดถึงน้องหนูรีเสมอค่ะ ขอบคุณนะคะแวะมาช่วยตรวจดูบันทึกนี้

ตัวอย่างจากงานพืชสวนโลกครั้งที่ 1

บอนไซงานพืชสวนโลกครั้งที่ 2  วันที่ 4 -12มค.2555

 http://www.facebook.com/media/set/?set=oa.144361292344789&type=1#!/media/set/?set=oa.144361292344789&type=1

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท