เรื่องราวสมมติ


ประวัติย่อ:

 ซึ้งใจกับความหมายของคำว่า Engaged Buddhism

และคำว่า

"So Hum"

ชีวิตที่กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับ"ธรรม"ชาติ

 

 

 

แสดงตาม "ความ"สมมติ อย่างรู้ตัว

นี่แหละ คือ "ธรรมชาติ"

ระหว่างทางเราจะได้เรียนถึงคำว่าความสุขในนัยของ Eudaimonai

 

 

เรื่องราวในสมมตินี้

การเดินทางชีวิต

เกิดและเติบโตที่จังหวัดยโสธรเป็นบุตรของนางเข็มเพชร ลครวงศ์ และนายวีระ ลครวงศ์ เมืองนี้เป็นจังหวัดเล็กๆ ที่ใฝ่ฝันตามหาและไปอยู่ พอตื่นอีกทีก็รู้ซึ้งว่าจริงๆ แล้วที่ว่า "จังหวัดเล็กๆ ที่ค้นหานั้น ที่แท้คือ บ้านเรานี่เอง

นำพาตนเองก้าวเข้าสู่การเรียนรู้ของชีวิตผ่านเรื่องราวในวิถีประจำวัน และผู้คนที่มาสัมผัส ผลการเรียนรู้ที่เยี่ยมและแย่ แต่นำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตได้ทั้งสองด้าน

การเดินทางการศึกษาในระบบ

เด็กจนโตเรียนที่ยโสธร จนจบมัธยมศึกษา

เข้าเรียนอุดมศึกษา ในระดับปริญญาตรี ด้านพยาบาล และทดลองชีวิตผ่านการเรียนซ้ำซ้อนในระดับบัณฑิตศึกษา ปริญญาโทสาขาจิตวิทยาให้คำปรึกษาและสาขาพยาบาล ยังไม่พออีกอยากรู้ว่าเรียนปริญญาเอกเป็นเช่นไรบ้างจึงเข้าไปเรียนในสาขาจิตวิทยาให้คำปรึกษา และความไม่พอซ้ำเข้ามาอีก นำพาตนเองไปเรียนอีกสาขาคือเทคโนโลยีการศึกษา ผลการเรียน...ก็รู้ว่ามันเป็นเพียงกับดัก "ชีวิต" และที่สุดแล้ว "มันก็เท่านั้นเอง"

ปี พ.ศ. 2535 เข้าเรียนรู้เพื่อศึกษาปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

ปี พ.ศ. 2540 เข้าเรียนรู้เพื่อศึกษาปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการแนะแนวและให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น (งานวิจัยที่สนใจ คือ การฝึกสมาธิร่วมกับการให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต ลดเครียด วิตกกังวล ส่งเสริมการปรับตัว และการแก้ปัญหาในนักศึกษาพยาบาล) หลักสูตร M.Ed (Guidance and Counseling)

ปี พ.ศ. 2545 เข้าเรียนรู้ศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (งานวิจัยที่สนใจ คือ การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพ ในโรงพยาบาลที่ผ่าน HA) หลักสูตร M.S.N (Administration of Nurse)

ปี พ.ศ.2544 เข้าเรียนรู้เพื่อศึกษาปริญญาเอก สาขาจิตวิทยาให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง (งานวิจัยที่สนใจ คือ การพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ติดยาเสพติด) หลักสูตร Ph.D (Psychology of Counseling)

ปี พ.ศ.2548 เข้าเรียนรู้เพื่อศึกษาปริญญาเอก สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น (งานวิจัยที่สนใจ คือ การพัฒนารูปแบบต่อการส่งเสริมกระบวนการสร้างความรู้ในมนุษย์) หลักสูตร Ph.D (Education of Technology) 

 

ข้าพเจ้าเป็นเพียงผู้ผ่านเข้าไปเรียนรู้ในหลักสูตรต่างๆ ดังที่ได้แจกแจงมา ผ่านไปเพื่ออยากรู้ว่าการเรียนนั้นเป็นเช่นไร...เรียนแล้วก็แล้วไปไม่ได้ปรารถนาว่าตนเอง คือ ผู้เชี่ยวชาญหรือเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ใดใดทั้งสิ้น...ชีวิตของข้าพเจ้ายังเป็นเพียงอณูเล็กๆ ที่ยังต้องอาศัยการเรียนรู้อีกยาวนาน...

คือมุมมอง และความแตกต่าง l อีกหนึ่งสิ่งที่ข้าพเจ้าได้ทดลอง

 

การเดินทางแห่งวิถีการงาน

เป็นคนหน้างาน ธรรมดา ธรรมดาคนหนึ่ง

ทำงานแบบทางการมีชื่อประจำที่โรงพยาบาลยโสธร...แต่วิถีทำงานทำเสมือนแบบทำงานอิสระอันเป็นความอิสระจากโลกธรรมแปด (ทำงานเพื่องาน) ผลแห่งการเรียนรู้การนำวิถีการทำงานเช่นนี้มาใช้...อืม พบว่า ได้การงานมากมายเลย เพราะได้สร้างสรรค์ตามปัญญาที่ตนเองมี

สรุป... "ชีวิต" เป็นเพียงยานพาหนะ

ตอนนี้ที่เป็นอยู่ คือ ใช้ "ชีวิต" ธรรมดา อย่างเป็นธรรมชาติของ "ตนเอง" ดำรงชีวิตอยู่ที่บ้านเกิดตนเองอันเป็นแหล่งกำเนิดแห่งรากเหง้าเขียนหนังสือ อ่านหนังสือ วาดภาพ ถ่ายภาพ ปลูกต้นไม้ วิ่ง ว่ายน้ำ โยคะ และปั่นจักรยาน

ทำงานรับใช้ผู้อื่นทางด้านจิตใจ ออกสู่การก้าวย่างโดยนำวิถีชีวิตตนเองมาถอดบทเรียนแบ่งปันสู่ผู้คนและนำไปผสานกับวิถีของแต่ละคนที่เราเข้าไปสัมพันธ์ อันเป็นรูปแบบของ "การผสมผสานกลมกลืนตนเองเข้าสู่แห่งวิถีธรรมชาติ" ==> Engaged Buddhism (http://gotoknow.org/planet/kapoom)

ทำงานรับใช้งานหลวง...ด้วยการร่วมเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ในการทำ R2R ; Routine to Research = พัฒนางานประจำด้วยการทำวิจัย...ชีวิตได้เรียนรู้ผ่านการทำงานนี้อย่างมากมายเลย ถือว่าเป็นกำไรล่ะนะ ทั้งๆ ที่ไม่ได้ลงทุนอะไรเลย แต่กลับได้กำไรกองโตเลยล่ะ (http://gotoknow.org/post/tag/R2R)

และรับใช้ทางวัดที่สนับสนุนการสงเคราะห์อันเป็นงานอิสระที่อาสา คือ การก้าวไปสู่การทำงานเป็นที่ปรึกษาศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดวัดป่าหนองไคร้...ทำด้วยหัวใจและจิตวิญญาณ(http://gotoknow.org/post/tag/thinnabho)

 

แท้ที่สุดแล้ว...พบว่า วันนี้เราไม่ได้เดินทางไปไหนเลย

เป็นเพียงความเข้าใจผิดว่าเราก้าวออกสู่การเดินทาง

แท้ที่จริงแล้วเราอยู่ที่นี่แหละ

อยู่ด้วย "ลมหายใจเข้าและหายใจออก"

 

No Coming, No Going

 

หมายเลขบันทึก: 407653เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2010 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2022 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท